ที่ผ่านมาเด็กภาคเหนือหลุดออกจากระบบการศึกษามากแค่ไหน?

‘ปัญหาการตกหล่นออกจากระบบการศึกษา’ ถือเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของเด็กภาคเหนือและทิศทางการพัฒนาของพื้นที่อย่างมีนัยสำคัญ การขาดโอกาสทางการศึกษาไม่เพียงแต่จำกัดศักยภาพของเด็ก แต่ยังเป็นการขัดขวางการพัฒนาของภูมิภาคด้วย การศึกษาเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาคนและประเทศ การที่เด็กจำนวนไม่น้อยในภาคเหนือต้องพลาดโอกาสนี้จึงเป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องร่วมกันหาทางแก้ไข

จากการสำรวจข้อมูล สถิติข้อมูลทางการศึกษา ปีการศึกษา 2566/1 ข้อมูลปีการศึกษา 2566 รายเขตพื้นที่การศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่ามีเด็กภาคเหนือที่ต้องหลุดออกจากระบบการศึกษาในช่วงปี 2564-2565 ถึง 18,520 คน แบ่งเป็น เด็กผู้เรียนสายสามัญศึกษา (ประถมและมัธยมศึกษา) จำนวน 153 คน และเด็กผู้เรียนสายอาชีวศึกษา (ปวช. ปวส.) จำนวน 18,367 คน ดังนี้

จำนวนผู้เรียนสายสามัญศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษา (สพป.) ที่ออกกลางคันจำแนกตามสาเหตุ และเพศ รายเขตพื้นที่การศึกษา ปีการศึกษา 2565 42 คน แบ่งเป็น ผู้เรียนเพศชาย 29 คน และผู้เรียนเพศหญิง 13 คน

จังหวัดเชียงใหม่ มีนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาออกกลางคันทั้งหมด 14 คน แบ่งเป็น ชาย 14 คน หญิง 0 คน สามารถจำแนกตามสาเหตุได้คือ มีปัญหาในการปรับตัว 7 คน แบ่งเป็น ชาย 7 คน หญิง 0 คน หาเลี้ยงครอบครัว 3 คน แบ่งเป็น ชาย 2 คน หญิง 0 คน อพยพตามผู้ปกครอง 3 คน แบ่งเป็น ชาย 3 คน หญิง 0 คน มีปัญหาครอบครัว 2 คน แบ่งเป็น ชาย 2 คน หญิง 0 คน

จังหวัดกำแพงเพชร มีนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาออกกลางคันทั้งหมด 9 คน แบ่งเป็น ชาย 6 คน หญิง 3 คน สามารถจำแนกตามสาเหตุได้คือ สมรส 4 คน แบ่งเป็น ชาย 2 คน หญิง 2 คน มีปัญหาในการปรับตัว 1 คน แบ่งเป็น ชาย 1 คน หญิง 0 คน อพยพตามผู้ปกครอง 1 คน แบ่งเป็น ชาย 1 คน หญิง 0 คน มีปัญหาครอบครัว 3 คน แบ่งเป็น ชาย 2 คน หญิง 1 คน

จังหวัดพะเยา มีนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาออกกลางคันทั้งหมด 5 คน แบ่งเป็น ชาย 2 คน หญิง 3 คน สามารถจำแนกตามสาเหตุได้คือ สมรส 2 คน แบ่งเป็น ชาย 0 คน หญิง 2 คน ต้องคดี/ถูกจับ 1 คน แบ่งเป็น ชาย 1 คน หญิง 0 คน อพยพตามผู้ปกครอง 2 คน แบ่งเป็นชาย 1 คน หญิง 1 คน

จังหวัดเพชรบูรณ์ มีนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาออกกลางคันทั้งหมด 5 คน แบ่งเป็น ชาย 3 คน หญิง 2 คน สามารถจำแนกตามสาเหตุได้คือ มีปัญหาในการปรับตัว 3 คน แบ่งเป็น ชาย 2 คน หญิง 1 คน เจ็บป่วย/อุบัติเหตุ 1 คน แบ่งเป็น ชาย 1 คน หญิง 0 คน อพยพตามผู้ปกครอง 1 คน แบ่งเป็น ชาย 0 คน หญิง 1 คน

จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาออกกลางคันทั้งหมด 4 คน แบ่งเป็น ชาย 3 คน หญิง 1 คน สามารถจำแนกตามสาเหตุได้คือ มีปัญหาในการปรับตัว 3 คน แบ่งเป็น ชาย 3 คน หญิง 0 คน มีปัญหาครอบครัว 1 คน แบ่งเป็น ชาย 0 คน หญิง 1 คน

