ภาคประชาสังคมเมียนมาร่วมแถลงประณามการประชุมร่วมกับรัฐมนตรีเมียนมา วอนไทย ‘อย่าเร่งความรุนแรงในประเทศ’

Progressive Voice Myanmar องค์กรภาคประชาสังคมในเมียนมาเผยแพร่จดหมายเปิดผึก ประณามการประชุม ‘Track 1.5’ ที่มีการเชิญตัวแทนจากรัฐบาลทหารเมียนมาที่ผิดกฎหมาย เป็นการประชุมที่จัดขึ้นโดยนายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีต่างประเทศของรัฐบาลรักษาการของไทย และจะมีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 18 มิถุนายน 2566 โดยมีเนื้อหาดังนี้



‘พวกเราเป็นตัวแทนองค์กรภาคประชาสังคมในเมียนมา ขอประณามอย่างรุนแรงต่อการประชุมลับ ซึ่งจะมีตัวแทนจากรัฐบาลทหารเมียนมาที่ผิดกฎหมาย เป็นการประชุมที่จัดขึ้นโดยนายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีต่างประเทศของรัฐบาลรักษาการของไทย และจะมีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 18 มิถุนายน 2566 เราเรียกร้องรัฐบาลรักษาการให้ยกเลิกการประชุมโดยทันที ถือเป็นการดูหมิ่นอย่างสิ้นเชิงต่อประชาชนชาวเมียนมา ซึ่งได้อุทิศชีวิตเพื่อต่อต้านความพยายามของกองทัพเมียนมาในการยึดอำนาจ ในระหว่างที่มีปฏิบัติการก่อการร้ายต่อประชาชนทั้งประเทศ รัฐบาลทหารชุดนี้ไม่เคยเป็นรัฐบาลที่ชอบธรรมของเยนมา ทั้งยังไม่มีอำนาจควบคุมอย่างสิ้นเชิงต่อทุกพื้นที่ของประเทศ การประชุมลับตามดำริของรัฐมนตรีต่างประเทศที่กำลังพ้นวาระ เป็นสิ่งที่ขัดแย้งอย่างสิ้นเชิงกับฉันทามติของอาเซียนที่จะไม่เชิญตัวแทนจากรัฐบาลทหารเข้าร่วมในการประชุมระดับสูง เรารู้สึกโกรธที่นายดอน ซึ่งเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศระบุในจดหมายเชิญไปยังรัฐภาคีของอาเซียนว่า อาเซียนควร “ฟื้นฟูความสัมพันธ์อย่างเต็มที่กับเมียนมาในระดับของผู้นำ” การตัดสินใจจัดการประชุมครั้งนี้ ไม่ได้เกิดจากความตกลงของรัฐภาคีอาเซียน รวมทั้งรัฐบาลอินโดนีเซียซึ่งปัจจุบันเป็นประธานอาเซียน ในการจัดการประชุมครั้งนี้ รัฐบาลรักษาการของไทยได้ดำเนินการโดยปราศจากอำนาจหน้าที่ และไม่มีการปรึกษาหารือใด ๆ กับประธานอาเซียน ในฐานะรัฐภาคีอาเซียน ประเทศไทยต้องไม่ดำเนินการที่เบี่ยงเบนจากความตกลงของอาเซียน และต้องยุติการประชุมครั้งนี้โดยทันที การดำเนินงานเพียงฝ่ายเดียวของรัฐบาลรักษาการของไทยครั้งนี้ ยังขัดกับมติที่ 2669 วันที่ 21 ธันวาคม 2564 ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ในการพยายาม “ฟื้นฟูความสัมพันธ์อย่างเต็มที่” กับรัฐบาลทหารที่ผิดกฎหมาย เท่ากับว่าตัวแทนรัฐภาคีอาเซียนจะดำเนินการที่ขัดแย้งกับเจตนารมณ์ของประชาชนชาวเมียนมา ซึ่งมุ่งหาทางยุติระบอบทรราชของทหาร และดำเนินการให้เกิดระบอบประชาธิปไตยแบบสหพันธรัฐในเมียนมา การเข้าร่วมในการประชุมลับครั้งนี้ และการไม่ตัดความสัมพันธ์อย่างสิ้นเชิงกับรัฐบาลทหารที่ผิดกฎหมาย ย่อมถือเป็น “ส่วนหนึ่งของการดำเนินงานในเบื้องต้น” ของกระบวนการสันติภาพที่จะต้องล้มเหลวอีกครั้งหนึ่ง ในทางตรงกันข้าม การดำเนินงานเช่นนี้เป็นการส่งสัญญาณให้รัฐบาลทหารทราบว่า อาเซียนให้การยอมรับกับพวกเขา แม้พวกเขาจะได้ก่ออาชญากรรมที่ร้ายแรงอย่างยิ่ง การกระทำเช่นนี้จะยิ่งเพิ่มขวัญกำลังใจให้กับรัฐบาลทหารให้เดินหน้าก่ออาชญากรรมและความทารุณโหดร้ายต่อไป ทั้งการเผาทำลายหมู่บ้าน การผลักดันให้พลเรือนต้องอพยพจากบ้านเรือนและที่ดินของตนเอง การนำประเด็นความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมมาใช้เป็นอาวุธ และความพยายามสถาปนาระบอบทรราชที่ตรงข้ามกับเจตนารมณ์ของประชาชน เราขอประณามอย่างรุนแรงสุดต่อการประชุมลับตามดำริของนายดอน ปรมัตถ์วินัย เราเรียกร้องให้รัฐบาลรักษาการของไทยยกเลิกการประชุมครั้งนี้โดยทันที เราขอเรียกร้องให้รัฐที่ได้รับจดหมายเชิญไม่เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ เพราะจะยิ่งเร่งให้เกิดความรุนแรงมากขึ้นในประเทศของเรา และทำลายความพยายามอย่างจริงใจของประชาคมระหว่างประเทศที่จะแก้ไขวิกฤตที่กำลังเลวร้ายลงในเมียนมา’

