“หิ้วกระเป๋าเข้ากรุง หรือทำเพลงอยู่บ้านเกิด” เส้นทางของนักดนตรีต่างจังหวัดที่อาจไม่โรแมนติก
เรื่องและภาพ: พีรดนย์ กตัญญู เชื่อกันว่าในวัยเด็กของใครหลายๆ คน ต้องมีอย่างน้อยหนึ่งอาชีพที่เป็นอาชีพในฝัน ไม่ว่าจะเป็นอาชีพหมอที่ดูแลรักษาคนไข้ อาชีพครูที่สอนหนังสือให้กับนักเรียน อาชีพทหารที่ถือปืนป้องกันประเทศ แต่อาชีพในฝันของใครบางคนก็อาจจะเป็นอาชีพที่ใช้ความสามารถพิเศษในการสร้างสรรค์ผลงาน ซึ่งอาชีพ “นักดนตรี” ก็เป็นหนึ่งในนั้น อาชีพนักดนตรีเป็นอาชีพที่อยู่คู่กับสังคมไทยมานานและมีบทบาทต่อทุกชนชั้นในสังคม ไม่ว่าจะเป็นวงดุริยางค์ที่มีบทบาทในการบรรเลงเพลงราชพิธี หรือแม้กระทั่งวงดนตรีท้องถิ่นที่คนท้องที่สามารถหาฟังได้ง่าย ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า อาชีพนักดนตรีก็เป็นอาชีพที่คลุกคลีกับผู้คนในสังคมอย่างไม่ขาดสาย “ดนตรีพวกนี้มันอยู่กับเรามาตั้งแต่เกิดจนตาย ลองคิดดูว่าเกิดมาเราก็ร้องเพลง Happy Birthday โตมาอีกหน่อยมีปัญหาชีวิต เศร้า เราก็ไปฟังเพลงเพื่อชีวิต เพลงลูกทุ่ง ลูกกรุง จนกระทั่งตอนตายก็ยังใช้เพลงธรณีกรรแสง บทเพลงมันจรรโลงมนุษย์ทุกคน และอยู่ในทุกช่วงชีวิตที่มีอยู่” เก่ง – ปาฏิหารย์ ธรรมนุ หรือ “Kalio” หนุ่มนักดนตรีประจำบาร์แจ๊สแห่งหนึ่งในเชียงใหม่ กล่าวถึงตัวตนของดนตรีที่อยู่ในทุกช่วงของชีวิต อย่างไรก็ตาม สังคมไทยในอดีตมักมีภาพจำเกี่ยวกับอาชีพนักดนตรีว่าเป็นอาชีพ “เต้นกินรำกิน” ถึงแม้ในปัจจุบันค่านิยมดังกล่าวจะเลือนลางกันไปเกือบหมดแล้ว แต่ในปัจจุบัน ผู้คนที่ประกอบอาชีพนักดนตรีก็ยังได้รับผลกระทบจากภาวะทางเศรษฐกิจอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะปัญหาค่าแรงรายได้ที่ไม่เพียงพอ รวมไปถึงการถูกทอดทิ้งจากสังคมเมื่อเกิดปัญหากับกลุ่มอาชีพนี้ หนึ่งคืนของคนดนตรี จุดเริ่มต้นการเป็นนักดนตรีของใครหลายๆ คน มักเริ่มมาจากความรักความหลงไหลในเสียงดนตรี จนนำไปสู่การนำทักษะทางดนตรีที่ตัวเองฝึกฝนไปหารายได้เสริม โดยเฉพาะการหารายได้จากร้านอาหาร ผับ บาร์ในช่วงเวลากลางคืน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดที่ผู้คนจะออกมาหาความพักผ่อนหย่อนใจ … Continue reading “หิ้วกระเป๋าเข้ากรุง หรือทำเพลงอยู่บ้านเกิด” เส้นทางของนักดนตรีต่างจังหวัดที่อาจไม่โรแมนติก
Copy and paste this URL into your WordPress site to embed
Copy and paste this code into your site to embed