สรุปการเสวนา “เริ่มสยามสมัยใหม่ : เหตุผลนิยมแบบพุทธมนุษยนิยมใต้สมมติราชนิติศาสตร์สมบูรณาญาสิทธิราชย์และลัทธิอาณานิคมของเจ้ากรุงเทพฯ” 

เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2565 ได้มีการจัดเสวนาในหัวข้อ “เริ่มสยามสมัยใหม่ : เหตุผลนิยมแบบพุทธมนุษยนิยมใต้สมมติราชนิติศาสตร์สมบูรณาญาสิทธิราชย์และลัทธิอาณานิคมของเจ้ากรุงเทพฯ” ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคาร 50 ปีรัฐศาสตร์ฯ ชั้น 3 คณะรัฐศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เวลา 13.00 – 14.30 น. โดย ดร. ธงชัย วินิจจะกูล ศาสตราจารย์กิตติคุณประจำภาควิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประวัติศาสตร์ไทย มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน

การเปลี่ยนผันเปลี่ยนแปลงในสมัยรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 6 สยามเริ่มเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของรัฐ และความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับเรื่องเหล่านี้ คือ หลักคิดเหตุผลนิยมมนุษย์นิยม นิติศาสตร์ รัฐอาณานิคมของเจ้ากรุงเทพฯ รัฐราชาชาติ ประวัติศาสตร์ราชาชาตินิยม และ ภูมิกายา

ธงชัยเล่าว่าตนได้ความตั้งใจมาตั้งแต่ตอนที่ทำวิทยานิพนธ์ว่า “ผมตั้งใจที่จะเขียนประวัติศาสตร์ไทยใหม่ เพราะประวัติศาสตร์ไทยที่เป็นอยู่นี้ของรัฐนั้น เต็มไปด้วยความโหดร้าย ฉะนั้นต้องมีการเขียนประวัติศาสตร์อย่างใหม่ เพื่อให้ประวัติศาสตร์ไม่ถูกผูกขาดอยู่เรื่องเดียวและทำให้น่าเชื่อถือจนปฏิเสธได้ยาก”

ธงชัยได้ตั้งข้อสังเกตว่าประวัติศาสตร์ที่เราเรียนมาในห้องเรียนนั้นเป็นการเน้นไปที่เนื้อหาของจุดตั้งต้นของสยามประเทศและรัฐสยามแบบสมัยใหม่ ซึ่งอุดมการณ์เค้าโครงแกนหลักได้วางรากฐานไว้ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 โดยนักประวัติศาสตร์สำคัญอย่างน้อย 2 คนคือ รัชกาลที่ 6 และสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ

ประวัติศาสตร์ไทยทั้งหมดแกนเรื่องเน้นอยู่ 2 อย่าง เรื่องแรกคือ สยามเป็นอารยธรรมเก่าแก่มาตั้งแต่โบราณ ซึ่งกระทำสำเร็จโดยงานเขยนของรัชกาลที่ 6 และเรื่องที่ 2 คือ ในเวลาที่สยามประสบภัยคุกคามเป็นระยะ แต่ด้วยพระมหากรุณาธิคุณและพระปรีชาสามารถของกษัตริย์สยามพระองค์แล้วพระองค์เล่า รวมทั้งวีรชนของพวกเราได้ช่วยกอบกู้บ้านเมืองรักษาเอกราชของชาติไว้สืบมา และสองเรื่องนี้ได้ทำให้ประเทศรุ่งเรื่องมาจนถึงปัจจุบัน

อุดมการณ์ทางประวัติศาสตร์ถูกทำให้เป็นเรื่องที่ให้รู้เพียงเท่านี้ เพื่อให้ง่ายต่อการรับรู้และป้องกันไม่ให้มันถูกเปลี่ยนแกนหลัก 2 เรื่องนี้ ทำให้ประวัติศาสตร์มีอิทธิพลต่อผู้ที่เชื่อเรื่องเล่านี้อย่างหนัก จนอาจทำให้มีโอกาสที่ประวัติศาสตร์จะกลายเป็นอาวุธล้างสมองทำให้คนเชื่ออีกอย่างหนึ่ง หรือแม้กระทั่งมีผู้ที่ตกใจกลัว เพราะถูกท้าทายทางประวัติศาสตร์ที่เขาเชื่อ ซึ่งเท่ากับการถูกท้าทายจิตวิญญาณ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นปัจจุบันหรืออนาคต เราควรทำให้อำนาจของประวัติศาสตร์เรื่องหลักลดลงอย่างสัมพัทธ์กับเรื่องเล่าอื่นขึ้นมาอย่างท้าทาย ประวัติศาสตร์จะหมดพลังในการเป็นอาวุธ

