ก๊อนเก๊าเล่าล้านนา: เศรษฐกิจในสังคมล้านนาจากสนธิสัญญาเชียงใหม่ถึงการเดินทางมาของรถไฟและก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2

เรื่อง: นวลคำ ขะยอมแดง สุภาพชนคนเมือง

ล้านนาเป็นดินแดนที่ถูกผนวกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสยาม แต่เดิมมีสถานะเป็นหัวเมืองประเทศราชมาตั้งแต่ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์และถูกรวบอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางในสมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อทำการปฏิรูปด้านการเมืองการปกครองโดยเรียกอาณาบริเวณดินแดนล้านนาว่าเป็น “มณฑลพายัพ” ซึ่งมีฐานะเป็นส่วนหนึ่งของพระราชอาณาเขตที่ตั้งอยู่ทางด้านเหนือสุดของของราชอาณาจักรสยามโดยมีอาณาเขตติดต่อกับรัฐเพื่อนบ้านของสยามซึ่งมีสถานะเป็นรัฐอาณานิคมในกำกับของมหาอำนาจชาติตะวันตกในขณะนั้นได้แก่ พม่าในฐานะส่วนหนึ่งของอาณานิคมอินเดียที่อยู่ภายใต้การปกครองของประเทศอังกฤษ มลายูที่เป็นดินแดนอาณานิคมซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของประเทศอังกฤษและลาวพืชเป็นดินแดนอาณานิคมซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของประเทศฝรั่งเศส ทั้งนี้ ลักษณะภูมิประเทศของดินแดนล้านนาส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สูงประกอบด้วยเทือกเขาและพื้นที่ว่างระหว่างหุบเขาซึ่งมีแม่น้ำไหลผ่านหลายสาย โดยเทือกเขาที่มีขนาดใหญ่ซึ่งอยู่ตอนกลางของภูมิภาคได้วางแนวสันปันน้ำแบ่งทิศทางการไหลของแม่น้ำในพื้นที่ออกเป็น 3 ระบบด้วยกัน ได้แก่ ระบบที่ 1 แม่น้ำที่ไหลลงแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น แม่น้ำปิง วัง ยมและน่าน ระบบที่ 2  แม่น้ำที่ไหลลงแม่น้ำสาละวิน เช่น แม่น้ำยวมและแม่น้ำเมย  ระบบที่ 3  แม่น้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขง เช่น แม่น้ำกกและแม่น้ำอิง เป็นต้น โดยแม่น้ำขนาดใหญ่เหล่านี้ต่างก็มีแม่น้ำสาขาแยกย่อยไปตามที่ราบเล็ก ๆ ระวังหุบเขาสะท้อนให้เห็นว่าที่ตั้งและภูมิประเทศของล้านนาสามารถใช้แม่น้ำเหล่านี้ไว้เป็นเส้นทางคมนาคมติดต่อระหว่างบ้านเมืองภายในได้บางส่วน ขณะที่แม่น้ำขนาดใหญ่อย่างแม่น้ำปิง วัง ยมและน่านที่ไหลรวมกันเป็นแม่น้ำเจ้าพระยานั้นก็สามารถเป็นเส้นทางคมนาคมติดต่อระหว่างล้านนากับพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทยในปัจจุบันและกรุงเทพฯได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าจะมีความยากลำบากและใช้เวลาในการเดินทางนานประมาณ 1 ถึง 3 เดือน การล่องเรือตามแม่น้ำปิง วัง ยม และน่านก็ยังอาจต้องเผชิญอันตรายจากเกาะแก่งในแม่น้ำและเสี่ยงต่อการปล้นชิงระหว่างทางอีกด้วย

ด้วยสภาพแวดล้อมทางด้านภูมิศาสตร์และการคมนาคมของดินแดนล้านนาที่มีการติดต่อกับพื้นที่ภาคกลางและกรุงเทพฯมีลักษณะดังที่กล่าวมานี้ จึงเป็นส่วนที่มีผลในการกำหนดสภาพเศรษฐกิจโดยทั่วไปในสังคมล้านนาก่อนหน้าที่จะมีเส้นทางคมนาคมโดยรถไฟมาถึงพื้นที่ดังกล่าวในยุคภายหลัง ลักษณะพิเศษเฉพาะท้องถิ่นในดินแดนล้านนาที่เกี่ยวข้องกับวิถีการผลิตนั้น ผู้คนส่วนใหญ่ในสังคมล้านนายังมีการผลิตเพื่อการดำรงชีพของตัวเองเป็นส่วนใหญ่ด้วยการปลูกข้าวและพืชผลชนิดต่าง ๆ พร้อม ๆ กับการเลี้ยงสัตว์ เช่น เป็ด ไก่ วัว ควายไว้สำหรับบริโภคและใช้แรงงาน      ในครัวเรือน ขณะเดียวกันก็มีการปลูกฝ้ายเพื่อใช้สำหรับการทอเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่มด้วยตนเอง ถึงแม้ว่าในปีพ.ศ. 2398  รัฐบาลสยาม (ในสมัยรัชกาลที่ 4)  และรัฐบาลอังกฤษ (ในสมัยสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย)                  ได้มีการจัดทำสนธิสัญญาเบาริงอันมีผลต่อการเปิดประตูต้อนรับวิถีด้านเศรษฐกิจและการค้าในระบบโลกเข้ามาสู่ดินแดนแห่งนี้ ซึ่งมีผลก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการผลิตเพื่อการเลี้ยงตัวเองไปสู่การผลิตเพื่อการขายของชาวนาในพื้นที่ภาคกลางโดยจะเห็นได้ว่ามีการขยายตัวของพื้นที่ปลูกข้าวและการขุดคลองใช้เป็นพื้นที่การชลประทานซึ่งได้มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่สนธิสัญญาฉบับดังกล่าวกลับไม่ได้มีผลบังคับใช้ในดินแดนล้านนาซึ่งมีพื้นที่ตั้งอยู่ห่างไกลจากกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นตลาดและท่าเรือสำคัญตลอดจนปัจจัยทางการเมืองภายในของดินแดนล้านนาที่อยู่ยุคของพระเจ้ากาวิโรรสสุริยวงศ์หรือเจ้าชีวิตอ้าว เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ผู้มีสิทธิ์อำนาจเด็ดขาดในการกำกับดูแลความเป็นไปของบ้านเมืองในยุคดังกล่าวนี้ รวมไปถึงการขาดแคลนจึงไม่อาจทำให้การเคลื่อนย้ายถ่ายเทผลผลิตจากล้านนาไปสู่สยามนั้นเกิดขึ้นได้อย่างสะดวกล้านนาจึงได้รับผลกระทบจากการเปิดประเทศทางเศรษฐกิจน้อยกว่าบริเวณภาคกลาง

