“จากเจ้าของพื้นที่สู่สถานะผู้เช่าพื้นที่ป่าและแรงงานปลูกป่าให้กับรัฐผ่านแม่บทป่าไม้และ พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ 62” ณ ลานคนเมือง ช่วงเวลา 10.30 น. ชวนคุยโดย เพชร – เฉลิมชัย วัดจัง ผู้เข้าร่วมเสวนา ได้แก่
1. พชร คำชำนาญ ตัวแทนจากขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม
2. บังอาลี ตัวแทนจากสมาพันธ์ประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย
3. ปราโมทย์ ตัวแทนพี่น้องชาติพันธุ์สหพันธ เกษตรกรภาคเหนือ
4. นิสาพรรณ หมื่นราม ตัวแทนจากสมัชชาคนจน
สรุปประเด็นวิพากษ์ APEC ฟอกเขียว (Green washing) และกลุ่มทุนผูกขาด
1. แง่มุมจาก พชร คำชำนาญ
“การประกาศคำนิยามของป่าและพื้นที่ป่า ปีพ.ศ. 2484 เป็นการประกาศสิทธิเหนืออาณาเขต ซึ่งสืบเนื่องมาจากแผนแม่บทป่าไม้ ที่ผลักดันให้เพิ่มพื้นที่ป่าครบตามเป้าคือ 40% แผนจากรัฐบาลชุดนี้เกิดผลกระทบที่กดทับสิทธิชาวบ้านที่อาศัยในเขตป่ามากมาย เช่น การไล่รื้อ การดำเนินคดี เพื่อทวงคืนอาณาเขตป่าให้ได้ตามเป้า
วาทกรรมและแนวคิดเศรษฐกิจ BCG, Carbon credit หรือการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็น 0 ตาม NET Zero ดูเหมือนจะเป็นแนวคิดหรือคำพูดสวยหรู แต่เมื่อใดก็ตามที่แนวคิดพวกนี้ออกมาจากปากรัฐบาลเผด็จการ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา มันคือการผูกขาดทางทรัพยากรธรรมชาติ และเป็นใบอนุญาตให้รัฐบาลสามารถกดทับเชิงพื้นที่และทรัพยากต่อประชาชน มีหลายการกระทำที่คลุมเครือและย้อนแย้งมากมาย เช่น การผูกขาดอาหารและความมั่นคงทางอาหารให้อยู่แค่ในเงื้อมมือนายทุนและบริษัทชั้นนำของประเทศไม่กี่บริษัท การปัดตก พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า เพื่อเอื้อให้บริษัทนายทุน ได้มีสิทธิ์ขูดรีดเงินและภาษีจากประชาชนต่อไป”
“แนวคิดเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ BCG จากปากรัฐบาลประยุทธ์เป็นวาทกรรรมที่สวนทางจากการกระทำที่รัฐบาลชุดนี้สร้างขึ้นจากพวกมือถือสาก ปากถือศีล ในพื้นที่อมก๋อยภาคเหนือ รัฐบาลสัมปทานพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ชั้น 1A ที่อุดมสมบูรณ์ให้บริษัทเหมืองปูนกว่า 30 ปี หรือแม้กระทั่งอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน มรดกโลก ที่คนไทยภูมิใจนักหนา หารู้ไม่ว่า บิลลี่ พอละจี่ที่เป็นชาติพันธุ์ในพื้นที่ถูกฆ่าตาย และอีกไม่นานก็จะกลายเป็นอ่างเก็บน้ำในอนาคต เพราะฉะนั้น คุณวราวุธ คุณไม่มีสิทธิมาบอกให้ประชาชนชาวบ้านธรรมดาหาเช้า กินค่ำ มาพอเพียง ในขณะที่พวกคุณรวมหัวกับนายทุนและรัฐบาล ผูกขาย และขายทรัพยากรธรรมชาติให้นายทุนสามานย์ ประยุทธ์ไม่มีความชอบทำ อย่าหาทำ อย่าร่วมมือกับนายทุนเพื่อทำการฆาตกรรมประเทศกำลังพัฒนาและประชาชนในประเทศนี้”
พชรย้ำ “วราวุธ ศิลปอาชา เป็นกลไกสำคัญที่ผลักดันให้เกิดการประชุม APEC และนำมาซึ่งกระบวนการฟอกเขียว (Green Washing)”
2. แง่มุมจาก ปราโมทย์, ตัวแทนพี่น้องชาติพันธุ์สหพันธุ์ เกษตรกรภาคเหนือ
ให้ความเห็นจมกพื้นที่ภาคเหนือว่า “ในพื้นที่ของบ้านผมถูกประกาศทับซ้อนด้วยกฏหมายป่าสงวน และกำลังเตรียมประกาศเป็นอุทยานในอนาคต มีข้อจำกัดการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติมากมายตามระเบียบข้อกฎหมาย เป็นกระบวนการหนึ่งในการทวงคืนผืนป่าและเพิ่มพื้นที่ป่าตามเผยแม่บทป่าไม้ที่เกิดขึ้น”
“อยากฝากถึงผู้นำทั้ง 21 ประเทศให้มีเวทีรับฟังเสียงจากประชาชนจริง ๆ บ้าง ไม่ใช่แค่เปิดพื้นที่ให้แค่ชนชั้นนำเข้าถึง”
3. แง่มุมจาก นิสาพรรณ หมื่นราม, สมัชชาคนจน
‘ความแยบยลของกลไกรัฐที่แทรกซึมไปจนถึงท้องถิ่นให้ชาวบ้านที่สถานะจากเจ้าของสู่ผู้เช่าและแรงงานปลูกป่าให้กับรัฐ’
“แนวคิดและกลไกวิธีการในการเพิ่มพื้นที่ป่ามันแยบยลมาก ทุกครั้งที่เจ้าหน้าที่ป่าเรียกประชุมชาวบ้าน ชาวบ้านจะถูกดึงเข้าสู่กระบวนการสำรวจ เพราะถูกหลอกให้เชื่อว่า กระบวนการนี้ชาวบ้านจะมีสิทธิ์ในพื้นที่ทำกินของตัวเอง แต่หากมองดูในแง่ของตัวกฎหมาย การจะได้มาซึ่งสิทธิในที่ดินไม่ใช่แค่ผ่านการสำรวจเท่านั้น มันมีเงื่อนไขตามกฏหมายอีกมากมาย เช่น หากคุณอาศัยในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 เอ คุณต้องปลูกป่าอย่างน้อย __% ในพื้นที่ก็ว่าไปตามระเบียบ”
“แผนปฏิการพลิกฟื้นป่าชายเลน ของ ทช.(กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง) เป็นแผนที่ไม่ได้เหลียวแลชาวบ้านเลยแม้แต่น้อย ทรัพยากรในประเทศนี้ถูกนายทุนรวมหัวกับรัฐบาลเพื่อครอบครองและรับผลประโยชน์อยู่ฝ่ายเดียว”
4. แง่มุมจาก บังอาลี, สมาพันธ์ประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย สั้น ๆ ว่า “ผมคิดว่าการเป็นผู้นำที่ดีควรรับฟังเสียงที่หลากหลายและรับฟังเสียงจากประชาชนบ้าง”
ทีมข่าวที่ประกอบไปด้วยผู้คนหลากหลาย บ้างก็มาจากทะเล บ้างก็มาจากภูเขา แต่สุดท้ายก็ลงเอยที่ภาคเหนืออยู่ที่ Lanner นี่แหละ...