เรื่องเล่าที่พูดมานั้นข้อมูลไม่ได้ผิด แต่การประมวลข้อมูลนั้นย่อมต้องอาศัยอุดมการณ์ เพื่อที่จะส่งต่อความหมายนั้น เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์โดยเฉพาะขบวนการที่ยาวนานและซับซ้อนในประวัติศาสตร์จำนวนมากขึ้นอยู่กับว่าคุณยืนอยู่ตรงไหน หากคุณยืนในมุมนักอนุรักษ์นิยมคุณก็บอกว่าเด็กสมัยนี้จาบจ้วง แต่ถ้าหากคุณเป็นเด็กสมัยนี้คุณก็มองว่าคนรุ่นเก่านี้ล้าหลัง ฉะนั้นข้อมูลข้อเท็จจริงเดียวกันสามารถประกอบเข้าเป็นเรื่องตามมุมมองด้วยโครงเรื่องและอุดมการณ์ซึ่งแตกต่างกัน และผลที่ออกมาจึงมีความหมายมีนัยยะที่แตกต่างกัน

อุตสาหกรรมการผลิตผลงานทางประวัติศาสตร์ในร้อยปีที่ผ่านมาได้ยืนอยู่บนกรอบความคิดมุมมองของเจ้ากรุงเทพฯ ประวัติศาสตร์มีถูกและผิด แต่จุดหลัก ๆ นั้นคือเราอยู่บนคนละมุมมอง ทำให้ปัญหาคือ ทำไมเจ้ากรุงเทพฯ จึงได้เขียนประวัติศาสตร์โดยการยัดเยียดมุมมองของเจ้ากรุงเทพฯเป็นหลัก ซึ่งมันทำให้อัตลักษณ์ของพวกเราสลายและยอมสยบอยู่ภายใต้อัตลักษณ์ของเจ้ากรุงเทพฯ จนทำให้มันกลายเป็นส่วนหนึ่งของเรา ไม่เช่นนั้นเราจะสามารถสร้างอัตลักษณ์นานาชนิดและหาวิธีการอยู่คู่กับสังคมไทยที่หลากหลายกว่านี้ ใจกว้างมากกว่านี้ และไม่กดทับให้เราคิดอยู่ในแบบเดียวกันหรือเป็นคนในแบบเดียว ๆ กัน

ธงชัยได้เสนอว่าช่องทางประวัติศาสตร์เป็นทางเลือก โดยเริ่มต้นจากประวัติศาสตร์ไทยใหม่ชื่อว่า สยามแมพ สยามภูมิกายา เพื่อที่จะรื้อประวัติศาสตร์สมัยรัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 6 และจะท้าทายมันทั้งหมด ดูว่ามีประเด็นใดบ้าง 

