สถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่ภาคเหนือ เป็นภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกต้นปี หลายจังหวัดต่างเผชิญค่าฝุ่น PM2.5 ที่สูง ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่หลายด้าน สาเหตุหนึ่งที่เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิด PM2.5 นั้นก็คือการเผาไหม้ที่เกิดจากพื้นที่ทางการเกษตร พื้นที่ป่าทั้งป่าสงวนและป่าอนุรักษ์ รวมไปถึงหมอกควันข้ามแดนจากประเทศเพื่อนบ้าน

ข้อมูลจาก สํานักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) GISTDA รวบรวมและคำนวณข้อมูลโดย Rocket Media Lab ได้เผยข้อมูลพื้นที่เผาไหม้ในปี 2567 เรียบเรียงจากพื้นที่เผาไหม้ทุกจังหวัดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 พฤษภาคม 2567 จากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) โดยพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ ในปี 2567 พบว่ามีพื้นที่เผาไหม้จาก พื้นที่เกษตร พื้นที่ป่าอนุรักษ์และป่าสงวน ได้แก่ ข้าว ป่า ข้าวโพด อ้อย พื้นที่เกษตรอื่นๆ และอื่นๆ รวมกว่า 10,240,508 ไร่ โดยจังหวัดที่มีพื้นที่เผาไหม้มากที่สุด 5 อันดับได้แก่ จังหวัด แม่ฮ่องสอน 1,415,058 ไร่ ,จังหวัดลำปาง 1,356,929 ไร่ ,จังหวัดตาก 1,258,384 ไร่ ,จังหวัดเชียงใหม่ 1,023,134 ไร่ และจังหวัดนครสวรรค์ 944,877 ไร่ หรือรวมกว่า 5,998,382 ไร่ คิดเป็น 58.58% หรือเกินครึ่งของพื้นที่การเผาไหม้ใน 17 จังหวัดภาคเหนือ

หากนำข้อมูลการเผาไหม้จาก พื้นที่ป่า พื้นที่นาข้าว พื้นที่ปลูกข้าวโพด พื้นที่ปลูกอ้อย พื้นที่เกษตรอื่นๆ (พื้นที่ที่มีการทำประโยชน์จากที่ดินเป็นเกษตรกรรมทั้งหมดไม่รวม นาข้าว อ้อย ข้าวโพด และไร่หมุนเวียน) และพื้นที่อื่นๆ ใน 17 จังหวัดภาคเหนือ จะพบว่าพื้นที่ที่มีการเผาไหม้มากที่สุดคือ พื้นที่เกษตรอื่นๆ 5,639,990 ไร่ รองลงมาตามลำกับคือ พื้นที่ป่า 3,859,343 ไร่ พื้นที่นาข้าว 3,464,351 ไร่ พื้นที่ปลูกข้าวโพด 2,222,216 ไร่ พื้นที่อื่นๆ 1,002,518 ไร่ และพื้นที่มีการเผาไหม้น้อยที่สุดคือ พื้นที่ปลูกอ้อย 50,468 ไร่
ทีมข่าวที่ประกอบไปด้วยผู้คนหลากหลาย บ้างก็มาจากทะเล บ้างก็มาจากภูเขา แต่สุดท้ายก็ลงเอยที่ภาคเหนืออยู่ที่ Lanner นี่แหละ...