ที่มาภาพ: (ก) พ่อค้าล้านนาในอดีตที่กำลังเตรียม วัวต่าง ก่อนจะออกเดินทาง (ที่มา : เพจเชียงใหม่ที่คุณไม่เคยเห็น) (ข) ต่าง(ค) ผางลาง ที่มา : www.finearts.go.th) (ง-จ) คาราวานม้าต่าง-วัวต่าง (ที่มา  :www.huglanna.com)

อย่างไรก็ตามกลับมีข้าวของและสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตบางอย่างที่ผู้คนในดินแดนล้านนาไม่สามารถผลิตได้ด้วยตนเองในทุกหมู่บ้าน สินค้าเหล่านี้ได้แก่ เกลือ เครื่องใช้โลหะ เครื่องปั้นดินเผา ตลอดจนอุปกรณ์เคมีภัณฑ์บางประเภทอย่างเช่นน้ำมันก๊าด อันเริ่มกลายมาเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตจึงก่อให้เกิดการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าต่าง ๆ เหล่านี้โดยพ่อค้าชาวพื้นเมืองจะมีบทบาทในการนำเอาสินค้าที่สำคัญอย่างเช่น เกลือสินเธาว์จากบ่อเกลือที่เมืองน่าน เหมี้ยง ข้าวเปลือก เครื่องมือเครื่องใช้โลหะและภาชนะดินเผาเอาขึ้นบรรทุกหลังวัวต่างเพื่อเดินทางไปค้าขายยังหมู่บ้านต่าง ๆ ภายในบริเวณดินแดนล้านนา ซึ่งเราเรียกการค้าในลักษณะดังกล่าวว่าเป็น “การค้าวัวต่าง” ขณะเดียวกันก็มีการค้าระหว่างภูมิภาคและการค้าข้ามพรมแดนจากเชียงใหม่ขึ้นไปยังบริเวณรัฐฉานไปจนถึงสิบสองปันนาบริเวณชายแดนจีนโดยกลุ่มพ่อค้าฮ่อ และนำสินค้าประเภทใบชาหรือของป่าลงมาค้าขายยังเมืองเชียงใหม่หรือรับสินค้าจากเมืองเชียงใหม่ล่องไปค้าขายยังหัวเมืองระแหงแขวงเมืองตากข้ามไปยังเมียวดีและเส้นทางการค้าข้ามพรมแดนขยายออกไปถึงเมืองท่าเมาะละแหม่งในเขตแดนพม่าเมืองเมาะตะมะและหัวเมืองชายทะเลในรัฐมอญ การเดินทางข้ามภูมิภาคและข้ามพรมแดนของพ่อค้าฮ่อ พ่อค้าไทใหญ่หรือพ่อค้าชาวปะหล่องต้องสู้ มีให้เห็นความสำคัญของผู้คนที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์เดินทางเข้ามาทำการค้าในพื้นที่ล้านนากับรัฐเพื่อนบ้านคือพม่า หัวเมืองไตในรัฐฉาน มณฑลยูนนานในจีนตอนใต้และการค้าที่ล่องไปตามลำน้ำโขงถึงหลวงพระบางและเวียงจันทน์ ขณะที่การค้นพบทางวิชาการในช่วงหลังยืนยันกับความเป็นไปได้ถึงการเดินทางของพ่อค้าเหล่านี้โดยเฉพาะ “พ่อค้ากุลลวา” ว่าเคยเดินทางไปไกลถึงเมืองอุบลราชธานีโดยมีหลักฐานปรากฏผ่านเรื่องเล่าของ “ทุ่งกุลาร้องไห้” และไกลมากที่สุดคือการค้าขายอัญมณีจากหัวเมืองรัฐฉานที่เดินทางไกลไปถึงจังหวัดไพลินในราชอาณาจักรกัมพูชาปัจจุบัน  