ประเด็นแรก สิ่งที่ประวัติศาสตร์กระแสหลักหรือประวัติศาสตร์ตามขนบไม่เคยบอกเลย โดยเขาพยายามบอกว่าพวกเราต้องเป็นชาติ เราเป็นชาติที่ทันสมัยทัดเทียมอารยะประเทศในสมัยรัชกาลที่ 5 สิ่งที่เราได้เรียนคือ ประเทศไทยเป็นหน่วยทางการเมืองที่เป็นหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นในแง่ชาติพันธุ์ หรือในแง่ศาสนา ซึ่งได้รับการดูแลอย่างดีจากภาครัฐ เช่น คนจีน แต่สิ่งที่เขาไม่เคยบอกคือ รัฐไทยสมัยใหม่เป็นรัฐที่เกิดขึ้นบนฐานของรัฐจักรวรรดิ (empire) ซึ่งต่างตรงข้ามกับชาติ (nation) แต่เอาเข้าจริงชาติเป็นรัฐสมัยใหม่แทบทั้งสิ้น แต่สมัยใหม่ของแต่ละที่ของแต่ละภาคในโลกไม่เหมือนกัน ซึ่งชาติไทยที่เกิดหลังศตวรรษที่ 19 เราไม่เข้าใจระบบศักดินา และความสัมพันธ์ระหว่างรัฐจักรวรรดิและประเทศราชหรือชายขอบหัวเมืองต่าง ๆ ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ที่เป็นคนละชนิด เพราะรัฐจักรวรรดิประกอบด้วยรัฐจำนวนหนึ่งจำนวนมากซึ่งเป็นอิสระมากน้อยก็แล้วแต่ แต่ถือว่าโดยพื้นฐานยังเป็นอิสระต่อกัน แต่ความสำคัญและความสัมพันธ์ทางอำนาจเป็นแบบเป็นชั้นมีรัฐเล็ก ๆ หรือมีอำนาจน้อยขึ้นต่อส่วนกลาง ซึ่งนี่เป็นความสัมพันธ์แบบจักรวรรดิ ยุคของโลกตะวันตกได้ก่อตัวเป็นชาติจากสภาวะเดิมที่เป็นจักรวรรดิต่อกัน ธงชัยพยายามจะเสนอว่า การกำหนดสมัยใหม่มาจากการที่จักรวรรดิแบบไทยสยามมีพื้นฐานของการก่อร่างสร้างตัวมาเป็นชาติสยามสมัยใหม่ยาวไกล แต่กลับไม่สร้างผลลัพธ์ที่เหมือนกับชาติตะวันตกและไม่ใช่หน่วยทางการเมืองที่เป็นหนึ่งเดียว แต่ที่ผมสนใจคือ รัฐสยามได้วางรากฐานมาอย่างไรจึงเติบโตเป็นอย่างทุกวันนี้ ที่ไม่ใช่ประวัติศาสตร์ตามขนบอย่างที่เขาสอน ผลลัพธ์แรกในการถือมั่นประวัติศาสตร์ชุดเก่าคือ เราได้มองข้ามมรดกของจักรวรรดิ

ประเด็นที่สอง เราเข้าใจมาตลอดว่าสยามไม่เคยเป็นอาณานิคม แต่ความจริงแล้วสยามไม่เคยตกเป็นอาณานิคมอย่างเป็นทางการและโดยตรง เพราะสยามมีสภาวะที่ถูกบีบบังคับให้เป็นรัฐกันชน (buffer state) ในแง่ระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศส ในระยะเวลานั้นทั้งสองประเทศได้เคลื่อนมาแล้วไม่ต้องการปะทะ จึงได้มีการทำสัญญากันว่าทิ้งแนวแม่น้ำเจ้าพระยาไว้อย่าไปยุ่งและทำอะไรสยาม ถึงแม้ว่าใครไม่ได้พูดว่าสยามเป็นรัฐกันชน แบบตรง ๆ แต่ว่าสยามก็คือรัฐกันชน รวมถึงมีปัจจัยที่เจ้าไทยยินยอมพร้อมใจที่จะทำตามความต้องการของจักรวรรดินิยม ความจำเป็นในการต้องยอมต่าง ๆ ก็มีสารพัด ซึ่งความจำเป็นนี้เจ้าไทยก็ได้ประโยชน์และความจำเป็นที่เจ้าไทยจำใจต้องทำด้วย แต่ผลคือสยามมีสถานะเป็นกึ่งอาณานิคม หากมีการยอมรับข้อนี้ไปตั้งแต่แรก โจทย์ใหญ่ว่าด้วยการรับมืออิทธิพลของตะวันตก เราจะไม่ไขว้เขวในการศึกษาการต่อต้านจักรวรรดินิยม เพื่อช่วยให้รอดต่อการเป็นอาณานิคม ซึ่งไม่จริง แต่อย่างน้อยจะมีการเปิดใจให้กว้างมากขึ้นในการเจรจาต่อรองในความสัมพันธ์กับจักรวรรดินิยมแบบที่เราเป็นกึ่งเมืองขึ้น แต่ก็อย่าลืมว่านี่คือจุดยืนมุมมองของเจ้ากรุงเทพฯเป็นหลัก เพราะฉะนั้นเราพอจะเปิดใจให้กว้างมากขึ้น เพื่อที่จะได้เห็นประวัติศาสตร์ที่มีความเป็นมนุษย์ปุถุชนมากขึ้น