จังหวัดน่าน มีนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาออกกลางคันทั้งหมด 2 คน แบ่งเป็น ชาย 0 คน หญิง 2 คน สามารถจำแนกตามสาเหตุได้คือ สมรส 2 คน แบ่งเป็น ชาย 0 คน หญิง 2 คน

จังหวัดนครสวรรค์ มีนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาออกกลางคันทั้งหมด 2 คน แบ่งเป็น ชาย 1 คน หญิง 1 คน สามารถจำแนกตามสาเหตุได้คือ สมรส 1 คน แบ่งเป็น ชาย 0 คน หญิง 1 คน หาเลี้ยงครอบครัว 1 คน แบ่งเป็น ชาย 1 คน หญิง 0 คน

จังหวัดเชียงราย มีนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาออกกลางคันทั้งหมด 1 คน แบ่งเป็น ชาย 0 คน หญิง 1 คน สามารถจำแนกตามสาเหตุได้คือ อพยพตามผู้ปกครอง 1 คน แบ่งเป็น ชาย 0 คน หญิง 1 คน

ทั้งนี้ จังหวัดซึ่งไม่มีรายงานจำนวนผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาที่ออกกลางคัน (0 คน) มีจำนวนทั้งสิ้น 9 จังหวัด  ได้แก่ จังหวัดลำปาง ลำพูน แพร่ ตาก พิจิตร อุตรดิตถ์ พิษณุโลก สุโขทัย และอุทัยธานี 

หากพิจารณาข้อมูลข้างต้น พบว่า จำนวนผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาที่หลุดออกจากระบบการศึกษากลางคันส่วนใหญ่เป็นผู้เรียนเพศชายมากกว่าเพศหญิง  โดยสาเหตุหลักที่ทำให้เด็กออกกลางคันคือ ปัญหาในการปรับตัว 14 คน รองลงมาคือ สมรส 9 คน และอพยพตามผู้ปกครอง 8 คน ส่วนสาเหตุอื่น ๆ ได้แก่ มีปัญหาครอบครัว 6 คน หาเลี้ยงครอบครัว 4 คน ต้องคดี/ถูกจับ 1 คน และเจ็บป่วย/อุบัติเหตุ 1 คน ทั้งนี้ จังหวัดที่มีจำนวนผู้เรียนออกกลางคันมากที่สุดคือ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 14 คน รองลงมาคือ กำแพงเพชร จำนวน 9 คน และพะเยา เพชรบูรณ์ ซึ่งมีจำนวน 5 คนเท่ากัน ตามลำดับ

จำนวนผู้เรียนสายสามัญศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย (สพม.) ออกกลางคันจำแนกตามสาเหตุ และเพศ รายเขตพื้นที่การศึกษา ปีการศึกษา 2565 111 คน แบ่งเป็น ผู้เรียนเพศชาย 57 คน และผู้เรียนเพศหญิง 54  คน ดังนี้

จังหวัดกำแพงเพชร มีนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาออกกลางคันทั้งหมด 32 คน แบ่งเป็น ชาย 17 คน หญิง 15 คน มีปัญหาในการปรับตัว 23 คน แบ่งเป็น ชาย 11 คน หญิง 12 คน สมรส 1 คน แบ่งเป็น ชาย 0 คน หญิง 1 คน เจ็บป่วย/อุบัติเหตุ 1 คน แบ่งเป็น ชาย 1 คน หญิง 0 คน หาเลี้ยงครอบครัว 4 คน แบ่งเป็น ชาย 3 คน หญิง 1 คน อพยพตามผู้ปกครอง 1 คน แบ่งเป็น ชาย 1 คน หญิง 0 คน มีปัญหาครอบครัว 2 คน แบ่งเป็น ชาย 1 คน หญิง 1 คน

จังหวัดนครสวรรค์ มีนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาออกกลางคันทั้งหมด 25 แบ่งเป็น ชาย 13 คน หญิง 12 คน มีปัญหาในการปรับตัว 1 คน แบ่งเป็น ชาย 0 คน หญิง 1 คน ต้องคดี/ถูกจับ 1 คน แบ่งเป็น ชาย 1 คน หญิง 0 คน หาเลี้ยงครอบครัว 20 คน แบ่งเป็น ชาย 12 คน หญิง 8 คน

