ดูฐานข้อมูลใน Google Earth ได้ที่ https://shorturl.asia/Bbg6t “ที่ดินต้องเป็นของผู้ถือคันไถ” คือคำขวัญของสหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย สหพันธ์ของประชาชนที่ลุกขึ้นต่อสู้เพื่อสิทธิของชาวนาไทย รวมถึงการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและความเป็นธรรม ร่วมกับนิสิตนักศึกษา ปัญญาชน และกรรมกร ย้อนกลับไปในช่วง 14 ตุลาคม 2516 การต่อสู้ของกลุ่มนักศึกษาที่ดุเดือดและชัยชนะของประชาชนในครั้งนั้น ส่งผลกระทบให้กับชนชั้นชาวนา ที่ ณ ตอนนั้นถือเป็นจำนวนร่วม 80% ของประชากร กำลังได้รับความยากลำบากจากการ “ไม่มีที่นาทำกิน” เพราะถูกเจ้าที่ดินและนายทุนเงินกู้ขูดรีดและฉ้อโกงเอาไป ได้มีความหวังแก่ชัยชนะของพวกเขาขึ้นมาบ้าง จนเป็นจุดเริ่มต้นของการต่อสู้เรียกร้องของกลุ่มคนที่เป็น “สันหลังของชาติ” ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น การชุมนุมในกรุงเทพฯของกลุ่มชาวนาเกิดขึ้นครั้งแรกช่วงเดือนมีนาคม 2517 เพื่อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีในตอนนั้นอย่าง สัญญา ธรรมศักดิ์ จัดการให้ชาวนาขายข้าวได้ในตลาดโลก ให้ประกันราคาข้าวแก่ชาวนา ควบคุมการส่งออก ลดค่าพรีเมียมข้าว ควบคุมราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและปุ๋ยให้ถูกลง และอัตราค่าเช่านาที่ว่ากันว่ามีนัยสำคัญมากที่สุดที่ส่งผลให้ชาวนารวมตัวกันเพื่อให้เกิดการแก้ไข แต่ท้ายที่สุด ข้อเรียกร้องต่างๆของชาวนาก็ไม่ถูกทำให้เกิดขึ้น และแม้รัฐบาลจะประกาศใช้มาตรา 17 ช่วยเหลือชาวนา และตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามคำร้องขอต่อความเป็นธรรมในเรื่องหนี้สิน (ก.ส.ส.) แต่ที่สุดก็ยังไม่อาจแก้ปัญหาได้ การรวมตัวชุมนุมในกรุงเทพฯยังคงเกิดขึ้นอีกหลายต่อหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นในเดือนพฤษภาคม เดือนมิถุนายน และเดือนสิงหาคมที่มีความดุเดือดมากที่สุด 9 สิงหาคม … Continue reading ใบหน้าที่หายไปในประวัติศาสตร์ส่วนกลาง: ย้อนรอยความรุนแรงของสมาชิกสหพันธุ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทยที่ตกเป็นเหยื่อระหว่างปี 2517-2522
Copy and paste this URL into your WordPress site to embed
Copy and paste this code into your site to embed