ถ้าหลักที่ยืนในการปรับเปลี่ยนสยามสู่สมัยใหม่ไม่ใช่เป็นการทำให้เป็นสมัยใหม่เพื่อการเอารอดจากอาณานิคม ยิ่งอยู่จุดยืนนี้มีชื่อว่า ทำให้รอดจากอาณานิคม มันเป็นมุมมองเป็นทัศนะของเจ้ากรุงเทพฯเต็มตัวเลย แล้วมีจุดยืนอื่นหรือหลักอื่นหรือไม่ ธงชัยเสนอว่ามี ซึ่งมันเป็นสองด้านของเหรียญเดียวกัน ด้านแรกคือการเอาตัวรอดจากลัทธิอาณานิคมโดยการปฏิรูปขนานใหญ่ โดยการรวมหัวเมืองต่าง ๆ แต่อีกด้านหนึ่งคือ กรสร้างรัฐสมบูรณ์ในสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในประวัติศาสตร์ของกระทรวงการศึกษาฯ เราได้เรียนมาเพียงด้านเดียวเท่านั้น โดยไม่ได้เห็นด้านอื่น เหตุสำคัญของกรุงเทพฯกับหัวเมืองต่าง ๆ นั้นไม่ใช่ความสัมพันธ์แบบปรับปรุงปฏิรูปการปกครองหัวเมือง แต่มันเป็นอาณานิคม เรียกง่าย ๆ ว่าอาณานิคมของเจ้ากรุงเทพฯ ทำให้เท่ากับว่าล้านนาเจออาณานิคมสองชั้น  อังกฤษเบียดเบียนมาทำสงครามป่าไม้ ล้านนาเองก็ไม่อยากตกเป็นของใคร แล้วก็มีเรื่องการแย่งที่ดินป่าไม้ระหว่างกรุงเทพฯกับอังกฤษที่เป็นที่ของล้านนา กรุงเทพฯก็ไม่ได้ถูกบังคับให้ทำ นี่เป็นลักษณะของอาณานิคมในอีกรูปแบบหนึ่ง มันทำให้การก่อร่างสร้างสถาบันในสังคมไทยมันเป็นไปในทำนองเดียวกันกับเจ้าอาณานิคมยุโรปกระทำในโลกอาณานิคมของเขา เราไม่เคยมองว่าความสัมพันธ์ของกรุงเทพฯกับหัวเมืองต่าง ๆ เป็นอาณานิคมชนิดหนึ่ง เป็นอาณานิคมซึ่งอยู่บนพื้นฐานของรัฐจักรวรรดิ ยิ่งรัฐจักรวรรดิมีความสำคัญทางอำนาจไม่เท่ากันอยู่แล้ว และครอบครองดินแดนจนรัฐหรือประเทศราชต่าง ๆ ขาดอิสระ ครอบครองจนกระทั่งสามารถเกณฑ์ส่วยเกณฑ์ไพร่เพื่อไปทำสงครามได้ รัฐจักรวรรดิเป็นศูนย์กลาง ตรงศูนย์กลางมีอำนาจเหล่านั้นเหนือรัฐประเทศราชอยู่แล้ว ยิ่งกว่ารัฐอาณานิคมแบบยุโรปกระทำกับพม่า แต่อย่างไรก็ตามก็ไม่ใช่ว่าเป็นทุนนิยมที่เจริญเติบโตจนถึงจุดที่ต้องการขยายตลาดและขยายแหล่งวัตถุดิบ แต่นี่คือลักษณะของการสร้างสถาบันต่างๆในรัฐจักรวรรดิทำนองเดียวกันกับการล่าอาณานิคม แต่เพียงฐานของมันเป็นรัฐจักรวรรดิ

ประเด็นที่สาม เราสร้างรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่เป็นรัฐเดี่ยวขึ้นมา ซึ่งมีระบุในกฎหมายว่าไม่สามารถที่จะแบ่งแยกได้ ทำให้มันศักดิ์สิทธิ์มากจนถึงขั้นที่ไม่สามารถแตะต้องได้ หากทำการแตะต้องก็จะถูกข้อหาว่ามีความพยายามแบ่งแยกดินแดนทันที ซึ่งอย่างน้อยก่อให้เกิดความแตกแยก

