“เจ้าดารารัศมี” เจ้าหญิงผู้สร้างสรรค์แห่งล้านนา สู่มรดกทางวัฒนธรรม

เรื่อง: ธันยชนก อินทะรังษี

20 กันยายน 2566 มีเสวนาในหัวข้อที่ชื่อว่า “เจ้าหญิงผู้สร้างสรรค์แห่งล้านนา สู่มรดกทางวัฒนธรรม” จัดขึ้นโดย มูลนิธินวราชดำริอนุรักษ์ฝ่ายเหนือ ซึ่งแบ่งหัวข้อการเสวนา ดังนี้

1.พระกรณียกิจสู่ทุนวัฒนธรรม โดย ผศ.ดร.ภักดีกุล รัตนา

2.การรับรู้วัฒนธรรมล้านนาของสังคมไทย โดย อาจารย์ทรงสุข บุญทาวงค์

3.มรดกแม่เจ้าดารา สู่คุณค่าการท่องเที่ยวนครเชียงใหม่ โดย รศ.ดร.อำนาจ ขาวเครือม่วง

4.ทุนทางวัฒนธรรมกับการสร้างแบรนด์เมือง โดย อาจารย์วิสวัส ทองธีรภาพ ณ เชียงใหม่

ภาพ: สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

เจ้าหญิงแห่งอาณาจักรล้านนา หากใครศึกษาประวัติศาสตร์หรือเพียงแค่ประชาชนธรรมดาที่เดินผ่านชั่วครู่ชั่วคราว ส่วนใหญ่ล้วนเคยได้ยินชื่อของ “เจ้าดารารัศมี” อย่างแน่นอน ถ้าพูดถึงล้านนา คงหนีไม่พ้นการเอ่ยถึงสตรีท่านนี้ไปได้ ไม่ว่าตำรา ศิลาจารึก บันทึกใด ๆ ไม่ว่าพื้นฐานข้อมูลในการรับรู้เราจะมีมากน้อย ขอเรียนเชิญท่านผู้อ่านได้แลกเปลี่ยน “ความเป็นเจ้าดารารัศมี จากมุมมองนักวิชาการ” เพื่อเปิดพื้นที่ให้คนทุกกลุ่มได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นอย่างปุถุชนคนธรรมดา

 เมื่อกล่าวถึงความเป็น “ทุนวัฒนธรรม” มีหลากหลายประเด็นที่ได้นำมาพูดคุยกันในเชิงสืบเนื่อง เชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วย 4 ประเด็น อันได้แก่ ประเด็นแรกคือประวัติของพระราชชายา ประเด็นที่สองคือพระกรณียกิจ เพราะบริบทสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นในช่วงเวลา บุคคล หรือสถานการณ์นั้น มีบริบท ปัจจัยอะไรบ้าง ที่ทําให้พระองค์ต้องปฏิบัติหรือว่ามีพระกรณียกิจเช่นนี้ ประเด็นที่สามคือเรื่องของทุนธรรม ในความหมายนี้ จะมีการตีความในหลายรูปแบบ และประเด็นสุดท้ายคือพระกรณียกิจสู่คุณธรรมล้านนา  

ผศ.ดร.ภักดีกุล รัตนา ศูนย์ล้านนาศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในหัวข้อบทบาทผู้หญิงล้านนาในประวัติศาสตร์ ได้กล่าวไว้ว่า เจ้าดารารัศมี มีเชื้อสายราชวงศ์เจ้าเจ็ดตนทั้งทางพระบิดาและพระมารดา จึงถือว่ามีบรรดาศักดิ์สูงกว่าพระเชษฐาและพระภคินีที่ประสูติจากเจ้าแม่องค์อื่น ๆ ดังนั้นพระราชชายา ถือว่าเป็นสายเจ้าผู้ปกครองสายหลักของเชียงใหม่ เพราะว่าสืบมาตั้งแต่สมัยกษัตริย์พระองค์แรกของล้านนา อีกด้านหนึ่งของฝั่งสาแหรก คือฝั่งรัตนโกสินทร์ พระองค์ได้เชื่อมโยงร้อยเรียงอาณาจักร ซึ่งเป็นเหตุการณ์สําคัญมาก ๆ ในช่วงที่บ้านเมืองเรา อยู่ในช่วงของอาณานิคมอังกฤษ และฝรั่งเศส ที่ขยายเข้ามา 

“พระราชชายาจึงมีบทบาทสําคัญมาก ในการทําให้เรายังมีบ้านเมือง อยู่อย่างเป็นสุขทุกวันนี้”

ตั้งแต่ปี พ.ศ.2416 พระองค์มีพระชนม์มายุได้ 11 ชันษา พระองค์ได้เข้าพิธีโสกันต์ โดยพิธีโสกันต์หรือพิธีกรจุกนั้น เป็นพิธีของภาคกลางทางรัตนโกสินทร์ ซึ่งถือว่าเป็นราชนิกุลเชียงใหม่พระองค์แรก ที่ได้รับพระเกียรติพิธีโสกันต์จากรัชกาลที่ 5 จนปี พ.ศ.2490 พระองค์ได้ถวายรับเป็นข้าราชการเข้าไปในกรุงเทพ

หลังจากที่ ร.5 เสด็จสวรรคตไปหลายปี ซึ่งใน พ.ศ.2429 เป็นระยะเวลาเกือบสามสิบปี ที่พระองค์ไม่ได้กลับบ้าน จึงขอถวายบังคม ร.6 ลากลับสู่เมืองเชียงใหม่ ด้านเหตุการณ์สําคัญอีกครั้งหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ 7 เป็นกษัตริย์ราชวงศ์จักรีพระองค์แรก ที่เสด็จถึงเชียงใหม่ ตอนพระองค์ได้เสด็จมาประพาสเชียงใหม่ พระราชชายาเอง เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสําคัญ ในการจัดงานถวายพระเกียรติ รัชกาลที่ 7 ซึ่งขณะนั้นจะมีการจัดงานเพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสนี้ 