โดยมีองค์กรต่าง ๆ ที่ร่วมลงนามในแถลงการณ์ดังกล่าวทั้งหมด 316 องค์กร (235 องค์กรไม่ประสงค์ออกนาม)

  1. Action Committee for Democracy Development ACDD
  2. Ah. La. Ka (12) Hta Khwe. Primary Education Student Union
  3. All Arakan Students and Youths Congress
  4. All Religions Strike Column
  5. Association of Human Rights Defenders and Promoters
  6. Athan
  7. Aung Myay Thar Zan Education Schools Strike Column
  8. Aung Pin Lae Main Strike Column
  9. AYN Ayeyarwady Youth Network
  10. BCC စစ်ကိုင်းတိုင်း
  11. Blood Money Campaign
  12. Blooming Padauk
  13. Burma Civil War Museum (BCM)
  14. Burma Human Rights Network (BHRN)
  15. Burma Support
  16. CDM Support Team Mandalay (CSTM)
  17. Chan Mya Thar Si Township People Strike Column
  18. Chin Farmer Network (C.F.N)
  19. Committee Representing Mandalay Region Hluttaw
  20. Cooperative University Student Strike Column
  21. Daung Sit Thi
  22. Democratic Party for a New Society
  23. Education Family (Anti – Fascists Education Strike Columns Coordination Committee)
  24. Ethnic Youth General Strike Committee
  25. Freedom and Labor Action Group
  26. Future Light Center
  27. Future Thanlwin
  28. General Strike Committee of Nationalities (GSCN)
  29. Generation Wave
  30. Grass-root People
  31. Human Rights Foundation of Monland
  32. India for Myanmar
  33. Inlihtan Peninsula Tanintharyi
  34. Karen Environmental and Social Action Network
  35. Karen Peace Support Network
  36. Karenni Human Rights Group
  37. Keng Tung Youth
  38. LGBTIQ Strike of Mandalay
  39. MAGGA Initiative
  40. Maha Aung Myay Township People Collective Strike Column
  41. Mandalar University Student Strike Column
  42. Mandalay Alliance Strike Collective Column
  43. Mandalay Based People Strike Column
  44. Mandalay Civil Society Organizations
  45. Mandalay Engineer Group
  46. Mandalay Engineer United Force
  47. Mandalay University Student Alumni Union
  48. Mandalay Wholesale Strike Column
  49. Mandalay Youth Strike Column
  50. MATA စစ်ကိုင်းတိုင်း
  51. Medical Family – Mandalay
  52. MIIT Student Strike Column
  53. Muslim Youth Union
  54. Mya Taung Strike Column
  55. Myanmar Cultural Research Society (MCRS)
  56. Myanmar Railway, Region (3) CDM Strike Column
  57. National League for Democracy (Mandalay Region)
  58. Network for Human Rights Documentation Burma (ND-Burma)
  59. No 7 State High School Alumni Strike Column
  60. NRFF- New Rehmonnya Federated Force
  61. Nyan Lynn Thit Analytica
  62. Pan Pa Wash People Strike Column
  63. Phayagye Peace Strike Column
  64. Private Pre-school Teachers Association
  65. Progressive Voice
  66. Pyi Gyi Ta Gon Strike
  67. Sangha Samaga Strike Column
  68. Save and Care Organization for Ethnic Women at Border Areas
  69. Sein Pan Strike Column
  70. Shan MATA
  71. Sisters 2 Sisters
  72. Southern Dragon Myanmar
  73. Southern Youth Development Organization
  74. Strike Column of Representatives of Arbitrarily Arrested People
  75. Strike Column of Teachers from Universities and Degree Colleges of Mandalay
  76. Synergy – social harmony organization
  77. Taekwando Sport Association
  78. Tai Youth Alliance (Myanmar, Japan, Thailand, South Korea)
  79. Tanintharyi MATA
  80. Thapaynyo News Letter
  81. အထက်အညာလွင်ပြင်ရပ်ဝန်း

นอกจากองค์กรภาคประชาสังคมของเมียนมาแล้ว ยังมีการเคลื่อนไหวจากทางฝั่งไทยด้วย โดย เมธา มาสขาว เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย ชี้ว่าการจัดประชุมโดย ดอน ปรมัตถ์วินัย ในฐานะรัฐมนตรีต่างประเทศของรัฐบาลรักษาการของไทยเป็นเรื่องไม่เหมาะสม เพราะอาจจะกระทบกับนโยบายต่างประเทศของรัฐบาลชุดใหม่ได้ อีกทั้งนักการฑูตในไทยยังมองว่าการประชุมครั้งนี้อาจเป็นการทำให้ภาพลักษณ์ทางการฑูตในไทยตกต่ำลง โดยประเมินจากการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพของการต่างประเทศในช่วงที่ผ่านมา และชี้ว่า ดอน ปรมัตถ์วินัย ควรยุติบทบาทของตัวเองลงในช่วงที่ยังเป็นรัฐมนตรีรักษาการเช่นนี้

ทางด้านไทยเพื่อเมียนมา หรือ Thailand for Burma ก็ได้เผยแถลงการณ์ในกรณีนี้ไว้ด้วยเช่นกัน โดยชี้ว่าการจัดการประชุมครั้งนี้ เป็นการกระทำที่ละเมิดหลักการของการเป็นศูนย์กลางเอเซียน และการที่ประเทศไทยเชิญตัวแทนรัฐบาลที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายร่วมประชุมก็เป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ ประเทศไทยต้องยกเลิกแผนที่จะเชิญตัวแทนกลุ่มตัวอาชญากรรัฐบาลทหาร มาที่กรุงเทพฯ และเรียกร้องให้ประชาคมระหว่างประเทศยืนหยัดในการเรียกร้องความยุติธรรมและการรับผิดชอบต่อพม่า 


แถลงการณ์จาก Thailand for Burma

พื้นที่สื่อสาร สังคมประชาธิปไตย ชีวิตใหม่ที่ดีกว่า

ทีมข่าวที่ประกอบไปด้วยผู้คนหลากหลาย บ้างก็มาจากทะเล บ้างก็มาจากผู้เขา แต่สุดท้ายก็ลงเอยที่ภาคเหนืออยู่ที่ Lanner นี่แหละ...

ข่าวที่เกี่ยวข้อง