เมื่อรัฐมีนักรบไซเบอร์ (IO) ประชาชนจะโต้กลับ IO ยังไงได้บ้าง

เสวนายกฟ้อง! จะไปอย่างไรต่อ ประชาชนจะเอาผิด IO อย่างไรได้บ้างในกรอบกฎหมายไทย หนทางในการปกป้องนักสิทธิมนุษยชนไทย:​ IO และการดำเนินคดีเชิงกลยุทธ์ ในวันที่ 24 พฤษภาคม 2566 ตั้งแต่เวลา 17.00 – 19.00 น.ที่ Book Re:public

เนื้อหาหลักในเสวนาครั้งนี้เป็นการนำเสนอการใช้ปฏิบัติการ IO (Information Operations) ของรัฐไทย ประเด็นการขอข้อมูลเพื่อสนับสนุนในการดำเนินคดีจากเจ้าของบริษัท รวมไปถึงกระบวนการทางกฎหมายที่สามารถนำไปใช้เพื่อให้รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐต้องรับผิดชอบในความเสียหาย โดยผู้ร่วมเสวนาทั้งหมด 4 คน ได้แก่ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการ iLaw, วัลย์นภัสร์ เจนร่วมจิต ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนภาคเหนือ และกอบกุศล นีละไพจิตร Asia Center ดำเนินรายการโดยญาวีร์ บุตรกระวี ผู้จัดการโครงการสิทธิดิจิทัล (ลุ่มน้ำโขง) EngageMedia 

นักรบไซเบอร์ปฏิบัติการ IO ของรัฐ

ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ เริ่มต้นการเสวนาโดยการเปิดวิดีโอที่ผลิตโดยกองทัพไทยเพื่อเป็นการโปรโมทว่าทำไมกองทัพไทยถึงต้องมีการใช้ IO ในการทำงาน เนื้อหาภายในวิดีโอเล่าถึงการทำงานของ ‘นักรบไซเบอร์’ ที่สังกัดอยู่ในกองทัพภาคที่ 2 

ยิ่งชีพ ได้เล่าต่อถึงการได้ที่มาของข้อมูล IO โดยกองทัพไทยจากทั้งหมด 3 แหล่ง ได้แก่

1.การเปิดโปรงในการอภิปรายของ ส.ส.พรรคก้าวไกล 3 ครั้ง

2.การเปิดเผยรายงานการตรวจสอบของ Twitter กลางปี 2563 

3.การเปิดเผยรายงานการตรวจสอบของ Facebook ต้นปี 2564

ยิ่งชีพ ได้เสริมในเรื่อง Twitter ว่าทางแพลตฟอร์มมีการส่งข้อมูลเกี่ยวกับปฏิบัติการ IO ของรัฐไทยให้กับ Stanford เพื่อนำไปวิเคราะห์และออกรายงานออกมาว่า Cheerleading without fan หรือเชียร์ลีดเดอร์ที่ไร้คนดู รวมไปถึงลิสต์ข้อมูลดิบของ IO หลายหมื่นบรรทัด ยิ่งชีพ เล่าเสริมว่าตนได้ทดลองค้นหาคำหลากหลายคำ อาทิ ชื่อของตนก็พบ IO พิมพ์คำว่า “เถียงกันไปมาประเทศไทยเมื่อไหร่จะดีซักที” หรือค้นชื่อประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็พบว่าเหล่าปฏิบัติการ IO มีการเข้าไปให้กำลังใจเป็นจำนวนมาก เป็นต้น หลังจากนั้นได้เล่าถึงรายงานปฏิบัติการ IO ของกองทัพภาคที่ 2 อาทิ การคอมเม้นชื่นชนบนหน้าเพจ ประยุทธ์ จันทร์โอชา, กดไลค์ กดแชร์ เพจเรารักกองทัพบก

จากข้อมูลทั้งหมดที่เล่ามาในข้างต้นนั้นเป็นข้อมูลส่วนหนึ่งเพื่อประกอบในการยื่นฟ้องต่อกองทัพภาคที่ 2 ในวันที่ 24 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งคำฟ้องมีคำขอเดียวขอให้ศาลปกครองต้องหยุดปฏิบัติการข้อมูลข่าวสาร IO ของกองทัพซึ่งปัจจุบันอยู่ในกระบวนการรอนัดสืบคดี ยิ่งชีพ เสริมว่าหากตอนฟ้องร้องไม่คิดว่าจะมีการเปลี่ยนรัฐบาลจึงไม่ได้คาดหวังกับมันมาก แต่ในปัจจุบันสถานการณ์ทางการเมืองเปลี่ยนไปก็หวังว่าถ้าหากได้รัฐบาลใหม่ก็คาดหวังว่าอยากให้การฟ้องร้องนั้นชนะคดี