บทบาทสตรีเฉกเช่นวิถีล้านนา

พูดถึงเรื่อง “ภาพลักษณ์ผู้หญิงเหนือ” ภักดีกุลได้กล่าวเพิ่มเติมว่า มีการนำพระราชยาเป็น case study ที่อยู่ในการศึกษาหรือภาพลักษณ์ของผู้หญิงที่ปรากฏชัดเจน ภาพลักษณ์ที่สําคัญคือ เป็นภาพของผู้หญิงชั้นสูงที่งดงามและมีความสามารถ อาจกล่าวได้ว่าเป็นผู้หญิงที่มีความรู้ มีความสามารถ และมีความงดงามที่เป็นจริยวัตรของพระองค์ด้วย ซึ่งปรากฏชัดมากอย่างที่เราเห็นกันสืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน ทั้งความรู้ ความสามารถ แทบจะทุกด้าน ที่สําคัญคือเป็นภาพของเจ้านายฝ่ายเหนือที่บทบาทสําคัญในเชื่อมร้อยแผ่นดินให้เกิดแผ่นดินไทย 

อย่าลืมว่าบริบทในขณะนั้น เรากําลังเหมือนลูกแกะตัวน้อย ๆ  ที่มีหมาป่า มาจากยุโรป คือฝรั่งเศสและอังกฤษ อยู่รอบบ้านเมืองเราเลย มันจะมีวิธีไหนที่ยังคงรักษาแผ่นดิน และยังคงสืบทอดเพื่อให้เกิดความเป็นปึกแผ่นของเราไว้ได้ นี่จึงเป็นวิธีหนึ่ง แล้วนอกจากลักษณะภายนอก ด้านพระจริยวัตรส่วนพระองค์ ขณะเดียวกัน อัตลักษณ์ที่แสดงออกจะเป็นเอกลักษณ์ในลักษณะของการเป็นเจ้านายล้านนาชั้นสูง ที่แสดงออกผ่านการแต่งกาย ไม่เคยละเว้นการนุ่งผ้าซิ่นของเรา “อู้กำเมืองนะเจ้า กินกับข้าวเมือง” ในพระราชวังของพระองค์

เรื่องเล่าที่ปรากฎในเอกสาร คือวรรณกรรมเรื่องสี่แผ่นดิน หากใครได้ลองอ่านดูจะมีตอนที่แม่ช้อย แม่พลอยไปแอ่วอยู่ในวัง เยี่ยมชมพระตําหนักต่าง ๆ ของรัชกาลที่ 5 ช้อยบอกว่า ตําหนักเจ้าดารารัศมี นับว่าแปลกกว่าที่อื่นทั้งสิ้น เพราะข้าหลวงนุ่งซิ่นไว้ผมมวย นี่คือหลักฐานบันทึกทางประวัติศาสตร์ว่าเป็นแต่งกายอย่างชาวเชียงใหม่ อู้เมือง พูดภาษาเหนือทั้งตําหนัก และเป็นที่เดียวที่มีการแจกเมี่ยงกินกันเป็นประจํา ไม่เคยขาด

จากเอกสารของคุณปราณี ได้บันทึกไว้ว่า พระราชชายา ซึ่งจากบ้านไปตั้งแต่อายุ 13 ปี พ.ศ.2529  ไปอยู่ในวังหลวง คนแปลกหน้าอู้ภาษาคนละภาษา สมัยก่อนความแตกต่างทั้งการแต่งกายภาษามันเป็นสิ่งที่ชัดเจนมาก ๆ พอพระองค์ไปอยู่ตรงนั้น ก็จะมีเหตุการณ์หลายอย่าง ลองนึกถึงว่าพระตําหนักฝ่ายใน ผู้หญิงอยู่ในขณะนั้นก็มีอยู่เยอะ ก็คงมีเรื่องราวกันบ้าง พระองค์ก็เลยมีการปรารภว่า “ไขปิ๊กบ้านวันละร้อยเตื้อ”

จนกระทั่ง ปี พ.ศ.2457 ประเด็นหนึ่งที่นําเสนอคือ เราจะพูดถึงบริบทที่เกิดขึ้นในช่วงที่พระองค์ยังมีพระชนม์ชีพอยู่ ว่าบริบทใดที่ส่งเสริมพระองค์ที่เป็นกรณีอย่างไร บริบทแรกคือ พระบิดาพระเจ้าอินทวิชยานนท์ พระองค์เป็นอุปราชในสมัยประมาณ ปี พ.ศ.2396 พระองค์ได้ถูกนำให้ไปอยู่ที่กรุงเทพ เป็นอุปการะอยู่ในวังหลวง พอหนุ่มน้อยองค์หนึ่งไปอยู่ที่ในวังหลวงตอนนั้นกรุงเทพก็การรับอิทธิพลของต่างตะวันตกแล้ว อารยธรรมใหม่ได้เข้ามาแล้วในวังหลวงพระเจ้าอินทวิชยานนท์เติบโตท่ามกลางบรรยากาศอย่างนั้น จึงคาดว่าพระราชชายาหรือเจ้าดารารัศมี คงจะได้รับอิทธิพลจากพระบิดาด้วย 

อย่างแรกคือพิธีโสกันต์ แน่นอนว่าถ้าเราตีความทางประวัติศาสตร์ “นี่คือการเตรียมการหรือไม่ ในการให้พระองค์เข้าวังหลวงเมื่อโตขึ้น” เหมือนที่บอกว่าสถานการณ์ในตอนนั้นมันเหน็ดเหนื่อยอย่างยิ่งในยุคอาณานิคม ล้านนาเราคงไม่อยากเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษผ่านพม่า เพราะการเป็นเมืองขึ้นมันไม่สนุกหรอก จึงมีการตีความว่า นี่คือการเตรียมการครั้งที่หนึ่ง ที่พระบิดาได้เตรียมการไว้ให้ด้วยการถ่ายทอดความรู้จากวังหลวง 

บริบทต่อมาคือ เมื่อพระองค์เติบใหญ่ขึ้น พระองค์ได้เข้ารับราชการที่กรุงเทพ มาตั้งแต่อายุ 13  นึกถึงในวัยเราอายุ 13 ขวบ ยังเป็นเด็กอ่อนน้อยเมื่อเราเข้าไปเติบโตในสถานที่สถานที่อันหนึ่ง ย่อมรับอิทธิพลทางความคิด ทางการกระทํา ซึ่งพระองค์ก็ยังยืนหยัดความเป็นล้านนา แต่ว่าแน่นอนทางอุดมการณ์ทางความคิด ทัศนคติ ท่ามกลางวัฒนธรรมของชนชั้นสูงกับสยาม วิธีการมองโลกแบบสยามที่เปลี่ยนแปลงไป การรับผิดชอบตะวันตก การมองโลกแบบใหม่ เข้ามาในวิธีคิดอุดมการณ์ของพระองค์  ซึ่งนําไปสู่ความสนทัยต่อความรู้ใหม่ ๆ นําไปสู่การพัฒนาในเวลาต่อมา

