เยาวชน 10 พื้นที่ ระเบิดพลังในงาน ‘Voice of Youth Voice of Change: เสียงที่เปลี่ยน’

15 พฤศจิกายน 2565

เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายนที่ผ่านมา องค์การหน่วยอาสาสมัครอังกฤษ Voluntary Service Overseas (VSO) มูลนิธิวายไอวาย (why i why Foundation) และวิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับเครือข่ายเยาวชน Voice Of Youth 10 เครือข่ายทั่วประเทศ มหกรรมเยาวชน ‘Voice of Youth Voice of Change: เสียงที่เปลี่ยน’ ภายในงานประกอบด้วย  Workshop จากกลุ่มเยาวชนและเครือข่ายทั้งหมด 10 ห้อง , บูธจากเยาวชน 10 พื้นที่และภาคีเครือข่าย , “ระเบิดพลังเยาวชน” เวทีนำเสนอผลงานการดำเนินงานและการแสดงจากเยาวชน 10 พื้นที่และภาคีเครือข่าย

กิจกรรม Workshop 10 ห้อง ที่พัฒนามาจากกิจกรรมในพื้นที่ของเยาวชนและเครือข่าย ตั้งแต่เวลา 10.00 – 15.00 น. รับฟังเสียงของสมาชิกแต่ละกลุ่ม ที่เล่าถึงกระบวนการและที่มาของเวิร์คช็อปที่พวกเขาได้นำมาทำกิจกรรมในช่วงเช้านี้

“SEARCH ห้องตรวจภายใน” กลุ่มสันทรายน้ำหนึ่ง แม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่


อยากถามว่ากระบวนการที่เตรียมมา workshop เตรียมอะไรมาบ้าง?

ตัวกระบวนการของตัวสันทรายน้ำหนึ่งเป็นการใช้บอร์ดเกมในการทำงานกิจกรรมในครั้งนี้ เราไม่ได้วิชาการขนาดนั้น เราเลยใช้บอร์ดเกมและเกมการ์ดมาเป็นการเล่นเกมในครั้งนี้

เล่าเกมคร่าว ๆ หน่อยได้ไหม? 

เกมที่กำลังเล่นอยู่คือเกมระบายความรู้สึกให้เพื่อนฟัง หรือบอร์ดเกม SEARCH ซึ่งในตัวห้องเล่นเกมนั้นเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเยาวชนที่สามารถเล่าให้บุคคลอื่นฟังได้


เกมของเราเกี่ยวข้องกับโครงการโวยยังไงบ้าง?

เกมของเราเป็นเกมที่สามารถฟังความรู้สึกของเราได้ซึ่งความรู้สึกของเราจะออกมาผ่านเกม ซึ่งเกมของเราจะทำให้เยาวชนของเราได้เปลี่ยนเสียงของเราออกมาว่าเราต้องการอะไร หรือเราทำอะไรอยู่เราอยากทำอะไรบ้าง 


“สวนสนุกบอร์ดเกม” กลุ่มสภาเด็กและเยาวชนเขื่อนผาก จังหวัดเชียงใหม่


ช่วยเล่าถึงกิจกรรมหน่อย?

กิจกรรมนี้ของเราเป็นกิจกรรมที่มีชื่อว่าบอร์ดเกม ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นการค้นคิดให้เรียนรู้ผ่านตัวบอร์ดเกมซึ่งข้างในตัวบอร์ดเกมของเราจะมี 3 บอร์ดเกม บอร์ดเกมแรกจะมีชื่อว่า ‘pick me up’  ช่วยผู้เล่นได้ฝึกในเรื่องของระบบประสาท  บอร์ดเกมที่ 2 มีชื่อว่า ‘How Do You Feel’ ซึ่งเกมนี้จะทำให้ผู้เล่นด้วยกันเองได้เข้าใจมุมมองของแต่ละคนที่มองเหตุการณ์นั้นว่าเป็นยังไง อาทิ เช่นคำถามที่ คุณรู้สึกยังไงเมื่อเห็นน้องชายของคุณใส่ส้นสูง ผู้เล่นก็จะได้แลกเปลี่ยนกันว่าในมุมมองของฉันฉันรู้สึกอย่างนี้เป็นต้น อันที่ 3 เป็นบอร์ดเกมที่ชื่อว่า ‘ตะลุยเขื่อนผาก’ เกมนี้จะทำให้ผู้เล่นได้รู้ถึงต้นทุนชุมชนของเขื่อนผากว่า ในเขื่อนผากของเราเนี่ยมีต้นทุนชุมชนอะไรบ้าง


แล้วที่ทำกิจกรรมเป็นประเด็นเกี่ยวกับ  LGBTQIA+  เพราะอะไรถึงอยากทำเรื่องนี้?

จริง ๆ อยากทำเรื่องนี้เพราะว่ามันเป็นกระแส แล้วอันที่ 2 เนี่ยความเท่าเทียมทางเพศน่าจะเป็นสิ่งสำคัญในยุคสมัยสังคมในปัจจุบันนี้ ทางสภาเด็กของเราจึงอยากจะหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาชูและมาทำในโครงการโวยปีที่ 3 นี้

แล้วเสียงที่เราส่งออกไปมันได้ผลตอบรับดีไหม?

จริง ๆ เกมของเราเนี่ยเคยลงชุมชน เล่นทั้งกลุ่มสตรีแม่บ้าน กลุ่มผู้สูงอายุและเล่นในกลุ่มเด็กๆเอง ถามว่า ผลตอบรับดีไหม ต้องตอบว่าดีมาก ซึ่งเขาก็บอกว่าพอเล่นเกมนี้สามารถเปิดโลกของเขาได้เลย เปิดโลกในเรื่องของความหลากหลายทางเพศ เขาได้รู้มากขึ้นว่าเพศในปัจจุบันไม่ได้มีแค่เพศชายเพศหญิง มันมีเลสเบี้ยน ทอม ดี้ อะไรแบบนี้ด้วย


“สวัสดิภาพสัตว์และเชื้อดื้อยา (GPGxWAP)”  กลุ่มสวัสดิภาพสัตว์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่


เล่าที่มาและความสำคัญของเวิร์คช็อปที่จัดว่ามันเป็นยังไงมายังไง?

workshop ห้องที่ 5 เรื่องสวัสดิภาพสัตว์และเชื้อดื้อยา เราอยากทำให้ผู้เข้าร่วมทุก ๆ คนได้เกิดเป็นกระบอกเสียง ในการตระหนักรู้เรื่องของเชื้อดื้อยาและก็สวัสดิภาพสัตว์ เรื่องมันเริ่มมาจากการที่สัตว์ถูกละเมิดสวัสดิภาพ ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ที่มาจากอาหาร หรือว่าสัตว์ที่จะต้องโชว์ตามสวนสัตว์หรือตามงานต่างๆ  ทั้งหมดนี้ก็เป็นการละเมิดสวัสดิภาพสัตว์ แล้วทีนี้มันก็จะนำไปสู่การเกิดเชื้อดื้อยาขึ้นถ้าในมุมของเรื่องอาหารการกิน ผมก็เลยอยากสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องของสวัสดิภาพสัตว์และก็เชื้อดื้อยาให้กับทุกคนเลยครับที่อยากรับรู้ในเรื่องนี้ 

แล้วคนที่เข้าร่วมกิจกรรมแล้ว เขามีผลตอบรับยังไงบ้าง?

ส่วนใหญ่คนที่เข้าร่วมกิจกรรมบางคนก็ไม่เคยมองเห็นภาพนี้มาก่อนว่าสัตว์ถูกละเมิดสวัสดิภาพนั้นมีมุมมองยังไงมีอารมณ์ความรู้สึกยังไง ส่วนบางกลุ่มก็รู้สึกว่าเห็นภาพจนชินตาแล้ว ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ไม่ควรจะเกิดขึ้นในสังคมใดเลยบนโลกใบนี้ ดังนั้นสวัสดิภาพสัตว์ก็ควรจะมีและก็เพื่อที่จะละเว้นจากการเกิดเชื้อดื้อยาครับ

แล้วโครงการโวยส่งเสียงที่เราต้องการจะสื่อสารไปถึงกลุ่มเป้าหมายของเรา มีส่วนช่วยยังไงบ้าง?