การค้าข้ามพรมแดนได้มีความสำคัญเรื่อยมาตั้งแต่ พ.ศ. 2378 โดยพ่อค้าไตใหญ่และพ่อค้าฮ่อมีบทบาทในการนำเอาสินค้าสำเร็จรูปจากประเทศอังกฤษ ที่ถูกนำมากขึ้นที่ท่าเรือของเมืองเมาะละแหม่งเดินทางเข้ามาขายให้แก่ผู้คนในดินแดนล้านนาซึ่งสินค้าเหล่านี้เป็นสินค้าอุตสาหกรรมที่มาจากทั้งดินแดนอังกฤษเองและดินแดนในอาณานิคมของอังกฤษทั้งในอินเดียและแอฟริกาโดยสินค้าอุตสาหกรรมดังกล่าว ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เทียนไข ไม้ขีดไฟ เครื่องใช้โลหะและเกลือทะเล ศูนย์กลางการค้าของพ่อค้าวัวต่างจึงเริ่มต้นจากเมืองเมาะละแหม่ง เมียวดี ข้ามแม่น้ำเมยมาสู่เมืองระแหง (ตาก) ล่องขึ้นมาทางเมืองลำปางและอาจจะแยกไปทางเชียงใหม่หรือเชียงราย ตลอดจนเลยขึ้นไปยังเมืองเชียงตุงและไปจนถึงหัวเมืองในเขตมณฑลยูนนานของจีน ขณะที่การค้าระหว่างภูมิภาคโดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้าระหว่างล้านนากับภาคกลางของสยามหรือกรุงเทพฯ นั้น ในระยะแรกจะเป็นการค้าขอนไม้สักอันถือได้ว่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญในดินแดนล้านนาเสียเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากช่วงเวลาขณะนั้นมีความต้องการขอนไม้สักที่มีคุณภาพในการต่อเรือที่ท่าเรือกรุงเทพฯ ขณะที่งานในช่วงหลัง ๆ บ่งชี้ว่าไม้สักที่ดีและมีคุณภาพจากดินแดนล้านนามีแต่กายภาพที่ใช้สำหรับส่งออกเพื่อไปต่อเรือรบไกลถึงประเทศอังกฤษในช่วงที่อังกฤษต้องทำสงครามกับฝรั่งเศสในศตวรรษที่ 19

ภาพ: ซุงไม้สักที่มัดเป็นแพล่องลงมาตามแม่น้ำ 

ที่มาภาพจาก: “Twentieth Century Impressions of Siam”

ด้วยเหตุที่ทรัพยากรไม้สักในดินแดนล้านนา คือสิ่งที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจและมีอยู่เป็นจำนวนมากเสมือนหนึ่งว่าไม่ได้มีการลงทุนในการปลูกขึ้นมาแต่อย่างใด นี่จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ดึงดูดให้พ่อค้าไม้สักชาวพม่าและชาวไทใหญ่ได้เดินทางข้ามเขตแดนเข้ามาขออนุญาตเจ้าเมืองต่าง ๆ ในล้านนาเพื่อทำการตัดไม้สักเพื่อส่งกลับไปขายที่เมืองเมาะละแหม่ง โดยเฉพาะหัวเมืองขุนยวมในพื้นที่แม่ฮ่องสอนในปัจจุบันเป็นพื้นที่แรก ๆ ในการทำอุตสาหกรรมไม้สักและมีการล่องขอนไม้สักลงไปตามลำน้ำสาละวินจนถึงปากแม่น้ำในบริเวณเมืองเมาะละแหม่งอันเป็นเมืองท่าสำคัญ ที่มีการตั้งโรงเลื่อยเพื่อแปรรูปไม้สักมาตั้งแต่ยุคสมัยที่อังกฤษยึดดินแดนพม่าทางตอนใต้ได้สำเร็จ โดยในระยะแรกเจ้านายพื้นเมืองในหัวเมืองต่าง ๆ นั้นจะได้รับผลประโยชน์จากพ่อค้าไม้เป็นเงินค่าตอไม้ตามจำนวนต้นไม้ที่ตัดฟันลงไป แต่เมื่อเวลาต่อมากิจการป่าไม้ได้มีการขยายตัวมากยิ่งขึ้นในภายหลัง พ.ศ. 2398 พ่อค้าป่าไม้ก็ได้มีการขออนุญาต               ทำกิจการป่าไม้เพิ่มมากขึ้นจึงทำให้มีการเก็บเงินค่าเปิดป่ามากขึ้นซึ่งเงินค่าตอไม้และค่าเปิดตานั้นได้กลายมาเป็นแหล่งที่มาหรือรายได้สำคัญของเจ้าในพื้นเมืองล้านนา ขณะเดียวกันการขยายตัวของกิจการป่าไม้ที่ว่านี้กลับมีผลต่อวิถีการดำรงชีวิตของผู้คนในสังคมล้านนาทั่วไปไม่มากนัก เพราะแรงงานที่ถูกนำเข้ามาใช้ในกิจการตามไม้ส่วนใหญ่ก็จะเป็นแรงงานชาติพันธุ์อย่างเช่นขมุ ข่า ต้องสู้และไทใหญ่ ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้มีความชำนาญในกิจการป่าไม้มาก่อน ขณะที่ราษฎรคนพื้นเมืองนั้นกลับไม่มีโอกาสรับจ้างทำงานในกิจการป่าไม้เนื่องจากไม่มีความคุ้นเคยกับการทำงาน ในสภาพแวดล้อมที่เป็นป่าทึบขณะเดียวกันราษฎรพื้นเมืองเองก็มีภาระในการถูกเกณฑ์แรงงานจากระบบไพร่ที่ยังไม่ถูกยกเลิกในขณะนั้นจึงทำให้พวกเขาไม่สามารถเดินทางไปรับจ้างทำงานในพื้นที่ห่างไกลเป็นเวลานาน ๆ ได้  ในขณะที่แรงงานชาติพันธุ์ที่กล่าวมานั้นอยู่ภายใต้อิทธิพลความเป็นคนในบังคับของอังกฤษซึ่งมีบทบาทกำกับดูแลคนเหล่านี้อยู่แล้วทั้งในเรื่องการค้าข้ามพรมแดนและกิจการป่าไม้ซึ่งต่อมาก็นำมาสู่ความยุ่งยากอันเกี่ยวข้องกับการบริหารการปกครองในดินแดนล้านนาในช่วงเวลาต่อมา 

