“The Team, Making Change พื้นที่เรียนรู้ของนักออกแบบแคมเปญรุ่นใหม่”

24 กันยายน 2565

เมื่อวันนี้ เวลา 13.00 น. Human ร้าย Human wrong จัดกิจกรรม “The Team, Making Change พื้นที่เรียนรู้ของนักออกแบบแคมเปญรุ่นใหม่” ได้ทดลองออกแบบกิจกรรมสาธารณะเพื่อการแลกเปลี่ยน ถกเถียง และชวนผู้คนที่มีความฝันเหมือนกันมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงสังคมที่สามารถเกิดขึ้นได้จริงผ่านประเด็นการรณรงค์สนุกๆ มันส์ๆ แบบคนรุ่นใหม่ ร่วมกับนักออกแบบกิจกรรมแคมเปญรุ่นใหม่ทั้ง 3 ทีม ได้แก่

1. ขนสุขสาธารณะ กับแคมเปญ ‘ชาวเชียงใหม่ต้องการขนส่งสาธารณะ’

บูธของขนสุขสาธารณะมีรถเมล์จำลองเพื่อสร้างจินตนาการให้คนเชียงใหม่ได้เห็นภาพว่าการที่มีขนส่งสาธารณะมันดีอย่างไร กลุ่มขนสุขสาธารณะจึงอยากให้ร่วมกันลงชื่อเพื่อรวบรวมรายชื่อให้ครบ 50,000 รายชื่อ เพื่อยื่นให้กับหน่วยงานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องร่วมกันสร้างขนส่งสาธารณะ ที่ตอบโจทย์กับคนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่

ก่อนหน้ากลุ่มได้จัดกิจกรรมในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมรถเมล์ฟรี กิจกรรมผู้ว่าฯ ในฝัน กิจกรรมจำลองรถเมล์ หรือโปสเตอร์ PR รอบเมือง

2. SYNC SPACE กับแคมเปญ ‘ชาวเชียงใหม่ต้องการพื้นที่สร้างสรรค์ฟรีจากรัฐ‘

มาจากการรวมตัวของนักสร้างสรรค์คนรุ่นใหม่ที่ผลักดันการมีพื้นที่สาธารณะในหลักคิด ‘Freeative Space’ หรือพื้นที่สร้างสรรค์ ไร้การตีกรอบ

กิจกรรมที่ SYNC SPACE ได้จัดในพื้นที่ มีการเชิญชวนนักออกแบบ ศิลปิน ได้มาร่วมกันทำกิจกรรมต่าง ๆ ยกตัวอย่างกิจกรรมแรกคือ กิจกรรมที่พูดถึงเรื่องพื้นที่ที่ใกล้ตัวเราที่สุด คือร่างกายของเรา โดยการพ่นสีใส่เสื้อผเพื่อแสดงออกว่าร่างกายของเรา เราจะใส่อะไรก็ได้ เป็นต้น

กลุ่มมีนโยบายสามข้อ คือ

1.เราต้องพื้นที่ศิลปะส่วนกลางของคนรุ่นใหม่

2.เปลี่ยนพื้นที่รกร้างของรัฐให้กลายเป็นพื้นที่กิจกรรมสร้างสรรค์หมุนเวียน

3.มีกิจกรรม workshop เสริมสร้างความรู้ในเรื่องศิลปะกับชุมชนให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

3. SAAP 24:7 กับแคมเปญ ‘มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ต้องมีพื้นที่สนับสนุนการเรียนรู้ 24 ชม.

กับสโลแกน สนับสนุนวัยรุ่ยวันค่ำคืนฮุ่ง support all day all night people

ทีมเรียกร้องพื้นที่นักศึกษา 24 ชั้วโมง จากปัญหาที่พื้นที่ในมหาวิทยาลัย มันไม่ได้เปิด 24 ชั่วโมงไม่ได้ support ชีวิตของ

‘วัยรุ่ย’ วัยที่ใช้ชีวิตอย่างหนัก ชีวิตมันหลุดรุ่ยได้ ทีมอยากให้นักศึกษาออกแบบพื้นที่ที่อยากให้มีและต้องการให้ออกมาเรียกร้องในประเด็นนี้ต่อไป ขั้นตอนอื่น ๆ อย่างการยื่นหนังสือทีมได้ทำไปแล้ว ทีมจึงมองว่าการใช้วิธีการเรียกร้องรูปแบบนี้มันสร้าง impact และสร้างการถกเถียงได้ การเรียกร้อง อาจจะดูเกะกะขวางทาง ทุกการเรียกร้องย่อมมีความอึดอัดใจ

ทีมย้ำว่า “การเข้าร่วมโครงการนี้ เราได้เห็นปัญหาชัดเจนมากขึ้น อย่างน้อยเราได้เพื่อน ได้คนที่คิดเหมือนเรา เลยอยากให้ทุกคนได้รู้และพูดเรื่องนี้ มันไม่ควรเป็นเรื่องของใครบางคน มันควรเป็นเรื่องของเราทุกคน”

หลังจบโครงการนี้กลุ่มก็จะทำงานต่อไปเรื่อย ๆ โดยมีแผนจะลงพื้นที้เพื่อเก็บข้อมูลว่าพื้นที่ไหนบ้างที่สามารถใช้เวลาได้ตลอด 24 ชั่วโมง และทำแผนที่ให้นักศึกษาได้สามารถเข้าถึงได้

ทั้งนี้ ภายในงานมีกิจกรรมของแต่ละทีม รวมถึงดนตรีจาก Dormdorm และ เต้ ซิมง, กิจกรรม performance จากทีม SYNC SPACE รวมถึงวงเสวนาจากทีม SAAP 24:7 ในหัวข้อ “ทำมุยจัดกิจกุย…ยากเกินปุยมุ้ย”

ภาพ: พลอยจันทร์

ทีมข่าวที่ประกอบไปด้วยผู้คนหลากหลาย บ้างก็มาจากทะเล บ้างก็มาจากภูเขา แต่สุดท้ายก็ลงเอยที่ภาคเหนืออยู่ที่ Lanner นี่แหละ...

ข่าวที่เกี่ยวข้อง