การที่เราได้มาขยายผลต่อและให้ผู้เข้าร่วมทุกคนได้เกิดการตระหนักรู้ ก็เป็นอีกหนึ่งผลสำเร็จเหมือนกันของโครงการเรา แล้วก็คิดว่าสอดคล้องกับชื่อของมหกรรมที่ว่าเสียงเพื่อเปลี่ยน แล้วคิดว่าอย่างน้อยเสียงของเราที่เรานำมาขยายผลต่อให้ทุกคนที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมในวันนี้ อย่างน้อยก็ได้เกิดการรับรู้และก็เข้าใจและสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้แน่นอนครับ 


“ข้าวใหม่งามัน เมนูสร้างสรรค์อาหารฤดูกาลต้นหนาวแห่งลุ่มน้ำแม่ทาสู่จานหนู ๆ ” กลุ่มเครือข่ายนิเวศน์ลุ่มน้ำแม่ทา จังหวัดลำพูน


ที่มาของตัวกิจกรรม workshop นี้หน่อย ว่าที่มามันเป็นยังไงแล้วมีกิจกรรมยังไงบ้างในบูธ?

บูธนี้ชื่อว่า ‘ข้าวใหม่งามัน’ นะคะ เป็นเมนูที่นำวัตถุดิบจากลุ่มน้ำแม่ทา แล้วเราเจาะจงว่าเป็นเมนูสำหรับฤดูหนาวด้วย มันก็จะมีความซ้อนอยู่ในโจทย์หลายตัวในเครือข่ายนิเวศลุ่มแม่น้ำมีลักษณะเฉพาะก็คือมีอาหารหลากหลายฤดูกาล ลุ่มน้ำแม่ทาเราขึ้นชื่อเรื่องวัตถุดิบจากป่าที่อร่อยและก็ปลอดภัย หลายๆตัวต้องอาศัยการสืบทอดถึงจะคงอยู่ เด็กสมัยนี้เริ่มทานอาหารท้องถิ่นยากขึ้น ไม่ต้องพูดถึงการไปอนุรักษ์เลย เพราะยังทานกันไม่เป็นด้วยซ้ำ อันนี้จึงเป็นโจทย์เราก็เลยมาทำงานกับเด็ก แล้วก็ตรงกับความต้องการของเด็กที่อยากทำอาหาร ด้วยกระแสของการเป็นเชฟกำลังดัง เลยนำเรื่องนี้มาผสมกันและทำกระบวนการด้วยกัน ตอนแรก ๆ เด็กกับผู้ใหญ่ต้องมาเรียนรู้แล้วกันว่าอาหารลุ่มน้ำแม่ทามีอะไรบ้างมีวัตถุดิบอะไรบ้าง แล้วรสชาติที่เด็กคุ้นเคยเป็นยังไง มันก็เลยเกิดเมนูใหม่ขึ้นมา แล้วยิ่งเราทำกระบวนการในวันนี้เรามีทั้งวัตถุดิบที่ใช้แป้งจากข้าวใหม่  เรามีข้าวแคบ เรามีแป้งสด เรามีข้าวหนุกงา แล้วหลังจากนั้นอีกอันนึงเราก็เป็นการทำท็อปปิ้ง  ซึ่งท็อปปิ้งก็เป็นอะไรที่เด็กคุ้นเคย เมนูน้ำพริกอ่อง เมนูมันหวาน เมนูจิ้มอะไรต่างๆนานา เราแค่ให้โจทย์เขาไปว่าวัตถุดิบท้องถิ่นของเราที่มีอยู่นี้เราจะมาผสมผสานกันยังไง ก็เกิดเป็นน้ำพริกอ่องซ่าที่ใช้เห็ดลมแทนเนื้อสัตว์ ใช้กะทิแทนนม มันก็มีการออกแบบของเด็ก ๆ เอง ซึ่งตรงกับความต้องการของเขา แล้วหลังจากนั้นคนที่อยากออกแบบเมนู อยากสร้างสรรค์ว่าจะเอามาม้วนมาโรลด้วยกรรมวิธีไหนก็สามารถคิดสร้างสรรค์ได้เหมือนกัน วันนี้ก็เลยมี 3 จุด ในการให้เขาได้มา Workshop  10 คนที่สร้างสรรค์เมนูออกมาเป็น 10 เมนูซึ่งไม่ได้มีเมนูตายตัว เรามีเพียงแค่วัตถุดิบและกรรมวิธีที่เขาจะได้ลองทำ ก็จะเกิดความสนุกและก็เป็นรสชาติที่เขาอยากกินและยังสามารถที่จะให้เขาซึมซับได้ว่าอาหารของเรามีดีอะไร โดยยกวัตถุดิบจากลุ่มน้ำแม่ทามา นำไปสู่การอนุรักษ์ในท้องถิ่น 


“SDGs พลังดีสร้างโลก” กลุ่ม Green Power Gangster Thailand 


กิจกรรมเกี่ยวกับอะไรบ้าง ?

แนะนำและให้ข้อมูลเกี่ยวกับ SDGs ว่ามันคืออะไรเป็นเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์กรสหประชาชาติแล้วก็มีกิจกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ให้ผู้เข้าร่วมก็จะได้รับความรู้ที่เข้าใจได้ง่ายครับ ซึ่งเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในต่างประเทศนั้นพวกเขาได้ทำมานานและหลากหลายแล้ว ซึ่งประเทศไทยไม่ได้หยิบ SCG เข้ามาในประเทศ ซึ่งผมก็เป็นคนที่นำ SDGs เข้ามาทำกิจกรรมภายในโรงเรียน และขยายผลไปเรื่อย ๆ จนถึงระดับมหาวิทยาลัย 

โครงการโวยช่วยส่งเสียงของเรายังไงได้บ้าง ?

หลาย ๆ คนอาจจะยังไม่รู้ว่าเป้าหมายของ SDGs หรือองค์กรสหประชาชาติว่าคืออะไร ซึ่งโครงการโวยก็เป็นผู้ช่วยสนับสนุนและให้พื้นที่ในการขยับขยายและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ SDGs มากขึ้น ซึ่งภายใน Workshop พวกเราได้ให้ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับ 17 เป้าหมายขององค์กรสหประชาชาติ และผู้เข้าร่วมที่ได้รับฟังสามารถนำไปปรับใช้ทั้งในองค์กรของตนเองและต่อตนเอง อย่างในวันนี้เราให้ผู้เข้าร่วมทำผังเมืองจำลองขึ้น ในผังเมืองจำลองเนี่ยเราจะมีการพัฒนาอย่างยั่งยืนยังไงบ้าง


“S.E.C. เมื่อการศึกษาไม่ได้เท่าเทียมอย่างที่คิด” กลุ่ม KK- VoY


เล่าที่มาที่ไปของ Workshop หน่อย

เราทำประเด็นการศึกษาค่ะเมื่อการศึกษาไม่เท่าเทียม ฟังเหตุผลของเรามองเห็นเรื่องของการศึกษาและกลุ่มเปราะบาง เราพัฒนาประเด็นมาจากปัญหาในพื้นที่ ซึ่งในจังหวัดขอนแก่นเราเห็นปัญหามันชัดเจนอยู่แล้ว มันมีความเหลื่อมล้ำตั้งแต่เกิด การเข้าถึงการศึกษาระหว่างคนรวยและคนจนมันไม่เท่ากัน 

กิจกรรมที่ทำในวันนี้คืออะไร

เรายกประเด็นการศึกษามา 2 เรื่อง อันแรกก็จะเป็นความเท่าเทียมและโอกาสของการศึกษา อันที่สองก็จะเป็นเรื่องของความเหลื่อมล้ำ 

