เรื่อง : วิไล นำยี่หลง
การข้ามชาติ คือ การปรากฏการณ์ที่เกิดจากการติดต่อเชื่อมโยงบนความสัมพันธ์ที่หลากหลายทั้งทาง เศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรมจึงส่งผลต่อการหลั่งไหลของผู้คน ตัวตน และวัตถุ ที่มีผลต่อความ หลากหลายของวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่ที่มีการอพยพเคลื่อนย้ายเข้า-ออกนั้นๆ ซึ่งการอพยพโยกย้ายมี รูปแบบที่แตกต่างหลากหลายเช่นนักท่องเที่ยว ท างาน คนย้ายถิ่น อพยพ ลี้ภัย เป็นต้น หนึ่งในการข้ามชาติที่ ดิฉันสนใจและจะกล่าวถึงคือการข้ามชาติทางการศึกษานั่นเอง
สังคมจีนสู่สังคมไทย
จากคำบอกเล่าของนักศึกษาข้ามชาติชาวจีนเธอมีชื่อไทยว่า “ฟ้าใส” สังคมจีนเป็นที่เลื่องลือเรื่องความ เคร่งครัด ตึงเครียด มีความกดดันและการแข่งขันสูง ทั้งที่มาจากภายในครอบครัวระหว่างครอบครัว บ่อยครั้งที่ครอบครัวมักจะชอบเปรียบเทียบลูกตัวเองกับลูกคนอื่น มีการแบ่งแยกลูกเธอลูกฉัน จึงมีการเปรียบเทียบขึ้นตลอดเวลา จนบางครั้งคนที่ถูกเปรียบเทียบไม่กล้าที่จะแสดงออกในสิ่งที่ตัวเองคิดเพราะคิดว่ายังไม่ดีพอ คำพูดที่คอยกรอกหูลูกคอยเปรียบเทียบต่างๆนาๆ ทำให้บางคนแสดงออกที่แตกต่างกันไป บางคนเก็บกดจนเครียด บางคนไม่กล้าแสดงออก แต่ครอบครัวของฟ้าใสค่อนข้างที่จะสนับสนุนในสิ่งที่เธออยากจะทำ ในขณะเดียวกัน สังคมไทยนั้นมีความยืดหยุ่นและเปิดกว้างมากกว่าสังคมจีนสามารถแสดงออกได้อย่างเสรีแม้จะมีการเปรียบเทียบอยู่บ้างแต่เป็นเพียงแค่ส่วนน้อยเมื่อเทียบกับสังคมจีน
ตัดสินใจออกนอกประเทศ
การที่มีเด็กนักศึกษาข้ามชาติชาวจีนเข้ามาศึกษาต่อประเทศไทยนั้น พวกเขาเหล่านั้นรู้จักกับประเทศไทยได้อย่างไร? ครีม คือนักศึกษาข้ามชาติชาวจีนอีกท่านหนึ่งที่ดิฉันได้มีโอกาสได้คุยด้วย เหตุผลที่เธอตัดสินใจมาเรียนที่ไทยเพราะ เธอสนใจด้านภาษาและวัฒนธรรมของไทยส่วน คำตอบของฟ้าใสคล้ายๆกับครีม ซึ่งการที่ คนเราจะตัดสินใจออกไปศึกษานอกประเทศที่ตนอยู่อาศัยนั้นมีความลึกซึ่งกว่าแค่ความชอบในภาษา หรือวัฒนธรรมเนื่องจากไทยจีนมีความสัมพันธ์ด้านค้าขายกันระหว่างสุโขทัยกับจีนมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น ซึ่งการโยกย้ายเข้ามาของชาวจีนโพ้นทะเลมายังอุษาคเนย์ที่เข้ามามีบทบาททางเศรษฐกิจอย่างมาก สาเหตุการเดินทางเข้ามาของชาวจีนโพ้นทะเลแบ่งออกได้ 3 แบบ คือ 1.การเมือง เศรษฐกิจ และศาสนา อุดมการณ์เพราะว่า จีนรุ่นใหม่ถูกวางให้เป็นทรัพยากรที่มีอิทธิพลต่อการสร้างเศรษฐกิจจีนยุคใหม่ในฐานะ “มืออาชีพที่รักชาติ” 2.กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ออกมาเพื่อหาโอกาสได้หาช่องทางในการทำธุรกิจใหม่ๆ 3.กลุ่มลูกหลานของชาวโพ้นทะเล ที่ได้รับแรงกดดันต่าง ๆ จนต้องออกมาหาช่องทางหรือโอกาสใหม่ ๆ ซึ่งกลุ่มจีนรุ่นใหม่ที่หลั่งไหลเข้ามาเพื่อหาอาชีพ ประกอบธุรกิจนั้นมีลักษณะผสมและยืดหยุ่น ทุนนิยมยืดหยุ่นแบบใหม่ช่วยสร้างความสัมพันธ์เครือข่ายใหม่ ๆ ในลักษณะข้ามชาติให้มีความเป็นพหุวัฒนธรรมและอัตลักษณ์มากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งระบบการค้าของจีนอพยพนี้จะฝั่งรากลึกที่อยู่ในระบบคุณค่าและวัฒนธรรมจีนที่สามารถย้อนกลับสู่บ้านเกิดเมืองจีนได้ และในขณะเดียวกันยังสามารถปรับตัวให้เข้ากับบริบทออกไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ได้ ข้อเสนอที่จะต้องทำความเข้าใจจีนจะต้องวางอยู่บนพื้นฐานของอุดมการณ์ชาตินิยมจีนที่มีจุดม่งหมาย 3 อย่างคือ 1.การสร้างรัฐที่เข้มแข็งและสังคมที่มั่งคั่ง 2.การกอบกู้เกียรติของศูนย์กลางแผ่นดินใหญ่ 3.การพัฒนาประเทศสู่ความทันสมัย โครงการข้ามชาติของจีนในรูปแบบการลงทุนที่ให้ความช่วยเหลือต่างประเทศในรูปแบบการส่งออกวัฒนธรรมและจริยธรรมจีน ซึ่งเป็นการพยายามกระตุ้นให้เกิดคามรู้สึกมีส่วนร่วมของ “อัตลักษณ์ความเป็นจีน” ในกลุ่มลูกหลานของ ชาวจีนโพ้นทะเลที่ดำเนินไปพร้อม ๆ กับโครงสร้างที่การพัฒนาการสร้างชาติที่เน้นทั้งการพัฒนาภายใน และความพยายามที่จะรวมกลุ่มชาติพันธ์ต่าง ๆ ภายในประเทศให้เป็นหนึ่งเดียวกัน ยุทธศาสตร์หลักของจีนในยุคสี จิ้นผิงคือ “Belt and Road Initiative : BRI” ซึ่งจะเกี่ยวกับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของจีนเพื่อที่จะผลักดัน ให้จีนเป็นมหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่ กลยุทธ์ของ BRI มี 2 แบบคือมุ่งเน้นให้เงินช่วยเหลือประเทศต่าง ๆ และส่งนักลงทุนไปยังประเทศต่าง ๆ ที่อยู่บนเส้นทางของ BRI สรุปออกมาได้ 4 ประเด็น ประเด็นแรกคือจีนต้องการที่จะกระจายความเสี่ยงจากการถือพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งถือว่ามีความเสียงหลายด้านไม่ว่าจะเป็นความผันผวนของค่าเงินดอลลาร์และเศรษฐกิจที่ต้องผูกกับสหรัฐ รวมถึงปัญหาดุลการชำระเงินระหว่างประเทศที่มากขึ้น ดังนั้น จีนจึงต้องการลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้นโดยเน้นการกระจายการลงทุนออกไปยังต่างประเทศมากขึ้น และให้ความช่วยเหลือหรือปล่อยกู้ให้กับประเทศที่ให้ความรวมมือกับจีนภายใต้ BRI จีนจึงกลายเป็นเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ให้กับประเทศต่าง ๆ เช่นโครงการรถไฟฟ้าจีน-ลาว ที่กู้ยืมเงินทุนจากจีนส่งผลให้รัฐบาลลาวแบกรับหนี้ระยะยาวที่เมื่อเทียบกับจีดีพีรวมแล้วหนี้มีมูลค่าสูงกว่า ประเด็นที่สองคือเพื่อค้นหาแหล่งทุนและแหล่งสร้างงานให้กับบนายทุนจีน ทั้งทุนรัฐวิสาหกิจและทุนเอกชนได้รับโอกาสจากรัฐบาลจีนไม่ว่าจะนำโดยรัฐบาลจีนที่ออกไปผูก มิตรหรือให้ความช่วยเหลือภายใต้ยุทธ์ศาสตร์นี้สู่การขยายธุรกิจออกไปลงทุนนอกประเทศไปยังประเทศต่าง ๆ รวมถึงให้การสนับสนุนการสร้างงานโดยให้การช่วยเหลือคนจีนที่ออกไปทำงานนอกประเทศหรือย้ายถิ่นฐานไปตั้งรกรากยังประเทศนั้น ๆ ประเด็นที่สามคือเสาะหาตลาดเพื่อส่งออกสินค้าและเทคโนโลยี ซึ่งเป็นการกระจาย สินค้าเทคโนโลยีที่จีนผลิตเป็นจำนวนมหาศาลไปยังประเทศต่าง ๆ ตามเส้นทาง BRI ทำให้จีนกระจายสินค้าได้อย่างรวดเร็วไม่ว่าจะส่งผ่านทางทะเล ทางบก และทางราง จีนเน้นการส่งออกด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ ไปทั่วโลกเช่น เทคโนโลยีด้านไฟฟ้า เทคโนโลยี 5G ของ Huawei ทั้งนี้เพื่อความมั่งคั่งของจีน ประเด็นสุดท้ายคือเพื่อหาพรรคพวกและแนวร่วม จีนใช้กลไกการทำงานของ soft power ค่อย ๆ แทรกซึมเข้าไปมีอิทธิพลทั้งในเศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรมของประเทศในเครือ BRI ที่ได้รับความร่วมมือจากประชาชนในประเทศนั้น ๆ จับมือกับรัฐบาลจีนในรูปแบบของการแจกทุน การส่งครูจีนออกมาสอนภาษาและวัฒนธรรมดังนั้นจีนจึงมีพรรคพวกที่เป็นแนวร่วมพร้อมอยู่ข้างจีนและเพิ่มอำนาจต่อรองให้จีน ซ้ำประเทศเครือ BRI ยังคงต้องพึ่งพาเศรษฐกิจกับจีนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ การที่นักศึกษาจีนข้ามชาติเข้ามาเรียนยังต่างงประเทศจำนวนมากจึงไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใหม่ สำหรับนักศึกษาไทย แต่หากว่านักศึกษาไทยไม่มีความกระตือรือร้น ยังไม่เห็นถึงผลกระทบที่นักศึกษาข้ามชาติชาวจีนเข้ามาศึกษายังประเทศไทยเพิ่มขึ้นในรอบ 10 ปีที่ตั้งแต่ปี 2555 ถึง 2565 นั้นนักศึกษาข้ามชาติชาวจีนเพิ่มขึ้นจากหลักพันคนสู่หลักหมื่นคน แสดงให้เห็นว่าหากนักศึกษาข้ามชาติชาวจีนได้เล็งเห็นถึงโอกาสที่เขาจะได้รับโดยการรับรู้ และได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว หรือรัฐบาลจีน เมื่อจบการศึกษาออกไปพวกเขาเหล่านั้นมีศักยภาพในการแข่งขันที่สูง มีอำนาจต่อรองมากกว่านักศึกษาชาวไทย ยกตัวอย่างในด้านของภาษา ด้านการได้รับการสนับสนุนจากรัฐในการกระจายคนออกเพื่อขยายอำนาจทางการค้าและเศรษฐกิจ คำพูดของ นักศึกษาจีนท่านนี้ไม่เกินจริง “เราเลือกเรียนที่ไทยถ้าวันหนึ่งเราได้ทำธุรกิจกับไทยจะมีผลดีต่อเรา” เนื่องจากญาติของเธอนั้นทำธุรกิจนำเข้าสินค้าจีนมาขายในประเทศไทยเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
ทำไมต้องประเทศไทย
“ทำไมถึงเลือกมาเรียนที่ไทยแทนที่จะเป็นประเทศอื่น ๆ ในอาเซียนคะ” คำถามที่น่าสงสัยเพราะจากสถิติการจัดอันดับการศึกษาระดับอาเซียนในปี 2018 ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 7 ซึ่งสูงกว่าแค่เวียดนาม กัมพูชา และพม่าเพียงเท่านั้น และแน่นอนว่า 3 อันดับการศึกษาที่ดีที่สุดในอาเซียนคือ สิงคโปร์ มาเลเซีย และ อินโดนีเซียตามล าดับ ทว่าการตัดสินใจมาเรียนยังประเทศไทยนั้นขึ้นอยู่กับการรับรู้ข่าวสารจากทางครอบครัว ญาติมิตร หรือสหายที่เคยมาท่องเที่ยวหรือมาใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทย รวมทั้งกลยุทธ์ของจีนที่มีนโยบายส่งเสริมทั้งทางตรงและทางอ้อมให้กับนักลงทุนและคนในประเทศที่ออกมาแสวงหาโอกาสในการ ทำงานยังต่างประเทศสังคมและวัฒนธรรมไทยเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้นักศึกษาข้ามชาติชาวจีนมีความสนใจ เพราะว่าสังคมไทยเราค่อนข้างมีความยืดหยุ่นและเปิดกว้างในเรื่องต่างๆ
“เรารู้สึกว่าประเทศไทยมีความปลอดภัย” ประโยคนี้หลายคนสงสัยว่าทำไมเขามองว่าประเทศเราจึงมีความปลอดภัยในความคิดของเขาถ้าเทียบประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน เริ่มกันที่สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีระดับการศึกษาสูง การดำเนินชีวิตของผู้คนจึงเต็มไปด้วยระบบ กฎเกณฑ์มีความปลอดภัยสูงตามมาด้วย และยังเป็นประเทศที่มีรายได้สูงส่งผลให้มีอำนาจในการตัดสินใจซื้อสูง ดังนั้นกระแสวัตถุนิยมจึงมีอิทธิผลต่อวัยรุ่นอย่างมาก ไปต่อกันที่ประเทศมาเลเซียถือว่าเป็นประเทศที่มีรายได้ค่อนข้างสูงเพราะเศรษฐกิจพัฒนาสูงขึ้น กำลังซื้อและนิยมสินค้าฟุ่มเฟือยสูงขึ้นที่แตกต่างจากชนบทที่มักจะใช้ชีวิตอยู่อย่างเรียบง่ายแต่ด้วยความที่มีความเชื่อในศาสนาเดียวกันจึงมีความเป็นหนึ่งเดียวกันและไม่นิยมแต่งงานกับชาวต่างชาติ ต่อกันที่อินโดนีเซียซึ่งเศรษฐกิจมีความ เหลื่อมล้ำค่อนข้างสูง ทางด้านวัฒนธรรมนั้นมีความแตกต่างกันออกไปตามแต่ละกลุ่มที่เห็นได้อย่างแตกต่างคือชาวชนบทยังคงยึดติดกับประเพณีดั้งเดิม ส่วนชาวเมืองก็จะแตกต่างออกไปตามที่ได้รับการศึกษาจากต่างประเทศ ส่วนใหญ่นับถืออิสลามมีความคล้ายไทยตรงที่ชอบเข้าสังคมและสนุกสนานสบาย ๆ บรูไนเป็นประเทศที่ส่งออกน้ำามันและงดขายแอลกอฮอล์ทุกกชนิดดังนั้นบ้านเมืองจึงเงียบสงบ เป็นระเบียบ ชาวบรูไนให้ ความสำคัญกับอาหารเป็นอย่างมากจึงนิยมกินอาหารฮาลานที่ผลิตผ่านตามหลักของอิสลามนั่นเอง ไปต่อที่กัมพูชา เศรษฐกิจส่วนใหญ่อาศัยการลงทุนจากต่างประเทศ สินค้าอุปโภคบริโภคยังคงไม่หลากหลายและยังมีการนำเข้าจากไทย จีน และเวียดนาม ต่อกันที่ประเทศพม่าที่ปัจจุบันนี้เกิดความไม่สงบขึ้นในประเทศ แต่ทางด้านสังคมมีการนับถือผู้อาวุโส ระบบเครือญาติ คล้ายไทย ส่วนเวียดนามติดต่อกับจีนเป็นเวลานาน ดังนั้นการดำรงชีวิตรวมถึงวัฒนธรรมต่าง ๆ จึงมีความคล้ายคลึงกับจีนเป็นอย่างมาก และลาว สังคมและวัฒนธรรมมีความคล้ายคลึงกับภาคอีสานของไทย สินค้าอุปโภคบริโภคยังคงมีการนำเข้าจากไทย จีน และเวียดนาม และสุดท้าย ไทย สังคมที่มีความยืดหยุ่น ประนีประนอม เปิดความเรื่องการแสดงความคิดเห็นหรือการแสดงออก สำหรับเราที่เป็นคนไทยเองคิดว่าประเทศไทยในมุมมองของคุณเป็นอย่างไร?
โอกาสใหม่กับการสะสมทุน
การศึกษาก็เปรียบเป็นการสะสมทุนในรูปแบบความรู้การได้ออกมายังต่างประเทศ เป็นการเปิดประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ มีความเข้าใจกับสังคมของประเทศนั้น ๆ ดังนั้นสองสาวชาวจีนที่ได้พูดคุย ทั้งสองท่านมีเหตุผลที่อยากจะมาเรียนต่อยังไทยมีความคล้ายคลึงกันนั่นก็คือมีความชอบในภาษาและวัฒนธรรมของไทย จึงมีความคิดที่อยากจะมาเรียนยังประเทศไทย ต่างกันที่อีกคนมีญาติที่ทำธุรกิจอยู่ที่ไทยแต่อีกคนเดินทาง มาอยู่ที่ไทยเพียงลำพัง แม้ว่าการมาของทั้งสองจะคล้ายกันแต่ปลายทางอาจจะเหมือนหรือแตกต่างกันขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของพวกเธอเอง คุณคิดว่าในอนาคตนักศึกษาข้ามชาติชาวจีนทั้งหลายจะผันตัวไปเป็นนักธุรกิจชาวจีนกันหมดหรือไม่ แม้ว่าพวกเธอบอกว่า “ฉันไม่สนใจธุรกิจค่ะ” และเธอ “อนาคตฉันอาจจะทำธุรกิจค่ะ”
อ้างอิง
- การให้สัมภาษณ์จากนักศึกษาข้ามชาติชาวจีนครีมและฟ้าใส มังกรหลากสี โดย ยศ สันตสมบัติ
- https://www.rd.go.th/fileadmin/user_upload/sorpor/RDtoASEAN/lifestyasean.pdf https://www.dmc.tv/pages.html
- https://nichnipa.wordpress.com
- https://www.businesseventsthailand.com/th/why-thailand/uniquely-thai https://www.the101.world/why-bri/
- https://www.the101.world/why-bri/