ปีกขาวปีกดำ การสนับสนุน IO จากต่างชาติ

กอบกุศล นีละไพจิตร เล่าว่าภาพรวมของ IO นั้นมีเนื้อหาอยู่ 2 ปีก คือ ปีกขาวและปีกดำ ปีกขาวเน้นการทำงานในการโปรโมทความดีความงามการทำงานของหน่วยงาน กองทัพ สถาบันกษัตริย์ และรัฐบาล ส่วนปีกดำเป็นการทำงานที่จะจ้องทำลายด้อยค่านักปกป้องสิทธิมนุษยชน หรือผู้ที่เห็นต่างทางการเมือง และประชาชน 

กอบกุศล เล่าเสริมว่านอกจากข่าวปลอมที่ได้รับสนับสนุนโดยรัฐไทยแล้ว ยังมีข่าวปลอมที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลต่างชาติซึ่งมีสองประเทศหลัก ๆ คือ รัสเซียและจีน ซึ่งทั้งสองประเทศมีโมเดลในการทำงานแตกต่างกัน ด้านของประเทศจีน เน้นใช้การ Propaganda และสนับสนุนโครงสร้าง ICT ในประเทศไทย ส่วนประเทศรัสเซียจะมุ่งเป้าไปที่การให้ข่าวลวงว่ารัฐไทยได้รับสนุบสนุนต่างชาติในการบ่อนทำลายประเทศไทย ถึงแม้ทั้งสองชาตินี้มีวิธีการแตกต่างกันแต่ก็มี Narrative เหมือนกันคือต่อต้านชาติตะวันตกหรืออเมริกา

กอบกุศล เล่าว่ามี 2 อย่างที่ปัจจุบัน Asia Center กำลังศึกษาอยู่ คือ 

1.ศึกษาปฏิบัติการ IO ในไทย ที่มีความเป็นสถาบันสูงมาก ยึดโยงอยู่กับ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) กองทัพ รวมไปถึงบริษัท PR Company ต้องซัพคอนแทคจากรัฐ และมีจิตอาสา เข้ามามีส่วนร่วมในการแชร์ ส่งต่อ ทำให้ระบบนิเวศน์ IO ขยายกว้างมากขึ้น

2.ศึกษาผลกระทบของ IO ที่มีผลต่อการเลือกตั้งของไทย ซึ่งสร้างผลกระทบมีทั้งหมด 4 ข้อดังนี้ 

2.1 ปลีกข่าว คือการใช้ทรัพยากรรัฐเพื่อส่งเสริมสร้างความได้เปรียบในการหาเสียงให้กับพรรคขั้วอำนาจเก่ามากกว่าพรรคอื่น ๆ

2.2 ใช้ข่าวปลอม ทำลายชื่อเสียงต่อผู้สมัครและนักการเมืองอื่นๆ เช่น ใช้การ Body Shaming ผู้หญิง รวมไปถึงวิจารณ์รูปร่างหน้าตา เป็นต้น 

2.3 การบิดเบือนข้อมูลการเลือกตั้ง คือการปล่อยข่าวว่าพรรคบางพรรคมีความต้องการแบบนั้นนี้ อาทิ ต้องการแบ่งแยกดินแดน เชื่อมโยงผู้หญิงในเรื่องอื้อฉาวทางเพศ รวมถึงบิดเบือนนโยบายไปในทางที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง

2.4 ตรอกย้ำการแบ่งขั้วทางการเมืองในไทย เพื่อสร้างความแยกแตก เกลียดชัง และแบ่งฝ่ายมากขึ้น แต่ในความเป็นจริงเราควรมองเห็นความเป็นจริงหรือนโยบายที่ต้องการจริง ๆ

รัฐและการสร้างอำนาจในการควบคุม

ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ เล่าว่าหลังรัฐประหาร ปี 2557 ชัดเจนว่ารัฐไทยมีกลไกในการต่อสู้บนโลกออนไลน์อยู่ 2 เรื่องคือ

1.พยายามออกชุดกฎหมายแปลงยุทธศาสตร์ทางการทหารจากพื้นที่บนโลกออนไลน์ให้มาอยู่ในมือ อาทิ การออกกฎหมายควบคุมต่าง ๆ

2.วิธีการบังคับบัญชาสิ่งที่ต้องการ ที่บังคับตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง (Single command) เช่น การถ่ายรายงานของเจ้าหน้าที่รัฐเวลาเกิดการชุมนุม ซึ่งชี้ให้เห็นว่ามันเกิดจากระบบโครงสร้างในการทำงานของรัฐ

ทศพล เล่าเสริมว่าเนื่องจากบริบทไทยโครงสร้างที่เกี่ยวกับโลกออนไลน์ เช่น อินเตอร์เน็ตเครือข่ายต่าง ๆ รวมไปถึงแฟลตฟอร์ม เอกชนยังมีอำนาจในการควบคุมด้านอินเตอร์เน็ต รัฐไทยจึงหาวิธีการอื่น ๆ ในการควบคุมบนโลกออนไลน์ซึ่งเป็นพื้นที่ที่รัฐไทยมีทรัพยากรมากพอที่สามารถควบคุมได้ เริ่มจากการ Slapp และพัฒนาไปถึงการใช้องค์กรที่มีอำนาจในด้านกฎหมายในการควบคุมซึ่งมีการใช้ อาทิ กฎหมายตั้ง กอ.รมน. กฎอัยการศึก พรบ.ความมั่นคง เป็นต้น 

ด้วยเหตุผลนี้เองเป็นการสร้างอำนาจให้กับหน่วยงานกับรัฐอย่างมาก ซึ่งทุกหน่วยงานของรัฐไทยก็มีการสอดส่อดและเก็บข้อมูลไว้ อาจจะลึกไปถึงการล้วงข้อมูล ซึ่งคนที่ถูกทำร้าย อุ้มหายโดยรัฐ ส่วนใหญ่คือคนที่ถูกเก็บข้อมูลโดยรัฐทำให้เห็นว่ารัฐสามารถมองเห็นประชาชน แต่ประชาชนไม่สามารถมองเห็นรัฐได้เลย 

รวมไปถึงการตีความขอบเขตของความมั่นคงของชาติในรัฐไทย ไม่มีความชัดเจน ทำให้การตีความการบังคับใช้ในด้านกฎหมายยังมีความคลุมเครือที่จะนับ จึงทำให้การขอข้อมูลที่ประชาชนถูกละเมิดสิทธิ์ รัฐก็ไม่สามารถมอบข้อมูลได้ และอ้างถึงความมั่นคงของรัฐ ซึ่งตามกฎหมายก็มีกระบวนการที่ประชาชนสามารถทำได้ 1.ต้องคำนึงถึงเสรีภาพในการแสดงออกตามรัฐธรรมนูญ 2.เป็นสิทธิ์ของประชาชนที่สามารถเข้าถึงข้อมูลสาธารณะได้

ในฐานะประชาชน เราทำอะไรได้บ้าง?

วัลย์นภัสร์ เจนร่วมจิต เล่าถึงแนวทางกฎหมายในฐานะประชาชนสามารถทำได้ในการฟ้องหรือป้องกันการถูกบิดเบือนข้อมูล

1.การควบคุมตรวจสอบดูแลการเก็บข้อมูลข่าวสาร การเข้าถึงข้อมูลของรัฐ ก็หวังว่ารัฐบาลใหม่จะทำให้เรื่องนี้ทำได้ดีขึ้น

2.ทางด้านแพลตฟอร์มก็มีการร้องไปยังแพลตฟอร์มที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน

3.การฟ้องคดีกับรัฐบาลต้องมีการหาข้อมูลให้ได้มากที่สุด รวมไปถึงการฟ้องให้ได้มากที่สุดเพื่อทำให้ศาลเห็นว่ามีประชาชนมีความเดือดร้อนต่อเรื่องนี้จริง ๆ 

4.สร้างความตระหนักรู้กับประชาชนทั่วไปมีกระบวนการแบบนี้อยู่เพื่อให้เกิดความรู้และระวังตัวเอง

วัลย์นภัสร์ เล่าเสริมว่า Algorithm บนแฟลตฟอร์มต่าง ๆ มีความน่ากลัวมากที่ทำลายความคิดเป็นอย่างมากซึ่งมีส่วนช่วยให้ข้อมูลที่ถูกส่งให้เราเสพนั้นเป็นข้อมูลแบบเดียว ทำให้บางทีอาจจะหลงลืมว่าอีกฝั่งก็มีข้อมูลชุดอื่นอยู่ ทำให้ไม่เห็นข้อมูลหรือความคิดชุดอื่นเลย ซึ่งจะสร้างความโต้แย้งภายหลัง ซึ่งสามารถพัฒนาเป็น IO ที่ไม่ได้เกิดจากปฏิบัติการของรัฐได้

พื้นที่สื่อสาร สังคมประชาธิปไตย ชีวิตใหม่ที่ดีกว่า

ทีมข่าวที่ประกอบไปด้วยผู้คนหลากหลาย บ้างก็มาจากทะเล บ้างก็มาจากภูเขา แต่สุดท้ายก็ลงเอยที่ภาคเหนืออยู่ที่ Lanner นี่แหละ...

ข่าวที่เกี่ยวข้อง