กิจกรรมที่ทำมันเปลี่ยนเสียงของกลุ่มเป้าหมายของเราไหม

มันไม่ได้ส่งเสียงไปที่กลุ่มเป้าหมายโดยตรงแต่มันเป็นการส่งเสียงไปถึงกลุ่มที่มีความสนใจในประเด็นนี้ ซึ่งประเด็นปัญหานี้ทุกคนอาจจะรับทราบกันอยู่แล้วแต่ว่ากิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ให้ทุกคนดมวิธีการแก้ไขปัญหามีร่วมกัน 


“Eco Print & Herb Soap” กลุ่มการศึกษาเพื่อความยั่งยืนของชีวิต WE-Life 


กิจกรรมที่ทำมีอะไรบ้างและทำอะไรบ้าง

กิจกรรมที่ทำมีอยู่ 2 อย่างหลัก ๆ ก็คือ 1 สบู่ที่ทำจากสมุนไพร เป็นสบู่ที่ทำจากสมุนไพรที่อยู่ในชุมชนที่อยู่ในหมู่บ้านที่ปลูกกัน ซึ่งการปลูกสมุนไพรในหมู่บ้านนั้นเป็นการปลูกแบบปลอดสารพิษ สบู่นั้นไม่มีสารเคมีในการทำขึ้นมาและบรรจุภัณฑ์ที่ทำเองจากกระดาษ ซึ่งเป็นวัสดุที่ช่วยลดโลกร้อน ให้ผู้เข้าร่วมมีส่วนร่วมในการออกแบบตัวสินค้าและแพคเกจบรรจุภัณฑ์ ส่วนอันที่ 2 เป็นผ้าคลุมไหล่ที่นำใบไม้มาพิมพ์ลายหรือที่เรียกว่า Eco Print จะใช้ใบไม้ที่อยู่ในท้องถิ่นของภาคอีสานมาเป็นตัวพิมพ์ลายในผ้าคลุมไหล่ โดยวิธีการนั้นก็คือนำใบไม้มาประกอบกับผ้าและทุบ ๆ ให้แบน 

แล้วที่มาที่ไปของกระบวนการ Eco print คืออะไร

เริ่มจากสิ่งที่น้อง ๆ สนใจและสิ่งที่น้องต้องใช้ทุกวันเป็นสบู่ ทำยังไงมันถึงเป็นก้อน เขาใช้ส่วนผสมอะไรบ้างในการทำสบู่ ต่อมาน้อง ๆ ก็คิดถึงการสร้างรายได้เล็ก ๆ น้อย ๆ ให้ตัวเองมีค่าขนม  ถามว่าทำไมถึงสนใจและเริ่มทำ Eco print เพราะว่าได้มีโอกาสไปเรียนรู้กระบวนการจากที่อื่นมาแล้วรู้สึกว่า กระบวนการนั้นมันช่วยให้เด็กเห็นถึงความสร้างสรรค์ และสามารถจินตนาการถึงใบไม้ที่จะออกมาเป็นรูปร่างต่าง ๆ 


 “ ห้องเรียนสิทธิมนุษยชน”  กลุ่มสนับสนุนสังคม KNACK


ที่มาและความสำคัญของห้องเรียนสิทธิมนุษยชน 

เราเน้นทำงานกับเด็กและเยาวชนที่อยู่ในภาคเหนือ สถานการณ์ทางการเมืองที่มันเปลี่ยนไปซึ่งเด็กและนักศึกษาที่เป็นเยาวชนเขามีความสนใจเรื่องสิทธิและเสรีภาพที่มันเกี่ยวข้องกับตัวเขาเอง ถึงแม้กระทั่งสถานการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2563 ที่มีการยุบพรรคอนาคตใหม่ ทำให้เด็กและเยาวชนและนักศึกษาเกิดม๊อบขึ้นมาไม่เห็นด้วยกับคำสั่งที่มีการให้ยุบพรรคอนาคตใหม่ 

โครงการโวยมีส่วนเกี่ยวข้องกลับห้องเรียนสิทธิมนุษยชนยังไงบ้าง 

ปฏิเสธไม่ได้ว่าเสียงและสิทธิในการแสดงออกการในการชุมนุม มันก็คือเสียงของเด็กและเยาวชนเหมือนกัน 

กระบวนการในครั้งนี้มีอะไรบ้าง

ครั้งนี้เรามีพาร์ทเนอร์จากทางแอมเนสตี้ประเทศไทย ซึ่งสนับสนุนในเรื่องของห้องเรียนสิทธิมนุษยชนซึ่งครั้งนี้เราอบรมในประเด็นเรื่องของสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน สิทธิในการแสดงออก ว่ามันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่เขาจะสามารถส่งเสียง หรือบอกกล่าวในสิ่งที่เขาต้องการจะเห็นประเทศ บ้านเมือง หรือสังคมที่เขาอาศัยอยู่ดีขึ้นกว่าเดิม

Feedback เป็นยังไงบ้าง

ถือว่าได้รับ feedback ที่ดีมาก น้อง ๆ ที่เข้าร่วม workshop เราเห็นแววตาของเขา ที่สนใจหรือแม้กระทั่งการพูดในส่วนที่เป็นการบรรยายจบแล้ว ถึงแม้เนื้อหาข้อมูลมันจะเป็นเรื่องยากอย่างเช่นเรื่องปฏิญญาสากล หรืออนุสัญญาต่าง ๆ แต่พอหลังจากที่มีการพูดคุยเสร็จไปแล้ว น้อง ๆ ก็มีการแลกเปลี่ยนซักถามตั้งข้อสังเกต ผ่านเรื่องราวที่เขาได้เผชิญมา ในสิ่งที่เกาะเกี่ยวในชีวิตประจำวันของเขา หรือแม้กระทั่งสิทธิในการเป็นนักศึกษาของเขา 


ผู้จัดและผู้สนับสนุนงานมหกรรมเยาวชน ‘Voice of Youth Voice of Change: เสียงที่เปลี่ยน ได้บอกเล่าเรื่องราว เหตุใดผู้ใหญ่ถึงต้องออกมารับฟังและสนับสนุนเสียงของเยาวชนที่อยากพัฒนาสังคมของพวกเขาและต้องเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต”


อนุวัตร คะเลิศรัมย์ ผู้จัดการโครงการเสียงเยาวชน Voice of Youth

Q: ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ดำเนินโครงการมา ในความรู้สึกของพี่ว่าน เวลาที่เราเห็นน้องเขาทำโครงการแล้วมันพัฒนา พี่ว่านรู้สึกยังไงบ้าง?

A: ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา รู้สึกว่าภูมิใจกับตัวน้อง ๆ มาก ว่าตั้งแต่วันแรกที่น้อง ๆ ได้เดินทางเข้ามาในโครงการของเราตั้งแต่ปี 2020 ปีนั้นเป็นปีแรกที่น้อง ๆ แต่ละพื้นที่ทั้ง 10 พื้นที่ ใน 8 จังหวัด ได้เข้ามาในโครงการของเรา และแต่ละทีมก็มีศักยภาพและมีจุดเด่นที่แตกต่างกันแล้วก็มีหลายรุ่นด้วย ตั้งแต่รุ่นที่อยู่ในระดับประถมจนถึงในระดับรุ่นพี่ เพราะฉะนั้นตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมาเราเห็นน้อง ๆ ได้มีพัฒนาการที่เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ มีความมั่นใจขึ้น ได้มองเห็นศักยภาพของตัวเองแล้วก็รู้สึกว่าตัวเองมีความหมายมากขึ้น เข้าใจตัวเองมากขึ้น ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ที่ทางโครงการเสียงเยาวชนและภาคีเครือข่ายที่ทำงานร่วมกัน น้อง ๆ ได้นำศักยภาพเหล่านั้นและเครื่องมือที่ทางโครงการเติมให้นำมาใช้ในการทำกิจกรรมในชุมชนเพื่อพัฒนาและตอบโจทย์ปัญหาในชุมชนของพวกเขาด้วยตัวเอง ดังนั้นตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมาเราได้เห็นการเจริญเติบโตของน้อง ๆ อย่างก้าวกระโดดก็ว่าได้ เพราะฉะนั้นในส่วนของคนทำงานโครงการแล้วพี่เองมีความรู้สึกภูมิใจกับตัวน้อง ๆ ในโครงการมากครับ 

Q: ทำไมถึงต้องเป็นโครงการโวย เราเห็นความสำคัญของเสียงเด็กและเยาวชนยังไงบ้าง?

