เราคือคณะก่อการล้านนาใหม่ นี่คือการเรียกคืนสิทธิจัดการตนเองจากรัฐผู้ฉกฉวย
เรื่องและภาพ: ณัฐชลี สิงสาวแห “คณะก่อการล้านนาใหม่” ก่อกำเนิดขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ที่ซึ่งถูกเรียกว่าภาคเหนือ ผืนดินที่อยู่ทาง “ทิศเหนือของกรุงเทพฯ” เมืองหลวงแห่งประเทศไทย พื้นที่แห่งนี้เต็มไปด้วยภูเขา ป่าไม้ แม่น้ำ ทรัพยากรธรรมชาติ และชนเผ่าพื้นเมืองที่ถูกกีดกันจากทรัพยากรพื้นฐานในการดำรงชีพซึ่งถูกครอบครองโดยกลุ่มชนชั้นนำกลุ่มเล็กๆ พวกเขารวมกลุ่มกันเพื่อบอกว่าการรวมอำนาจตัดสินใจทางนโยบายหรือการออกกฎหมายจากชนชั้นนำได้ลิดรอนสิทธิตามรัฐธรรมนูญของพวกเขาและพวกเขาไม่ปรารถนาการลิดรอนสิทธิเช่นนั้น ทรัพยากรอันอุดม เมื่ออยู่ในมือของผู้มีอำนาจจากส่วนกลางทำให้อำนาจในการจัดการตนเองหลุดออกจากมือของพวกเขาทีละน้อย แม้จะลุกขึ้นประท้วงแสดงออกว่าไม่สยบยอมต่อชะตากรรมที่ถูกหยิบยื่นให้ แม้จะลุกขึ้นสู้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าต่อผู้ฉกฉวย ในท้ายที่สุดมีแต่จะได้รับความขมขื่นเป็นการตอบแทน ย้อนไปปลายปี 2564 สมาชิกคณะก่อการฯ ทั้งกลุ่มชาติพันธุ์ที่ดำรงชีพในป่า นักศึกษา เกษตรกร นักวิชาการ เยาวชน คนรุ่นใหม่ สื่อมวลชน และคนทำงานภาคประชาสังคม มีหมุดหมายร่วมกันว่าอำนาจในการดูแลตัวเองควรกระจายไปทั่วชุมชนและไม่ควรกระจุกตัวอยู่ในมือของรัฐศูนย์กลาง การกระจายอำนาจจะเป็นวิธีที่จะรับประกันสิทธิของชนเผ่าพื้นเมืองและสิทธิการจัดสรรทรัพยากรของตัวเอง และอาจจะเป็นวิธีที่จะสร้างสังคมที่ยุติธรรมเท่าเทียมกัน พวกเขาอธิบายถึงชื่อคณะก่อการล้านนา “ใหม่” ว่าเป็นกิจกรรมรูปแบบใหม่ เป็นกริยาที่เคลื่อนไปด้วยกัน เป็นการสร้างเครือข่ายให้เกิดสิ่งใหม่ด้วยกัน สิ่งใหม่นั้นพวกเขาจะมาร่วมกันออกแบบ ซึ่งในที่นี้ไม่ได้ต้องการทำลายสิ่งเก่าที่มีอยู่ แต่กำลังทบทวนสิ่งเก่าที่มีปัญหาทำให้ล้านนาไม่เติบโตจัดการตัวเองไม่ได้ ดังนั้นการตั้งชื่อด้วยคำว่า “ใหม่” จึงนำมาใช้อธิบายพลวัตรของคนที่มารวมกัน มีการต่อสู้ใหม่ มีคนใหม่ มีความคิดแบบใหม่ เป็นพื้นที่แบ่งปันขบวนการต่อสู้เพื่อขยับไปสู่ประชาธิปไตยด้วยกัน ถึงแม้พวกเขาจะใช้ว่าคณะก่อการล้านนาใหม่ แต่ก็ไม่ได้เป็นปฏิปักษ์หรือต้องการแบ่งแยกกับประชาชนภูมิภาคอื่นใดหรือกลุ่มชาติพันธุ์ไหน พวกเขาจะเป็นปฏิปักษ์ต่ออำนาจที่แย่งชิงสิทธิอันชอบธรรมของประชาชนไปเท่านั้น การจัดการชาติพันธุ์ ที่ดิน ป่าไม้ … Continue reading เราคือคณะก่อการล้านนาใหม่ นี่คือการเรียกคืนสิทธิจัดการตนเองจากรัฐผู้ฉกฉวย
Copy and paste this URL into your WordPress site to embed
Copy and paste this code into your site to embed