ด้วยเหตุนี้รัฐบาลสยามจึงถูกเรียกร้องให้เกิดการลงนามในสนธิสัญญาเชียงใหม่ฉบับที่ 1 กับอังกฤษในปี พ.ศ. 2416 และฉบับที่ 2 ในปี พ.ศ. 2426 โดยการจัดทำสนธิสัญญาเชียงใหม่ทั้งสองฉบับนี้นับแต่ว่าเป็นโอกาสที่รัฐบาลสยามจะใช้เป็นข้ออ้างเพื่อเข้าไปดำเนินการจัดระเบียบการปกครองในดินแดนล้านนาให้เป็นการปกครองแบบมณฑลหรือเรียกดินแดนแห่งนี้ว่ามณฑลพายัพ โดยเริ่มจากการที่รัฐบาลสยามได้ส่งข้าหลวงจากกรุงเทพขึ้นมาประจำที่เชียงใหม่และหัวเมืองอื่น ๆ ในดินแดนล้านนา ขณะเดียวกันข้าหลวงก็ได้มีการโอนอำนาจในการควบคุมกิจการป่าไม้          จากเจ้านายพื้นเมืองท้องถิ่นมาเป็นของข้าหลวง โดยสามารถหาอ่านรายละเอียดในประเด็นนี้ได้จากวิทยานิพนธ์ฉบับเก่าแก่ตั้งแต่ปี พ.ศ 2517 เรื่องกรณีพิพาทระหว่างเจ้านครเชียงใหม่กับคนในบังคับอังกฤษอันเป็นเหตุให้รัฐบาลสยามจัดการปกครองมณฑลพายัพ (พ.ศ.2401-2445) ของคุณพรพรรณ จงวัฒนา ของสาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาศึกษาเพิ่มเติมได้ นอกจากนี้รัฐบาลสยามยังไม่มีการปรับปรุงระบบภาษีและอากรใหม่ โดยได้จัดให้มีการประมูลภาษีอากรในรูปแบบองค์การผูกขาดขึ้นซึ่งมีพ่อค้าชาวจีนที่อพยพโยกย้ายจากทั้งเมืองระแหง (ตาก) และกรุงเทพฯที่ได้เดินทางมาสู่เชียงใหม่เพื่อเป็นเจ้าภาษีในอากรในมณฑลพายัพมากขึ้น       ความเปลี่ยนแปลงในระบบภาษีอากรดังกล่าวนี้ได้มีการเพิ่มชนิดและอัตราการเก็บภาษีในจำนวนที่มากขึ้น โดยได้มีการเปลี่ยนจากการเก็บภาษีที่เป็นผลผลิตมาสู่การเก็บภาษีที่เป็นเงินตราแทน ขณะที่การปรับปรุงระบบภาษีและอากรนี้สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้คนในสังคมล้านนาเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากในยุคสมัยดังกล่าว การค้าขายยังไม่ได้กระจายอย่างกว้างขวางมากพอ ทำให้ผู้คนไม่ค่อยมีช่องทางที่จะหาเงินตรามาได้มากนัก ความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับเจ้าภาษีในอากรที่ปะทุขึ้นมานี้นำมาสู่ความไม่พอใจอันก่อให้เกิดการต่อต้านการเก็บภาษีอากรรูปแบบใหม่ในรูปแบบของกบฏชาวนา หรือกบฏพระยาปราบสงครามขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2432 ในพื้นที่บ้านหนอมจ๊อม สันทรายและขยายตัวไปสู่พื้นที่ใกล้เคียงอย่างบ้านชมภู สารภีด้วย เป็นต้น

อย่างไรก็ตามกันเข้ามาจัดการปกครองในมณฑลประดับโดยรัฐบาลสยามก็มีส่วนทำให้การค้าทางเรือระหว่างมณฑลพายัพกับกรุงเทพฯ นั้นมีการขยายตัวมากขึ้น พ่อค้าคนจีนที่เข้ามาเป็นเจ้าภาษีนายอากรก็ได้นำเอาสิ่งของที่ได้จากการผูกขาดภาษีบรรทุกลงเรือล่องไปชายที่ระแหง (เมืองตาก) หรือกรุงเทพฯ พอขากลับก็ซื้อสินค้าสำเร็จรูป อย่างเช่นเสื้อผ้า ไม้ขีดไฟ เทียนไข ถ้วยชาม ตะเกียงน้ำมันก๊าด โซ่ล่ามช้างและเครื่องใช้โลหะ เพื่อมาขายให้แก่ผู้คนในมณฑลพายัพ การผูกขาดภาษีได้แก่การดำเนินการค้าทางเรือนี้ทำให้พ่อค้าคนจีนมีโอกาสในการสะสมทุนมากกว่าพ่อค้าชาติพันธุ์อื่น โดยในระหว่าง พ.ศ. 2443 ถึง 2464 สภาพทางเศรษฐกิจในดินแดนมณฑลพายัพก็ได้เริ่มมีความเปลี่ยนแปลงเมื่อรัฐบาลสยามได้มีการดำเนินการกระชับอำนาจในทางการเมืองการปกครองมากขึ้นโดยจัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลซึ่งระหว่างนี้ก็ได้มีการยกเลิกระบบไพร่และทาสโดยมีการเก็บเงินค่าแรงแทนเกณฑ์แจกพลเมืองชายอายุระหว่าง 18-60 ปี จำนวนคนละ 4 บาทแทนการเกณฑ์แรงงาน ซึ่งการยกเลิกระบบไพร่และทาสในมณฑลพายัพนี้ทำให้แรงงานของผู้คนในหัวเมืองเป็นอิสระจากพันธะที่เคยมีต่อเจ้าในพื้นเมืองและสามารถที่จะใช้เวลาในการขยาย    การผลิตให้มีมากขึ้นตลอดจนสามารถเดินทางเพื่อไปค้าขายหรือรับจ้างทำงานในพื้นที่ห่างไกลจากหมู่บ้านของตนเองได้ โดยในระยะเวลาเดียวกันนี้ยังไม่มีการปรับปรุงเส้นทางคมนาคมทางบกภายในบริเวณมณฑลไผ่ยักษ์ซึ่งทำให้การเดินทางติดต่อระหว่างเมืองต่าง ๆ เกิดขึ้นได้อย่างสะดวกรวดเร็วมากขึ้นอีกทั้งยังมีส่วนในการส่งเสริมการผลิตเพื่อการค้าและการพยายามแสวงหาทรัพยากรเพื่อใช้สำหรับเส้นทางรถไฟที่ขยายตัวและกำลังอยู่ในช่วงของการก่อสร้างที่จะมาถึงดินแดนในยุคถัดไปอีกด้วย