A: ที่เป็นโครงการโวยหรือ Voice of Youth นะครับ คิดว่าเสียงของเยาวชนมีความสำคัญมากเพราะว่าเยาวชนเป็นทรัพยากรมนุษย์ส่วนหนึ่งของสังคม เพราะฉะนั้นเสียงของเยาวชนเป็นเสียงหนึ่งที่เราไม่สามารถที่จะมองข้ามได้เพราะว่าเขาคือส่วนหนึ่งที่จะกำหนดนโยบาย กำหนดการพัฒนาต่าง ๆ ในสังคมโดยเฉพาะนโยบายต่าง ๆ ที่มันส่งผลกระทบกับเขาโดยตรง 

Q: ทำไมเราถึงเห็นความสำคัญของเด็กและเยาวชน?

A: เสียงของเด็กและเยาวชนมีความสำคัญและเราไม่สามารถมองข้ามได้เพราะตัวเยาวชนเองเป็นส่วนหนึ่งของสังคมเพราะฉะนั้นการที่เราจะกำหนดนโยบายต่าง ๆ หรือกำหนดทิศทางพัฒนาประเทศของเราหรือว่าจะออกกฎหมายต่าง ๆ  ฉะนั้นเสียงของเยาวชนจึงมีความสำคัญมากที่เราจะมองข้ามไม่ได้ 

Q: เวลาเราเห็นเสียงของน้องถูกส่งไป ความรู้สึกของเราเป็นยังไงที่เสียงของน้องดังขึ้นผ่านโครงการของเรา?

A: หลังจากที่ได้เห็นเสียงของน้องมีความหมายมากขึ้นแล้วผู้ใหญ่ในชุมชนยอมรับในศักยภาพของเด็กและเยาวชน ก็รู้สึกดีใจและมันเป็นก้าวสำคัญก้าวหนึ่งที่จะทำให้น้อง ๆ มีกำลังใจในการทำงานมากขึ้นพราะว่ากว่าที่น้องจะได้รับการยอมรับจากผู้ใหญ่ในชุมชนให้เขามีสิทธิ์มีเสียงในการกำหนดนโยบายต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับชุมชน น้องต้องผ่านการฝึกอบรมต่าง ๆ ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมาเพราะฉะนั้นการที่เสียงของน้องมีความหมายมากขึ้นในระดับชุมชนไม่ว่าจะเป็นระดับครอบครัวผู้ปกครองที่ยอมรับในตัวของน้อง ๆ และในระดับผู้ใหญ่ในระดับการปกครองส่วนท้องถิ่น เพราะฉะนั้นมันมีความหมายเป็นก้าวสำคัญที่น้อง ๆ จะพัฒนาต่อไปในการผลักดันนโยบายในระดับชาติ

Q: ถือว่าบรรลุจุดประสงค์ของโครงการไหมครับ?

A: ในส่วนของโครงการเองเรารู้สึกว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง เพราะเป้าหมายจริง ๆ คือเราต้องการสร้างพื้นที่ปลอดภัยและก็สิ่งแวดล้อมที่เยาวชนในชุมชนและเยาวชนของประเทศไทยได้มีโอกาสส่งเสียงของพวกเขา และกำหนดนโยบายต่าง ๆ ด้วยตัวของพวกเขาเอง เพราะฉะนั้นการเริ่มต้นในระดับชุมชนที่ประสบความสำเร็จในระดับนี้ ถือว่ารู้สึกดีใจที่ทำงานมาตลอดระยะเวลา 3 ปี แล้วเห็นผลมีผู้ใหญ่ในชุมชนให้การตอบรับและทำงานกับน้อง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ 


อาจารย์ วีรบูรณ์ วิสารทสกุล วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์

Q: อยากให้อาจารย์เล่าถึงที่มาของค่ายนี้หน่อยครับว่ามันเกิดมาเป็นโครงการเสียงของเยาวชนได้ยังไง แล้วทำไมถึงเห็นความสำคัญของเสียงเยาวชน?

A: อยากจะเริ่มเรื่องเสียงเยาวชนก่อนก็คือถ้าเราดูโครงสร้างประชากรเราจะเห็นว่าผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะที่กลุ่มเยาวชนซึ่งต้องเป็นคนรับผิดชอบสังคมในยุคถัดไปก็กำลังเติบโต ในขณะที่โลกการเปลี่ยนแปลงมันก็เร็วขึ้นครับ เราก็เลยอยากให้เยาวชนได้เติบโต แล้วก็ใช้โอกาสที่เทคโนโลยีต่าง ๆ มันเปลี่ยนแปลงให้เขาได้ใช้ประโยชน์ แล้วก็อยากให้ศักยภาพเขามันเติบโตเพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของประชากร และอยากให้เขาเป็นกำลังลุกขึ้นมาทำงานเพื่อสังคมในอนาคต เพราะสุดท้ายแล้วเขาต้องมารับผิดชอบสังคมที่ผู้สูงอายุจะมากขึ้นเรื่อย ๆ  ก็รู้สึกว่าเสียงเยาวชนเป็นเรื่องสำคัญมากครับ

Q: ตั้งแต่เริ่มโครงการมาจนถึงปัจจุบันอาจารย์เห็นการเปลี่ยนแปลงยังไงบ้าง?

A: ถ้าเราดู workshop เมื่อวานช่วงเช้า คำถามแรกที่เราพยายามถามก็คืออยากให้เขายืนยันว่า 3 ปีที่ผ่านมาเขารู้สึกว่าเขาเปล่งเสียงแล้วเขาพูดแล้วมีคนฟังไหม เพราะมันสำคัญมากถ้าเขายืนยันด้วยตัวเขาเองก็แสดงว่าเสียงที่เขาเปล่งความเห็นที่เขาพูดออกไปมีคนรับฟัง การรับฟังหมายความว่ามีคนนำกลับไปคิดและตอบกลับเสียงของเขาสื่อสารกับเขา เพราะว่าผู้ใหญ่หลายคนเวลาฟังเด็กก็จะบอกว่าไม่ต้องพูดหรอกฉันอาบน้ำร้อนมาก่อนฉันรู้ดีกว่า แต่เราก็อยากทำให้เด็กเห็นว่าสิ่งที่เขาพูดออกไปมีคนฟังแล้วค่อย ๆ อธิบายว่าไม่เห็นด้วยกับเด็กอย่างไรบ้างไม่เห็นด้วยกับเยาวชนอย่างไรบ้าง มีคำอธิบายอะไรบ้าง มันก็จะเป็นบทสนทนาที่ใช้เหตุใช้ผลในการพูดคุย ไม่ได้ใช้อำนาจของความเป็นผู้ใหญ่ในการปิดกั้นไม่ให้เขาพูด ทีนี้เมื่อวานที่เราพบว่าก็คือในเลเวลทั้งในระดับครอบครัวระดับชุมชนโรงเรียนเนี่ย ผู้ใหญ่ที่อยู่ในทุกพื้นที่เปิดโอกาสให้เขาได้พูดมากขึ้น ซึ่งก็ช่วยยืนยันสิ่งที่เราทำว่าถ้าเราพยายามทำพยายามจัดสภาพแวดล้อมให้เขา พยายามคุยกับผู้ใหญ่รอบตัวเขา โอกาสที่เขาจะมั่นอกมั่นใจในตัวเองที่จะได้เปล่งเสียงและแสดงความคิดเห็นว่ามันเป็นไปได้ 

Q: เด็กส่วนหนึ่งเขาตอบกลับมาว่าเสียงของเขาบางทีก็ถูกสื่อไปบางทีก็ไม่ถูกสื่อไปอาจารย์อยากบอกเสียงที่ไม่ถูกสื่อไปยังไง  ให้น้องเขามีกำลังใจในการที่จะเปล่งเสียงออกไป? 

