เรื่องและภาพ: วิชชากร นวลฝั้น
ซีรี่ย์ ‘จะได้ไหมขนส่งของคนต่างจังหวัด’ รายงานพิเศษ 3 ตอน โดย วิชชากร นวลฝั้น นักศึกษาฝึกงานสำนักข่าว Lanner ที่จะพาไปสำรวจตรวจขนส่งของคนต่างจังหวัดโดยเริ่มจากประวัติศาสตร์ขนส่งของจังหวัดเชียงใหม่ ไปจนถึงความหวังของขนส่งเอกชน จากเชียงใหม่ไปยังปลายทางความฝันที่จะมีขนส่งสาธารณะที่ดีในต่างจังหวัดที่ไม่ใช่กรุงเทพฯ
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ระบบขนส่งสาธารณะในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯและปริมณฑลมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและมีบริการให้เลือกหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นรถเมล์ปกติ/ปรับอากาศ รถเมล์ด่วนพิเศษ (Bus Rapid Transit) รถไฟฟ้า (Bangkok (Mass) Transit System Skytrain) , รถไฟฟ้าใต้ดิน (Mass Rapid Transit) , รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน (Airport Rail Link) ฯลฯ ทำให้การเดินทางในกรุงเทพฯและปริมณฑลสามารถเข้าถึงทุกพื้นที่ โดย Think Forward Center รายงานว่าในปี 2564 กรุงเทพมหานครมีเส้นทางการเดินรถมากกว่าขอนแก่นถึง 22 เท่า แม้ว่าขอนแก่นจะเป็นจังหวัดเป็นศูนย์กลางระดับภูมิภาคจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย ขณะที่บางจังหวัดการเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะยังเป็นแบบ “ตามมีตามเกิด” คือแม้จะมีผู้ให้บริการเดินรถก็ตาม แต่มักจะไม่มีตัวเลือกอื่นและไม่มีการปรับปรุงรถที่ให้บริการ หรือหากไม่มีผู้ให้บริการเดินรถก็ปล่อยให้ประชาชนต้องดิ้นรนขนขวายในการเดินทางกันเอาเอง
ทั้งนี้ ปรีชาญา ชาวกัณหา ยังได้อธิบายในบทความ บ้านนอกคอกนา: จนถึงตอนนี้เราก็ยังไม่มีขนส่งสาธารณะ ไว้ว่า “ใครที่ไม่มีรถเป็นของตัวเองก็เหมือนถูกตัดแขนตัดขา ขาดอิสรภาพในการเดินทาง มองให้ลึกไปกว่านั้นก็คือการขาดอิสรภาพในการเป็นตัวของตัวเอง การขาดอิสรภาพในการกำหนดวิถีชีวิตของตนเอง จะทำอะไรทีต้องมานั่งพึ่งใครต่อใครมันร่ำไป จะทำอะไรทีก็ต้องเจียดเงินมาผ่อนรถเสียก่อน” ความแตกต่างในการเดินทางโดยใช้ขนส่งสาธารณะระหว่างกรุงเทพฯและปริมณฑลกับต่างจังหวัดสะท้อนความเลื่อมล้ำที่ถูกส่งต่อระหว่างรุ่นสู่รุ่นได้เป็นอย่างดี แล้วเราต้องอีกนานแค่ไหนการพัฒนาขนส่งสาธารณะจะกระจายมาถึงภูมิภาค ?
หากจะมีรถไฟฟ้าเหมือนคนกรุงเขามี
ย้อนกลับไปในปี พ.ศ. 2561 คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ได้มอบหมายให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดำเนินโครงการระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้ารางเบาภายในจังหวัดเชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 15.8 กิโลเมตร แต่โครงการกลับต้องหยุดฉะงักในช่วงที่เกิดโรคระบาดโควิด-19 และไม่มีวี่แววจะดำเนินการต่อ เหลือเพียงแต่ป้ายโครงการที่ตั้งไว้เป็นอนุสรณ์แห่งความหวังว่าสักวันการพัฒนาจะกระจายมาถึง
‘รถไฟล่องหน’ ถือเป็นการแสดงทางศิลปะที่เกิดจากการตั้งคำถามต่อระบบขนส่งสาธารณะในเชียงใหม่ โดย จักรพันธ์ ศรีวิชัย เจ้าของผลงานรถไฟล่องหนกล่าวกับ Lanner ว่า “คนที่เกิดที่นี่ โตที่นี่ เรียนจบที่นี่ ทำไมไม่สามารถอยู่ที่นี่ได้ มันมีหลายปัจจัยมาก ซึ่งการเดินทางก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คนไม่สามารถใช้ชีวิตอยู่ที่นี่ได้” เมื่อระบบขนส่งสาธารณะส่วนใหญ่เกิดขึ้นแต่ในกรุงเทพฯและปริมณฑล แล้วถ้าหากนำขนส่งสาธารณะอย่างรถไฟฟ้ามาวิ่งในเชียงใหม่จะเป็นอย่างไร? จักรพันธ์จึงนำรถไฟล่องหนของเขาที่ขับเคลื่อนด้วยการเดิน จำลองการวิ่งรถไฟฟ้าผ่านเส้นทางตามแผนโครงการรถไฟฟ้ารางเบาเชียงใหม่ และยังเปิดให้คนทั่วไปร่วมเดินทางไปกับรถไฟล่องหนเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมในการใช้งานจริง แต่จากการจำลองแล้วพบว่าแม้จะใช้เลนรถตามการออกแบบโมเดลโครงการแต่ก็ยังเกิดปัญหาการจราจรติดขัด “การสาธิตเป็นรถไฟฟ้าคือการเผชิญหน้ากับอุปสรรค และสร้างอุปสรรค เพราะจริง ๆ ตัวมันนั่นแหละคืออุปสรรคของคนใช้ถนน แม้การสาธิตจะย่อขนาดของรถให้เล็กลงมากก็ยังเป็นปัญหา แล้วถ้าขนาดจริงมันไม่ตอบโจทย์การใช้จริง ไม่มีคนใช้ มันก็จะเจ๊งไปอีกหรือเปล่า เหมือนขนส่งสาธารณะของเชียงใหม่ที่ผ่าน ๆ มา”
มากไปกว่านั้น หลังจากที่วิดีโอ ‘รถไฟล่องหน ปัญหาขนส่งสาธารณะเชียงใหม่’ โดย echo ที่สัมภาษณ์จักรพันธ์ต่อกรณีดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไป กลับมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์แบ่งออกเป็นสองฝ่าย ทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับจักรพันธ์ ฝ่ายที่เห็นด้วยอ้างว่า “อยากให้มีขนส่งที่ดี รวดเร็วระหว่างอำเภอเมืองกับต่างอำเภอ อยากให้มีรถไฟฟ้า รถไฟใต้ดินก็ดี เพราะคนทำงานอยู่ต่างอำเภอ เข้าตัวเมืองไปทำงาน คือจุดศูนย์กลางของเมือง แต่ละอำเภอใช้เวลาเดินทางต่างกันมาก เชียงใหม่เมืองใหญ่และพื้นที่กว้างมาก” “เหลื่อมล้ำมีอยู่จริงค่ะ ต้องยอมรับนะคะ บ้านเราไม่มีแม้รถประจำทางจากอำเภอหนึ่ง ไปอีกอำเภอหนึ่งด้วยซ้ำ” กลับกันฝ่ายที่ไม่เห็นได้อ้างว่า “เจ๊งเพราะความอยากกันมาไม่รู้กี่โครงการ ผมว่า เชียงใหม่ ก่อนจะไปถึงรถไฟฟ้า เอางบไปพัฒนารถแดง รถเมล์ ก่อนดีกว่า” “เมืองเล็กแค่นั้น ลงมาก็ไม่คุ้ม เอางาน กระจายงาน อัดแหล่งงาน อัดเม็ดเงิน ให้เมืองมันโตจะดีกว่า” “จังหวัดไหนก็อยากมีครับ แต่ต้องดูความเป็นไปได้ด้วย นอกจากจะขาดทุน การสร้างแต่ละอย่าง ต้องดูองค์ประกอบ”
