เรื่อง: ปรัชญา ไชยแก้ว
ค่าแรงขั้นต่ำ ถือว่าเป็นตัวรองรับ และคุ้มครองแก่ลูกจ้าง ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่เหนือความยากจนได้ ซึ่งทุกครั้งหลังมีการประกาศขึ้นค่าแรง มักจะเจอแรงต้านจากประชาชนบางส่วนไว้ว่า อาจจะทำให้เกิด ต้นทุนสินค้าที่สูง ภาวะเงินเฟ้อ นักลงทุนย้ายฐานการผลิต
โดย คณะกรรมการค่าจ้าง ได้ให้ความหมายของความของอัตราข้าจ้างขั้นต่ำ ไว้ว่า อัตราค่าจ้างที่คณะกรรมการค่าจ้างกำหนดตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุมครองแรงงาน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ โดย คณะกรรมการค่าจ้างมีแนวคิดเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำว่า “เป็นอัตราค่าจ้างที่เพียงพอสำหรับแรงงานทั่วไป แรกเขาทำงาน 1 คน ให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้ตามสมควรแก่มาตรฐานการครองชีพ สภาพเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งเหมาะสมตามความสามารถของธุรกิจในท้องถิ่นนั้น”
ข้อมูลอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปี พ.ศ. 2567 ตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 12) ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ระบุว่าค่าจ้างขั้นต่ำ ของ 17 จังหวัดภาคเหนือดังนี้
หากอิงจากข้อมูลอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปี พ.ศ. 2567 จะพบว่าค่าแรงขั้นต่ำของภาคเหนือนั้นมีสัดส่วนที่ต่ำ หากเทียบกับทั้งประเทศ ซึ่ง จังหวัด น่าน, พะเยาและแพร่ นั้นอยู่อันดับรองสุดท้าย รองจากจังหวัดนราธิวาส, ปัตตานี และยะลา เพียงเท่านั้น ซึ่งหากนำค่าแรงขั้นต่ำของจังหวัด น่าน, พะเยา และ แพร่ ที่ 338 มาคูณกับ 6 วัน/สัปดาห์ จะได้ 2,028 ต่อสัปดาห์ ซึ่งหาก คูณ 4 อาทิตย์ รายได้ขั้นต่ำทั้งเดืนอของทั้ง 3 จังหวัด จะอยู่ที่ 8,112 บาท
โดยข้อมูลจาก อัตราค่าจ้างขั้นต่ำในปี 2565 ตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 11) จะพบว่าจังหวัดที่เพิ่มค่าแรงมากที่สุด เชียงรายและตาก ที่ 13 บาท และจังหวัดที่เพิ่มค่าแรงน้อยที่สุดก็คือ พะเยา ที่ 3 บาท สามารถดูได้ตามตารางนี้
จังหวัด | ค่าจ้างขั้นต่ำปี 2565 (ฉบับที่ 11) | ค่าจ้างขั้นต่ำปี 2567 (ฉบับที่ 11) | เพิ่มขึ้น/บาท |
เชียงราย | 332 | 345 | 13 |
ตาก | 332 | 345 | 13 |
ลำพูน | 332 | 343 | 11 |
เชียงใหม่ | 340 | 350 | 10 |
น่าน | 328 | 338 | 10 |
พิษณุโลก | 335 | 345 | 10 |
นครสวรรค์ | 335 | 343 | 8 |
พิจิตร | 332 | 240 | 8 |
แม่ฮ่องสอน | 332 | 340 | 8 |
ลำปาง | 332 | 340 | 8 |
สุโขทัย | 332 | 340 | 8 |
อุทัยธานี | 332 | 340 | 8 |
เพชรบูรณ์ | 335 | 342 | 7 |
อุตรดิตถ์ | 335 | 340 | 5 |
กำแพงเพชร | 335 | 340 | 5 |
แพร่ | 332 | 338 | 6 |
พะเยา | 335 | 338 | 3 |
เปิดสาเหตุทำไมค่าแรงขั้นต่ำ ไม่เท่ากันทั้งประเทศ แต่ 1 ตุลานี้แล้วเท่าแล้วนะ
ในประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 12) ระบุถึงการพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่อาจจะเป็นเหตุผลว่าทำไมค่าแรงถึงไม่เท่ากันทั่วประเทศ เนื่องจากเกิดจากการคำนึงถึงดัชนีค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ มาตรฐานการครองชีพ ต้นทุนการผลิต ราคาของสินค้าและบริการ ความสามารถของธุรกิจ ผลิตภาพแรงงาน ผลิตภัณฑ์มวลรวมของปรพเทศ และสภาพเศรษฐกิจและสังคม รวมกับสูตรการคำนวณอัตราคาจ้างขั้นต่ำ โดยได้เทียบเคียงหรือใกล้เคียงกับสูตรการกำหนดอัตรา ค่าจ้างขั้นต่ำของหลายประเทศ เช่น ฝรั่งเศส มาเลเซีย บราซิล และคอสตาริก้า ซึ่งองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization : ILO) นำมาแสดงเป็นกรณีตัวอย่างของสูตรที่ต่างประเทศยอมรับว่า สามารถดูแลคุณภาพชีวิตของลูกจ้างได้
ล่าสุดเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2567 ชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการกำหนดแนวทางเตรียมปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400 บาททั่วประเทศ จะทยอยปรับขึ้นเริ่มวันที่ 1 ตุลาคม 2567 เนื่องจากเป็นหนึ่งในนโยบายที่รัฐบาลได้หาเสียงเอาไว้ โดยเมื่อวันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา World Bank ได้เผยรายงาน East Asia and Pacific April 2024 Economic Update ฉบับเดือนเมษายน ปี 2024 ที่ได้คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2567 จะโตเพียง 2.8% ซึ่งปรับลดจากรายการฉบับก่อนหน้าเมื่อตุลาคม 2566 ที่ 3.5% World Bank คาดการณ์ถึงสาเหตุที่ GDP ของไทยเติบโตลดลงมาจากการส่งออกที่คาดว่าจะอ่อนแรง รวมไปถึงการลงทุนในภาครัฐที่น่าจะชะลอตัวเนื่องจากกระบวนการงบประมาณที่ล่าช้า ซึ่งเป็นเรื่องที่ประชาชนต้องติดตามเนื่องจากหากนับจากวันนี้ (9 กรกฎาคม 2567) จะเป็นเวลาไม่ถึง 3 เดือน ในการดำเนินแนวทางการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของรัฐบาล
กองบรรณาธิการ Lanner เกิดและโตที่เชียงใหม่ มีความฝันบ้า ๆ ว่าอยากเป็นชาวประมง สอดส่องชีวิตผู้คนด้วยเลนส์ 576 ล้านพิกเซล และกลั่นกรองออกมาเป็นงานเขียน พบเจอได้ตามกิจกรรมทางการเมือง ที่ ลานท่าแพ