ประเด็นที่สี่ นิติศาสตร์ของเราไม่ใช่ Rule of law (หลักนิติธรรม) หากมองในยุโรป Rule of law เกิดจากการต่อสู้ที่โดยเฉพาะชนชั้นกลาง เพื่อที่จะลดอำนาจของรัฐ โดยเฉพาะรัฐที่มีกษัตริย์เป็นผู้ครองอำนาจ Rule of law นั้นเป็นหลักการที่ว่ากฎหมายต้องปกป้องเสรีภาพของประชาชน โดยเฉพาะเสรีภาพส่วนบุคคล สิทธิส่วนบุคคล สิทธิในทรัพย์สิน รัฐจะมาละเมิดมิได้ ต้องจำกัดอำนาจรัฐ การเกิดขึ้นของสิทธิและเสรีภาพก็คือต้องจำกัดอำนาจของรัฐ แต่จากปัจจัยที่ว่าด้วยการทำเกินความจำเป็นของรัฐนั้นมีปัจจัยมากมายที่ต้องทำเช่นนี้ เช่น ภัยพิบัต การก่อการร้าย ทำให้ต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน จนต้องให้อำนาจแก่รัฐในการสั่งการ แม้กระทั่งในเวลาปกติก็ต้องให้อำนาจรัฐในการเก็บภาษีและจัดสรรงบประมาณในการบำรุงประเทศ แต่รัฐก็จำเป็นต้องมีเงื่อนไขคือ 1.ต้องได้รับเลือก 2.ต้องอยู่ภายใต้การตรวจสอบ 3.หากทำผิดต้องถูกลงโทษอย่างหนัก เพราะว่าได้รับอำนาจการจัดการมาจากประชาชน Rule of low จึงอยู่บนพื้นฐานของสังคมเสรีประชาธิปไตยเช่นนี้ จึงมีหลักการสำคัญด้านหนึ่งก็คือรัฐต้องเสริมสร้างสิทธิส่วนบุคคล และอีกด้านหนึ่งคือต้องจำกัดสิทธิ์สิทธิของรัฐหรืออำนาจของรัฐ

แต่ประเทศไทยเข้าใจเพียงแค่ตัวกฎหมายออกมาก็นับว่าเป็น Rule of law แล้ว ซึ่งไม่ใช่และนั่นเป็นเพียงแค่องค์ประกอบหนึ่งเท่านั้น หลักการสำคัญคือ มันต้องผ่านการถกเถียงหรือมาจากฐานการต่อสู้ระหว่างประชาชนกับรัฐ แต่ไทยได้มีการพัฒนาระบบกฎหมายให้มีลักษณะแบบ Normal Life หรือสภาวะยกเว้น หากจะทำให้เข้าใจง่าย ๆ คือ กฎอัยการศึก ภาวะฉุกเฉิน ภาวะภัยพิบัต ซึ่งแทนที่สังคมไทยจะทำให้มันเป็นสภาวะยกเว้น แต่เรากลับทำให้มันเป็นเรื่องปกติ ทำให้ผลลัพธ์คือรัฐมีอำนาจมากเกินไป โดยการอาศัยข้ออ้างทางกฎหมายว่าเป็นภัยต่อความมั่นคง จึงต้องกระทำเช่นนี้ 