เจ้าหญิงผู้สร้างสรรค์แห่งล้านนา

เริ่มแรกอย่างการถ่ายรูป ตอนนั้นถือว่าเป็นของเล่นชิ้นใหม่ เพราะว่าล้านนาเราก็ไม่มีกล้อง เกษตรกรเพิ่งจะเชื่อว่าถ้าถ่ายรูป แล้ววิญญาณจะติดไปในห้องตัวเอง คนโบราณบอกว่าการถ่ายรูปคือ การสะท้อนตัวตนของตัวเรา ปกติแล้วกระจกเป็นของชนชั้นสูง และหายากในสมัยก่อน จึงก็นําเข้าจากจีนบ้าง จากอินเดีย ชาวบ้านไม่มีทางได้มีกระจก ฉะนั้นแล้วเราจะไม่เห็นหน้าตัวเอง เราได้เพียงแค่จับคลำใบหน้าตัวเองเท่านั้น ฉะนั้นการถ่ายรูปเป็นเรื่องที่ใหม่อย่างยิ่ง เมื่อพระองค์ได้เติบโต ที่แห่งนั้นย่อมเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ได้รับโลกทัศน์ใหม่ให้กับเจ้าดารารัศมี

พระราชชายาได้รับอิทธิพลมาจากพระบิดา เรื่องของการดนตรี การละคร พระองค์โปรดให้มีการละเล่นดนตรีทั้งไทยและสากล ในพระตําหนักของพระองค์ จากที่ได้ลองศึกษามาพระองค์ได้มีการจ้างนักดนตรี ที่เป็นคนในวังหลวงมาสอนพิเศษให้กับข้าหลวง พระองค์ได้เรียนทั้งดนตรีไทย แบบภาคกลาง เรียนเปียโนกับชาวตะวันตกด้วย ฉะนั้นในตําหนัดของพระองค์จะได้ยินเสียงเพลงอยู่ตลอดเวลา แบบสมัยนี้มันก็เป็นฟิวชั่นผสมผสานวัฒนธรรมทั้งตะวันตก ภาคกลาง และของล้านนา

ในหลักฐานบอกว่าพระองค์มีความคิดสร้างสรรค์ สะท้อนชัดเจนคือการแสดง ออกแบบท่ารําใหม่ ๆ การแต่งกาย ออกแบบสมัยนี้ เพราะว่าเป็นออกแบบสไตล์ลิสต์ด้วยตัวเอง ออกแบบท่าเต้นด้วยตัวเอง สมัยนี้ท่ารำต่าง ๆ พระองค์คิดครีเอทสร้างสรรค์ขึ้น จนลักษณะเฉพาะไม่เหมือนที่ไหน และไม่เหมือนใคร

มีหลักฐานเป็นพระราชหัตถเลขา รัชกลางที่ 5 คือตอนที่พระองค์เสด็จกลับมาเยี่ยมเชียงใหม่ครั้งแรกตอน ปี พ.ศ.2451 กลับมาเยี่ยมบ้านชั่วคราว พระองค์ได้จัดแสดงละครที่วัดอินผาราม แสดงเรื่องพระลอตามไก่  ซึ่งได้มีคนส่งรายงานไปให้รัชกาลที่ 5 ว่า พระราชชายาได้จัดแสดงละครแบบกรุงเทพ ละครพูด ที่ปทุมผาราม ร.5 ได้เขียนชื่นชมว่า การที่ตั้งใจพยายามไปซ้อมละครเล่นพระลอ ใจคอก็เด่นนักหนา คนที่จะเล่นละครมันต้องเป็นคนที่คิดได้ทั้งหมด ประกอบกับตัวตนที่มีอยู่จึงจะเล่นได้ดี เพราะพระราชชายามีจิตใจที่ตั้งมั่น แล้วก็พยายามนําความรู้ที่พระองค์ได้ มาแสดงให้บ้านเราดู เพราะตอนนั้น วัฒนธรรมต่าง ๆ ที่ทันสมัย กว่าจะมาถึงเชียงใหม่ก็ยาก ไม่เหมือนสมัยนี้ นี่คือสิ่งใหม่ ๆ ที่เราได้รับโครงสร้างสรรค์ไว้ให้เขาตั้งแต่ยุคที่พระองค์มีวิชาชีพอยู่

ผ้าซิ่น อย่างที่บอกว่าพระองค์มีอัตลักษณ์และเอกลักษณ์พิเศษ คือแต่งกายแบบล้านนา แต่ด้วยความพระองค์เป็นคนสร้างสรรค์ จึงมีการประยุกต์เอาวัฒนธรรมตะวันตก ภาคกลาง และระหว่างล้านนา ผสมผสานกัน คือเสื้อไข่มุกแห้ง แล้วก็นุ่งกับผ้าซิ่น ในสมัยพระองค์ได้มีการฟื้นฟูและมีการคิดค้นขึ้นมาใหม่ เลยจะสนับสนุนให้ทําเพิ่มเติมสืบสานต่อไป เช่น ซิ่นตีนจก ซิ่นดิ้นเงินดิ้นทอง  ซิ่นยกดอกนะฮะ ซิ่นตาหรือซิ่นต่อตีน พระองค์ได้ใช้ทั้งความรู้ ความคิดสร้างสรรค์และกําลังเงิน ในการสนับสนุนให้ยังคงอยู่

บุพชาติเบ่งบานเป็นทุนทางวัฒนธรรม

“ภาษาวรรณกรรมและวรรณศิลป์กําเมือง ล้วนเป็นทุนทางวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่” 

ทุน เป็นคําที่ถูกใช้ประกอบสร้างความเป็นเศรษฐกิจ อีกคำที่แตกต่างกันอย่าสิ้นเชิง คือคำว่า ธรรม ที่หมายถึงมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษได้สั่งสมและสร้างสรรค์ไว้ให้ ความเป็นทุนธรรม คือเรานำเอาภูมิปัญญาเหล่านี้มาต่อยอด เพิ่มความเป็นสายวิทยาศาสตร์ลงไปให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ทั้งผลิตภัณฑ์ที่เป็นสินค้าและการบริการ เพื่อให้เกิดการต่อยอดทางเศรษฐกิจและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ 

