ดี เอ็น เอ (DNA) และการศึกษาประวัติศาสตร์คนไท
เรียบเรียง: ณัฏฐวรรธน์ คล้ายสมมุติ เนื้อหาการบรรยายครั้งนี้จากโครงการบรรยายพิเศษระดับปริญญาตรีครั้งที่ 1 จัดโดยคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ.2566 หัวข้อการบรรยายครั้งนี้คือ ดี เอ็น เอ (DNA) และการศึกษาประวัติศาสตร์คนไท โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วิภู กุตะนันท์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ก่อนเข้าสู่เรื่องเกี่ยวกับคนไต-ไท และการศึกษา DNA ควรอธิบายก่อนว่ามนุษย์มาจากไหน ช่วงก่อนมาถึงมนุษย์สมัยใหม่ในปัจจุบันมนุษย์ถูกจัดอยู่ในประเภท Homo-Sapiens มีต้นกำเนิดอยู่แถบทวีปแอฟริกาในปัจจุบัน ปรากฏหลักฐานจากฟอสซิลและหลักฐานจาก DNA จากหลักฐานทั้งสองอย่างนี้มีความสอดคล้องกัน แต่ในปัจจุบันสปีชีส์ของมนุษย์ต่างจากยุคก่อนหรือในปัจจุบันเรียกว่ามุษย์สมัยใหม่ ในประเทศไทย DNA ที่เก่าที่สุดและคาดว่าสืบเชื้อสายมาจากทวีปแอฟริกาคือกลุ่มกลุ่มชาติพันธุ์ชาวมานิที่อาศัยอยู่ในภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งยังคง DNA แบบดั่งเดิมไว้ การศึกษาพันธุศาสตร์มีลักษณะการแสดงออก 3 อย่างคือ 1 ผมหยิก 2 ผิวดำ 3 ความสูงไม่มากนัก เป็นลักษณะที่พบได้ทั้วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่าง มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ หรือในหมู่เกาะอันดามัน … Continue reading ดี เอ็น เอ (DNA) และการศึกษาประวัติศาสตร์คนไท
Copy and paste this URL into your WordPress site to embed
Copy and paste this code into your site to embed