จังหวัดเพชรบูรณ์ มีนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาออกกลางคันทั้งหมด 20 แบ่งเป็น ชาย 11 คน หญิง 9 คน หาเลี้ยงครอบครัว 6 คน แบ่งเป็น ชาย 6 คน หญิง 0 คน อพยพตามผู้ปกครอง 7 คน แบ่งเป็น ชาย 3 คน หญิง 4 คน ฐานะยากจน 2 คน แบ่งเป็น ชาย 0 คน หญิง 2 คน มีปัญหาครอบครัว 5 คน แบ่งเป็น ชาย 2 คน หญิง 3 คน

จังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดอุตรดิตถ์ มีนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาออกกลางคันทั้งหมด 11 คน แบ่งเป็น ชาย 6 คน หญิง 5 คน สมรส 1 คน แบ่งเป็น ชาย 0 คน หญิง 1 คน หาเลี้ยงครอบครัว 4 คน แบ่งเป็น ชาย 2 คน หญิง 2 คน อพยพตามผู้ปกครอง 2 คน แบ่งเป็น ชาย 1 คน หญิง 1 คน มีปัญหาครอบครัว 4 คน แบ่งเป็น ชาย 3 คน หญิง 1 คน

จังหวัดเชียงใหม่ มีนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาออกกลางคันทั้งหมด 7 คน แบ่งเป็น ชาย 2 คน หญิง 5 คน มีปัญหาในการปรับตัว 5 คน แบ่งเป็น ชาย 2 คน หญิง 3 คน มีปัญหาครอบครัว 2 คน แบ่งเป็น ชาย 0 คน หญิง 2 คน

จังหวัดน่าน มีนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาออกกลางคันทั้งหมด 7 คน แบ่งเป็น ชาย 4 คน หญิง 3 คน  มีปัญหาในการปรับตัว 1 คน แบ่งเป็น ชาย 0 คน หญิง 1 คน สมรส 1 คน แบ่งเป็น ชาย 0 คน หญิง 1 คน หาเลี้ยงครอบครัว 5 คน แบ่งเป็น ชาย 4 คน หญิง 1 คน

จังหวัดลำปางและจังหวัดลำพูน มีนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาออกกลางคันทั้งหมด 4 คน แบ่งเป็น ชาย 1 คน หญิง 3 คน เจ็บป่วย/อุบัติเหตุ 1 คน แบ่งเป็น ชาย 0 คน หญิง 1 คน หาเลี้ยงครอบครัว 1 คน แบ่งเป็น ชาย 1 คน หญิง 0 คน มีปัญหาครอบครัว 2 คน แบ่งเป็น ชาย 0 คน หญิง 2 คน

จังหวัดตาก มีนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาออกกลางคันทั้งหมด 4 คน แบ่งเป็น ชาย 2 คน หญิง 2 คน อพยพตามผู้ปกครอง 4 คน แบ่งเป็น ชาย 2 คน หญิง 2 คน

จังหวัดพิจิตร มีนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาออกกลางคันทั้งหมด 1 คน แบ่งป็นชาย 1 คน หญิง 0 คน หาเลี้ยงครอบครัว 1 คน แบ่งเป็น ชาย 1 คน หญิง 0 คน

ทั้งนี้ จังหวัดซึ่งไม่มีรายงานจำนวนผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาที่ออกกลางคัน (0 คน) มีจำนวนทั้งสิ้น 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย แพร่ แม่ฮ่องสอน พะเยา และสุโขทัย

จากข้อมูลดังกล่าว พบว่า จำนวนผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาที่หลุดออกจากระบบการศึกษากลางคันส่วนใหญ่ก็ยังคงเป็นผู้เรียนเพศชายมากกว่าเพศหญิง โดยสาเหตุหลักที่ทำให้เด็กออกกลางคันคือ หาเลี้ยงครอบครัว 41 คน รองลงมาคือ มีปัญหาในการปรับตัว 30 คน และมีปัญหาครอบครัว 15 คน ส่วนสาเหตุอื่น ๆ ได้แก่ อพยพตามผู้ปกครอง 14 คน สมรส 3 คน เจ็บป่วย/อุบัติเหตุ 2 คน ต้องคดี/ถูกจับ 1 คน ทั้งนี้ จังหวัดที่มีจำนวนผู้เรียนออกกลางคันมากที่สุดคือ จังหวัดกำแพงเพชร 32 คน รองลงมาคือ นครสวรรค์ 25 คน และเพชรบูรณ์ 20 คน ตามลำดับ

