เสวนาการทับซ้อนกันของการทำงานด้านสิทธิดิจิตอล

25 พฤษภาคม 2566 วันที่ 4 ของงานประชุมนานาชาติสิทธิดิจิทัลเอเชีย-แปซิฟิก (DRAPAC23) ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม Uniserv CMU และหอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดขึ้นเพื่อหารือผสานความร่วมมือ แลกเปลี่ยนประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ออนไลน์ โดยเสวนาในวันนี้คือเรื่องของ Intersectionality of Digital Rights Work หรือ ความเชื่อมโยงกันของงานด้านสิทธิดิจิทัล

เสวนาที่พาทุกคนไปรู้จักความหมายของ Intersectionality ที่เชื่อมโยงกับประเด็น Digital Rights ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องใหม่และมีความซับซ้อนเป็นอย่างมาก ผู้ดำเนินเสวนาในวันนี้คือ Vino Lucero Digital Rights Manager and DRAPAC23 Event Lead, Engage Media และผู้ร่วมเสวนา 3 คน Krupskaya Valila Polytechnic University of the Philippines, Leandro Ucciferri Ranking Digital Rights และ Naomi Fontanos  GANDA

บริบทและวิธีการทำงานขององค์กร 

คนแรกคือ Krupskaya Valila เล่าว่า วิธีการทำงานของโครงการในมหาวิทยาลัยคือการสร้างสิทธิทางดิจิทัลให้เกิดขึ้น สร้างขอบเขตว่าเทคโนโลยีมีอิทธิพลมากแค่ไหน ซึ่งประสบความสำเร็จในการสร้าง Digital Rights ให้คนทั่วไปเข้าใจได้ อีกทั้งยังทำสื่อดั้งเดิมกับสื่อดิจิทัลควบคู่ไปด้วย เพื่อสร้างความเข้าใจให้มากขึ้นและกระจายข้อมูลสู่ผู้คนได้

ด้าน Leandro Ucciferri กล่าวว่า การทำงานขององค์กรของเขาคือการพยายามจัดการ Digital Rights กับเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน ตอนนี้มีการโฟกัสว่าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะสร้าง Digital Rights ร่วมกันอย่างไรได้บ้าง Leandro เล่าว่าองค์กรของเขาจะเป็นแนวหน้าในการนำเรื่องนี้ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากหลาย ๆ สื่อ และทีมด้านวิชาการที่เข้ามาร่วมมือกัน เธอเสริมว่าต้องการขยายขอบเขตองค์กรโดยการขยายทรัพยากรไปด้วย เพื่อให้องค์กรในพื้นที่ชุมชนสามารถทำงานเกี่ยวกับ Digital Rights ได้จริง

และคนสุดท้าย Naomi Fontanos กล่าวว่า องค์กรของเธออยู่ในประเทศฟิลิปปินส์ ที่มองหาการสร้างความร่วมมือของ lgbtqia+ พยายามส่งเสริมกฎหมายด้านเพศในฟิลิปปินส์มามากกว่า 3 ปี และกำลังผลักดันกฎหมาย Social Bill เพื่อส่งเสริมอิสรภาพของ lgbtqia+ และต้องการให้รัฐสนับสนุนสิทธิต่าง ๆ ของคนกลุ่มนี้ แต่รัฐกลับปฏิเสธและบอกว่าต้องนำทรัพยากรในประเทศไปใช้ในด้านอื่น แต่อีกประเด็นหนึ่งที่เราสนใจคือเรื่องสิทธิทางศาสนาที่มากดทับสิทธิทางเพศ รวมไปถึงการเผยแพร่ข้อมูลที่ผิดพลาดเป็นการสร้างค่านิยมทางเพศที่ผิดแก่กลุ่ม lgbtqia+ และเป็นการสร้างความกลัวให้แก่พวกเขาเพิ่มมากยิ่งขึ้น