ทางด้าน ณัฐกร วิทิตานนท์ อธิบายต่อประเด็นความไม่คุ้มค่าในการลงทุนรถไฟฟ้าและเสี่ยงขาดทุน ในบทความ รถไฟฟ้าต่างจังหวัด: มันคงไม่จบที่รุ่นเรา ไว้ว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่จะสะท้อนถึงวิสัยทัศน์ของรัฐบาล เพราะมันคือการลงทุนเพื่ออนาคต หากคิดจะแก้ไขปัญหาอันหมักหมมและวางรากฐานในระยะยาว ไม่ว่าเรื่องการแก้ไขปัญหาจราจรติดขัด ขจัดมลภาวะทางอากาศ ช่วยประหยัดพลังงาน ลดอุบัติเหตุบนท้องถนน เพิ่มศักยภาพการแข่งขันในฐานะเมืองท่องเที่ยวสำคัญ ก่อให้เกิดการกระจายความเจริญ ลดบทบาทการเป็นเมืองโตเดี่ยวของกรุงเทพฯ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจกระจุกตัวอยู่ที่ส่วนกลาง ซึ่งจุดชี้วัดของระบบขนส่งมวลชนไม่ได้อยู่ที่ตัวเลขกำไร ระบบขนส่งมวลชนในเมืองของหลายประเทศที่อยู่ได้เพราะรัฐอุดหนุน เราต้องดูที่ปริมาณคนใช้ และผลสำเร็จด้านอื่น ใช่ว่าจู่ ๆ มีรถไฟฟ้าแล้วจะสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมคนที่คุ้นชินกับการใช้รถส่วนตัวมานานได้ทันที หากแต่ต้องใช้เวลาและยังเกี่ยวกับปัจจัยอื่นสารพัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของผังเมือง ซึ่งต้องพยายามควบคุมไม่ให้เมืองขยายตัวแบบไร้ทิศทาง คนอาศัยอยู่อย่างกระจัดกระจาย และเข้าไปรุกล้ำพื้นที่สีเขียวรอบนอก
ล่าสุดเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ.2567 คณะทำงานจากกระทรวงคมนาคมได้กลับมาลงพื้นที่เส้นทางตามแผนการพัฒนารถไฟฟ้าในจังหวัดเชียงใหม่อีกครั้ง โดยเป็นการศึกษาความเป็นไปได้เพื่อให้เหมาะสมกับอัตลักษณ์ของจังหวัดและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในชุมชน โดยสถานะปัจจุบัน รฟม.ยืนยันเดินหน้าพัฒนาโครงการ อยู่ในขั้นตอนยื่นรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ (EIA) ให้คณะผู้ชำนาญการฯ พิจารณา นอกจากนี้ รฟม.ยังกำหนดแผนดำเนินโครงการเบื้องต้น แบ่งเป็น ปี 2568 – 2569 พิจารณารูปแบบการลงทุนโครงการที่เหมาะสม , ปี 2569 เสนอ ครม.เห็นชอบรูปแบบการลงทุน , ปี 2570 – 2571 เข้าสู่กระบวนการคัดเลือกเอกชนลงทุนโครงการ (PPP) , ปี 2571 เริ่มงานก่อสร้าง และ ปี 2574 เปิดให้บริการ นอกจากนี้ยังมีแผนสร้างอาคารจอดแล้วจร (Park & Ride) 2 แห่ง บริเวณจุดเริ่มต้นโรงพยาบาลนครพิงค์ ซึ่งรองรับรถยนต์ได้ 1,600 คัน และรถจักรยานยนต์ 800 คัน และบริเวณสำนักงานขนส่งจังหวัดเชียงใหม่ รองรับรถยนต์ส่วนบุคคลประมาณ 1,200 คัน และรถจักรยานยนต์ 2,800 คัน อีกทั้งยังมีศูนย์ซ่อมบำรุงบริเวณแยกหนองฮ่อ พัฒนาบนพื้นที่ 25 ไร่ อย่างไรก็ตามหากเป็นไปตามกำหนดแผนการดำเนินโครงการและไม่มีอะไรมาสะดุด เชียงใหม่อาจมีรถไฟฟ้าให้บริการภายในปี พ.ศ. 2574 อย่างแน่นอน
ส่องรถโดยสารประจำทางต่างประเทศ
การเดินทางในต่างจังหวัดหากไม่มีรถส่วนตัวนับว่าเป็นความลำบากอย่างแรกแล้ว หากจำเป็นต้องเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะ ความลำบากต่อมาคือการผลักภาระค่าใช้จ่ายให้กับผู้โดยสาร ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเลยคือรถโดยสารประจำทางในต่างจังหวัด เมื่อรัฐไม่ให้การสนับสนุน ผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องเก็บค่าโดยสารเพิ่มขึ้นเพื่อให้มีกำไร ซึ่งขัดแย้งกับมุมมองของประเทศที่พัฒนาแล้วที่มองว่าการขนส่งสาธารณะควรเป็นบริการขั้นพื้นฐาน เช่นเดียวกับบริการสาธารณะอื่น ๆ แต่ในประเทศไทยไม่มีแนวคิดนี้ การเดินทางในต่างจังหวัดจึงค่อนข้างลำบากและไม่ครอบคลุม
ตัวอย่างประเทศที่ไม่ไกลจากบ้านเราและยังเป็นประเทศสมาชิกอาเซียนนั่นก็คือประเทศสิงคโปร์ ซึ่งในอดีตรถเมล์ของสิงคโปร์ก็เผชิญกับปัญหาเหมือนรถโดยสารประจำทางในไทยที่ทั้งเก่า ทั้งร้อน และมีผู้โดยสารแออัด แต่จากที่ภาครัฐเข้ามาแก้ไขปัญหาเหล่านี้อย่างจริงจัง ทำให้รถเมล์ของสิงคโปร์กลายเป็นขนส่งสาธารณะกระแสหลักที่คนในประเทศใช้ในการเดินทาง โดยมีหน่วยงานรัฐที่มีชื่อว่า Land Transport Authority (LTA) หรือกรมการขนส่งทางบก จัดสายรถเมล์ตามแหล่งชุมชนที่พักอาศัยเพื่อรองรับการเดินทางของประชาชน อีกทั้งยังอำนวยความสะดวกโดยจัดทำป้ายรถเมล์แบบมีที่นั่ง หลังคากันแดดกันฝน และเสาเหล็กป้องกันอุบัติเหตุสำหรับผู้โดยสารที่รอรถ ภายในป้ายรถเมล์ยังประกอบด้วยป้ายแสดงข้อมูลสาย ตารางเวลาและราคาอย่างชัดเจน การเดินทางโดยรถเมล์ยังเชื่อมต่อกับสถานีการเดินทางรูปแบบอื่น ทำให้การเดินทางสะดวกและครอบคลุมทุกพื้นที่ ผู้พิการหรือผู้สูงอายุก็สามารถเดินทางได้เนื่องจากตัวรถรองรับการใช้วีลแชร์และติดตั้งราวจับภายในตัวรถ ยิ่งไปกว่านั้นหน่วยงานที่ดูแลยังเปิดรับข้อคิดเห็นหรือเรื่องร้องเรียนจากประชาชนเพื่อนำมาปรับปรุงการให้บริการรถเมล์
โดยนิตยสาร Time Out ได้จัดอันดับระบบขนส่งมวลชนในท้องถิ่นในปี 2566 พบว่าสิงคโปร์อยู่ในอันดับที่ 6 จาก 50 เมือง และจากผลสำรวจของ Public Transport Council ในปี 2566 พบว่าคะแนนความพึงพอใจการใช้รถโดยสารประจำทางในสิงคโปร์อยู่ที่ 7.7 จากเต็ม 10 คะแนน และผู้พิการร้อยละ 94 ยังพึงพอใจกับการให้บริการระบบขนส่งสาธารณะของสิงคโปร์
สิ่งที่น่าสนใจของรถโดยสารประจำทางของสิงคโปร์ คือมีการสัมปทานเส้นทางและมีเอกชนเป็นผู้ให้บริการเดินรถเหมือนกับประเทศไทย แต่สิ่งที่แตกต่างออกไปนั่นก็คือ LTA หรือกรมการขนส่งทางบกของสิงคโปร์นั้นเป็นเจ้าของในการบริหารกิจการ โดยลงทุนทั้งตัวรถและมีอู่ซ่อมบำรุงรถ แต่เปิดให้ภาคเอกชนเข้ามาเป็นตัวแทนการให้บริการเพื่อให้เกิดการแข่งขันและผลักดันการพัฒนาบริการของตนเองให้ดียิ่งขึ้น เมื่อนำเปรียบเทียบกับของไทยที่ไม่ผูกขาดการให้บริการเพียงเจ้าเดียว ก็มักปล่อยให้ผู้ประกอบการแข่งขันกันเองและทยอยล้มหายกันไปเงียบ ๆ ซึ่งเมื่อภาครัฐไม่สนับสนุนและยังปล่อยเบลอเช่นนี้ผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดก็คือประชาชน เห็นได้ชัดในต่างจังหวัดที่ไม่มีตัวเลือกในการใช้บริการ เนื่องจากมีผู้ให้บริการผูกขาดเพียงรายเดียว ทำให้ไม่เกิดการแข่งขันและพัฒนาการให้บริการ หรือแม้จะมีผู้ให้บริการแข่งขันกันลงทุนอย่างในจังหวัดหัวเมืองใหญ่ก็ไม่สามารถดำเนินกิจการได้นานพอ เมื่อประชาชนเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นแบบนี้มาโดยตลอดสิ่งที่เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดคือการใช้รถส่วนตัว ซึ่งก็จะลามกลายเป็นปัญหาการจรจรติดขัดและมลพิษสิ่งแวดล้อมในที่สุด