A: คือการได้สื่อสารออกไปแล้วมีคนฟังหรือสื่อสารออกไปแล้วไม่มีคนฟังมัน 2 เรื่อง เรื่องแรกก็คือตัวน้องเอง คือน้องก็ต้องเข้าใจว่าหลายอย่างคนที่โตกว่าพยายามจะใช้อำนาจบอกว่าเอ็งไม่ต้องพูดฟังข้าอย่างเดียวมันก็มีอยู่จริงในโลกปัจจุบันอันนี้เราก็ได้เห็นทั่วไป สิ่งที่ไม่อยากให้น้องผิดหวังหรือท้อแท้คือก็ยังมีผู้ใหญ่อีกกลุ่มนึงที่พร้อมที่จะฟังเขาและเปิดโอกาสให้เขาได้แสดงตัวตน ก็ต้องพยายามหาคนกลุ่มนั้นหรือทำงานกับคนกลุ่มนั้นให้มากขึ้น ซึ่งคนกลุ่มนี้ในโรงเรียนก็มี ในบ้านก็มี แต่ในทางกลับกันในบ้านก็มีแม่ที่บ่นเขาตลอดเวลาที่เขาเล่นเกมก็มีอยู่จริง สิ่งที่อยากให้กำลังใจน้องก็คือเราต้องไปยืนในมุมมองของความเป็นแม่ สิ่งที่เขาบอกแบบนี้เขาบอกด้วยเงื่อนไขอะไรเขาบอกด้วยเหตุผลอะไร ตัวเด็กเองตัวน้องเองก็ต้องใช้เหตุผลให้มากขึ้นด้วย เพราะว่าทุกครั้งที่เราพูดออกไปแล้วเราอยากให้คนอื่นฟัง มันต้องมีเหตุผลด้วย 


ดวงรักษ์ เลิศมั่งมี ผู้อำนวยการมูลนิธิวายไอวาย

Q: เล่าถึงที่มาทำไมถึงเป็นโครงการเสียงของเยาวชน ?

A: ที่มาของโครงการเสียงเยาวชนหรือว่า Voice Of Youth ก็เป็นการรวมตัวกันของทั้ง vso, มูลนิธิ Why i Why และก็วอป๋วย  แล้วก็เครือข่ายในพื้นที่ที่ตอนนั้นก็มีการทำงานร่วมกันมาก่อน แล้วก็เราคุยกันว่าเราจะพัฒนาหรือว่าทำให้การมีส่วนร่วมของเยาวชนในแต่ละพื้นที่ที่เรากำลังบ่มเพาะและทำให้เสียงของเขาเข้มแข็งเราควรจะทำยังไง เพราะว่าเรามีเป้าหมายว่าเราอยากจะเพิ่มขีดความสามารถศักยภาพของเยาวชนและก็การเข้ามามีส่วนร่วมในแต่ละมิติทั้งในบริบทชุมชน ตั้งแต่ประเด็นเล็ก ๆ ที่เขาเห็นว่าเป็นปัญหาใกล้ตัวของเขารวมไปจนถึงมิติเชิงระดับนโยบายที่เขาคิดว่าควรผลักดันไปสู่นโยบายแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น ก็เลยเกิดโครงการนี้ขึ้นมา ซึ่งหุ้นส่วนที่รวมตัวกันทั้ง 3 องค์กร แต่ละองค์กรเรามีจุดเด่นของแต่ละองค์กรเรื่องอะไรบ้าง แล้วมาดูว่าเราจะเข้าไปหนุนเสริมแล้วทำให้ทั้ง 10 พื้นที่ เพิ่มศักยภาพเขาแล้วก็ทำให้เขามีความเข้มแข็งในการทำงานในแบบของเขาได้ยังไงบ้างค่ะ

Q: ทำไมเราถึงเห็นความสำคัญของเสียงเยาวชน?

A: เพราะว่าเรารู้ว่ามีเยาวชนที่ต้องการมีส่วนร่วมที่แท้จริง ไม่ใช่แค่ชวนเขาไปเข้าร่วมนั่งเฉย ๆ แต่เขามีทั้งความคิดและศักยภาพมากพอที่จะแสดงความเห็นต่อประเด็นที่มันเกี่ยวข้องกับวัยเดียวกันกับเขาเอง กับประเด็นสังคมรอบตัวที่เขาเห็น เขามีความคิดและเขาสามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างการเปลี่ยนแปลงด้วย มันไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ใหญ่อย่างเดียวที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมแต่เยาวชนก็เป็นกำลังสำคัญส่วนหนึ่งด้วยค่ะ 

Q: ในมุมของโครงการเรามองเห็นว่าโครงการของน้องๆมีการพัฒนาไปยังไงบ้าง เสียงของน้องๆที่ส่งไปมันถึงกลุ่มเป้าหมายไหม?

A: โครงการ Voice of Youth หรือที่เราเรียกว่าโครงการโวย ก็เพราะว่าเสียงแต่ละพื้นที่ก็มีหลากหลายแบบ เพราะว่า10 พื้นที่ 10 ประเด็น แล้วก็รูปแบบการทำงานบริบทของแต่ละชุมชนก็แตกต่างกัน ถ้าจะเทียบว่าพัฒนาไปถึงระดับไหน อาจจะเทียบกันไม่ได้เพราะว่ามาตรฐานในการวัดอาจจะไม่เหมือนกัน อาจจะต้องดูไปแต่ละพื้นที่ว่าเป้าหมายที่เขาต้องการเปลี่ยนแปลงคืออะไร แล้วเด็กเข้ามา 3 ปี มันอยู่ขั้นไหนของเป้าหมาย  แต่ที่แน่ชัดคือเราเห็นว่าเด็กมีการเปลี่ยนแปลงตัวเอง เติบโตภายในทั้งมิติศักยภาพภายใน ลักษณะบุคลิก ความคิดที่มีต่อตัวเองแล้วก็สังคม แล้วก็ได้เรียนรู้ผ่านการลงมือทำโครงการ เขาก็มีทักษะศักยภาพที่เราเห็นแน่ชัดแน่ ๆ ค่ะ


ต้นกล้า ทักษิณ บำรุงไทย เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน (ขสย.)

Q: ทำไมเสียงของเยาวชนถึงสำคัญ

A: อยากจะชวนคิดว่าเสียงของทุกคนสำคัญ ไม่อยากมองแยกว่าเป็นเด็กเยาวชนเป็นคนรุ่นใหม่หรือเป็นผู้สูงอายุ เมื่อไหร่ก็ตามถ้าเราเห็นความเป็นมนุษย์ไม่ว่าคุณจะเป็นเยาวชน เป็นผู้มีประสบการณ์มาก เสียงของทุกคนมีจะสำคัญเสมอสำหรับประเทศนี้

Q: แล้วที่เข้าร่วมโครงการ เราเห็นน้องๆทำโครงการ เสียงของน้องๆถูกส่งไปไหม จากที่เรามอง ?