ประเด็นสุดท้าย จากบทความที่ผมเขียนเรื่องพระราชพิธี 12 เดือน ในมุมมองยุคสมัยใหม่ของไทย ในทางความคิดทางปรัชญามันเป็นอย่างไร ประเด็นหลักคือต้องการอธิบายว่ารัชกาลที่ 10 ของไทยสยามที่ถือว่าเป็นยุคสมัยใหม่แล้วอะไรคือยุคสมัยเก่า ด้วยแนวคิดเหตุผลนิยม (Rationalism) มนุษย์นิยม (humanism) และสัจนิยม (realism) 3 แนวคิดที่กล่าวมานั้นอะไรคือการเป็นสัญญาณที่ บอกว่าสยามเกิดการต่อสู้ทำนองเดียวกัน ซึ่งผมไม่เห็น แม้จะมีชนชั้นในการต่อสู้ เพราะมันไม่ได้ทำให้เกิดปรากฎการณ์ทำนองเดียวกัน แล้วมันจะเกิดอะไรขึ้น 3 อย่างนั้นต่างกันอย่างไร เหตุผลนิยมนั้นถูกนำไปใช้ในความหมายที่ตื้นเขินมาก เห็นได้จากคำถามที่ว่า มนุษย์สมัยก่อนเขาไม่มีเหตุผลเหรอ? แต่แท้จริงแล้วในทางมานุษยวิทยามนุษย์ทุกคนล้วนมีเหตุผล แต่เหตุผลแต่ละเหตุผลก็มีที่มาจากความเชื่อที่ต่างกัน เช่น เหตุที่พระเจ้าบันดาลมา เหตุจากอดีต มนุษย์นั้นรู้จักการใช้เหตุผลมานานแล้ว แต่ว่าเป็นเหตุผลกับคนละชุดในตอนนี้ ต่อมาเป็นเรื่องมนุษย์นิยม มนุษย์นิยมนั้นหมายถึงว่า เป็นอิสระ ที่มีความพยายามที่จะเป็นอิสระจากอำนาจศักดิ์สิทธิ์ลี้ลับระดับจักรวาลเพื่อที่จะเป็นนายตนเอง แต่ก็ยังมีคนไม่น้อยที่ต้องการให้ความเป็นเหตุเป็นผลของมนุษย์กลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า เจตจำนงของพระเจ้า และก็ยังมีคนที่เห็นว่ามนุษย์เป็นด้านหลักพระเจ้าเป็นอำนาจรองเช่นกัน ซึ่งความคิดเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดความคิดแบบใหม่ ๆ ที่มั่นคงมากขึ้น จนช่วงหลังกลายเป็นฐานของการสร้างสถาบันทางสังคม สิ่งนี้ทำให้เห็นว่าเราไม่มีภาวะเหล่านั้น หากมองสิ่งที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 นั่นคือ การพยายามปฏิรูป จากรัชกาลที่ 4 ที่เห็นความไม่สมเหตุสมผลของพระพุทธศาสนาในกระแสหลัก เพราะได้เห็นว่ามีลัทธิไสยพราหมณ์เจือปนอยู่มาก ทำให้การปฏิรูปพระพุทธศาสนาในรัชกาลที่ 4 คือ การพยายามทำให้พระพุทธศาสนาเป็นพระพุทธศาสนาที่ออกจากสิ่งเจือปนเหล่านั้น ธงชัยได้ตั้งข้อสังเกตว่าไสยพราหมณ์นั้นเป็นคู่ตรงข้ามของพุทธ เพราะว่าไสยกับพราหมณ์เป็นคู่แค้นกับพุทธมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้ว ซึ่งได้สังเกตเห็นอีกว่า รัชกาลที่ 4 ไม่ได้เลือกเชื่อในสิ่งในศักดิ์สิทธิ์ จนได้สถาปนาว่าพุทธที่ดีต้องไม่เชื่อไสย ต้องไม่เชื่อพราหมณ์ แต่ต่อมาก็นำมาสู่เหตุผลใหม่ที่ทำลายเหตุผลของสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั่นคือ วิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นเหตุผลที่เราสามารถที่จะเข้าใจกฎเกณฑ์มันได้ ในสยามพอเราเลิกเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ รัชกาลที่ 4 ได้บอกว่า ธรรมมะของพุทธที่แปลว่าเป็นอยู่เอง เป็นเช่นนั้นเอง ดำรงอย่างเป็นปกติอยู่แล้ว ได้มีระบบเหตุผลทางวิทยาศาสตร์มาช่วย ให้เป็นพุทธแบบวิทยาศาสตร์แต่ก็ยังเป็นพุทธ สังเกตได้ว่าในประเทศไทยนั้น วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ธรรมชาติที่เกิดอยู่เป็นเองเป็นธรรมะ สติที่แปลว่าเกิดตามธรรมะ เราไม่หลุดออกจากธรรมะเลยเป็นจุด ที่เหมือนกับวิทยาศาสตร์ธรรมชาติที่มีความสัมพันธ์กับวิทยาศาสตร์และพระพุทธศาสนาที่เป็นคู่ตรงข้ามของทางวิทยาศาสตร์และก็บริษัทศาสนาไม่เหมือนเลย มนุษย์ที่มีกิเลสก็ต้องยอมให้ผู้ที่มีบุญญาธิการมีผู้ที่ร่วมงานที่สุดขึ้นมาปกครอง เพื่อเป็นสมมติธิราช ความเป็นไทยคือการเป็นช่วงชั้น จากที่ได้อธิบายไปว่ารากของช่วงชั้นมาจากมนุษย์นิยมแบบไทย เราจึงต้องการผู้มีบุญมาปกครอง สัจจนิยมแบบไทยนั้นมีสิ่งที่เรียกว่า ความจริงเหนือความจริง หรือก็คือความจริงมันมีชั้น มีความจริงอีกชั้นหนึ่งซึ่งความจริงอีกชั้นหนึ่งเป็นความจริงจากตามธรรมะ ความจริงที่มันควรจะเป็นความจริงแต่มันเป็นไปไม่ได้เพราะกิเลสหนา