ทรัพยากรทางวัฒนธรรม คือ “ต้นทุน” ในการนําไปใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ ทั้งในเชิงของการอนุรักษ์ รวมไปถึงการต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่า ทุนทางวัฒนธรรมล้านนา โดยการบ่งบอกของว่าเรามีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง ภาษาเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความเป็นวัฒนธรรมขั้นสูงที่สุด ที่สามารถประดิษฐ์ออกมาได้  จำแนกทุนธรรมล้านนา ได้ดังนี้ โบราณคดี ประวัติศาสตร์ ปรัชญาล้านนา ศิลปกรรมหัตถกรรม ดนตรี วัฒนธรรม  สถาปัตยกรรม การกินการอยู่กัน เครื่องนุ่งห่มหรือการแต่งกาย การแพทย์ล้านนา และมนุษยวิทยา อธิบายง่าย ๆ ว่า เบื้องต้นของล้านนา เราล้วนมีครบทุกด้าน

ในทางด้านดนตรี พระองค์ทรงโปรดและส่งเสริมการแสดงทั้งการละครดนตรีและนาฏยศิลป์ พระองค์ได้ทรงคิดค้นนาฏยศัพท์ขึ้นใหม่ อย่างระบําซอ ฟ้อนแม่มุ้ยเชียงตา ทรงปรับปรุงการจากเดิมให้มีระเบียบแบบแผนมากขึ้น มีสีสันแปลกตา เมื่อแสดงครั้งใดก็จะมีลักษณะแบบแผนแบบนี้ ให้เกิดเป็นเอกลักษณ์และอัตลักษณ์เวลาต่อมา ลักษณะเฉพาะนาฏศิลป์ล้านนาคือ สิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้างสรรค์ จึงกลายเป็นทุนทรัพย์ที่เราใช้อยู่ปัจจุบันด้วย ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากกรุงเทพ เรื่องของการเคร่งครัดของจังหวะและท่าทาง 

อีกด้านหนึ่ง พระองค์สนับสนุนเรื่องของการแสดง อย่างละครพูด ที่มีอิทธิพลจากตะวันตก มาแสดงครั้งแรกคือเรื่อง สาวเครือฟ้า บทละครเวทีที่ดัดแปลงมาจากอุปรากรเรื่อง มาดาม บัตเตอร์ฟลาย (Madame Butterfly)  คะจากมาดามบัตเตอร์ฟลาย แต่งโดย จาโกโม ปุชชินี เมื่อครั้งรัชกาลที่ 5 ครั้งกลับจากเสด็จประพาสยุโรป พระองค์ทรงนำเรื่องที่ได้ทอดพระเนตรมาเล่าประทานกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ฟัง แล้วกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ได้นำเรื่องที่ฟังมาดัดแปลงจากเนื้อเรื่องเดิมให้เป็นเรื่องความรักระหว่างสาวชาวเหนือกับหนุ่มเมืองกรุง ฯ 

ในเรื่องการเครื่องแต่งกาย พระองค์ได้ผสมผสานว่าของล้านนา และสยามเข้าด้วยกัน เรามองเห็นว่ามีความงาม และสามารถมาประยุกต์ด้วยกันถ้าสมัยนี้คงเรียกว่า นักออกแบบแฟชั่น (Fashion Designer) ในเรื่องของการแต่งกายเสื้อผ้า มองปุ๊บเราจะรู้เลยว่ามีความประยุกต์ทั้งหมด ทั้งเสื้อ ผ้าซิ่น เพราะพระราชชายาน พระองค์ได้ทรงรวบรวมช่างทอชําที่ชํานาญ มาฝึกฝนลูกหลานในคุ้มหลวง กลายเป็นผ้าทอ ยก-ดอกลําพูน อย่างผ้าซิ่นตีนจก ดิ้นเงินดิ้นทองแบบเชียงใหม่ ณ พระองค์ได้มีการนํามาสืบสานอีกครั้ง จริง ๆ ที่กล่าวมาล้วนมีมาก่อนแล้ว แต่พระองค์ได้ฟื้นฟูแล้วก็นํามาสืบสาน ที่สำคัญคือทําให้มันเกิดความงาม ประยุกต์ใช้และใส่ลวดลายใหม่เข้าไป จนกลายเป็นที่นิยม มีลักษณะพิเศษเป็นของล้านนานะ 

อาจกล่าวได้ว่าพระราชชายา เป็นเสมือนภาพสัญลักษณ์ของผู้หญิงเหนือ อัตลักษณ์ล้านนา นี่คือทุนธรรมของล้านนาที่เด่นชัดมากเลยทีเดียว ซึ่งมาจากความคิดสร้างสรรค์ ผ่านกรณียกิจของพระองค์ เพราะฉะนั้น จึงกลายเป็นทางวัฒนธรรมที่สําคัญมากจนถึงกาลปัจจุบัน

ล้านนาที่แตกต่าง

ด้านอาจารย์ทรงสุข บุญทาวงค์ อาจารย์สาขาธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น ได้นำเสนอในประเด็นเรื่องของการรับรู้วัฒนธรรมล้านนาในสังคมไทย พระราชชายาท่านทรงสร้างการรับรู้ในเรื่องของวัฒนธรรมล้านนา ในพื้นที่ของสังคมไทย โดยการรับรู้วัฒนธรรมนั้นหมายถึง เป็นการรับรู้ในส่วนที่เป็นวัฒนธรรมที่มีความแตกต่างกัน ทั้งความแตกต่างทางสังคม ทางวัฒนธรรม นั่นหมายความว่า ผู้ที่จะรับรู้ความแตกต่างทางสังคมทางวัฒนธรรมนั้นได้ จะต้องมีประสบการณ์ ในเรื่องของการเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กับวัฒนธรรมอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากวัฒนธรรมของตนเอง

เริ่มต้นจากปัจจัยที่ทําให้เกิดการรับรู้ นั่นหมายความว่ามีสิ่งที่มากระตุ้น ทําให้เราอยากรู้อยากเห็น อยากดู หรืออยากฟัง สิ่งที่กระตุ้นให้เราเกิดการรับรู้ ยังสามารถมองไปได้อีกขั้นหนึ่ง คือเรื่องของการระดับของการรับรู้ หรือการตระหนักรู้ และท้ายที่สุดคือนําไปสู่เรื่องของการปรับตัว แต่ผลของการปรับตัวจะเป็นแบบไหน ก็ขึ้นอยู่กับบริบทหรือสถานการณ์ในสถานที่ เวลาขณะนั้น ธิติมา สิงนวน เจ้าหน้าที่ปกครองชำนาญการพิเศษ สำนักกิจการความมั่นคงภายในกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้กล่าวถึงกระบวนการที่ทําให้เกิดการรับรู้ทางวัฒนธรรม ดังนี้