ภาพ: ภาพถ่ายคนงานระหว่างสร้างเส้นทางรถไฟสู่เชียงใหม่ (2464)

ที่มา: ศูนย์มรดกเมืองเทศบาลนครเชียงใหม่ 

สำหรับเส้นทางรถไฟสายเหนือนั้น รัฐบาลสยามได้มีการตัดสินใจเริ่มลงมือก่อสร้างมาตั้งแต่ พ.ศ. 2440 เมื่อการก่อสร้างทางรถไฟตอนใดแล้วเสร็จ กรมรถไฟก็จะเปิดเดินรถไฟเป็นตอน ๆ ซึ่งทำให้ปลายทางของรถไฟได้มีการค่อย ๆ ขยับเข้ามาใกล้บริเวณมณฑลพายัพมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งนี้มีผลทำให้พ่อค้าคนจีนที่ทำการค้าระหว่างกรุงเทพฯกับมณฑลพายัพได้มีการเดินทางโดยใช้เส้นทางทางเรือร่วมกับการโดยสารรถไฟในการติดต่อขนส่งสินค้าและการค้าขายกับกรุงเทพฯ ซึ่งในระยะแรกเริ่มนั้นก็มีการใช้รถไฟในการขนส่งสินค้าจากกรุงเทพฯขึ้นมายังเมืองปากน้ำโพ (หรือนครสวรรค์ในปัจจุบัน) จากนั้นจึงได้มีการขนสินค้าลงในเรือหางแมงป่องแล้วขอขึ้นมาจนถึงเมืองเชียงใหม่ โดยมีจำนวนเพิ่มปริมาณมากยิ่งขึ้นในระยะหลังเศรษฐกิจการค้าดังกล่าวนี้มีผลต่อการใช้เงินบาทเพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนที่ขยายตัวมากขึ้นด้วย ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงทางการค้าที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าวนี้เป็นพื้นฐานสำคัญอันก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจภายหลังจากที่ดินแดนล้านนามีเส้นทางรถไฟเดินทางมาถึงแล้วให้เป็นไปอย่างคึกคัก

ที่มาภาพ: บทความทางรถไฟสายเหนือ จากกรุงเทพสู่เชียงใหม่

ต่อมาเมื่อเส้นทางรถไฟสายเหนือจากกรุงเทพฯได้มีการก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์จนถึงสถานีเชียงใหม่ ในปี พ.ศ.2464 มีผลทำให้การคมนาคมระหว่างมณฑลพายัพกับภาคกลางและกรุงเทพฯจากเดิมที่เคยใช้เวลานานตั้ง 1-3 เดือนโดยทางเรือนั้นก็ได้ถูกเปลี่ยนมาเป็นการเดินทางด้วยรถไฟและใช้เวลาเพียง 26 ชั่วโมงเท่านั้นซึ่งเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความสะดวกสบายและความรวดเร็วในการเดินทางเป็นอย่างยิ่งซึ่งมีผลขอให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจในบริเวณมณฑลพายัพมากมายหลายประการทั้งในเรื่องของการค้า เส้นทางการค้าทางเรือที่มีความซบเซาเพราะพ่อค้าและแม่ค้าเรือหางแมงป่องได้หันมาใช้การขนส่งสินค้าจากกรุงเทพฯขึ้นมาทางรถไฟแทนซึ่งสามารถขนส่งสินค้าได้ในจำนวนมากทั้งในเชิงปริมาณและชนิดของสินค้า นอกจากนี้สินค้าสำเร็จรูปจากกรุงเทพฯเป็นสิ่งที่ถูกนำเข้ามาจำหน่ายในบริเวณมณฑลพายัพอย่างมากมายและรวดเร็ว ตลอดจนมีราคาสินค้าสำเร็จรูปที่ถูกลงนั่นเป็นเพราะว่า ค่าขนส่งถูก ดังนั้นสินค้าสำเร็จรูปจากเมืองเมาะละแหม่งจึงไม่อาจแข่งขันกับสินค้าจากกรุงเทพฯได้ สิ่งนี้ดังกล่าวได้ส่งผลกระทบกระเทือนต่อการค้าข้ามพรมแดนไปด้วยเช่นกัน โดยพ่อค้าไทใหญ่และจีนฮ่อก็ได้หันมาซื้อสินค้าสำเร็จรูปที่มาจากกรุงเทพฯซึ่งเดินทางขึ้นมาโดยรถไฟแทนการเดินทางไปซื้อสินค้าไกลถึงเมืองเมาะละแหม่ง ทั้งนี้ สินค้าสำเร็จรูปจากกรุงเทพฯก็ได้ถูกพ่อค้าไทใหญ่และพ่อค้าจีนทั้งหมดนำเอาไปขายไกลถึงมณฑลยูนนานและหัวเมืองไตในรัฐฉานอีกด้วย 