เมื่อสำรวจเพิ่มเติมจากข้อมูลดัชนีทางการศึกษาระดับภาค พบว่าไม่เพียงแต่เด็กผู้เรียนสายสามัญศึกษาเท่านั้นที่หลุดออกจากระบบการศึกษาจำนวนมาก แต่เด็กผู้เรียนสายอาชีวศึกษาโดยเฉพาะผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ก็เผชิญกับปัญหาเดียวกันนี้เช่นกัน โดยข้อมูลดัชนีทางการศึกษาระดับภาค 1-18 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ระบุว่า ปีการศึกษา 2564 มีอัตราการออกกลางคันของผู้เรียนระดับ ปวช. จำนวน 12,530 คน คิดเป็น 13.17% ของจำนวนผู้เรียนต้นปี 95,161 คน และอัตราการออกกลางคันของผู้เรียนระดับ ปวส. จำนวน 5,837 คน คิดเป็น 11.13% ของจำนวนผู้เรียนต้นปี 52,449 คน ดังนี้

จังหวัดเชียงใหม่ มีอัตราการออกกลางคันของผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 1,914 คน และผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 1,077 คน 

จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีอัตราการออกกลางคันของผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 176 คน และผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 32 คน

จังหวัดลำปาง มีอัตราการออกกลางคันของผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 650 คน และผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 301 คน

จังหวัดลำพูน มีอัตราการออกกลางคันของผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 516 คน และผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 427 คน

จังหวัดเชียงราย มีอัตราการออกกลางคันของผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 1,574 คน และผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 578 คน

จังหวัดน่าน มีอัตราการออกกลางคันของผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 483 คน และผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 295 คน

จังหวัดพะเยา มีอัตราการออกกลางคันของผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 358 คน และผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 167 คน

จังหวัดแพร่ มีอัตราการออกกลางคันของผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 412 คน และผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 275 คน

จังหวัดพิษณุโลก มีอัตราการออกกลางคันของผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 848 คน และผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 546 คน

จังหวัดตาก มีอัตราการออกกลางคันของผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 660 คน และผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 226 คน

จังหวัดเพชรบูรณ์ มีอัตราการออกกลางคันของผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 1,009 คน และผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 395 คน

จังหวัดสุโขทัย มีอัตราการออกกลางคันของผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 723 คน และผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 219 คน

จังหวัดอุตรดิตถ์ มีอัตราการออกกลางคันของผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 690 คน และผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 246 คน 

จังหวัดนครสวรรค์ มีอัตราการออกกลางคันของผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 1,150 คน และผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 463 คน

จังหวัดกำแพงเพชร มีอัตราการออกกลางคันของผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 581 คน และผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 322 คน

จังหวัดพิจิตร มีอัตราการออกกลางคันของผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 399 คน และผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 132 คน

จังหวัดอุทัยธานี มีอัตราการออกกลางคันของผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 387 คน และผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 136 คน

จากข้อมูล พบว่า จังหวัดที่มีอัตราการออกกลางคันของผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) มากที่สุดคือ จังหวัดเชียงใหม่ 1,914 คน รองลงมาคือ เชียงราย 1,574 คน และนครสวรรค์ 1,150 คน ส่วนจังหวัดที่มีอัตราการออกกลางคันของผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) มากที่สุดคือ จังหวัดเชียงใหม่ 1,077 คน รองลงมาคือ เชียงราย 578 คน และพิษณุโลก 546 คน ตามลำดับ

สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นว่า ปัญหาการหลุดออกจากระบบการศึกษาไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในสายสามัญเท่านั้น แต่ยังขยายไปสู่สายอาชีพด้วย ปัญหาการหลุดออกจากระบบการศึกษาเป็นประเด็นที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนในทุกระดับการศึกษาจากหน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

หมายเหตุ: การสำรวจไม่นับรวมจังหวัดอุทัยธานี เนื่องจากข้อมูล สพม. ในส่วนของอุทัยธานีอยู่ในเขตที่นับรวมกับจังหวัดชัยนาท ซึ่งไม่สามารถจำแนกข้อมูลออกมาได้

อ้างอิง

ทีมข่าวที่ประกอบไปด้วยผู้คนหลากหลาย บ้างก็มาจากทะเล บ้างก็มาจากภูเขา แต่สุดท้ายก็ลงเอยที่ภาคเหนืออยู่ที่ Lanner นี่แหละ...

ข่าวที่เกี่ยวข้อง