A: ถามว่าเสียงจะถูกส่งออกไปไหม กล้าคิดว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่เราอยู่ในมุมของคนที่ทำงานด้านเด็กและเยาวชนและอยากพัฒนาเด็กและเยาวชน แล้วก็สนับสนุนให้เขาได้สะท้อนเสียงของเขา สิ่งหนึ่งในบทบาทขบวนการสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน หรือ ขสย เราพยายามเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ให้กับทุกคน แล้วก็พื้นที่สาธารณะให้กับทุกคน ในความหมายพื้นที่เราไม่ได้มองแค่เชิงพื้นที่จริง ๆ เรามองถึงพื้นที่ทางความคิดด้วย ดังนั้นกล้าเชื่อว่าเมื่อไหร่ก็ตามคนทำงานด้านเด็กและเยาวชนเปิดพื้นที่ให้กับทุกคนมีสิทธิ์มีเสียงในการที่จะพูด กล้าก็เชื่อว่าเสียงเหล่านั้นมันจะดังมากยิ่งขึ้น 


อรอนุตา จ่ากุญชร ผู้อำนวยการกองพัฒนานักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้

Q: ทำไมเสียงของเด็กถึงมีความสำคัญ?

A: ก็เรามองกันในแง่ที่ว่า ก่อนหน้านี้การพัฒนาหรือการทำเพื่อความต้องการของผู้ที่อยากได้จริง ๆ บางทีมันสำคัญนะ  เหมือนคำโบราณที่ว่าปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ตามใจผู้นอน เพราะฉะนั้นในการที่เราจะฟังหรือดูความต้องการของคนเราต้องฟังเขาด้วย เพราะก่อนหน้านี้มันเป็นการทำด้านเดียวคืออยากจะทำ ๆ แต่ไม่ได้ถามเลยว่าเขาต้องการไหม แต่ทีนี้พอกลับมาในปัจจุบันมันไม่ใช่แล้ว เราต้องมองดูว่าที่เราทำลงไปเขาต้องการจริงไหม อย่างเมื่อก่อนมหาวิทยาลัยแม่โจ้ส่งเสริมให้นักศึกษาออกไปทำโครงการค่ายอาสาแต่ไม่ได้มีการสอบถามหรือสำรวจความต้องการเลยว่าเราเข้าไปทำเขาต้องการจริงไหม บางครั้งมันทำให้งบประมาณที่เราลงไปหรืออะไรที่เราทำลงไปแล้วไม่มีประโยชน์ สร้างแล้วไม่เป็นประโยชน์กลับมา เพราะฉะนั้นในการที่เราจะทำอะไรก็แล้วแต่ในปัจจุบันเนื่องด้วยเศรษฐกิจหรืออะไรเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง มันเลยต้องมีการสำรวจดูความต้องการว่าเขาต้องการอะไรแล้วเราถึงจะลงงบประมาณไป ทีนี้คนรุ่นใหม่ในปัจจุบันเขาจะมองว่าเขามีโครงสร้างพื้นฐานหลาย ๆ อย่างพร้อมแล้ว แต่มีอะไรที่เขาอยากได้ มีอะไรที่เขาอยากพัฒนา มันเป็นมุมมองตัวหนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาชุมชน พัฒนาท้องถิ่น พัฒนาตัวบุคลากร พัฒนาการศึกษา เพราะว่าถ้าเอาความต้องการของเขาเราไปดูแล้วเขาอยากได้ตัวนี้เราสามารถลงงบประมาณ ลงวิธีการ ลงบุคลากรหลาย ๆ อย่างลงไปแล้วไปพัฒนาตรงนั้น มันจะทำให้ผลประโยชน์หรือสิ่งที่เกิดขึ้นจากการลงทุน การลงปฏิบัติ มันสะท้อนกลับมาลงไปสู่ตัวผู้ต้องการ ถ้าในที่นี้เราพูดถึงนักศึกษา นักศึกษาต้องการตัวนี้เราลงไปจริง ๆ รวมทั้งทรัพยากรอื่น ๆ ไปสนับสนุนเขา เขาได้เรียนรู้เต็มที่เรียนรู้ในสิ่งที่อยากรู้ มันจะสะท้อนกลับไปที่ตัวของเขาเอง แล้วเขาจะนำไปพัฒนา 1 พัฒนาตัวเขาเอง 2 พัฒนาชาติพัฒนาสังคมได้อย่างถูกต้องและถูกวิธี ซึ่งถามว่าเสียงของนักศึกษาหรือเสียงของเด็กปัจจุบัน สำคัญมากมันจะทำให้ผู้นำเห็นมุมมองเห็นสิ่งที่เราจะพัฒนาได้อย่างถูกต้องแล้วลดงบประมาณได้มากที่สุด นั่นคือส่วนสำคัญเลยค่ะ 


บูธกิจกรรมจากเยาวชน 10 พื้นที่ มาร่วมสร้างสีสันภายในงาน อาทิ ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นของแต่ละพื้นที่ กิจกรรมแจกของรางวัล และนิทรรศการขนาดย่อม ให้ผู้ร่วมงานร่วมสนุกร่วมแจมไปพร้อมกัน

1.สภาเด็กและเยาวชนตำบลท่าสาป จังหวัดยะลา


  • นำเสนอวัฒนธรรมของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีอัตลักษณ์เช่นการแต่งกาย ผ้าปาเต๊ะ (ผ้าพื้นถิ่นของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้) สถานที่ท่องเที่ยวเด่น ๆ ในจังหวัดยะลา
  • ผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว/น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น/ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากผ้าปาเต๊ะ/ผ้าปาเต๊ะสำเร็จรูป

2.ละอ่อน Home จังหวัดพะเยา


  • Mini workshop ฝอยทอง Cook it by your self โชว์การทำขนมฝอยทอง เปิดให้ผู้เข้ามาร่วมมาเรียนรู้การทำและลองชิม 

3.พลังโจ๋ พลังสร้างสรรค์แบ่งปันความสุข จังหวัดแพร่


  • Timeline สรุปการดำเนินโครงการตลอดระยะเวลา 3 ปี และความเปลี่ยนแปลงของแกนนำเด็กและเยาวชน
  • นิทรรศการภาพถ่ายของแกนนำเด็กเยาวชนที่มีต่อชุมชนของตนเอง

4.สภาเด็กและเยาวชนตำบลเขื่อนผาก จังหวัดเชียงใหม่


  • ขนมและผลิตภัณฑ์ของดีเขื่อนผาก อาทิ ผลิตภัณฑ์หอมฉุย กาแฟจากร้านสะตอรี่คาเฟ่ และเสื้อ Voy ในธีมความหลากหลายทางเพศ

5.CCDC และกลุ่มสันทรายน้ำหนึ่ง จังหวัดเชียงใหม่


  • กิจกรรมปาเป้าแลกของรางวัล และบอร์ดเกมสร้างสุข คู่มือซึมเศร้าที่ มีสตอรี่มาจากการทำงานโครงการเรื่องการสำรวจอาการของความเครียด ต้นตอสาเหตุและความต้องการ

6.CK Voice จังหวัดเชียงราย


  • กิจกรรมบอร์ดเกม พลังงานทดแทน ในคอนเซ็บว่า “สร้างเมืองของเราให้ไร้หมอกควัน เรามาช่วยกันสร้าง Renery city มาสนุกกับบอร์ดเกม Renergy city ปิดเมืองหมอกควัน สร้างโรงงานพลังงานทดแทน”

7.เด็กมีเรื่องเล่า จังหวัดเชียงใหม่


  • แกลลอรี่บูธนำเสนอเรื่องราวการทำกิจกรรมของกลุ่มเด็กมีเรื่องเล่า และนำเสนอหน้าร้านออนไลน์ที่กลุ่มร่วมกันพัฒนา

8.WE-Life จังหวัดมหาสารคาม


  • นำเสนอสินค้า/ผลผลิตจากเยาวชนและชุมชนในโครงการ WE- Life อาทิ สบู่สมุนไพร น้ำยาล้างจานสมุนไพร ตะกร้าสาน พรมเช็ดเท้า หมากบก ชาสมุนไพร หมูแดดเดียว ปลาแดดเดียว เมล็ดพันธ์มะเขือเปราะหนาม เสื่อกก สเปรย์ฉีดยุง
  • นำเสนอภาพรวมการทำงานโครงการของกลุ่มตลอด 3 ปีที่ผ่านมา