ประการแรก ปัจจัยที่ทําให้เกิดการรับรู้ สิ่งที่กระตุ้นทําให้คนสนใจอยากรู้จากสัมผัส คือเรื่องของบริบท สถานการณ์ทางสังคมและวัฒนธรรม  ซึ่งในระดับของการรับรู้ หรือตระหนักรู้ จะเริ่มต้นตั้งแต่มุมมอง ความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติ และทักษะทางวัฒนธรรมหรือการประดิษฐ์ 

มุมมอง ได้เริ่มตั้งแต่การมองเห็น แล้วเราใช้ประสบการณ์ของตัวเอง ใช้ความรู้ที่เรามีมองในเรื่องที่เรามองเห็นในมิติใดบ้าง เรามองเห็นเป็นแบบนั้น แล้วเกิดความรู้สึกนึกคิดอย่างไร เราคิดว่ามันควรจะเป็นแบบไหน และนำมาสู่เรื่องของทัศนคติที่มีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้เราเกิดการตัดสินว่าชอบหรือไม่ชอบสิ่งนี้ รวมไปถึงทักษะทางวัฒนธรรมที่อยู่ในตัวของบุคคลว่า ถ้าเราเห็นด้วยเราชอบ เราจะแสดงออกไปอย่างไร จึงนําไปสู่เรื่องของการปรับตัว ซึ่งการปรับตัวมีอยู่สองทาง ทางแรก คือเป็นเรื่องของการรับวัฒนธรรมจากภายนอก แปลว่าเรารับรู้ใช่ไหม แล้วเรามีมุมมองภายนอกทัศนคติในเชิงบวก ทุกสิ่งสวยงาม 

หากเราเกิดการเปรียบเทียบกับวัฒนธรรมของตัวเอง มันอาจจะนําไปสู่เรื่องของวัฒนธรรมอื่นเข้ามาแทนที่ วัฒนธรรมของตัวเองทุกด้าน ซึ่งในกรณีนี้มักจะเกิดกับกลุ่มคนที่มีเรื่องของการอพยพ การไปอยู่ในดินแดนใหม่แล้วต้องการจะทําตัวเองให้กลืน ให้ผู้อื่นยอมรับตัวเอง อีกอย่างหนึ่งคือ เป็นการมองว่าวัฒนธรรมของเรากับเขา มีความต่างกันมาก แต่ก็มีอะไรบางอย่างที่น่าจะเอามาผสมกันได้ เราจึงรู้จักกันหยิบจับ แต่ไม่ได้เอามาทั้งหมด ซึ่งจะเป็นการผสมผสานวัฒนธรรมของตัวเอง

ในทางที่สอง เป็นเรื่องของการส่งออกทางวัฒนธรรมตนเองสู่ภายนอก ซึ่งการส่งออกตรงนี้ จะเป็นการมองในแง่ขององค์กรวัฒนธรรมอื่นกับวัฒนธรรมตัวเอง มีความเท่าเทียมกัน มีความสวยงามเหมือนกัน และรู้สึกว่า เหมือนความ แต่ว่าเราก็ไม่ได้ด้อยค่าไปกว่าวัฒนธรรมของคนอื่นเลย และมีต้องการจะส่งออกตัวตนออกไป

ดังนั้น การรับรู้ว่าทําล้านนาในสังคมไทย “มันจะเป็นมุมมองที่เกิดจาก สยาม มองเข้ามาในล้านนา หรือล้านนามองออกไป” ซึ่งในทั้งหมดที่เราพูดถึงในเรื่องของการรับรู้ในมุมของอดีต ในช่วงที่ยังมีความเป็นสยาม ความเป็นล้านนาอยู่ ถ้าเราเอาหลักการแรกว่าศึกษาถึงปัจจัยที่ทําให้เกิดการรับรู้ ด้านสถานการณ์ทางสังคมในยุคศตวรรษก่อน มันมีความเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมเป็นเรื่องปกติอยู่แล้วในสังคมมนุษย์เรา แต่ว่าในศตวรรษก่อนมีปัจจัยแรงกระตุ้นที่หนักหน่วง ในเรื่องของการล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก ซึ่งมันต่อเนื่องขึ้นมาถึงยุคของโลกาภิวัฒน์ โลกาภิวัฒน์ก็คือเป็นยุคที่ไร้พรมแดน ยุคที่มีการติดต่อสื่อสาร แล้วก็มีการไปมาหาสู่กันได้ง่ายขึ้น

ระดับของการรับรู้ มุมมอง เมื่อสยามกับล้านนา เรารู้จักมองเห็นกันและกัน ในความแตกต่างของบางประการ บางเรื่อง เรามองกันว่าเป็นอื่นหรือไม่ อันนี้เราไม่สามารถตัดสินได้ เพราะว่าเป็นคนในอดีตที่เขามองกันมา แต่ว่าเรามองจากทางด้านเอกสารก็ตั้งข้อคําถามขึ้นมา แล้วก็ความรู้สึกนึกคิด ถ้ามองจากสยามเข้ามาในล้านนา แน่นอนว่าด้วยสถานการณ์ของการล่าอาณานิคมในยุคนั้น ทําให้เป็นปัจจัยที่กระตุ้นหรือกลุ่มไฟให้เร่งเร้าในการจัดระเบียบของการปกครอง จากเดิมทีที่เป็นรัฐอิสระ มีประเทศราช แล้วก็มีรัฐที่มีอํานาจเหนือกว่า อาณาจักรใกล้เคียง นําไปสู่การผนวกสังคมวัฒนธรรมเพื่อความเป็นเอกภาพ ต้องให้เบ็ดเสร็จ เพราะฉะนั้นในทัศนคติที่แสดงออกถึงอํานาในการปกครอง คืออํานาจรัฐเหนือท้องถิ่น ทักษะวัฒนธรรมที่เขาใช้

“เป็นการผลักดันว่าทํากระแสหลักเข้ามากลบกลืนวัฒนธรรมท้องถิ่น”

ด้านการปรับตัวของทางสยาม คือการรับเอาวัฒนธรรมจากภายนอกเข้ามาเอาเรื่องของแนวคิดของทางตะวันตก การรวมศูนย์อํานาจผ่านการปฏิรูปการปกครอง ซึ่งจะมีเหตุการณ์การปฏิรูปแบบนี้เกิดขึ้น อย่างเกิดการส่งออกวัฒนธรรมกระแสหลักเชิงบังคับ ในเรื่องของการศึกษาอักษรไทยกลาง บทบาทชนชั้นปกครองในกลุ่มของเจ้านายฝ่ายเหลือในอดีต และความสัมพันธ์กับทางรัฐสยาม

