[ชุดข้อมูล] 50 ปีค่าจ้างขั้นต่ำภาคเหนือ (2517-2567) ย้อนรอยจากอดีตถึงปัจจุบัน เป็นยังไง ปรับขึ้นช่วงไหนบ้าง?

เรื่อง: ผกามาศ ไกรนรา

ภาพ: วีรภัทร เหลาเกิ้มหุ่ง


Summary

  • ปี 2517 ภาคเหนือเริ่มต้นมีอัตราค่าจ้างขั้นต่ำครั้งแรกตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 3 โดยกำหนดอัตราเริ่มต้นเพียง 16 บาทต่อวัน ซึ่งถือว่าเป็นค่าจ้างขั้นต่ำที่น้อยที่สุดในประเทศ
  • ปี 2524 จนถึงปัจจุบัน (2567) ‘เชียงใหม่’ ครองตำแหน่งจังหวัดที่มีอัตราค่าจ้างขั้นต่ำสูงสุดในภาคเหนือมาโดยตลอด แต่แม้จะมีค่าจ้างขั้นต่ำและ GPP รวมสูงที่สุด แต่ GPP Per Capita กลับต่ำกว่าลำพูนและกำแพงเพชร ซึ่งมี GPP รวมต่ำกว่า
  • ตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา พะเยา น่าน และแพร่ มักถูกกำหนดให้มีค่าจ้างขั้นต่ำน้อยที่สุดในภาคเหนือ โดยพะเยาเป็นจังหวัดที่มีค่าจ้างขั้นต่ำน้อยที่สุดอยู่บ่อยครั้ง (10 ครั้ง) แม้ GPP Per Capita ของทั้ง 3 จังหวัดเติบโตเฉลี่ยถึง 201.36% (2546-2565) แต่ค่าจ้างขั้นต่ำกลับเพิ่มขึ้นเพียง 149.37%
  • อัตราค่าจ้างขั้นต่ำในภาคเหนือ ปี 2565 เฉลี่ยอยู่ที่ 333.12 บาทต่อวัน แม้จะครอบคลุมค่าใช้จ่ายตามอัตภาพได้ (315.79 บาทต่อวัน) แต่ยังต่ำกว่าค่าใช้จ่ายตามคุณภาพ (334.84 ต่อวัน) ซึ่ง สะท้อนว่าค่าจ้างขั้นต่ำยังไม่เพียงพอต่อการสร้างคุณภาพชีวิต ‘ที่ดี’ ให้กับแรงงานในภาคเหนือ
  • ไม่มีรูปแบบ ‘สำเร็จรูป’ ใดที่เหมาะสมสำหรับทุกประเทศ การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำต้องอาศัยปัจจัยเฉพาะ เช่น โครงสร้างตลาดแรงงาน ระดับผลิตภาพ และสภาพเศรษฐกิจ ซึ่งแต่ละรูปแบบต่างมี ข้อดีและข้อเสีย ที่แตกต่างกันไป

จึงมีความจำเป็นต้องเลื่อนการประชุมคณะกรรมการค่าจ้างในวันพรุ่งนี้ (24 ก.ย. 67) ออกไปโดยไม่มีกำหนด และต้องขอโทษที่ไม่สามารถทำตามที่สัญญาได้ว่าจะปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท ทั่วประเทศ วันที่ 1 ตุลาคม 2567 นี้..

จากคำพูดของ พิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เมื่อ 23 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา ทำให้แรงงานทั่วประเทศต้องพบกับความผิดหวังอีกครั้ง หลังเฝ้ารอคอยการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท มานานหลายเดือน ความหวังที่เคยสูงลิบดูจะสะดุดลงกลางคัน เมื่อการประชุมคณะกรรมการค่าจ้างที่หลายคนตั้งตารอถูกเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด เหตุการณ์นี้ไม่ได้เป็นเพียงการเลื่อนประชุม แต่ยังเป็นภาพสะท้อนถึงปัญหาที่ฝังรากลึกในสังคมไทย

การถกเถียงเรื่อง ‘ค่าจ้างขั้นต่ำ’ ไม่ใช่ประเด็นใหม่ หากแต่เป็นปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมที่ยืดเยื้อยาวนาน หลายทศวรรษที่ผ่านมา ประเด็นนี้ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงซ้ำแล้วซ้ำเล่า โดยเฉพาะในภาคเหนือ ที่แม้จะสร้างรายได้มหาศาลจากการท่องเที่ยว แต่ค่าจ้างขั้นต่ำกลับไม่กระเตื้องตาม ย้อนกลับไปในปี 2517 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำและการบังคับใช้ ฉบับที่ 3 ระบุอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือไว้ต่ำสุดที่ 16 บาท ขณะที่กรุงเทพฯ และพื้นที่ใกล้เคียงได้รับสูงสุดที่ 20 บาท 

หากมองถึงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในปี 2567 ตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้น (ฉบับที่ 12) ปรากฏว่า ภาคเหนือยังคงมีอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่น้อยหากเทียบกับทั้งประเทศ โดยเฉพาะจังหวัดน่าน พะเยา และแพร่ ซึ่งมีค่าจ้างขั้นต่ำน้อยสุดเป็นลำดับท้าย ๆ ของประเทศ รองจากเพียงจังหวัดในภาคใต้ตอนล่างอย่างนราธิวาส ปัตตานี และยะลาเท่านั้น

การที่ค่าจ้างขั้นต่ำของภาคเหนือแทบไม่เคยขยับอย่างเต็มที่ตลอดหลายสิบปี ทำให้เกิดคำถามว่า ‘ค่าจ้างขั้นต่ำที่กำหนดไว้นั้นเพียงพอต่อการครองชีพจริงหรือ?’ ขณะเดียวกันก็ยังชวนให้คิดต่อว่า ‘แล้วตลอดระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงค่าจ้างขั้นต่ำของภาคเหนือเป็นยังไงบ้าง?’

ดาวน์โหลด [196.00 KB]

อ่านรายงาน 50 ปีค่าจ้างขั้นต่ำภาคเหนือ (2517-2567) ย้อนรอยจากอดีตถึงปัจจุบัน เป็นยังไง ปรับขึ้นช่วงไหนบ้าง? ได้ที่ https://www.lannernews.com/19112567-01/

ชุดข้อมูลนี้สามารถนำไปต่อยอดในทางสาธารณะที่ไม่แสวงหาผลกำไรได้อย่างอิสระ โดยไม่ต้องขออนุญาต ขอเพียงการอ้างอิงแหล่งที่ม

อ้างอิง

อดีตนักศึกษารัฐศาสตร์ฯ การระหว่างประเทศ จากแดนใต้ ที่หลงเสน่ห์เชียงใหม่จนกลายเป็นบ้านหลังที่สอง ผู้มีกองดองที่ยังไม่ได้อ่าน และแอบวาดฝันว่าสักวันหนึ่งจะผูกมิตรกับเจ้าเหมียวทุกตัวที่ได้พบเจอ 🙂

ข่าวที่เกี่ยวข้อง