อีกตัวอย่างจากประเทศลักเซมเบิร์กที่ถือได้ว่าเป็นประเทศแรก ในการกำหนดให้ระบบขนส่งสาธารณะทั้งหมดเป็นสวัสดิการที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย โดยลักเซมเบิร์กกำลังเผชิญกับปัญหาการจราจรติดขัด และเพื่อบรรลุเป้าหมายในการลดมลพิษทางอากาศ ทำให้ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 รัฐบาลลักเซมเบิร์กจึงมีการปรับปรุงระบบขนส่งสาธารณะและยกเลิกการเก็บค่าบริการทั้งหมด ซึ่งผลจากการที่ประเทศลักเซมเบิร์กยกเลิกค่าบริการสำหรับขนส่งสาธารณะ ดูเหมือนว่าจะเกิดผลดีกับคนว่างงานหรือคนที่มีรายได้น้อยเสียส่วนใหญ่ เนื่องจากช่วยให้พวกเขาประหยัดเงินไปได้มากในแต่ละวัน และยังทำให้คนที่ไม่มีรถส่วนตัวเดินทางได้สะดวกมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะการเดินทางไปยังสถานที่ห่างไกลหรือแม้กระทั้งการเดินทางไปยังประเทศข้างเคียง
ในทางกลับกันแม้ว่ารัฐบาลลักเซมเบิร์กจะผลักดันให้ประชาชนหันมาใช้ขนส่งสาธารณะโดยการยกเลิกค่าบริการก็ตาม แต่คนส่วนใหญ่ยังเลือกใช้รถยนต์ส่วนตัวกันเหมือนเดิม เนื่องจากลักเซมเบิร์กเป็นประเทศที่มีราคาน้ำมันตํ่าที่สุดในยุโรป อีกทั้งรายได้ต่อหัวที่สูงทำให้การใช้รถไม่ใช่เรื่องที่สิ้นเปลืองแต่อย่างใด อีกด้านในการที่รัฐต้องเสียรายได้จากการยกเลิกค่าบริการทั้งหมดราว 40 ล้านยูโรต่อปี รวมถึงต้นทุนในการให้บริการราว 800 ล้านยูโร แต่รัฐบาลลักเซมเบิร์กก็ยังมีแผนในการให้บริการเช่นนี้ต่อไป โดยต่อไปจะเป็นการส่งเสริมการใช้รถไฟฟ้าและการเก็บภาษีการปล่อยคาร์บอนจากรถยนต์มากขึ้น
เมื่อย้อนกลับมามองประเทศไทย หากจะยกเลิกค่าบริการในระบบขนส่งสาธารณะทั้งหมดยังคงเป็นเรื่องที่ห่างไกล เนื่องจากขนส่งสาธารณะในไทยยังมีปัญหาการให้บริการที่ยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ และส่วนใหญ่ผู้ให้บริการเป็นภาคเอกชนที่ทำให้ต้องคิดถึงเรื่องผลกำไรเป็นหลัก ซึ่งความเป็นไปได้มากที่สุดคือรัฐต้องเข้ามามีบทบาทให้มากกว่านี้และต้องลงทุนในการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะทุกรูปแบบ เพื่อส่งเสริมการใช้ขนส่งสาธารณะและลดการใช้รถส่วนตัวในการเดินทาง
ผู้ประกอบการและรถโดยสารสาธารณะทยอยล้มหายตายจาก
สำหรับประเทศไทยนอกจากระบบขนส่งสาธารณะที่ถูกปล่อยแบบตามมีตามเกิด ผู้ประกอบการที่ให้บริการรถสาธารณะยังต้องแข่งขันกันเองและล้มหายตายจากกันไปเงียบ ๆ ข้อมูลจากกระทรวงคมนาคมแสดงให้เห็นจำนวนผู้ประกอบการรถโดยสารสาธารณะประจำทางทั่วประเทศ พบว่าตั้งแต่ปี 2553 จนถึง 2561 จำนวนผู้ประกอบการรถโดยสารสาธารณะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จนกระทั้งในปี 2562 จนถึง 2566 จำนวนผู้ประกอบการรถโดยสารสาธารณะกลับมีแนวโน้มลดลง เมื่อเทียบดูจำนวนผู้ประกอบการรถโดยสารสาธารณะในปี 2554 มีจำนวนทั้งหมด 1,458 ราย ซึ่งมากกว่าปี พ.ศ. 2566 ที่เหลือเพียง 1,420 ราย
ตารางแสดงจำนวนผู้ประกอบการรถโดยสารสาธารณะประจำทางทั่วประเทศ | |
ปี | จำนวน (หน่วย : ราย) |
2553 | 1,389 |
2554 | 1,458 |
2555 | 1,472 |
2556 | 1,489 |
2557 | 1,461 |
2558 | 1,473 |
2559 | 1,452 |
2560 | 1,515 |
2561 | 1,527 |
2562 | 1,515 |
2563 | 1,503 |
2564 | 1,470 |
2565 | 1,445 |
2566 | 1,420 |
ด้าน ศุภกร ศิริสุนทร ได้อธิบายผ่านบทความ “กับดักทางความคิด ที่ทำให้ขนส่งสาธารณะไทยติดหล่ม” ไว้ว่า หากมองขนส่งสาธารณะเป็นเพียงธุรกิจบริการ การจัดการเรื่องนี้ของรัฐนั้นจึงมักถูกดำเนินการผ่านระบบสัมปทาน คือต้องให้เอกชนเข้ามาประมูลแข่งขันกัน แต่รัฐเองก็ไม่ได้มีประสิทธิภาพมากพอที่จะควบคุมเอกชนให้ดำเนินงานได้อย่างมีคุณภาพ ดังนั้นระบบขนส่งสาธารณะที่พอจะมีคุณภาพดี ก็มักจะมีค่าโดยสารที่แพงมากๆ ในขณะที่ระบบที่คิดค่าโดยสารถูก คุณภาพก็จะต่ำมาก ๆ เพื่อให้เอกชนสามารถทำกำไรได้ จะเห็นว่าระบบสัมปทานนั้นไม่เพียงแต่ทำให้การควบคุมด้านราคาเป็นไปได้ยากแล้ว การควบคุมคุณภาพการให้บริการ ความถี่ในการให้บริการ การปรับปรุงเส้นทางใหม่ให้สอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชน ล้วนแล้วแต่ทำได้ยากมาก
ผู้ประกอบการที่ทยอยล้มหายตายจากไปได้พ่วงจำนวนรถโดยสารสาธารณะให้ลดลงตามไปด้วย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือจำนวนรถโดยสารสาธารณะในจังหวัดหัวเมืองใหญ่อย่าง เชียงใหม่ ขอนแก่น ชลบุรี และภูเก็ต ข้อมูลจากกรมการขนส่งทางบกแสดงให้เห็นว่ารถโดยสารประจำทางและไม่ประจำทางของหัวเมืองใหญ่เหล่านี้มีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่องทุกปี แม้จังหวัดเหล่านี้จะมีจำนวนประชากรสูงและควรมีรถโดยสารสาธารณะมากเพิ่มขึ้นเพื่อตอบสนองการเดินทาง แต่กลับเป็นเรื่องน่าเศร้าที่นับวันบริการเหล่านี้ทยอยหายไปอย่างเงียบ ๆ
ตารางแสดงจำนวนรถโดยสาร (หน่วย : คัน) | ||||||||
เชียงใหม่ | ขอนแก่น | ชลบุรี | ภูเก็ต | |||||
ปี | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง |
2558 | 4,166 | 2,060 | 2,410 | 302 | 3,196 | 2,263 | 405 | 5,995 |