เหตุการณ์สําคัญในพระชนม์ชีพของพระราชยา ที่มีปัจจัยหรือเหตุการณ์ที่เร่งเร้าในยุคนั้น เริ่มตั้งแต่ประสูติ ปีพ.ศ.2416 ปี เกิดสัญญาเชียงใหม่ฉบับที่หนึ่ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับสามส่วนตามพื้นที่หลักคือ รัฐบาลสยาม ล้านนา ล้านนามาจากเชียงใหม่ แล้วก็อังกฤษ เกี่ยวข้องกับเรื่องของสัมปทานป่าไม้ และเรื่องของการคุ้มครองสิทธิของคนในบังคับของอังกฤษ 

ในปีเดียวกันนี้ พระเจ้าอินทวิชยานนท์ได้ขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ เริ่มมีการปฏิรูปการปกครอง โดยการส่งข้าหลวงเข้ามาประจําการ เป็นการเข้ามากำกับการทํางานของเจ้าหลวงในแต่ละเมือง และปีนั้นเป็นปีที่พระราชชายาประสูติพอดี ต่อมาอีก 20 ปี เกิดสนธิสัญญาเชียงใหม่กับอังกฤษครั้งที่สอง ในการเข้ามาในล้านนา เรื่องของการตั้งกงสุลด้วย ในครั้งนั้นเกิดพิธีโสกันต์เจ้าดารารัศมี จากที่กล่าวไปว่าพระราชทานเป็นเจ้านายที่นอกเหนือจากพระองค์จักรีเพียงพระองค์เดียวของประเทศไทย ที่ได้รับการพระราชพิธีนี้ และมีสิ่งหนึ่งที่พิเศษเกิดขึ้นก็คือรัชกาลที่ 5 พระราชทานพระคุณโทนเพชร และ พระธรรมรงค์เพชร ก็คือต่างหูเพชรและแหวนเพชร 

ถ้าเราสังเกตดูสองเหตุการณ์นี้ ที่เกิดขึ้นที่เกี่ยวเนื่องกับประวัติของท่าน พูดให้เข้าใจง่ายๆ ว่าทางล้านนาหรือเชียงใหม่เริ่มสูญเสียอํานาจและสูญเสียผลประโยชน์ แต่ขณะเดียวกัน สยามได้ให้ทางล้านนาเชียงใหม่ จุดประกายมองเห็นว่า การเสียผลประโยชน์บางอย่าง เพื่อที่จะให้ได้มาซึ่งบางอย่าง แล้วเกี่ยวข้องกับตัวบุคคล ถ้าเป็นภาษาสามัญก็เรียกว่า “ความเป็นความตาย” เกี่ยวกับชีวิตของคนคนหนึ่ง เข้ามาเกี่ยวข้อง ปีพ.ศ.2527 มีการจัดตั้งมณฑลเภสัชภิบาลราวเฉียง เป็นการปฏิรูปการปกครองอย่างเต็มตัว ปีพ.ศ.2529 ได้มีการถวายตัวรับราชการฝ่ายใหญ่ 

จากที่กล่าวมาข้างต้น จะสังเกตเห็นว่าเหตุการณ์ทุกอย่างได้ร้อยเรียงกันต่อเนื่องกันขึ้นมา ในปี พ.ศ.2432 เกิดเหตุกบฎพญาผาบ สันทราย เชียงใหม่ แต่ก็โดนปราบอย่างหนัก ในขณะปีนั้นเองพระราชชายาก็ทรงพระครรภ์ประสูติพระองค์เจ้าวิมลนาคนพีสี อีกสามปีต่อมาเกิดปฏิรูปการปกครองครั้งที่สอง และในครั้งนั้นก็เป็นปีเดียวกันกับพระองค์เจ้าวิมลนาคนพีสีสิ้นพระชนม์ ในปี พ.ศ.2440 พระเจ้าอินทวิชยานนท์ได้ถึงถึงแก่พิราลัย และในปีของการพิรายลัยมีการประกาศใช้ข้อบังคับลักษณะการปกครองหัวเมือง จศ.117

“ถ้าเรามองในแง่ของการเป็นมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่ง เราก็รู้สึกว่าเราต้องกึดเติงป้อแม่”

 หากตั้งข้อสังเกตว่า ปีนั้นถ้าเจ้าดารารัศมี ไม่ได้เสด็จกลับมาปลงศพพระบิดา ซึ่งเป็นเรื่องความเป็นความตาย ความเจ็บไข้ได้ป่วย แต่ว่าอันนี้คือพอได้หนังสือประกาศดังกล่าว ท่านก็ไม่ได้ขึ้นมาเชียงใหม่ นี่เป็นเพียงข้อสังเกต แต่เหตุผลตื้นลึก หรืออย่างไร เราไม่สามารถฟันธงหรือตัดสินได้

ในปี พ.ศ.2442 ถือได้ว่าเป็นปีที่เป็นการปฏิรูปการปกครองมณฑลพายัพของสยาม หรือว่าเรียกว่ามณฑลไทยสยามอย่างเบ็ดเสร็จ กล่าวคืออํานาจถ่ายเทจากเจ้าหลวงเข้าไปสู่ผู้ว่าการมณฑล โดยมีการวางผังเมืองเชียงใหม่ แบบแนวคิดสมัยใหม่ การย้ายศูนย์กลางเมืองที่อยู่ริมแม่น้ําปิงตะวันออกคลองเมือง กลับเข้ามาอยู่ในสี่เหลี่ยมคูเมือง แล้วตั้งอยู่ในตําแหน่งที่เป็นนิวาสสถานเดิมของเจ้าดารารัศมี แสดงว่ามันมีความเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์อะไรบางอย่าง

ถัดจากนั้นมาสามปีเกิดกบฏเมืองแพร่ ในยุคนั้นสยามเกิดการเสียดินแดนตั้งแต่ภาคตะบองราษฎร์ ศิษย์โสภณให้กับฝรั่งเศส แล้วก็เสียสิทธิ์อำนาจการปกครอง ให้ของเมืองไทรบุรีหรือเคด้านะครับ ตรังกะณูนะครับ ให้กับอังกฤษนะครับ และในปี พ.ศ.2451 เจ้าดารารัศมีนะครับ ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นตําแหน่งพระราชชายา แล้วก็ได้เสด็จมีวัดเชียงใหม่เป็นครั้งแรกนะครับ ซึ่งเราสังเกตว่าเหตุการณ์สําคัญต่างต่างที่เกิดขึ้นมันสัมพันธ์กับบริบทสิ่งที่เป็นพระประวัติของพระราชชายาในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