คุณสามารถพูดถึงเขาได้ในความเป็นจริงที่เป็น 2 ระดับก็คือ ความเป็นจริงที่เป็นจริงของมนุษย์ที่กิเลสหนา แต่ความเป็นจริงที่เป็นจริงแท้ยิ่งกว่านั้น คือความเป็นจริงที่เราปรารถนา พูดถึงความจริงที่อยากจะเป็น แต่ตอนนี้กิเลสหนาเกินไปเราจะมีหน้าไปบอกว่าประเทศไทยเคารพสิทธิมนุษยชน ประเทศไทยไม่เคยค้ามนุษย์ ประเทศไทยเป็นประชาธิปไตย ประเทศไทยมี Rule of low ฯลฯ นี่คือความจริงเชิงประจักษ์ แต่เราไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลย ประเทศไทยสามารถอยู่กับระบบ 2 หน้าแบบนี้ได้เพราะการคิดระบบของเขานี่ไม่ใช่ระบบแบบ 2 หน้านี่มันคือการยอมรับความเป็นจริง แต่หากเราว่าเรายังไม่มีความสามารถรับรู้ถึงขนาดสิ่งที่เราปรารถนาความเป็นจริง กิเลสมันมีเยอะไป ความบกพร่องมันมีเยอะไป เราจะทำให้คนดีกว่านี้เน้นให้คนมีศีลธรรม อบรมวินัย แก้กันที่คนเพราะว่าระบบมันใช้ได้อยู่ แล้วที่ระบบมันห่วยกว่าคนมันยังไม่ดี  ซึ่งแทนที่จะมองว่าปัญหาเป็นปัญหาเชิงระบบ ถ้าใครมองว่าปัญหาที่เกิดขึ้นคือปัญหาของระบบ 

ธงชัยตั้งข้อสังเกตว่า ประเทศไทยมีการรวมชาติคล้ายกับจักรวรรดิรัสเซีย ซึ่งเห็นได้จากกระบวนการสำคัญที่จักรวรรดิรัสเซียได้ทำนั่นก็คือ การทำให้ประเทศทั้งหมดเหมือน ๆ กัน เริ่มต้นและลงพื้นฐานด้วยการทำให้พูดภาษาเดียวกัน เพราะเขาคิดว่าภาษาคือฐานทั้งหมดของการคิดจินตนาการและการแยกแยะ ทำให้ระบบความคิดทั้งหมดอิงอยู่กับส่วนกลาง นั่นคือหัวใจของสิ่งที่เรียกว่า จักรวรรดินิยม และนี่คือสิ่งที่ทำให้เกิดรัฐเดียวจนแตะต้องไม่ได้แบบที่รัฐไม่ได้อยู่ภายใต้กฎหมาย เพราะรัฐเป็นผู้สถาปนากฎหมายเองเพื่อใช้ปกครองประชาชน สถานะความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับกฎหมายเป็นแบบนั้น จึงตกทอดต่อมารัฐในยุคต่อมาพยายามสถาปนาสภาวะที่ไม่ได้เป็นสภาวะปกติ เพราะเขาเป็นผู้สถาปนากฎหมาย และจะใช้กฎหมายกับประชาชน เขาไม่ได้อยู่ใต้กฎหมายเดียวกัน ทีนี้ย้อนกลับไปถึงสังคมอีกหลายด้าน เราไม่ได้ยังเป็นสังคมที่ยังเชื่อพลังสิ่งลี้ลับศักดิ์สิทธิ์ แต่เรายังไม่ได้ทำการวิจัยศึกษาค้นคว้า เรารู้จักมันอยู่ทุกวันแต่เราก็ไม่ได้พยายามเข้าใจมันให้ชัดให้มันเป็นระบบ ว่าเรากำลังอยู่บนฐานชนิดไหนกัน หรือว่าเรากำลังอยู่บนฐานของพุทธชนิดไหนกันแน่ ซึ่งผมไม่รู้จะเรียกอะไรดีแต่ผมไม่ได้อยู่บนฐานบนโลกสมัยใหม่ ลองจินตนาการแบบที่ 1 และลองจินตนาการแบบที่ 2 เราจะพบว่ามันต่างกันลี้ลับและอย่างที่ 2 นี่แหละคือสิ่งที่เป็นรากฐานของสังคมไทยที่เติบโต 100 กว่าปีที่ผ่านมา ในเมื่ออย่างนี้ไม่ถึงเวลาอีกเหรอที่เราจะรื้อประวัติศาสตร์ไทยสักที

ผมอยากจะบอกกับทุกคนว่า ให้รื้อประเทศไทยไปอย่างเงียบ ๆ ให้มันพอจะเป็นได้ อย่างน้อยให้ตระหนักว่าสิ่งที่เขาบอกมาตั้งแต่เกิดมันไม่ได้เป็นอย่างที่เขาบอก มันมีเรื่องเยอะเหลือเกินที่เราจะต้องทำ ยังมีความรู้มากเหลือเกินที่เรายังไม่รู้ ยังมีสิ่งที่เราต้องรื้อมากเหลือเกินที่เราต้องรื้อ มันจะไม่ได้เกิดขึ้นง่าย ๆ เพียงสักว่าจะรื้อหรือบอกจะถอนรากถอนโคน ถ้าเราไม่ได้เริ่มสร้างฐานความรู้ให้สังคมไทยพัฒนาฐานความรู้เกี่ยวกับอดีต พัฒนาสถาบันด้านต่าง ๆ ในสังคมไทย ให้มันดีกว่าที่เป็นอยู่ ให้มันมีมากที่สุดคืบหน้ามากที่สุด ถ้าจะเป็นไปได้หากมีโอกาส ที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงขึ้นมาอีกครั้ง เราจะได้ลงมือกระทำกันได้อย่างมีพื้นมีฐานมีมวลเหล่านั้น และสำหรับคนที่ไม่ปรารถนาหรือไม่รอคอยให้เกิด 2475 ผลมันอาจจะเปลี่ยนแปลงได้ ผมเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงทางระบบเป็นไปได้ ไม่จำเป็นต้องอาศัยการ เปลี่ยนแปลงขั้วด้านที่เรียกว่าการปฏิวัติ เป็นไปได้ถ้าเราไม่ปล่อยให้โอกาสที่มันมาซึ่งเกิดขึ้นมาบ้างเป็นระยะหลุดมือ กรณีอีกหลายกรณีเราน่าจะสู้และขุดไปถึงระบบมี มีวิธีในทุกวงการ แต่สำคัญมากคือเรากำลัง ต้องการความรวมกันขนานใหญ่อย่างเร่งด่วน อยู่ที่นักศึกษาทั้งหลาย ที่อาจารย์ทั้งหลาย หลาย ๆ คนมีความทะเยอทะยานปรารถนาไม่เหมือนกัน คุณทำเท่าที่คุณทำได้เก็บสิ่งที่คิดวันนี้สิ่งที่รู้วันนี้สิ่งที่สงสัย และหาคำตอบและเป็นที่เป็นแบบของคุณมันจะมีประโยชน์ต่อคุณและสังคมมาก

ทีมข่าวที่ประกอบไปด้วยผู้คนหลากหลาย บ้างก็มาจากทะเล บ้างก็มาจากภูเขา แต่สุดท้ายก็ลงเอยที่ภาคเหนืออยู่ที่ Lanner นี่แหละ...

ข่าวที่เกี่ยวข้อง