2559 | 4,150 | 2,435 | 2,353 | 342 | 3,180 | 2,596 | 401 | 6,732 |
2560 | 1926 | 4936 | 2206 | 368 | 3,151 | 3,117 | 399 | 7454 |
2561 | 1766 | 5353 | 2096 | 421 | 3052 | 3645 | 399 | 8571 |
2562 | 1765 | 5536 | 1967 | 448 | 2964 | 4221 | 399 | 9290 |
2563 | 1723 | 4829 | 1811 | 380 | 2865 | 4319 | 396 | 8068 |
2564 | 1630 | 4000 | 1645 | 332 | 2779 | 4261 | 387 | 6655 |
2565 | 1521 | 3459 | 1442 | 309 | 2645 | 4115 | 371 | 6381 |
2566 | 1469 | 3253 | 1286 | 293 | 2529 | 3923 | 363 | 7459 |
ตารางแสดงจำนวนรถโดยสารทั่วประเทศ (หน่วย : คัน) | ||
ปี | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง |
2558 | 85,758 | 55,130 |
2559 | 83,803 | 60,992 |
2560 | 78,894 | 67,633 |
2561 | 75,835 | 74,113 |
2562 | 72,886 | 78,604 |
2563 | 68,758 | 69,055 |
2564 | 64,646 | 61,763 |
2565 | 60,346 | 58,587 |
2566 | 57,012 | 58,294 |
ตารางแสดงจำนวนรถโดยสารในกรุงเทพมหานคร (หน่วย : คัน) | ||
ปี | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง |
2558 | 24,585 | 15,151 |
2559 | 23,847 | 16,915 |
2560 | 22,563 | 17,561 |
2561 | 21,621 | 19,646 |
2562 | 20,299 | 21,073 |
2563 | 18,551 | 18,119 |
2564 | 17,489 | 16,590 |
2565 | 16,567 | 16,047 |
2566 | 15,874 | 15,416 |
ตารางแสดงจำนวนรถโดยสารในภาคกลาง (หน่วย : คัน)
ชัยนาท | สิงห์บุรี | ลพบุรี | ||||
ปี | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง |
2558 | 131 | 211 | 233 | 174 | 827 | 808 |
2559 | 117 | 208 | 222 | 179 | 806 | 869 |
2560 | 112 | 217 | 212 | 189 | 770 | 895 |
2561 | 111 | 215 | 193 | 195 | 719 | 942 |
2562 | 110 | 215 | 180 | 195 | 685 | 975 |
2563 | 108 | 195 | 171 | 170 | 619 | 892 |
2564 | 104 | 178 | 139 | 169 | 583 | 848 |
2565 | 96 | 177 | 126 | 155 | 537 | 815 |
2566 | 88 | 169 | 113 | 141 | 479 | 802 |
อ่างทอง | สระบุรี | พระนครศรีอยุธยา | ||||
ปี | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง |
2558 | 213 | 719 | 347 | 620 | 1,039 | 1,954 |
2559 | 209 | 738 | 323 | 663 | 1,017 | 2,090 |
2560 | 199 | 751 | 313 | 680 | 1,004 | 2,177 |
2561 | 183 | 740 | 294 | 730 | 958 | 2376 |
2562 | 172 | 718 | 283 | 764 | 896 | 2522 |
2563 | 156 | 645 | 247 | 715 | 854 | 2477 |
2564 | 139 | 608 | 216 | 670 | 772 | 2498 |
2565 | 128 | 591 | 201 | 628 | 700 | 2521 |
2566 | 120 | 573 | 192 | 567 | 644 | 2531 |
ปทุมธานี | นนทบุรี | สมุทรปราการ | ||||
ปี | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง |
2558 | 935 | 1,066 | 864 | 814 | 2,331 | 1,220 |
2559 | 1,139 | 1,129 | 910 | 872 | 2,278 | 1,282 |
2560 | 1,160 | 1,154 | 917 | 899 | 2,226 | 1,540 |
2561 | 1152 | 1234 | 913 | 963 | 2165 | 1653 |
2562 | 1134 | 1279 | 902 | 978 | 2116 | 1757 |
2563 | 1097 | 1166 | 874 | 863 | 1995 | 1637 |
2564 | 998 | 1079 | 819 | 728 | 1850 | 1565 |
2565 | 920 | 1042 | 763 | 664 | 1699 | 1533 |
2566 | 854 | 1054 | 724 | 640 | 1627 | 1453 |
ตารางแสดงจำนวนรถโดยสารในภาคตะวันออก (หน่วย : คัน)
นครนายก | ปราจีนบุรี | ฉะเชิงเทรา | ชลบุรี | |||||
ปี | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง |
2558 | 188 | 164 | 282 | 338 | 885 | 1271 | 3,196 | 2,263 |
2559 | 173 | 180 | 272 | 394 | 870 | 1,327 | 3,180 | 2,596 |
2560 | 159 | 185 | 289 | 456 | 852 | 1,380 | 3,151 | 3,117 |
2561 | 151 | 224 | 274 | 519 | 836 | 1460 | 3052 | 3645 |
2562 | 141 | 283 | 262 | 553 | 818 | 1505 | 2964 | 4221 |
2563 | 135 | 257 | 237 | 486 | 760 | 1427 | 2865 | 4319 |
2564 | 97 | 233 | 220 | 454 | 703 | 1349 | 2779 | 4261 |
2565 | 70 | 221 | 207 | 410 | 580 | 1291 | 2645 | 4115 |
2566 | 61 | 210 | 196 | 382 | 530 | 1267 | 2529 | 3923 |
ระยอง | จันทบุรี | ตราด | สระแก้ว | |||||
ปี | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง |
2558 | 1,252 | 487 | 383 | 649 | 437 | 241 | 273 | 201 |
2559 | 1,231 | 633 | 374 | 668 | 418 | 257 | 271 | 222 |
2560 | 1,190 | 839 | 365 | 714 | 442 | 265 | 257 | 244 |
2561 | 1166 | 1218 | 337 | 738 | 431 | 269 | 251 | 269 |
2562 | 1129 | 1358 | 320 | 758 | 423 | 283 | 250 | 276 |
2563 | 1096 | 1399 | 307 | 667 | 418 | 211 | 238 | 237 |
2564 | 1063 | 1443 | 288 | 591 | 393 | 160 | 223 | 191 |
2565 | 1017 | 1545 | 275 | 551 | 372 | 136 | 213 | 151 |
2566 | 962 | 1585 | 241 | 524 | 361 | 153 | 203 | 146 |
ข้อมูลจากกรมการขนส่งทางบก |
ตารางแสดงจำนวนรถโดยสารในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (หน่วย : คัน)
ชัยภูมิ | ยโสธร | อุบลราชธานี | ศรีสะเกษ | |||||
ปี | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง |
2558 | 691 | 143 | 499 | 107 | 1,558 | 303 | 713 | 211 |
2559 | 656 | 169 | 490 | 112 | 1485 | 337 | 672 | 210 |
2560 | 638 | 182 | 470 | 129 | 1439 | 348 | 629 | 229 |
2561 | 608 | 205 | 448 | 127 | 1376 | 370 | 587 | 245 |
2562 | 589 | 220 | 433 | 132 | 1302 | 373 | 549 | 254 |
2563 | 552 | 189 | 418 | 107 | 1224 | 338 | 523 | 206 |