เจ้าหญิงแห่งวงการแฟชั่น

บทบาทของพระราชชายาในการสร้างการรับรู้ จะเห็นว่าพระองค์ทรงพยายามที่จะสร้างตัวตนของตัวเองถึงความเป็นล้านนา ในพื้นที่ของรัฐศูนย์กลางหรือวัฒนธรรมกระแสหลักมาโดยตลอด ตั้งแต่อยู่ในพระบรมมหาราชวังแต่งกายเป็นพื้นเมือง พูดคําเมือง ทานอาหารเมือง แต่พอกลับเข้ามาอยู่ที่เชียงใหม่ ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2459 เรื่อยมา พระองค์ทรงเป็นแม่งานในการจัดเลี้ยงถวายการต้อนรับกับพระบรมวงศ์สานุวงศ์จากกรุงเทพ ที่เสด็จขึ้นมาเชียงใหม่ รูปแบบนการเลี้ยงรับรอง พระราชาก็ต้องสร้างสรรค์ (create) ขึ้นมา อาจจะดูแปลกประหลาดสําหรับชาวเมือง แต่ดูเป็นเรื่องปกติธรรมดาของคนในยุคนี้ อันแรกเลยก็คืองานเลี้ยงแฟนซี (Fancy) ถวายรับเสด็จพระราชบิดาบรมสารีมุข ทรงแต่งกายด้วยชุดของชาวเขา แล้วก็เจ้านายฝ่ายเหนือจากเชียงใหม่ ลําพูน ลําปางนะครับ ก็ต้องแต่งกายแฟนซี ที่ไม่ได้เป็นชุดที่มองเห็นกันทั่วไป เพื่อสร้างความแปลกหูแปลกตา และความสนุกสนาน

ภาพ: มิวเซียมไทยแลนด์

เรื่องของการแต่งกาย เราจะเห็นชัดว่าท่านทรงนําที่เรียกว่า ทรงญี่ปุ่น เข้ามา ทรงนําเสื้อผ้าลูกไม้แบบตะวันตก ผ้าซิ่น ต่อด้วยตีนจบหลายคัน ซึ่งแต่ละส่วนที่ท่านนํามาล้วนแต่เป็นเครื่องแต่งกายที่เกี่ยวข้อง ล้วนเป็นความนิยมของชนชั้นนําในแต่ละพื้นที่ทั่วไป ท่านส่งออกเรื่องของวัฒนธรรม ในคราวที่รัชกาลที่ 7 เสด็จประพาสเมืองเชียงใหม่ เป็นแม่งานจัดเลี้ยงจัดอาหารถวาย เป็นต้นแบบเจ้านายฝ่ายหนึ่งที่ได้จัดถวายรัชกาลที่ 9 บนพระตําหนักปูพิมพ์ราชนิเวศน์

ทางด้านทดลองเกษตรเมืองหนาว พระองค์ท่านทรงทดลองพวก บรอกโคลี แครอท กะหล่ำปลี ดอกกุหลาบ แล้วก็ลําไย ทรงทดลองทําการเกษตรเมืองหนาวส่งออก ให้รับรู้ว่าเมืองเชียงใหม่หรือตัวตนของล้านนาเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับธรรมชาติความอุดมสมบูรณ์และสวยงาม โดยทั้งหมดนี้ ได้เป็นการสร้างการรับรู้ มีผู้สืบทอดคือบรรดาลูกหลาน เจ้านายฝ่ายเหนือ อย่างเรื่องของผ้าทอ ยก-ดอก ของจังหวัดลําพูน 

ประเภทของมรดกวัฒนธรรมนะครับ ที่พระราชชายาทรงทำและปรากฏ ถึงปัจจุบัน แบ่งเป็นสองหลัก  อันแรกก็คือรูปธรรมจับต้องได้ อย่างอนุสรณ์สถานในราชกูล กลุ่มเจ้านายไทยเหนือที่วัดสนดอกก็ดี พระบิดาที่ดอยอินทนนท์ ซึ่งทั้งสองที่ต่อมาได้กลายเป็นโบราณสถาน และสถานที่ท่องเที่ยว พระวิหารพระเจดีย์ ผ้าทอ ส่วนทางด้านวัฒนธรรมที่เป็นนามธรรม จับต้องไม่ได้ ก็จะพิธีกรรม การแสดงทางนาฏศิลป์ บทประพันธ์ ๆ รูปแบบของการแต่งกาย การสร้างสรรค์ของพระราชชายา

หากวิเคราะห์ดูจากสิ่งที่เจ้าดารารัศมีได้ทำมาทั้งหมดนั้น เสมือนการรีเซ็ต (Resetting) ระบบขึ้นมา ในยุคของความเป็นรัฐไทยสมัยใหม่ กล่าวคือท่านปรับเอาสิ่งที่มีอยู่ในพื้นถิ่น ไม่ว่าจะเป็นการฟ้อน การแต่งกาย หรือแม้แต่เครื่องการดนตรีเข้ามาผสมผสานให้เกิดความร่วมสมัย นั่นคือผู้ที่เสมือนเป็นนักคิดนักจัดการ อีกทั้งยังมีการสืบสานพระปณิธาน ถ่ายทอดต่อในแง่ของการศึกษาตามสถานศึกษาตามโรงเรียนอะไรต่าง ๆ เกิดการผลิตซ้ำ เกิดการยอมรับว่า วัฒนธรรมเหล่านี้ เป็นวัฒนธรรมที่มีความสวยงาม ประจําท้องถิ่นในพื้นที่ล้านนาของเรา

พระราชชายา เมื่อมองแบบการสื่อสารทางการตลาด 

มรดกแม่เจ้าดารา สู่คุณค่าการท่องเที่ยวนครเชียงใหม่ โดย รศ.ดร.อำนาจ ขาวเครือม่วง กล่าวว่า กระบวนการสร้างเมือง อย่างแรกคือต้องกําหนดความชัดเจนของกลุ่มเป้าหมายภายในหรือภายนอก 

อย่างที่สองคือทําความเข้าใจอัตลักษณ์หรือตัวตนของตัวเรา อัตลักษณ์ล้านนา ความเป็นเชียงใหม่ ความเป็นล้านนา สามารถนำมากําหนดเป็นเอกลักษณ์ เป็นอัตลักษณ์ตัวตนของล้านนา ต่อไปคือการกําหนดจุดยืน คือการเปรียบเทียบตัวเรากับเมืองข้างเคียง หรือว่าเมืองประเภทเดียวกัน อยู่ในเวทีที่เราต้องไปแข่งกับบริบทประเทศหรือสังคมโลก เราคือใคร เมื่อเทียบกับเพื่อน เมื่อเทียบกับเมืองอื่น ๆ 