ระบบเศรษฐกิจและการค้าที่หันเหเข้ามาสัมพันธ์กับกรุงเทพฯมากขึ้นเป็นสิ่งที่เปิดโอกาสให้พ่อค้าคนจีนรุ่นดั้งเดิมและก็หาคนจีนรุ่นใหม่ได้มีการอพยพเข้ามาในพื้นที่ของมณฑลพายัพมากขึ้นภายหลังจากการเข้ามาของเส้นทางรถไฟ โดยผู้คนเหล่านี้ได้รายมาเป็นกลุ่มพ่อค้าที่สามารถควบคุมเครือข่ายการค้าในมณฑลพายัพเอาไว้ได้เกือบหมด เพราะหาคนจีนเริ่มกระจายตัวออกไปเป็นผู้ประกอบการค้าตามท้องถิ่นต่าง ๆ มากขึ้นแม้แต่ในบริเวณที่ห่างไกลเส้นทางรถไฟก็ตามพ่อค้าคนจีนจึงมีบทบาทเป็นผู้นำเอาสินค้าสำเร็จรูปที่มาพร้อมกับรถไฟออกไปจำหน่ายให้กับผู้คนทั่วไปและชาวนาตามหมู่บ้านต่าง ๆ ขณะเดียวกันพ่อค้าจีนก็ใช้โอกาสจากความสะดวกสบายของเส้นทางคมนาคมรถไฟในการชักชวนให้ชาวนาในดินแดนล้านนาขณะนั้นปลูกข้าวเพื่อนำมาขายให้แก่ตนเองเพื่อที่จะได้รวบรวมส่งไปขายที่กรุงเทพฯต่อไป ดังนั้นชาวนาในบุญคุณพายัพจึงเริ่มปลูกข้าวเพื่อขายควบคู่ไปกับการปลูกข้าวเพื่อการบริโภคเอง โดยการปลูกข้าวเพื่อขายนี้ทำให้ข้าวเปลือกกลายเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของเมืองต่างๆ ของมณฑลพายัพในปริมาณที่มีเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อชาวนามีโอกาสขายข้าวอันเป็นผลผลิตที่พวกเขาคุ้นเคยมานาน จึงได้มีการขยายพื้นที่เพาะปลูกออกไปมากขึ้นโดยเฉพาะบริเวณหัวเมืองฝาง จังหวัดเชียงใหม่ในปัจจุบัน หัวเมืองเชียงคำและหัวเมืองพะเยาซึ่งจะขึ้นตรงกับเชียงรายในขณะนั้น พื้นที่เหล่านี้มีความอุดมสมบูรณ์และยังรกร้างว่างเปล่าอยู่ จึงทำให้มีการขยายการขุดเหมืองฝายเพื่อส่งน้ำจากแม่น้ำเข้ามายังพื้นที่ทำนาโดยมีนายทุนคนจีนและเจ้านายพื้นเมืองบางคนมาร่วมลงทุนในการปกครองฝ่ายซึ่งผู้ลงทุนจะได้รับที่ดิน 2 ข้างลำเมืองเป็นกรรมสิทธิ์พวกเขาจึงนำชื่อในดังกล่าวออกให้ชาวนาเช่าสำหรับทำนาและเก็บค่าเช่าหัวนาในรูปแบบผลผลิตผ่าน “ระบบนาผ่ากึ่ง”  ขณะที่การขุดเหมืองฝายนั้นยังจะได้รับค่าใช้น้ำจากชาวนาที่ใช้น้ำจากลำเมืองของตนอีกด้วย อย่างไรก็ตามชาวนาในมณฑลพายัพก็ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงเทคนิคการปลูกข้าวอย่างอื่น ซึ่งพวกเขายังคงใช้แรงงานคนและสัตว์ในการทำนาและยังไม่ค่อยใช้ปุ๋ยบำรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้นกว่าเดิม

การเปลี่ยนแปลงในการปลูกข้าวเพื่อขายทำให้พ่อค้าคนจีนเข้ามาเกี่ยวข้องกับกระบวนการและวิถีการผลิตในพื้นที่ชนบทเพราะพ่อค้าคนจีนเป็นพ่อค้าคนกลางในการรับซื้อข้าวเปลือกจากชาวนาโดยพ่อค้าจีนจะนำรถบรรทุกออกไปรับซื้อข้าวเปลือกจากชาวนา การแข่งขันกันในการรับซื้อข้าวเปลือกของพ่อค้าคนจีนทำให้ราคาข้าวเปลือกในบริเวณมณฑลพายัพสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและเพื่อให้แน่ใจว่าจะได้ข้าวเปลือกตามจำนวนที่ต้องการพ่อค้าคนจีนจึงใช้วิธีการซื้อข้าวก่อนฤดูเก็บเกี่ยว ชาวนาในสังคมล้านนาจริงมีคำศัพท์เรียกการขายข้าวก่อนฤดูการเก็บเกี่ยวว่าเป็น “การขายเขียว” วิธีการนี้พ่อค้ายังสามารถซื้อข้าวได้ในราคาต่ำอีกด้วย นอกจากนี้บางครั้งพ่อค้าคนจีนยังเป็นพ่อค้าสินค้าสำเร็จรูปต่าง ๆ แนะนำเอามาขายให้ชาวนาเป็นเงินเชื่อก่อนโดยจะเก็บเงินค่าสินค้าพร้อมดอกเบี้ยเมื่อชาวนาขายข้าวได้แล้ว

สำหรับชาวนานั้นมีแรงจูงใจและความต้องการสินค้าสำเร็จรูปมาใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคจึงทำให้พวกเขานั้นเร่งมีการขายข้าวให้กับพ่อค้าคนจีนหรือรอที่จะซื้อสินค้าสำเร็จรูปมาใช้ก่อนที่จะขายข้าวได้ ซึ่งทำให้ชาวนาบางส่วนเริ่มมีภาระหนี้สินกับพ่อค้าข้าวเพราะความไม่เข้าใจกลไกเกี่ยวกับราคา การคิดดอกเบี้ย และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างเงินบาทกับเงินรูปี ซึ่งยังคงมีใช้ในดินแดนล้านนาขณะนั้น จึงทำให้ชาวนายอมรับเงินรูปีจากพ่อค้าข้าวซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ชาวนาเสียเปรียบพ่อค้าคนจีนมากขึ้นไปอีก ส่วนชาวนาที่อยู่ห่างไกลเส้นทางคมนาคมออกไป พ่อค้าฆ่าไม่สามารถเข้าไปติดต่อซื้อข้าวเปลือกจากชาวนาได้โดยตรง ก็มีชาวนาที่มีฐานะดีในหมู่บ้านเป็นผู้รวบรวมซื้อข้าวเปลือกจากเพื่อนบ้านนำเอาบรรทุกวัวตายเดินทางเข้ามาในเมืองขายข้าวแก่พ่อค้าข้าวที่ตั้ง “ล้ง” รับซื้อค่าเปลือกอยู่ใกล้ ๆ ทางรถไฟ ซึ่งในปัจจุบันนี้คือบริเวณชุมชนปลายราง ชุมชนสันป่าข่อย หรือชุมชนท่าสะต๋อยซึ่งเป็นพื้นที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีทั้งโกดังรับซื้อข้าว โรงสี และตลาดอันเป็นชุมทางด้านเศรษฐกิจและการค้าแห่งใหม่ภายหลังการเข้ามาของเส้นทางรถไฟในดินแดนล้านนา นอกจากข้าวเปลือกแล้วเส้นทางรถไฟสายเหนือยังทำให้ผู้คนในมณฑลพายัพสามารถมีการผลิตแบบปศุสัตว์โดยการส่งสุกรเป็นสินค้าส่งออกไปยังกรุงเทพฯด้วย ซึ่งพบว่าผู้คนในดินแดนล้านนาได้พากันเลี้ยงสุกรเพิ่มมากขึ้น แต่ก็ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการเลี้ยงสุกรเช่นเดียว

หลังจากที่เส้นทางรถไฟสายเหนือมีส่วนสำคัญในการนำเอาเศรษฐกิจของมณฑลพายัพหรือดินแดนล้านนาออกไปสัมพันธ์กับระบบตลาดภายนอกได้ไม่นานนัก ก็เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกนั้นมีผลกระทบมาถึงมณฑลพายัพในช่วงต้นทศวรรษ 2470 อีกด้วย ซึ่งพบว่าราคาข้าวเปลือกในมณฑลพายัพนั้นมีราคาตกลงอย่างรวดเร็ว จากเดิมชาวนาที่เคยขายข้าวได้จึงได้มีการเปลี่ยนพื้นที่เพาะปลูกไปปลูกพืชไร่ชนิดอื่น ๆ เพื่อขาย โดยพืชไร่ที่สำคัญได้แก่อ้อย ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลสยามให้มาตั้งโรงงานน้ำตาลขึ้นที่อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ขณะเดียวกันก็ได้มีการปลูกยางปลูกสายพันธุ์เวอร์จิเนีย โดยอยู่ภายใต้การทดลองและสนับสนุนจากบริษัทอเมริกันที่ทำให้เกิดกิจการโรงบ่มใบยาสูบที่มีการขยายตัวในพื้นที่เป็นจำนวนมากโดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดแพร่ ทางอ้อยและยาสูบได้กลายมาเป็นพืชสำคัญทางเศรษฐกิจของดินแดนล้านนาได้ภาคเหนือของประเทศไทยควบคู่กับการปลูกข้าวมาจนกระทั่งพืชเพาะปลูกจำพวกลำไย ลิ้นจี่ สับปะรดและหอมกระเทียมในยุคหลัง ๆ

ขณะที่การผลิตเพื่อขายอีกอย่างหนึ่งในพื้นที่ภาคเหนือนั่นคือการทอผ้าไหมซึ่งพบว่าภายหลังปี พ.ศ.2464 ก็ได้มีพ่อค้าคนจีนและพ่อค้าพื้นเมืองของคนเห็นว่าผ้าไหมที่มีการทอในพื้นที่มณฑลพายัพนั้นสามารถส่งเป็นสินค้าส่งออกได้ จึงได้มีการลงทุนก่อสร้างโรงงานทอผ้าใหม่ขึ้นและได้มีการจ้างผู้หญิงชาวบ้านมาเป็นสาวโรงงานทอผ้า ซึ่งแน่นอนว่าการทอผ้าไหมก็เป็นเช่นเดียวกับการผลิตสินค้าอื่น ๆซึ่งไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงในเชิงเทคนิคการผลิตมากนัก จึงทำให้การทอผ้าไหมจึงยังไม่มีสถานะเป็นการผลิตเชิงอุตสาหกรรมในระยะนี้มากนัก ซึ่งต่อมาหลังปี พ.ศ. 2464 ก็ได้มีการจัดตั้งธนาคารพาณิชย์แห่งแรกในพื้นที่เมืองเชียงใหม่และอีก 2 ปีต่อมาก็มีการสร้างสาขาขึ้นที่เมืองลำปาง แต่มีอยู่ของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นนี้มีผลทำให้ระบบการติดต่อทางการเงินระหว่างมณฑลพายัพกับกรุงเทพฯเป็นไปได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น ตลอดจนส่งผลต่อการลดการใช้เงินรูปีให้มีน้อยลงการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในบริเวณมณฑลพายัพนี้ยังส่งผลกระทบต่อเนื่องไปถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในบางประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขยายตัวของประเทศตัวเมืองและชุมชนเมืองแผ่กระจายความเจริญเติบโตในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านการศึกษา สาธารณสุขและความสะดวกสบายจากระบบสาธารณูปโภค ซึ่งทำให้ผู้คนกลุ่มต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในสำหรับผู้คนกลุ่มต่าง ๆในมณฑลพายัพต่างเดินทางเข้ามาหางานทำในพื้นที่เมืองที่ขยายตัวเติบโตมากขึ้นซึ่งทำให้พวกเขาก็ได้รับผลประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่กล่าวมานี้อีกด้วย ขณะเดียวกัน พ่อค้าคนจีนกลายเป็นกลุ่มคนที่มีฐานะและบทบาทสำคัญในทางการค้า โดยได้มีการรวมตัวเป็นสมาคมคนจีนคนต่าง ๆ ที่ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันรวมทั้งได้มีการจัดตั้งโรงเรียนจีนเพื่อสอนภาษาจีนให้แก่ลูกหลานของตนเองด้วย ขณะที่ชาวนาในหมู่บ้านก็เริ่มใช้เงินที่ได้จากการขายข้าวเปลือกและพืชผลอื่น ๆ ไปซื้อสินค้าสำเร็จรูปมาใช้มากขึ้น ลักษณะของการผลิตสิ่งของหลายชนิดเพื่อเลี้ยงตนเองเริ่มถูกแทนที่ด้วยการผลิตเพื่อการขายทีละน้อยโดยที่ชาวนาบางส่วนซึ่งไม่สามารถปรับตัวเองให้เข้ากับระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ พวกเขาต้องสูญเสียที่นาของตนไป จนกระทั่งชาวนาของเหล่านี้ได้ปลายสถานะทางสังคมและเศรษฐกิจมาเป็นชนชั้นชาวนารับจ้างในระยะหลัง รวมไปถึงผู้คนที่มีสถานะเป็นเจ้านายพื้นเมืองเนื่องจากพวกเขาถูกริดรอนอำนาจทางเศรษฐกิจการเมือง ซึ่งรัฐบาลสยามได้มีการดำเนินผ่าน “วิเทโศบายทางการเมือง” เรื่อยมาอย่างเป็นระบบทีละเล็กทีละน้อยจึงทำให้สถานะทางเศรษฐกิจของเจ้านายเหล่านี้ลดลงแม้จะมีเจ้านายพื้นเมืองบางกลุ่มสามารถกลายมาเป็นผู้ลงทุนในกิจการด้านการค้าต่างๆเช่น การทำตลาดสดให้เช่า เหมืองฝายเพื่อจะได้รับกรรมสิทธิ์ในที่นา ตลอดจนการทำโรงบ่มใบยาสูบ ท้ายที่สุดกลุ่มเจ้านายพื้นเมืองเหล่านี้ก็มักไม่ค่อยประสบผลสำเร็จทางด้านการค้าขายมากนัก 

สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นนี้เป็นบริบทและฉากหลังที่กำกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจทั้งในด้านการผลิตและการค้า ซึ่งเกิดขึ้นในดินแดนล้านนาหรือเรียกว่ามณฑลพายัพในช่วงการคืบคลานเข้ามาของเส้นทางรถไฟสายเหนือ เศรษฐกิจท้องถิ่นที่มีการขยายตัวมากขึ้นจึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นพร้อมกับการหลอมรวมจิตสำนึกผู้คนในดินแดนล้านนาให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของรัฐประชาชาติไทย กระบวนการผลิตและการค้าที่เกิดขึ้นเหล่านี้ได้มีการหยุดชะงักไปเพราะเกิดสงครามโลกครั้งที่สองขึ้นเมื่อ พ.ศ.2482 ซึ่งส่งผลต่อการนำเข้าสินค้าที่มาจากต่างประเทศของสยามที่ลดลง ซึ่งนำมาสู่ภาวะสภาวะการขาดแคลนสินค้าที่กระจายตัวไปทั่ว ขณะเดียวกันเมื่อสยามประเทศตัดสินใจที่จะเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะภายหลังจากกองทัพญี่ปุ่นยกคนขึ้นบกเพื่อเดินทัพผ่านประเทศไทยไปสู่ดินแดนพม่าซึ่งมีฐานะเป็นอาณานิคมของอังกฤษก็ได้นำมาสู่การสู้รบที่ขยายตัวเข้ามาในพระราชอาณาเขตสยาม โดยเฉพาะในพื้นที่ของมณฑลพายัพนั้นพบว่าเส้นทางรถไฟได้ถูกระเบิดทำลายเสียหายในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในพื้นที่อำเภอลองและอำเภอเด่นชัยจังหวัดแพร่ ความเสียหายที่ว่านี้ทำให้การขนส่งสินค้าบางส่วนต้องกลับไปใช้การขนส่งทางเรือแทนทำให้ราคาสินค้าในดินแดนล้านนาหรือมณฑลพายัพในขณะนั้นมีราคาเพิ่มสูงขึ้นมาก และที่พ่อค้าข้าวคนจีนก็ยังถูกจำกัดพื้นที่แห้งเพราะพ่อค้าจีนถือได้ว่าเป็นคนต่างด้าว โดยพ่อค้าบางคนต้องเดินทางจากมณฑลขยับไปทำให้ผลผลิตข้าวเกือบทั้งหมดตามโกดังเก็บสินค้าถูกขายให้กับกองทัพทหารญี่ปุ่นซึ่งอยู่ในภาคเหนือ ตลอดจนยานพาหนะ เช่น เกวียน รวมไปถึงกำลังคนที่เป็นคนจีนส่วนหนึ่งก็ถูกเกณฑ์ไปใช้เพื่อการสงครามอีกด้วย สิ่งเหล่านี้จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ยับยั้งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในดินแดนล้านนาที่เกิดขึ้นภายหลังการเข้ามาของเส้นทางรถไฟด้วยเช่นเดียวกัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง