“คนอยู่กับป่า” เข้าวันที่ 4 ปักหลักหน้าศาลากลางเชียงใหม่ รอรองนายกฯ ถกเจรจา ‘พ.ร.ฎ.ป่าอนุรักษ์’ – เสวนาชำแหละผลกระทบกฎหมายโลกร้อนต่อชุมชน

27 มีนาคม 2568 – การชุมนุมของเครือข่ายคนอยู่กับป่า นำโดยสมัชชาชุมชนคนอยู่กับป่า (สชป.) และสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) ดำเนินต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 ที่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อรอการเดินทางของ ประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี ที่ให้คำมั่นว่าจะเดินทางมาร่วมประชุมเจรจากับประชาชนในวันที่ 29 มีนาคม 2568 โดยเครือข่ายได้ย้ำข้อเรียกร้องให้รัฐบาล ยุติการประกาศเขตป่าอนุรักษ์เพิ่ม, หยุดการใช้ พระราชกฤษฎีกาป่าอนุรักษ์ (พ.ร.ฎ.ตามมาตรา 64 แห่ง พ.ร.บ.อุทยานฯ) ซึ่งสร้างผลกระทบต่อชุมชนจำนวนมาก และเร่งดำเนินการแก้ไขกฎหมายที่ลิดรอนสิทธิของคนอยู่กับป่า

เวลา 18.00 น. ได้มีการจัดเวทีเสวนาในหัวข้อ “สิทธิชุมชนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” โดยมีผู้ร่วมเวที ได้แก่ สุมิตรชัย หัตถสาร ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น (CPCR) ชาติชาย ธรรมโม ชุมชนนักกิจกรรมภาคเหนือ และวัชราวลี คำบุญเรือง จากมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLaw)

สุมิตรชัย อธิบายว่าภายใต้ข้อตกลง COP26 ประเทศไทยในสมัยรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ ได้ลงนามให้บรรลุเป้าหมาย Net Zero ภายในปี 2600 ซึ่งหมายถึงการเพิ่มพื้นที่ป่าให้ได้ 55% ของประเทศ หรืออีก 145 ล้านไร่ กลายเป็นแรงผลักสำคัญให้รัฐเดินหน้านโยบาย “ทวงคืนผืนป่า” และส่งผลให้เกิดการ ไล่รื้อชุมชนในป่า ซึ่งไม่เพียงละเมิดสิทธิ แต่ยังละเลยบทบาทของชุมชนในการดูแลป่าอย่างยั่งยืน

ด้าน ชาติชาย ธรรมโม กล่าวถึงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy) ที่เปิดช่องให้เกิดนโยบายกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชน เช่น การอนุมัติโครงการสร้างเขื่อนและการเผาซากอ้อยผลิตพลังงานไฟฟ้าโดยอ้างว่าเป็น “พลังงานสะอาด” เขาเสนอให้สร้าง “ข้อตกลงชุมชน” ที่ให้ประชาชนมีสิทธิกำหนดทิศทางการพัฒนา พร้อมยกตัวอย่าง สะเอียบโมเดล ที่ชุมชนสามารถเสนอทางเลือกในการจัดการน้ำและป่าอย่างยั่งยืน โดยไม่ต้องพึ่งโครงการขนาดใหญ่

ทั้งนี้ วัชราวลี คำบุญเรือง ตั้งคำถามถึงกลไก คาร์บอนเครดิต ที่แม้จะมีการจ่ายเงินให้ชุมชนปลูกป่า แต่กลับ ไม่มีการลดการปล่อยคาร์บอนของภาคธุรกิจอย่างแท้จริง อีกทั้งยังสร้างข้อผูกพันที่ ชุมชนต้องดูแลพื้นที่ 20 ปี ขัดแย้งกับวิถีชีวิตของคนอยู่กับป่าที่เน้นการอยู่ร่วมและหมุนเวียนกับธรรมชาติ โดยเน้นว่า รัฐยังละเลย “สิทธิชุมชน” และพยายามเปลี่ยนฐานคิดการจัดการป่าให้เป็นแบบราชการรวมศูนย์

ทีมข่าวที่ประกอบไปด้วยผู้คนหลากหลาย บ้างก็มาจากทะเล บ้างก็มาจากภูเขา แต่สุดท้ายก็ลงเอยที่ภาคเหนืออยู่ที่ Lanner นี่แหละ...

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

slot deposit pulsa slot mahjong