9.KK-VoY จังหวัดขอนแก่น


  • นิทรรศการมีชีวิต ภาพถ่ายเล่าเรื่องประเด็นที่เยาวชนเข้าไปขับเคลื่อน เช่น คนไร้บ้าน ชุมชนแออัดริมทางรถไฟ เด็กนอกระบบ ปัญหาขยะสิ่งแวดล้อม และสินค้าทำมือ ผลิตภัณฑ์จากธุรกิจเพื่อสังคม OKAS (โอกาส) งานฝีมือของคนไร้บ้าน คนจนเมืองขอนแก่น เช่น ที่รองจาน ที่รองแก้ว ซองกระบอกน้ำ กล่องทิชชู่ กระบอกน้ำรณรงค์ Homeless are Human

10.กลุ่มเยาวชนลุ่มน้ำแม่ทา จังหวัดลำพูน


ผลิตภัณฑ์บนฐานนิเวศน์ลุ่มแม่น้ำทา เช่น งานผ้าทอกะเหรี่ยง ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป งานหัตถกรรม งานแกะสลัก


“ระเบิดพลังเยาวชน” เวทีนำเสนอผลงานการดำเนินงานตลอด 3 ปี ที่ผ่านมาในรูปแบบ Pechakucha และการแสดงจากเยาวชน 10 พื้นที่และภาคีเครือข่าย”

1. สภาเด็กและเยาวชนท่าสาป ตำบลท่าสาป จังหวัดยะลา

การแสดง รองเง็ง โดยสมาชิก สภาเด็กและเยาวชนท่าสาป ตำบลท่าสาป จังหวัดยะลา

***การแสดง “รองเง็ง” มีวิวัฒนาการมาจากการเต้นรําพื้นเมืองของชาว สเปน หรือโปรตุเกส ซึงนํามาแสดงในแหลมมลายูเมื่อคราวที่ได้มา ติดต่อทําการค้า จากนั้นชาวมลายูพื้นเมืองได้ดัดแปลงเปนการแสดงที เรียกว่า รองเง็ง 

Pechakucha

  • เล่าถึงแลนมาร์คของยะลา เช่น อุโมงค์มงคลฤทธิ์ และของที่เป็นจุดเด่นของยะลา เช่น อาหาร สถานที่ศักสิทธิ์ เช่นศาลหลักเมืองยะลา วัฒนธรรมการแต่งกาย
  • กิจกรรมในพื้นที่ตำบลท่าสาป โดยสภาเด็กได้ร่วมมือกับเทศบาลท่าสาป ในหัวข้อใต้ร่มวัฒนธรรม ผลิตภัณฑ์ในชุมชนเช่น นมแพะ นวัตกรรมการลดใช้พลังงาน โดยสภาเด็กช่วยชุมชนในการลดพลังงานเช่น นำขี้วัวมาเปลี่ยนเป็นแก๊ส มีกิจกรรมวันเด็ก TADIKA คือมีการสอนวัฒนธรรมศาสนาอิสลาม
  • การประชุมทุกสัปดาห์ เพื่อให้มองเห็นปัญหา และลงมือแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชน มีการสำรวจพื้นที่เป้าหมาย โดยการประชุมเช่นนี้ที่เกิดขึ้นทุกสัปดาห์ทำให้เห็นความตั้งใจของตนเอง ในการส่งเสียงของเยาวชนที่มีความสำคัญมาก

และกล่าวปิดท้ายว่า “ถ้าเราอยากแก้ปัญหาอะไรสักอย่าง ต้องกล้าที่จะเปล่งเสียงออกมา ถ้าเราส่งเสียงด้วยตัวเองไม่ดังพอ ก็จับมือร่วมกันเปล่งเสียง”


2.กลุ่มละอ่อนHome จังหวัดพะเยา

Pechakucha

“การเป็นวัยรุ่นมักโดนตั้งคำถาม ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาหรือครอบครัว จุดประสงค์คือ เรียนรู้มิติใหม่ๆ นอกห้องเรียน”

“การศึกษาทางเลือก Phusang active leaning โดยการให้เราทดลองทำอาชีพต่างๆอยู่ค่าย ว่าเราจะเป็นอะไรก็ได้”

โดยตลอดสามปีของทีมทำอะไรบ้าง?

ปีที่ 1 ใช้ชีวิตในค่ายเหมือนกับการใช้ชีวิตจริง เช่นเงินที่จะใช้ในค่ายก็ขึ้นอยู่กับการจับฉลาก เพื่อทำให้รู้ว่าชีวิตมีหลากหลายมุมมอง ว่าเมื่ออยู่ในสังคมจริง ๆ เขาจะรู้สึกอะไร

ปีที่ 2 สร้างพื้นที่ในชุมชน เพื่อการเรียนรู้ เปิดรับครูอาสาทั่วประเทศ หลากหลายชาติ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดต่าง ๆ และเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ มาฝึกทักษะเด็กในค่าย เพื่อให้เด็กเรียนรู้ตัวเองในด้านที่สนใจมากขึ้น

ปีที่ 3 มีการขยายพื้นที่หลักสูตรการเรียนรู้ เพื่อนำมาใช้ในสังคมได้จริงๆ มีการเปิดรับครูอาสาเหมือนกัน เพื่อให้คำแนะนำแก่เด็กในค่าย Phusang active leaning เมื่อในชีวิตจริงเราไม่รู้ว่าจะเจออะไรบ้าง ดังนั้นในค่ายครูจึงได้สอนอะไรหลาย ๆ อย่าง เพื่อให้เด็กในค่ายภูซาง นำมาใช้ในชีวิตจริงได้

“ค่ายภูซางเป็นมิติหนึ่งของชีวิต ได้เจอเพื่อนได้เจอมิตรภาพ”


3.กลุ่มพลังโจ๋ พลังสร้างสรรค์แบ่งปันความสุข จังหวัดแพร่

Pechakucha

ทำในส่วนของเด็กและเยาวชน ที่มีความหลากหลาย พูดถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น”

  • ทำกับเด็กและเยาวชนในโรงเรียนรอบนอกของจังหวัดแพร่ โดยประเด็นหลักคือการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เป็นแกนนำ เพราะเขาจะได้ทำงานกับคนในชุมชนของตัวเองได้ โดยที่มีเด็กและเยาวชนเป็นส่วนร่วมเพื่อให้เขาค้นหาความชอบ ความสนใจ ของตัวเอง ทั้งการเรียนต่อหรืออะไรก็ได้
  • มีการพัฒนาศักยภาพของเด็ก เพื่อลดช่องว่างระหว่างผู้ทำโครงการกับน้อง ๆ น้องเขาจะได้เปิดรับการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น
  • พัฒนาด้านการลงชุมชน พื้นที่ เพื่อสังเกตและนำข้อมูลมาจัดกิจกรรม โดยให้เขานำทุกอย่างมาจัดเตรียมเอง เพื่อฝึกประสบการณ์ในการทำกิจกรรมในพื้นที่ของตนเองได้
  • การพามาในชุมชนของตัวเอง เพื่อทำการเก็บสำรวจหรือแนวโน้มปัญหาในพื้นที่ของตนเอง โดยสิ่งที่เกิดขึ้นจากการทำแบบนี้คือ หนึ่ง เกิดทักษะการบริหารจัดการ หารเป็นวิทยากร สอง ขณะการลงชุมชน เกิดมุมมองการมองชุมชนเปลี่ยนไป จากตอนแรกไม่เคยสนใจที่จะทำการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาสังคม ก็เกิดการอยากพัฒนาชุมชนในทางที่ดีมากขึ้น สามคือมีความกล้าที่จะพูด กล้าที่จะทำ หรือกล้าออกแบบกิจกรรมมากขึ้น