2564 | 530 | 153 | 396 | 89 | 1134 | 305 | 484 | 182 |
2565 | 470 | 137 | 375 | 80 | 1031 | 284 | 459 | 173 |
2566 | 444 | 128 | 352 | 73 | 983 | 268 | 392 | 167 |
บุรีรัมย์ | นครราชสีมา | สุรินทร์ | อำนาจเจริญ | |||||
ปี | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง |
2558 | 741 | 205 | 3,674 | 1,930 | 914 | 311 | 134 | 35 |
2559 | 685 | 237 | 3566 | 2088 | 882 | 350 | 129 | 38 |
2560 | 637 | 254 | 3478 | 2193 | 830 | 377 | 123 | 55 |
2561 | 602 | 276 | 3345 | 2204 | 803 | 397 | 118 | 60 |
2562 | 576 | 286 | 3241 | 2289 | 779 | 407 | 118 | 65 |
2563 | 548 | 241 | 3139 | 2145 | 732 | 321 | 116 | 47 |
2564 | 492 | 220 | 2998 | 2054 | 665 | 286 | 109 | 31 |
2565 | 468 | 192 | 2795 | 1964 | 612 | 258 | 100 | 27 |
2566 | 430 | 189 | 2665 | 1857 | 533 | 236 | 98 | 25 |
หนองบัวลำภู | บึงกาฬ | หนองคาย | เลย | |||||
ปี | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง |
2558 | 553 | 80 | 54 | 55 | 285 | 131 | 481 | 102 |
2559 | 531 | 88 | 55 | 68 | 276 | 136 | 450 | 118 |
2560 | 497 | 100 | 54 | 80 | 268 | 138 | 433 | 144 |
2561 | 458 | 104 | 46 | 92 | 252 | 140 | 406 | 172 |
2562 | 434 | 109 | 42 | 96 | 225 | 141 | 392 | 196 |
2563 | 422 | 73 | 35 | 64 | 225 | 109 | 384 | 123 |
2564 | 392 | 63 | 31 | 50 | 213 | 102 | 365 | 113 |
2565 | 358 | 50 | 31 | 44 | 207 | 92 | 336 | 104 |
2566 | 346 | 54 | 30 | 39 | 203 | 85 | 321 | 92 |
อุดรธานี | นครพนม | สกลนคร | ขอนแก่น | |||||
ปี | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง |
2558 | 2,049 | 272 | 415 | 135 | 999 | 173 | 2,410 | 302 |
2559 | 1,992 | 289 | 400 | 147 | 984 | 177 | 2,353 | 342 |
2560 | 1909 | 294 | 396 | 163 | 961 | 173 | 2206 | 368 |
2561 | 1816 | 292 | 384 | 177 | 927 | 183 | 2096 | 421 |
2562 | 1778 | 275 | 374 | 199 | 895 | 184 | 1967 | 448 |
2563 | 1707 | 212 | 354 | 118 | 840 | 113 | 1811 | 380 |
2564 | 1620 | 181 | 337 | 94 | 789 | 96 | 1645 | 332 |
2565 | 1513 | 155 | 312 | 76 | 739 | 81 | 1442 | 309 |
2566 | 1380 | 141 | 303 | 74 | 720 | 70 | 1286 | 293 |
กาฬสินธุ์ | มหาสารคาม | ร้อยเอ็ด | มุกดาหาร | |||||
ปี | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง |
2558 | 512 | 188 | 760 | 132 | 891 | 225 | 249 | 86 |
2559 | 474 | 206 | 754 | 146 | 827 | 251 | 243 | 86 |
2560 | 441 | 220 | 723 | 157 | 780 | 262 | 239 | 90 |
2561 | 409 | 216 | 705 | 173 | 740 | 279 | 220 | 89 |
2562 | 393 | 194 | 668 | 185 | 719 | 282 | 218 | 94 |
2563 | 360 | 143 | 647 | 147 | 692 | 223 | 199 | 60 |
2564 | 336 | 125 | 613 | 127 | 631 | 192 | 177 | 43 |
2565 | 297 | 117 | 568 | 109 | 622 | 188 | 161 | 33 |
2566 | 258 | 105 | 547 | 109 | 590 | 183 | 157 | 30 |
ตารางแสดงจำนวนรถโดยสารในภาคตะวันออก (หน่วย : คัน)
เชียงราย | แม่ฮองสอน | เชียงใหม่ | พะเยา | |||||
ปี | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง |
2558 | 1,123 | 530 | 128 | 55 | 4,166 | 2,060 | 239 | 168 |
2559 | 1,145 | 577 | 120 | 57 | 4,150 | 2,435 | 235 | 176 |
2560 | 1132 | 630 | 103 | 65 | 1926 | 4936 | 219 | 189 |
2561 | 1108 | 657 | 102 | 73 | 1766 | 5353 | 212 | 183 |
2562 | 1102 | 671 | 100 | 79 | 1765 | 5536 | 207 | 216 |
2563 | 1072 | 470 | 91 | 77 | 1723 | 4829 | 196 | 159 |
2564 | 1031 | 314 | 84 | 49 | 1630 | 4000 | 181 | 128 |
2565 | 978 | 243 | 78 | 35 | 1521 | 3459 | 168 | 104 |
2566 | 909 | 220 | 71 | 33 | 1469 | 3253 | 155 | 92 |
น่าน | ลำพูน | ลำปาง | แพร่ | |||||
ปี | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง |
2558 | 250 | 151 | 305 | 81 | 913 | 157 | 363 | 44 |
2559 | 231 | 178 | 292 | 96 | 884 | 167 | 331 | 50 |
2560 | 221 | 187 | 287 | 105 | 860 | 175 | 318 | 62 |
2561 | 212 | 197 | 278 | 137 | 840 | 188 | 309 | 69 |
2562 | 214 | 200 | 273 | 166 | 814 | 208 | 301 | 76 |
2563 | 188 | 114 | 274 | 124 | 780 | 166 | 284 | 57 |
2564 | 172 | 88 | 268 | 97 | 743 | 131 | 255 | 42 |
2565 | 155 | 68 | 249 | 90 | 694 | 111 | 233 | 34 |
2566 | 154 | 65 | 238 | 81 | 657 | 96 | 215 | 29 |
อุตรดิตถ์ | สุโขทัย | ตาก | พิษณุโลก | |||||
ปี | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง |
2558 | 231 | 128 | 360 | 121 | 628 | 146 | 376 | 387 |
2559 | 231 | 135 | 332 | 150 | 621 | 176 | 352 | 410 |
2560 | 226 | 141 | 313 | 163 | 618 | 188 | 333 | 415 |
2561 | 222 | 143 | 284 | 161 | 615 | 194 | 316 | 410 |
2562 | 220 | 137 | 279 | 165 | 608 | 210 | 291 | 422 |
2563 | 213 | 97 | 258 | 114 | 601 | 178 | 285 | 366 |
2564 | 208 | 73 | 251 | 90 | 585 | 119 | 261 | 330 |
2565 | 197 | 68 | 234 | 81 | 559 | 100 | 251 | 306 |
2566 | 189 | 69 | 226 | 69 | 542 | 92 | 233 | 282 |
กำแพงเพชร | พิจิตร | เพชรบูรณ์ | นครสวรรค์ | |||||
ปี | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง |
2558 | 394 | 150 | 108 | 146 | 448 | 125 | 911 | 240 |
2559 | 376 | 159 | 105 | 164 | 430 | 142 | 895 | 267 |
2560 | 372 | 165 | 95 | 165 | 472 | 225 | 934 | 288 |
2561 | 349 | 164 | 94 | 173 | 454 | 232 | 900 | 299 |
2562 | 339 | 170 | 89 | 179 | 440 | 230 | 862 | 321 |
2563 | 312 | 142 | 84 | 148 | 395 | 168 | 802 | 236 |
2564 | 287 | 123 | 78 | 120 | 385 | 117 | 732 | 201 |
2565 | 251 | 106 | 75 | 110 | 353 | 105 | 686 | 184 |
2566 | 241 | 104 | 72 | 103 | 308 | 91 | 636 | 165 |
อุทัยธานี | ||||||||
ปี | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง | ||||||
2558 | 269 | 174 | ||||||
2559 | 246 | 181 | ||||||
2560 | 243 | 187 | ||||||
2561 | 227 | 204 | ||||||
2562 | 219 | 199 | ||||||
2563 | 205 | 164 | ||||||
2564 | 192 | 150 | ||||||
2565 | 186 | 136 | ||||||
2566 | 176 | 126 |
ตารางแสดงจำนวนรถโดยสารในภาคตะวันตก (หน่วย : คัน)
สุพรรณบุรี | กาญจนบุรี | นครปฐม | ราชบุรี | |||||
ปี | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง |
2558 | 1,139 | 498 | 863 | 194 | 796 | 463 | 511 | 332 |
2559 | 1,128 | 508 | 856 | 208 | 766 | 501 | 472 | 335 |
2560 | 1101 | 536 | 848 | 230 | 738 | 554 | 450 | 341 |
2561 | 1070 | 557 | 819 | 250 | 728 | 620 | 419 | 356 |
2562 | 962 | 599 | 812 | 275 | 730 | 655 | 425 | 371 |
2563 | 883 | 499 | 791 | 235 | 694 | 558 | 425 | 268 |
2564 | 782 | 455 | 758 | 186 | 646 | 495 | 395 | 239 |
2565 | 706 | 441 | 713 | 163 | 587 | 440 | 355 | 214 |
2566 | 671 | 413 | 650 | 163 | 550 | 418 | 296 | 201 |
สมุทรสาคร | สมุทรสงคราม | เพชรบุรี | ประจวบคีรีขันธ์ | |||||
ปี | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง |
2558 | 1,071 | 438 | 405 | 85 | 218 | 392 | 324 | 434 |
2559 | 1,051 | 465 | 388 | 100 | 208 | 401 | 332 | 559 |
2560 | 1020 | 483 | 368 | 89 | 206 | 419 | 302 | 580 |
2561 | 1011 | 505 | 357 | 99 | 204 | 450 | 284 | 614 |
2562 | 1004 | 530 | 347 | 123 | 212 | 489 | 244 | 636 |
2563 | 970 | 483 | 339 | 114 | 202 | 442 | 221 | 594 |
2564 | 919 | 427 | 321 | 102 | 193 | 386 | 213 | 515 |
2565 | 862 | 388 | 304 | 94 | 184 | 368 | 197 | 481 |
2566 | 815 | 370 | 278 | 91 | 170 | 356 | 188 | 454 |
ตารางแสดงจำนวนรถโดยสารในภาคใต้ (หน่วย : คัน)
ชุมพร | ระนอง | สุราษฎร์ธานี | พังงา | |||||
ปี | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง |
2558 | 452 | 155 | 513 | 80 | 2,100 | 912 | 416 | 878 |
2559 | 435 | 156 | 512 | 87 | 2,074 | 1,085 | 379 | 1,090 |
2560 | 420 | 159 | 499 | 110 | 2042 | 1240 | 363 | 1169 |
2561 | 411 | 175 | 489 | 128 | 2034 | 1509 | 348 | 1299 |
2562 | 413 | 179 | 477 | 164 | 2031 | 1606 | 342 | 1411 |
2563 | 393 | 153 | 458 | 169 | 2002 | 1291 | 321 | 1261 |
2564 | 367 | 137 | 440 | 146 | 1946 | 1002 | 296 | 1095 |
2565 | 356 | 133 | 413 | 134 | 1889 | 938 | 278 | 1037 |
2566 | 332 | 126 | 396 | 134 | 1836 | 991 | 256 | 1188 |
พัทลุง | ตรัง | สงขลา | สตูล | |||||
ปี | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง |
2558 | 840 | 201 | 551 | 214 | 2,607 | 3,117 | 381 | 135 |
2559 | 821 | 225 | 538 | 244 | 2,519 | 3,218 | 366 | 192 |
2560 | 812 | 250 | 532 | 259 | 2443 | 3257 | 346 | 266 |
2561 | 768 | 270 | 501 | 279 | 2346 | 3002 | 333 | 298 |
2562 | 735 | 270 | 488 | 293 | 2255 | 2887 | 319 | 324 |
2563 | 696 | 235 | 485 | 239 | 2147 | 2517 | 305 | 279 |
2564 | 644 | 203 | 477 | 215 | 1991 | 2222 | 285 | 240 |
2565 | 579 | 192 | 454 | 207 | 1780 | 2119 | 268 | 233 |
2566 | 521 | 207 | 415 | 222 | 1629 | 2154 | 263 | 268 |
นครศรีธรรมราช | กระบี่ | ภูเก็ต | ปัตตานี | |||||
ปี | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง |
2558 | 2,247 | 312 | 590 | 1,062 | 405 | 5,995 | 462 | 249 |
2559 | 2,210 | 361 | 654 | 1,238 | 401 | 6,732 | 452 | 273 |
2560 | 2176 | 403 | 667 | 1369 | 399 | 7454 | 450 | 281 |
2561 | 2136 | 457 | 620 | 1589 | 399 | 8571 | 429 | 302 |
2562 | 2087 | 500 | 613 | 1639 | 399 | 9290 | 424 | 330 |
2563 | 1980 | 420 | 593 | 1425 | 396 | 8068 | 396 | 284 |
2564 | 1878 | 362 | 553 | 1190 | 387 | 6655 | 363 | 248 |
2565 | 1749 | 324 | 515 | 1090 | 371 | 6381 | 338 | 232 |
2566 | 1663 | 366 | 516 | 1210 | 363 | 7459 | 340 | 256 |
ยะลา | นราธิวาส | |||||||
ปี | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง | รถโดยสารประจำทาง | รถโดยสารไม่ประจำทาง | ||||
2558 | 445 | 553 | 227 | 91 | ||||
2559 | 444 | 568 | 260 | 109 | ||||
2560 | 444 | 552 | 264 | 127 | ||||
2561 | 431 | 547 | 257 | 141 | ||||
2562 | 420 | 553 | 248 | 153 | ||||
2563 | 402 | 533 | 240 | 138 | ||||
2564 | 388 | 494 | 229 | 124 | ||||
2565 | 364 | 458 | 204 | 114 | ||||
2566 | 350 | 418 | 187 | 105 |
สอดคล้องกับที่ สุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัยด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ให้สัมภาษณ์กับ The 101.World ไว้ว่า “เมืองหลายเมืองที่มีประชากรค่อนข้างหนาแน่น มีคนเดินทางค่อนข้างเยอะ กลับกลายเป็นว่าเราไม่สามารถพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะได้ เช่น เชียงใหม่ ขอนแก่น อุดรธานี จังหวัดเหล่านี้ไม่มีรถเมล์ประจำทางดี ๆ เมืองท่องเที่ยวที่มีคนเดินทางเยอะมากอย่างภูเก็ต พัทยาหรือหัวหิน ก็ไม่มีรถโดยสารสาธารณะที่เหมาะสม และผมว่านี่แหละเป็นปัญหา มันจะต้องพัฒนาให้มีรถโดยสารสาธารณะประกอบกับโครงสร้างพื้นฐานที่รัฐบาลกำลังทำ เช่น รถไฟทางคู่ มีสถานีรถไฟตามเมืองใหญ่ต่างๆ แต่ยังขาดเรื่องการเชื่อมโยงในตัวเมืองอยู่ ฉะนั้นนโยบายที่อยากเห็นคือ จะทำอย่างไรให้รถโดยสารประจำทางในเขตเมืองใหญ่ๆ ที่ควรจะต้องมี”
“แน่นอนว่าระบบขนส่งในเขตเมืองใหญ่ๆ เหล่านี้ มีรากปัญหาของมันอยู่ระดับหนึ่ง ในอดีตรถเมล์ขนาดใหญ่มีอยู่บ้างและค่อยๆ ล้มหายตายจากไป เพราะส่วนใหญ่รัฐไปกำกับเรื่องราคา ซึ่งก็มีเหตุผลว่าไม่อยากให้ประชาชนใช้รถโดยสารประจำทางในราคาแพง แต่รัฐส่วนใหญ่ไม่ค่อยอุดหนุน ถ้าขาดทุน ผู้ประกอบการก็รับไป ถ้าอยู่ได้ก็อยู่ อยู่ไม่ได้ก็ลดคุณภาพ ถ้าลดคุณภาพไม่ไหวก็ลดจำนวนรถ จากนั้นก็เลิกกิจการ แล้วประชาชนก็ไม่มีรถประจำทางใช้ ตรงนี้เรายังไม่มีเครื่องมือด้านการอุดหนุน ไม่มีกฎหมาย ไม่มีแพลตฟอร์มและงบประมาณไปทำ ซึ่งจริงๆ ควรจะต้องทำ” สุเมธ กล่าว
ซึ่งหากยังปล่อยไว้เช่นนี้ ในอนาคตข้างหน้าเมื่อไม่มีขนส่งสาธารณะรองรับในการเดินทางภายในตัวเมือง สิ่งที่ตามมาคงหนีไม่พ้นปัญหารถติดเต็มถนนและมลพิษทางอากาศที่จะกลายเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน
นโยบายที่ยังรอคอย
สำนักงบประมาณเปิดเผยพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2567 พบว่าแผนงานยุทธศาสตร์ส่งเสริมการกระจายอำนาจให้แก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ระบุงบประมาณปี 2567 ไว้ที่ 235,745 ล้านบาท ซึ่งมากกว่างบประมาณปี 2566 ถึง 13,207 ล้านบาท ดูเหมือนว่างบประมาณที่มากขึ้นอาจทำให้มีการลงทุนสำหรับขนส่งสาธารณะในท้องถิ่นเกิดขึ้น อีกทั้งตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตราที่ 17 ระบุว่า ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประชาชนในท้องถิ่น และภายในข้อที่ 21 ได้ระบุถึงการขนส่งมวลขนและการวิศวกรรมจราจร นั่นหมายความว่าองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอำนาจหน้าที่หากต้องการจัดทำระบบขนส่งสาธารณะภายในจังหวัด
หากมาดูที่นโยบายของอดีตรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน ที่มีการส่งไม่ต่อให้ แพทองธาร ชินวัตร ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้เศรษฐาพ้นจากตำแหน่งนายกฯ ที่จะมีการผลักดันโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมขนส่งทางบกตามที่พรรคเพื่อไทยได้หาเสียงไว้ แต่ทว่าเป็นการเน้นขนส่งทางราง ได้แก่ นโยบายรถไฟฟ้า กทม. 20 บาทตลอดสาย, ติดตั้งเครื่องปรับอากาศให้รถไฟชั้นสามทุกขบวน, โครงการยกระดับรถไฟโดยสารทั่วประเทศให้สามารถเป็นการเดินทางแบบไปกลับประจำ, โครงการการเชื่อมโยงรถไฟขนส่งสินค้าจากลาวเข้าสู่ท่าเรือแหลมฉบังและสนามบินสุวรรณภูมิ และโครงการเชื่อมโยงโครงข่ายรถไฟความเร็วสูงทั่วประเทศ โดยจะเห็นได้ว่าไม่มีการกล่าวถึงการส่งเสริมระบบขนส่งสาธารณะภายในต่างจังหวัด สิ่งนี้เป็นภาพสะท้อนของรัฐบาลชุดปัจจุบันที่ยังมองระบบขนส่งสาธารณะในท้องถิ่นว่าเป็นเรื่อง “ตามมีตามเกิด” โดยไม่มีการลงทุนหรือมีแนวคิดทำให้เป็นสวัสดิการ อีกทั้งยังปล่อยให้ประชาชนต้องดิ้นรนซื้อรถส่วนตัว และขนขวายในการเดินทางกันเอาเอง
กลับกันเมื่อมาดูนโยบายของพรรคก้าวไกลที่เป็นฝ่ายค้าน ซึ่งเป็นพรรคที่ชนะการเลือกตั้งแต่ไม่ได้เป็นรัฐบาล อีกทั้งภายหลังศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้ถูกยุบพรรค และล่าสุดได้ก่อตั้งเป็นพรรคประชาชน พบว่ามีความพยายามกระจายอำนาจด้านการให้บริการระบบขนส่งสาธารณะ ได้แก่ ถ่ายโอนอำนาจในการอนุญาตเดินรถ กำหนดเส้นทางเดินรถ และราคาค่าโดยสาร จากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางหรือจังหวัด มาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการแทน, ตั้งงบประมาณอุดหนุนเฉพาะกิจแบบพิเศษให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ เพื่อการให้บริการขนส่งสาธารณะ ปีละ 10,000 ล้านบาท, ปลดล็อกอำนาจท้องถิ่นในการใช้งบประมาณอุดหนุนหรือสนับสนุนผู้ประกอบการขนส่งสาธารณะเอกชน เช่น การอุดหนุนเงินบางส่วนให้ผู้ประกอบการเพื่อนำไปจัดซื้อรถเมล์ใหม่ อีกทั้งยังมีนโยบายพัฒนาระบบตั๋วร่วมและส่งเสริมรถเมล์ไฟฟ้าทุกจังหวัด ทว่าเมื่อไม่ได้จัดตั้งเป็นรัฐบาลนโยบายที่ว่ามาดังกล่าวก็ไม่อาจสานต่อตามที่หาเสียงไว้ได้
ถึงเวลากระจายการพัฒนาขนส่งสาธารณะต่างจังหวัด
ความเป็นไปได้สำหรับขนส่งสาธารณะในตอนนี้ ดูจะเป็นโครงการรถไฟรางคู่และรถไฟความเร็วสูงที่รัฐกำลังดำเนินการสร้างเพื่อเชื่อมต่อการขนส่งสินค้าและการโดยสารระหว่างจังหวัด เช่น โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ที่อาจแล้วเสร็จในปี 2571 ส่วนรถโดยสารประจำทางภายในจังหวัด ดูเหมือนว่าเอกชนจะเข้ามาช่วยเป็นปลายทางสำหรับเรื่องนี้มากกว่ารัฐ ไม่ว่าจะเป็นบริษัท เจียนนอลทรานซิสท์ โคเปอร์เรชั่น จำกัด หรือรถเมล์เชียงใหม่ RTC ที่ได้กล่าวไปเมื่อตอนที่แล้ว บริษัท ภูเก็ต พัฒนาเมือง จำกัด หรือรถโดยสารไฟฟ้าสาธารณะเขตเมืองเก่าภูเก็ต (The Dragon Line) และโมเดลตัวอย่างที่ขอนแก่นอย่างบริษัท ขอนแก่น ทรานซิท ซิสเต็ม จำกัด (KKTS) ที่ทำให้เห็นได้ชัดว่าเอกชนมีส่วนในการช่วยในการพัฒนาขนส่งสาธารณะได้เร็วกว่าการรอโครงการจากภาครัฐ แต่อย่างไรก็ตามไม่อาจปฏิเสธการสนับสนุนจากภาครัฐได้ เนื่องจากเส้นทางการเดินรถ สถานีขนส่ง ป้ายรถหรือจุดจอดยังต้องได้รับการอนุญาตและสนับสนุนจากภาครัฐอยู่ หากความร่วมมือที่เป็นประโยชน์เช่นนี้สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนได้ ทำไมในต่างจังหวัดยังต้องรอต่อไป
ท้ายที่สุดแล้วคงจะดีหากต่างจังหวัดมีองค์การขนส่งมวลชนเหมือนกรุงเทพฯ ที่ได้รับงบประมาณในปี 2567 เป็นจำนวนเงิน 4,074 ล้านบาท และมีโครงสร้างองค์กรที่ภาครัฐร่วมกิจการกับเอกชน ทำให้การขนส่งสาธารณะเป็นเรื่องที่เข้าถึงง่ายและมีรถให้บริการตลอดไม่ขาดสาย นำมาสู่ข้อเสนอที่หวังให้การกระจายการพัฒนาขนส่งสาธารณะให้ทั่วถึงทุกจังหวัด ประกอบด้วย
1.เอกชนทุกจังหวัดควรร่วมกันตั้งองค์การขนส่งมวลชนประจำจังหวัด เพื่อให้เกิดมาตรฐานในการให้บริการและให้รัฐเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารร่วมกับเอกชน
2.รัฐควรมีงบประมาณเข้ามาสนับสนุนการให้บริการในระยะแรก เพื่อเปิดโอกาสให้เอกชนหน้าใหม่ที่มีแนวคิดในการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเข้ามาให้บริการ
3.รัฐต้องเข้ามาสนับสนุนให้ประชาชนใช้ขนส่งสาธารณะ ปลูกฝังการใช้ขนส่งสาธารณะมากขึ้น เพื่อเป็นการลดปริมาณรถส่วนตัว และลดมลพิษทางอากาศ
4.รัฐต้องอำนวยความสะดวกในการให้บริการขนส่งสาธารณะ เช่น สร้างป้ายรถเมล์หรือจุดจอดให้ครอบคลุม จัดทำเลนรถสำหรับรถโดยสารสาธารณะ พัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับการชำระเงินและสามารถติดตามรถได้ตลอดเวลา
5.การให้บริการต้องมีการสำรวจความพึงพอใจ เพื่อให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนาการให้บริการอย่างต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจสำหรับผู้โดยสารทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ
โดยรวมแล้วหากจะทำทั้งหมดนี้อาจต้องใช้เวลาและอาจรอกระบวนการหลายขั้นตอนเพื่อที่จะทำเกิดขึ้นได้ ซึ่งก็ได้แต่หวังว่าผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะเข้ามาทำให้การพัฒนาของขนส่งสาธารณะกระจายไปยังต่างจังหวัดและนำไปสู่ปลายทาง นั่นก็คือคุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น
อ้างอิง
- พรรคเพื่อไทย, นโยบายคมนาคมพลิกโฉมระบบคมนาคมทั่วประเทศ, เข้าถึงจาก https://ptp.or.th/%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2/transportation-policy
- สำนักข่าวอิศรา, (2566), เปิดแผงนโยบายคมนาคม 4 พรรคการเมือง ถมเมกะโปรเจ็กต์เต็มพิกัด, เข้าถึงจาก https://www.isranews.org/article/isranews-scoop/118520-isranews-328.html
- สำนักงบประมาณ, (2567), เอกสารงบประมาณ ฉบับที่ 1 รายรับรายจ่ายเปรียบเทียบ ฉบับปรับปรุง ตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567, เข้าถึงได้จาก https://www.bb.go.th/topic-detail.php?id=16565&mid=545&catID=0
- รายละเอียดโครงการดำเนินกิจการรถขนส่งประจำทางเพื่อจัดทำคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562, เข้าถึงได้จาก https://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER29/DRAWER088/GENERAL/DATA0000/00000509.PDF
- พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์การปกครองท้องถิ่น พ.ศ. 2542, เข้าถึงจาก https://www.lp-pao.go.th/Plan/images/book/Book-005.pdf
- แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570) ขององค์การบริหารส่งนจังหวัดพะเยา, เข้าถึงจาก https://www.py-pao.go.th/pullegp/pdf/file_627b6be92dde8_2022-05-11.pdf
- เดชรัต สุขกำเนิด, ขนส่งสาธารณะในเมืองภูมิภาค: ความเหลื่อมล้ำตั้งแต่ระดับนโยบาย, เข้าถึงจาก https://think.moveforwardparty.org/article/welfare/2638/
- angkaew4equality, มองความเหลื่อมล้ำของ ‘ต่างจังหวัด’ และ ‘กรุงเทพฯ’ ผ่านระบบขนส่งมวลชน, เข้าถึงจาก https://angkaew4equality.masscomm.cmu.ac.th/%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B8%95/
- ศุภกร ศิริสุนทร, กับดักทางความคิด ที่ทำให้ขนส่งสาธารณะไทยติดหล่ม, เข้าถึงจาก https://prachatai.com/journal/2022/07/99597
- พิมพ์ชนก พุกสุข, การขนส่งสาธารณะ นโยบายยูโทเปียของพรรคการเมืองก่อนเลือกตั้งใหญ่ กับ สุเมธ องกิตติกุล, เข้าถึงจากhttps://www.the101.world/public-transport-policy-and-the-election-2566/
- ปรีชาญา ชาวกัณหา, บ้านนอกคอกนา: จนถึงตอนนี้เราก็ยังไม่มีขนส่งสาธารณะ, เข้าถึงจาก https://decode.plus/20210210/
- LivingPop, รถเมล์สิงคโปร์ ขนส่งมวลชนดีๆ ที่ทุกคนเข้าถึง – Singapore On Site [EP3], เข้าถึงจาก https://www.youtube.com/watch?v=PdteIijC7ZY
- Public Transport Council, PTC’s Survey Findings on Customers’ Satisfaction with Public Transport, https://www.ptc.gov.sg/newsroom/news-releases/newsroom-view/ptc-s-survey-findings-on-customers–satisfaction-with-public-transport
- time out, The 19 cities with the best public transport in the world – according to locals, เข้าถึงจาก https://www.timeout.com/travel/best-public-transport-in-the-world
- bangkokbiznews, 9 ปี ‘รถไฟฟ้าเชียงใหม่’ ยังไม่คืบ รฟม.ลุยต่อ ปักหมุดสร้างปี 71, https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1138649/
- https://www.theguardian.com/world/2023/sep/20/all-aboard-can-luxembourgs-free-public-transport-help-save-the-world
นักมานุษยวิทยามือสมัครเล่น ผู้ที่สนใจประเด็นทางสังคมรอบตัว และพยายามตามหาคำตอบเพื่ออธิบายปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น อีกทั้งยังพัฒนาการสื่อสารประเด็นทางสังคมในหลากหลายรูปแบบ เพื่อต้องการให้สังคมเกิดการรับรู้เพิ่มขึ้น