เรียบเรียง: ปุณญาพร รักเจริญ
ถอดความจาก เล่าขวัญ Podcast by LANNER l EP6 กบฏเงี้ยวเมืองแพร่ โดย ชัยพงษ์ สำเนียง อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ชัยพงษ์เกริ่นนำว่าก่อนการผลิกผันของวิธีคิดต่อประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่เกิดขึ้นและผู้คนให้การยอมรับในปัจจุบัน ในอดีตประวัติศาสตร์ที่เป็นกระแสหลักคือประวัติศาสตร์แบบชาตินิยมหรือเรียกภายหลังว่า ‘ประวัติศาตร์แบบประชาชาตินิยม’ คือการที่ประวัติศาตร์มีแก่นแกนที่ชาติหรือชนชั้นนำในสยาม และเป็นผู้ผลักดันวิธีการทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่อดีตเรื่อยมาจนถึงปัจจุับน
‘กบฏเงี้ยว’ หนึ่งในประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่ในอดีตเคยถูกกล่าวว่าเป็นกบฏ หากอิงตามประวัติศาสตร์แบบประชาชาตินิยมที่กล่าวไปข้างต้น ถือว่าเป็นกบฏต่อราชอาณาจักรที่เกิดขึ้นอย่างกว้างใหญ่ไพศาลช่วงที่สยามกำลังจะสร้างรัฐชาติสมัยใหม่ ในช่วงรัชกาลที่ 5 (พ.ศ.2445) กบฏเงี้ยวถูกจำกัดขอบเขตอยู่เฉพาะเมืองแพร่ ในขณะเดียวกันตั้งแต่เมืองพะเยาขึ้นไปถึงเชียงของ ก็มีการกบฏอย่างกว้างขวาง ชัยพงษ์ ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า การกบฏในครั้งนี้เกิดขึ้นเกือบทั้งภาคเหนือ แต่ว่าทำไมคนถึงรับรู้เฉพาะเมืองแพร่? ส่วนหนึ่งเพราะปฏิเสธไม่ได้ที่เจ้าเมืองแพร่เข้าร่วม เจ้าพิริยเทพวงษ์ สุดท้าย ก็หนีไปอยู่ที่หลวงพระบางจนพิราลัย ทำให้เมืองแพร่กลายเป็นเมืองกบฏ
“หากพูดถึงการเป็นเมืองกบฏในสมัยก่อน คือกลายเป็นการทรยศต่อชาติบ้านเมือง คนเมืองแพร่ก็ถูกมองด้วยภาพลักษณ์เช่นนั้น ทั้งเป็นลูกหลานกบฏ ลูกหลานเงี้ยว และมองว่าคนเมืองแพร่มีสองอย่างคือ 1.แห่ระเบิด 2.ลูกหลานเงี้ยวกบฏ ภาพลักษณ์ที่ถูกสร้างผ่านเรื่องเล่านี้ทำให้คนแพร่ไม่สามารถมีตำแหน่งในประวัติศาสตร์ชาติด้วยจนเองได้ เพราะประวัติศาสตร์ชาติคือเป็นกบฏ จะบอกได้อย่างไรว่าอยู่ตรงไหนของความเปลี่ยนแปลงในการสร้างชาติสมัยใหม่ มองว่ากบฏมาทำลาย ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่คนแพร่ต้องเผชิญและถูกตั้งคำถามมาอย่างยาวนาน”
ตั้งแต่ทศวรรษ 2540 หลักการเมืองได้เปิดกว้างมากขึ้นมีรัฐธรรมนูญ 2540 หรือภาคประชาชนเกิดขึ้น การเมืองถูกตีความใหม่ ประวัติศาสตร์ถูกอธิบายแบบประวัติศาสตร์นิพนธ์ใหม่ตั้งแต่ทศวรรษ 2520 มีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาเชิงประวัติศาสตร์เรื่อยมา และการอธิบายกบฏเงี้ยวก็ได้ถูกอธิบายใหม่ จากที่เป็นเมืองที่ไม่ดีเป็นคนที่กบฏต่อชาติบ้านเมือง กลายเป็นการอธิบายว่าเป็นการลุกขึ้นสู้ต่อการถูกกดขี่ การที่จะปลดแอกออกจากอำนาจของสยาม อำนาจที่มายึดครอง ความหมายของกบฏมันเปลี่ยน ไม่นับเจ้าพิริยเทพวงษ์จากที่เป็นส่วนหนึ่งของกบฏ ก็ถูกตีความให้ว่าเป็น เจ้าผู้ภักดี และมีหลายสถานะ จนสุดท้ายสถานะของเจ้าพิริยเทพวงษ์อาจกลายเป็นผีประจำเมือง ผีศักดิ์สิทธิ์ จากที่เมื่อก่อนไม่เคยมีอนุสาวรีย์
ชัยพงษ์ย้อนถามว่ากระบวนการต่าง ๆ เหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร คำตอบคือ เกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขของการรับรู้ใหม่ทางสังคม หลักฐานทางประวัติศาสตร์อาจไม่ได้ใหม่ (อ่านจากแหล่งเดียวกัน ปราบเงี้ยว, หลักฐานทางราชการ, หอจดหมายเหตุ, หอสมุดแห่งชาติของอังกฤษ) แต่ก่อนหน้านี้ถูกเขียนและอ่านแบบราชาชาตินิยม ซึ่งมีมุมมองต่อเงี้ยวในอีกรูปแบบหนึ่ง แต่หากพลิกการมอง และมองจากตัวเงี้ยว มองจากคนแพร่ มองจากเจ้าหลวง สิ่งเหล่านี้คือ พลวัตการเปลี่ยมุมมองประวิติศาสตร์ ซึ่งการมองแบบนี้จึงเห็นชีวิตของเงี้ยว ชีวิตของคนเมือง ชีวิตของเจ้าหลวงโลดแล่นไปอีกรูปแบบหนึ่ง ปรับเปลี่ยนจากกบฏกลายเป็นผู้ปลดแอก สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่่เกิดขึ้นภายในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
ประกอบกับก่อนหน้านี้ ช่วงระหว่างปี พ.ศ.2540-2550 เรื่องกบฏถูกเล่าเป็น Paradigm หลัก แต่พอบริบทสังคมเปลี่ยน การเกิดขึ้นของเยาวชนปลดแอกในปี 2563 ผนวกกับที่ ชัยพงษ์ ได้พิมพ์หนังสือ กบฏเงี้ยว การเมืองของความทรงจำ ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันทำให้เงี้ยวเกิดการรับรู้มากขึ้น เกิดการอธิบายถึงการต้านรัฐ อำนาจรัฐที่ไม่ได้เป็นปึกแผ่นแน่นหนา มันมีช่องทางให้เรื่องเล่า (Narrative) รูปแบบอื่นเข้ามาทำให้คนอ่านที่ไม่ใช่แค่กบฏเงี้ยว แต่รวมถึงกบฏในพื้นที่อื่น ๆ เช่น กบฏผีบุญ จะเห็นได้จากการรื้อฟื้นมาสร้างเป็นละครมาเขียนอธิบายใหม่ ทั้งหมดนี้คือมุมมองทางประวัติศาตร์นิพนธ์ใหม่ที่เปลี่ยนไปจากระแสกกรต่อสู้ขับเคลื่อนของสังคมในวงกว้าง
ชัยพงษ์ ได้สรุปว่า การอ่านประวัติศาสตร์เล่มเดิมมีมุมมองที่มีความหลากหลายมากขึ้นและประวัติศาสตร์ไม่ได้ถูกเป็น Paradigm หลักของรัฐที่เป็นประวัติศาสตร์ที่ครอบงำที่จะเขียนตำราเดียวให้คนอ่าน แต่เป็นประวัติศาสตร์ให้คนไปค้นคว้าหาหลักฐานที่หลากหลายมากขึ้น ถึงแม้จะอ่านหลักฐานชิ้นเดียวกัน แต่วิธีการและรูปแบบในการอ่านเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง มุมในการอธิบายประวัติศาตร์ก็จะเปลี่ยน ส่งผลให้ความทรงจำของกบฏเงี้ยวเดิมที่เมืองแพร่เป็นเมืองกบฏที่อัปยศได้ถูกตีความใหม่ด้วยท้องถิ่นขึ้นมา
เด็กฝึกงานจากสาขาการพัฒนาระหว่างประเทศ ที่มาเรียนในจังหวัดที่ค่าฝุ่นสูงเกินเกณฑ์ทุกปี และขอทายว่าถึงแม้จะเรียนจบแล้วค่าฝุ่นก็ไม่น่าลดลง