กล่าวปิดท้ายว่า “เสียงของเยาวชนสำคัญมาก ทีมก็สำคัญเช่นกัน เพราะบางครั้งเราคนเดียวก็มองข้ามสิ่งสำคัญบางอย่างไป ทีมเลยมีความสำคัญในการที่จะร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาหรือมุมมองบางอย่างที่เรามองข้าม” “ความอยากพัฒนาชุมชนที่เกิดขึ้นจากเด็กและเยาวชน คือจุดเริ่มต้นของความเปลี่ยนแปลง”


4.กลุ่มสภาเด็กและเยาวชนเขื่อนผาก จังหวัดเชียงใหม่

การแสดง Love For All โดยกลุ่มเอื้องเหนือเมืองป้าวเป็นการแสดงเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศบนพื้นฐานของความรัก  และนําเสนอผลงาน ทอล์กโชว์เรื่องราวการทํางานของเขือนผาก


5.กลุ่มสันทรายน้ำหนึ่ง แม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่


Pechakucha

ทำงานร่วมงานกับโครงการโวย 2563-2565 เกี่ยวกับภาวะสุขภาพทางใจ เพราะว่ากลุ่มสนใจเรื่องนี้อยู่แล้ว

3 ปีที่ผ่านมาทำเกี่ยวกับอะไร

  • โรคซึมเศร้า มีการประเมินให้ความรู้เรื่องโรคซึมเศร้า
  • บอร์ดเกม  ทำให้เป็นรูปธรรมมากขึ้นโดยการใช้บอร์ดเกม เพราะวัยเด็กเป็นวัยที่ต้องการความสนุกก็เลยมีการใช่บอร์ดเกมมาเป็นเครื่องมือ
  • RQ  ทักษะการฟื้นฟูจิตใจ ถ้ามีRQเยอะก็สามารถที่จะปรับตัวกับคนอื่นได้ดีและปรับตัวได้ง่ายมากขึ้น

โดยสันทรายน้ำหนึ่งยได้ทำกิจกรรมนอกพื้นที่ โดยค่ายแรกคือค่ายแม่แตงที่ได้เจอคนอื่นและระบายความรู้สึกแก่กันและกัน เป็นค่ายที่ประทับใจที่สุด


6.กลุ่ม CK Voice จังหวัดเชียงราย

Pechakucha

เยาวชนทำงานกับสองกลุ่มคือเชียงของและห้วยซ้อ มีกิจกรรมบอร์ดเกม How to be game master เป้าหมายคือการสร้างเด็กเป็นผู้นำสอนน้องๆเพื่อเป็นผู้นำบอร์ดเกมส์ กิจกรรมที่สร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาคือ

  1. มีการฝึกเพื่อเป็นผู้นำเกมที่ดี
  2. ต้องมีความเข้าใจเนื้อหาของเกมก่อนไปเล่น

จัดเตรียมกิจกรรมเกม Renergy พี่พาน้องเล่น เกี่ยวกับพลังงานทดแทน โดยนำสิ่งที่ได้เรียนรู้มาสอนน้องต่อไป และ Fortune Condom บอร์ดเกมที่ให้ความรู้เรื่องเพศ


7.กลุ่มเด็กมีเรื่องเล่า จังหวัดเชียงใหม่

  • หนังสั้น ที่เล่าถึงประสบการณ์การทํางานแสดงผลงานของแกนนําเยาวชนในพื้นที่ ที่เกิดจากการดําเนินงานโครงการ
  • การแสดง ละครหุ่นเงา เรื่อง ‘ผาหินพระอาทิตย์’ ที่เล่าถึงที่มาของความหลากหลายทางชาติพันธ์ ว่าเมื่อก่อนมนุษย์ต่างเป็นครอบครับเดียวกันหมด 

8. กลุ่มการศึกษาเพื่อความยั่งยืนของชีวิต WE-Life จังหวัดมหาสารคาม

“ศึกษาความยั่งยืนของชีวิต ตัวตนคนกลับมาบ้าน จุดเปลี่ยนคนสู่งานพัฒนา กระบวนการเรียนรู้สู่การเติบโต การเติบโตภายในสู่ภายนอก”

กล่าวว่า มอบทักษะเพื่อความยั่งยืน เพิ่มความรู้และพัฒนาการสื่อสาร การทำงานเป็นทีม และเรื่องความรู้ทางเพศศึกษาที่จำเป็นสำหรับการใช้งานของพี่เลี้ยง 

เกิดจากสิ่งที่เด็กอยากรู้ เลยมีพื้นที่ที่เด็กได้เล่น ได้เรียนรู้ มีการถกเถียงกัน โดยเด็กเยาวชนนั้นต้องการการเรียนรู้ที่ดี เพื่อในวัยเปลี่ยนผ่านจากวัยเด็กไปสู่วัยรุ่น และมีเวทีเรียนรู้เรื่องเพศด้วย


เด็กอยากเรียนรู็ผ้ามัดย้อม โดยใช้สีจากธรรมชาติที่ปลอดสารพิษ โดยมีสมุดบันทึกกับผ้ามัดย้อม ตรงนี้เป็นทักษะ และสามารถสร้างรายได้ได้ โดยทักษะที่ทางโครงการได้มอบให้เยาวชนนั้น มีประโยชน์และสร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเด็กในการเรียนรู้ 

และเล่าถึงประเด็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก โดยในสมัยเด็กไม่ค่อยมีพื้นที่แสดงออก คุณครูมองข้ามและไม่ค่อยให้ความสนใจ พื้นที่ตรงโรงเรียนนั้นเลยทำให้เด็กไม่มีความมั่นใจ ไม่กล้าพูดแสดงความคิดเห็น เลยเป็นจุดที่ทำให้ทีมกลับมาทำเรื่องพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก โดยพัฒนาเรื่อง เรื่องการพัฒนาศักยภาพเด็ก ความรู้เรื่องเพศ ความรู้เรื่องวัยเจริญพันธ์ และผ้ามัดย้อม เมล็ดพันธ์ เป็นทักษะสำหรับเยาวชน

โดยสิ่งที่ทำเหล่านี้คือให้เด็กมีพื้นที่แสดงออก กล้าพูดกล้าคุย กิจกรรมที่เด็กมาทำและเห็นการเปลี่ยนแปลงหลังจากนั้น คือเด็กกล้าออกแบบกระบวนการต่าง ๆ ที่ตัวเองอยากทำมากขึ้น โดยพื้นที่ปลอดภัยตรงนี้นั้น เหมาะสำหรับคนทุกเพศทุกวัย


9. กลุ่ม KK-VoY จังหวัดขอนแก่น


  • นำเสนอการทำงานของ KK-VoY ผ่านคลิปวีดีโอ ที่เล่าถึงการทำงานของกลุ่มตลอด 3 ปี และ ชีวิตเด็กนอกระบบการศึกษาเมืองขอนแก่น
  • ละครสั้น เรื่อง เยาวชนสะท้อนปัญหาสังคม

10. เครือข่ายนิเวศน์ลุ่มน้ำแม่ทา จังหวัดลำพูน

  • ปรัชญาที่ว่า การทำงานเกิดจากการต้องการสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ เห็นปัญหาจากการที่มีช่องว่างระหว่างวัย และสร้างพิ้นที่ในชุมชนและการมีส่วนร่วม และมีความสุขจากการทำกิจกรรมเช่นปลูกผักมีอิสระในการทำรู้ถึงพื้นฐานเข้าใจชุมชนตัวเองและสังคม สร้างพื้นที่ปลอดภัยในการคิด ไม่ว่าจะในเรื่องของการเมือง และตนเอง 
  • เล่าถึงโครงการของรัฐเข้ามาซึ่งทำให้ทรัพยากรในพื้นที่จะหาย “โรงไฟฟ้าขยะไม่ควรจะอยู่ในพื้นที่ของเรา”

ทีมข่าวที่ประกอบไปด้วยผู้คนหลากหลาย บ้างก็มาจากทะเล บ้างก็มาจากภูเขา แต่สุดท้ายก็ลงเอยที่ภาคเหนืออยู่ที่ Lanner นี่แหละ...

ข่าวที่เกี่ยวข้อง