อย่างที่สามคือการสร้างองค์ประกอบทางด้านกายภาพ การสร้างแบรนด์ จะมีการสร้างโลโก้การออกแบบ โลโก้การใช้สี หรือว่าการใช้สโลแกนการใช้แท็กไลน์ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ทําให้คนรับรู้ว่าแบรนด์นี้มีที่มายังไง หรือว่ามีนัยยะอย่างไร เพราะสีก็มีความหมายที่แตกต่างกัน  ต่อไปคือการเลือกแผนการสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการ คือเมื่อเรากําหนดเป้าหมายชัดเจน กลุ่มเป้าหมายเราคือใคร ทีนี้เราก็ต้องวิเคราะห์พฤติกรรม ของกลุ่มเป้าหมาย มีพฤติกรรมการรับสื่ออย่างไร และท้ายที่สุดคือการวัดผลที่ได้

สิ่งที่ทําให้การสร้างเมืองสําเร็จ คือผมเคยอ่านงานของท่านหนึ่ง เป็นนักวิชาการที่สําคัญเกี่ยวกับเรื่องการสร้างเมือง ท่านก็บอกว่า การสร้างเมืองที่ประสบความสําเร็จได้ต้องมีทรัพยากร ซึ่งทรัพยากรก็คือทุน ทุนทางวัฒนธรรม หรือว่าทุนทางกายภาพ “ผมคิดว่าเชียงใหม่มีคุณทุนเหล่านี้อย่างเพียงพอ ที่จะสร้างเมืองต่อไปนะครับ ด้านถัดไป คือความชัดเจนและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของจุดยืนอัตลักษณ์ และความต่อเนื่องของกระบวนการการสร้างแบรนด์ การสร้างแบรนด์ต้องใช้ระยะเวลา ถ้าหน่วยงานไหนรับผิดชอบ ก็จําเป็นจะต้องรับผิดชอบไปในระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้เกิดการรับรู้ได้อย่างต่อเนื่อง

ทุนทางวัฒนธรรมคือ หัวใจของการสร้างแบรนด์ เพราะฉะนั้นเชียงใหม่เอง ที่พระะราชชายา ท่านได้วางรากฐานไว้ ถือเป็นข้อได้เปรียบ ไม่ว่าจะเป็นทุนทางวัฒนธรรม ท่านได้คิดค้นทางนาฏศิลป์ การแสดงละคร การแสดงดนตรี หรือว่าการปรับปรุงการแสดงให้มีระเบียบแบบแผน มาตรฐานเป็นแบบเดียวกัน หรือแม้แต่วัฒนธรรมการแต่งกาย ทรงรื้อฟื้นและพัฒนาซึ่งยก-ดอก ลําพูนนะครับ ให้อยู่เคียงคู่กับล้านนาที่ได้กล่าวไปข้างต้นทั้งหมด ดังตั้นเราสามารถหยิบยกเอาวัฒนธรรมเหล่านี้ ทั้งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้นำมาสรรค์สร้าง เป็นจุดเด่นและจุดยืนทางด้านวัฒนธรรม

“เพื่อให้การสร้างแบรนด์เมืองเชียงใหม่ เป็นการสร้างแบรนด์ที่ประสบความสําเร็จ” 

เจ้าดวงดอกไม้เติบโตอย่างงดงาม สู่บทเรียนแผนพัฒนาเมือง

ทุนทางวัฒนธรรมกับการสร้างแบรนด์เมือง  อาจารย์วิสวัส ทองธีรภาพ ณ เชียงใหม่ ได้กล่าวถึงแบบแผนพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ฉบับทบทวน พบว่าตอนนี้เชียงใหม่ ในปี พ.ศ.2566-2567 เรามีแผนพัฒนาที่จะถูกพัฒนาไปในทั้งหมด 4 ทิศทาง อย่างแรกก็คือการท่องเที่ยว การส่งเสริมอุตสาหกรรม สร้างสรรค์บนอัตลักษณ์ล้านนาและอุตสาหกรรมไมซ์ (Mice) 

อุตสาหกรรมไมซ์ คือ เป็นอุตสาหกรรมที่เราจะเป็นศูนย์กลางในเรื่องการจัดประชุมศูนย์กลางการจัดสัมมนา ซึ่งไมซ์เป็นสิ่งที่สําคัญที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้กับจังหวัดเหล่านั้นได้ อย่างที่สองก็คือการขับเคลื่อนเกษตร เพิ่มมูลค่าเกษตรแปรรูป อย่างที่สามเป็นเรื่องเกี่ยวกับการลงทุนทางด้านเศรษฐกิจ ด้านที่สี่ คือการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ฝุ่นควัน PM 2.5 ด้านสุดท้าย คือการเสริมสร้างสังคมคุณภาพหรือเมืองน่าอยู่ เพราะฉะนั้นแผนพัฒนาค่อนข้างครอบคลุมในทุกมิติ ในการเป็นแผนพัฒนาเมืองเชียงใหม่ที่มี พระราชชายาท่านได้วางรากฐานทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการสร้างอัตลักษณ์นะครับ หรือว่าจะเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ มีการเพาะพันธุ์ลําไยแล้วก็แคนตาลูป ซึ่งเป็นผลิตผลทางการเกษตรที่เราสามารถไปต่อยอดได้

ภาพ: มูลนิธินวราชดำริอนุรักษ์ฝ่ายเหนือ
ภาพ: มูลนิธินวราชดำริอนุรักษ์ฝ่ายเหนือ

บทสุดท้ายของหน้ากระดาษ ประวัติศาสตร์ของเจ้าดารารัศมีนั้น ล้วนสร้างวงสนทนาพูดคุยถึงความเป็นล้านนาได้อย่างดี แม้กาลเวลาจะหมุนเปลี่ยนไปสักกี่ครา เจ้าภาพสีน้ำตาลอ่อนอันเก่า ล้วนสะท้อนบันทึกไว้ถึงความงามของพระราชชายา แม้การตีความหลายคนหลายมุมมอง เราต่างสามารถแสดงความเห็น แม้จะเป็นนักวิชาการ สามัญชน คนธรรมดามิใช่เจ้าก็ตาม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง