“เกือบได้เป็นลูกฟาน มช.” ย้อนดูภาพร่างตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ก่อนจะเป็นช้างเผือก

เรื่อง : สุรยุทธ รุ่งเรือง เมื่อปี 2560 ที่ผ่านมา จังหวัดเชียงใหม่ได้เปิดตัว “น้องฟาน” ในฐานะมาสคอตประจำจังหวัด เพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการรณรงค์ผลักดันเมืองเชียงใหม่สู่การเป็นมรดกโลก แม้ว่าสัญลักษณ์ของจังหวัดเชียงใหม่ แท้จริงแล้วคือ ‘ช้างเผือก’ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัดที่ถูกใช้มาตั้งแต่ปี 2483 หรือแม้แต่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เองก็มีช้างเผือกเป็นสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย กลายเป็นคำที่ถูกใช้เรียกนักศึกษาภายในรั้วมช.ว่า “ลูกช้างมช.” แต่ถึงอย่างนั้น ณ จุดหนึ่งของประวัติศาสตร์มหาวิทยาลัยในท้องถิ่นนี้ ลูกช้างมช. ก็เกือบจะเป็น “ลูกฟานมช.” ไปแล้วเหมือนกัน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เริ่มก่อสร้างขึ้นตั้งแต่ปี 2505 หลังเกิดกระแสเรียกร้องให้มีมหาวิทยาลัยเกิดขึ้นในเชียงใหม่เพื่อเป็นมหาวิทยาลัยของภาคเหนือ นำโดยการอภิปรายของ ทองดี อิสราชีวิน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ และการขยายผลเคลื่อนไหวของ สงัด บรรจงศิลป์ ในฐานะบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ คนเมือง จนแล้วเสร็จและก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในปี 2507 ย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การคัดเลือกสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย ตรารูปฟาน(เก้ง) ถูกนำเสนอโดย ไกรศรี นิมมานเหมินท์ อดีตบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ คนเมือง นักธุรกิจและนักล้านนานิยม และเป็นหนึ่งในแกนนำรณรงค์เรียกร้องให้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยภาคเหนือ โดยตราสัญลักษณ์ดังกล่าวมีรายละเอียดเป็นตรารูปฟาน 2 แม่ลูกยืนอยู่ท่ามกลางเนินหญ้าคาและมีดอยสุเทพสามารถมองเห็นได้เป็นพื้นหลัง พร้อมสุภาษิต “สุวิชาโน … Continue reading “เกือบได้เป็นลูกฟาน มช.” ย้อนดูภาพร่างตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ก่อนจะเป็นช้างเผือก