ปัญหาที่เกิดขึ้นกับการทำงานด้านสิทธิดิจิทัล 

Krupskaya Valila กล่าวว่า ส่วนมากจะติดที่อาจารย์ โดยเฉพาะช่วง Covid-19 และ Lockdown ที่ทำให้ต้องเรียนออนไลน์ อาจารย์บางคนไม่มีความพร้อมในการสอน ไม่ใช่แค่กับนักเรียนทั่วไปแต่รวมกับถึงกลุ่มนักเรียนพิการด้วย ทำให้บางครั้งเราต้องเปลี่ยนแพลตฟอร์มใหม่ในการเรียนทุกวัน แม้แต่หลัง Covid-19 การเรียนส่วนใหญ่ยังถูกจำกัดอยู่ในช่องทางออนไลน์ ซึ่งการเรียนรู้ไม่ควรถูกตีกรอบไว้แค่นี้ แต่เราไม่มีสิทธิ์ในการแสดงความคิดเห็นเลย

ด้าน Naomi Fontanas เล่าว่า ในฟิลิปปินส์มีการให้ข้อมูลทางเพศที่ผิดนั้น ที่เรียกว่า ความรุนแรงทางเพศบนโลกออนไลน์ Naomi เสริมว่าเราทุกคนต้องปกป้องสิทธิทางเพศ และให้ความรู้เรื่องสิทธิความปลอดภัยแก่คนในฟิลิปปินส์ แต่ก็ไม่สำเร็จเท่าที่ควร ในปี 2019 ได้มีการพูดคุยกันและพบว่ามันขาดอะไรบางอย่างไป นั่นคือ การให้ข้อมูลทางเพศที่ผิดทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกัน สร้างความแตกแยก และทำให้ผู้คนห่างเหินกัน รวมไปถึงการให้ข้อมูลผิด ๆ นี้บางครั้งมาจากการเลือกตั้ง จากรัฐบาล หรือจากผู้สมัคร ส.ส. ซึ่งนี่คือเรื่องที่เราพยายามแก้ไข และเราต้องโฟกัส Algorithms ในออนไลน์ที่พูดถึงเรื่องเพศ แต่ปัญหานี้แพลตฟอร์มควรจะออกมาจัดการที่ทำให้ข้อมูลที่ผิดขยายวงกว้างออกไป

“เพราะสิ่งเหล่านี้ทำให้ lgbtqia+ กลายเป็นคนชายขอบของสังคม ทั้งยังเกี่ยวข้องทางเศรษฐกิจและการเมืองอีกด้วย เพราะคนส่วนใหญ่กำลังตกเป็นเหยื่อของข้อมูลที่ผิดเหล่านี้ต่อไป”

การมีส่วนร่วมในการผลักดันสิทธิดิจิทัล

Naomi Fontanas กล่าวว่า ต้องป้องกันตัวเองในโลกออนไลน์เกี่ยวกับข้อมูลผิดพลาดทางเพศ เรียนรู้วิธีรู้ทันข้อมูลที่ผิดพลาด และหวังว่าจะมี Network ที่คอยให้การสนับสนุนซึ่งกันและกัน

ด้าน Krupskaya Valila กล่าวว่า ในระบบการศึกษานั้น เป็นเรื่องยากที่จะแก้ไขเพราะเราต้องอยู่กับมัน แต่คิดว่าเราต้องแสดงให้เห็นว่าสิ่งเหล่านี้คือการลงทุนในอนาคต พวกเขาคืออนาคต และมันสามารถเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้

Leandro Ucciferri กล่าวทิ้งท้ายว่า สิ่งที่องค์กรของเขาจะทำคือการสร้างทรัพยากรต่าง ๆ ที่จะช่วยให้คนเรียนรู้วิธีการในการศึกษา เพื่อช่วยให้พวกเขารู้จักใช้เครื่องมือในการทำวิจัยให้สำเร็จได้ จึงอยากให้ทุกคนร่วมมือกัน และยินดีมากที่คนทั่วไปจะเข้ามาช่วยกันทำให้มันมีความหมายมากขึ้นกว่าเดิม เราคิดว่างานวิจัยของเรามีความหมายและอยากให้เป้าหมายของมันถูกเปิดเผยออกมา 

“เพราะมันไม่ใช่ทำวิจัยเพื่อวิจัย แต่มันคือวิจัยที่ตอบสนองต่อคนได้จริง ๆ”

พื้นที่สื่อสาร สังคมประชาธิปไตย ชีวิตใหม่ที่ดีกว่า

ทีมข่าวที่ประกอบไปด้วยผู้คนหลากหลาย บ้างก็มาจากทะเล บ้างก็มาจากภูเขา แต่สุดท้ายก็ลงเอยที่ภาคเหนืออยู่ที่ Lanner นี่แหละ...

ข่าวที่เกี่ยวข้อง