อีกไม่กี่วันก็จะถึงวันที่วันเวลาเดินเข้าสู่ปี 2567 หรือ ‘2024’ แล้ว ไม่ว่าวันนี้กู้คนจะอยู่ที่ไหน ทำอะไรกัน อาจกำลังเดินทาง กินเที่ยวหรือนอนเหงา ๆ พวกเรา ‘Lanner’ ก็ขอหื้อกู้คนสุขสันขนาดในห้วงยามความสุขนี้ไปตวยกั๋น
ตลอดปี 2023 นี้ หมู่เฮาจาว LANNER ได้พยายามสร้างสรรค์ผลงานหลายประเด็นทางสังคม ทั้ง การเมือง ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตของหมู่เฮาในพื้นที่ภาคเหนือ ตี้เชื่อมโยงสู่ศูนย์กลางของประเทศ ประเทศนี้ เฮาเลยขอลิสต์ 24 ผลงานคัดสรร ตี้หมู่เฮากองบรรณาธิการอยากจวนกู้คนปิ้กไปอ่านใหม่กั๋นแห่มรอบก่อนตี้จะเตรียมพบกับหลากเรื่องราวในหลายประเด็นตี้บ่อยากหื้อพลาดในปีหน้า จับตาดูกันหื้อดี ๆ
ลิสต์นี้บ่ได้เป็นการจัดอันดับความนิยมแต่อย่างใด หมู่เฮาในฐานะกองบรรณาธิการ Lanner ก็พยายามสร้างสรรค์ผลงานอย่างพิถีพิถัน (แม้จะผิดพลาดในหลายครั้ง) เพื่อหื้องานกู้ชิ้นมีคุณภาพ หื้อสมกับตี้กู้คนได้สนับสนุนหมู่เฮาตลอดมา โดยผลงานอื่นตี้แม้บ่ได้ปรากฏในลิสต์นี้ ล้วนเป็นผลงานที่มีคุณค่าต่อกองบรรณาธิการ Lanner ทั้งสิ้น
ในโอกาสนี้ ขอขอบคุณคอลัมนิสต์ และเจ้าของผลงาน กู้ท่าน กู้คน ตี้สร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อสื่อสารประเด็นหลากแง่มุมในพื้นที่ของ Lanner และขอขอบคุณผู้อ่าน ผู้ชมกู้คนตี้กอยสนับสนุนผ่านการเข้ามาแลกเปลี่ยนในพื้นที่แห่งนี้ หื้อเป็นพื้นที่สื่อสาร สังคมประชาธิปไตย เพื่อชีวิตที่ดีกว่าของเฮากู้คน
1.เชียงใหม่เมืองไม่มีอนาคต
โดย นลินี ค้ากำยาน
2.หอมกลิ่นความรัก: ซีรีส์วายพีเรียดฉบับล้านนา เมื่อกลิ่นหอมหวานพร้อมจะร่วงโรยตามกาล
โดย ธันยชนก อินทะรังษี
3.“หิ้วกระเป๋าเข้ากรุง หรือทำเพลงอยู่บ้านเกิด” เส้นทางของนักดนตรีต่างจังหวัดที่อาจไม่โรแมนติก
โดย พีรดนย์ กตัญญู
4.อยู่รอดปอดพัง: เสียงจากแคมป์คนไทใหญ่ในเชียงใหม่ต่อปัญหาฝุ่น PM 2.5
โดย ณัฏฐชัย ศรีเจริญ, นันทัชพร ศรีจันทร์
5.อุทัยธานีที่ไม่มีห้าง: สำรวจเศรษฐกิจและความเหลื่อมล้ำผ่านการไม่มีห้าง
โดย ปองภพ ดั่นสมานฉันท์ชัย
6.ปริศนาของจารึกประจำประตู และท่าแพที่เพิ่งสร้าง
โดย ปรัชญา ไชยแก้ว
7.เราคือคณะก่อการล้านนาใหม่ นี่คือการเรียกคืนสิทธิจัดการตนเองจากรัฐผู้ฉกฉวย
โดย ณัฐชลี สิงสาวแห
8.ใบหน้าที่หายไปในประวัติศาสตร์ส่วนกลาง: ย้อนรอยความรุนแรงของสมาชิกสหพันธุ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทยที่ตกเป็นเหยื่อระหว่างปี 2517-2522
โดย กองบรรณาธิการ
9.ลำดับเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ในภาคเหนือ
โดย กองบรรณาธิการ
10.จาก ศรีเชียงใหม่ ถึง คนเมือง: สื่อหนังสือพิมพ์กับความคิดท้องถิ่นนิยมล้านนายุคแรกเริ่ม
โดย พริษฐ์ ชิวารักษ์
11.แวะมาลา ยังบ่สิ้นสายแนน คุยกับฮวก-อรุณรุ่ง สัตย์สวี 24 ปีแห่งความหลัง ’สุดสะแนน’ ก่อนปิดชั่วคราว
โดย วัชรพล นาคเกษม
12.ขึ้นรถแดงตามรอยคณะราษฎร
โดย กิตติโบ้ พันธภาค
https://www.facebook.com/share/v/jNUKuJ5pGuUjYZQ6/?mibextid=Ly78Ri
13.เชียงใหม่ (ค่าแรง) มันร้ายยย
โดย กองบรรณาธิการ
https://www.instagram.com/reel/CziQBDuMwWM/?igsh=MWpsZzk0cm5hOGlzNQ==
14.ดี เอ็น เอ (DNA) และการศึกษาประวัติศาสตร์คนไท
โดย ณัฏฐวรรธน์ คล้ายสมมุติ
15.ทรงเจ้ ทรงซ้อคืออะไร ? ตามหาคำอธิบายจากนักวิจัยแนวสตรีศึกษาผู้หลงใหลในวัฒนธรรมแว้น สก๊อย
โดย ณัฐมน สะเภาคำ
16.“เกือบได้เป็นลูกฟาน มช.” ย้อนดูภาพร่างตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ก่อนจะเป็นช้างเผือก
โดย สุรยุทธ รุ่งเรือง
17.“วันยี่เป็ง” กับ “วันเพ็ญเดือนสิบสอง” ความต่างที่ถูก (ทำให้) ลืม!!!
โดย นวลคำ ขะยอมแดง สุภาพชนคนเมือง
18.KAREN MAN : ธุรกิจเดลิเวอรี่เชื้อชาติกะเหรี่ยงที่หวังไกลต้องไปถึง
โดย ปาณิสรา วุฒินันท์
19.ทำไมคนสุโขทัยถึงทานราดหน้าใส่ซอสพริก?
โดย ศตวรรษ ไรนุ่น
20.‘ครวญหา ควรค่าม้า’ เมื่ออาหารร้อยเรื่องเป็นสะพานให้คิดถึงกัน
โดย วิทยธรรม ธีรศานติธรรม
21.ลองลำพูน เปลี่ยนเมืองรองให้กลายเป็นเมือง belong ของทุกคน
โดย กนกพร จันทร์พลอย
22.แกไม่รอดแน่คนเหนือ เปิดข้อมูลคนภาคเหนือเสียชีวิตด้วยมะเร็งปอดมากที่สุดในประเทศ และอีกหลายเรื่องไม่น่ารอด
โดย กองบรรณาธิการ
23.Texas Era In Lampang Province: “ลำปางในยุคเท็กซัส”
โดย พินิจ ทองคำ
24.Food culture: “ถั่วเน่า” อีกหนึ่งของกิ๋นของผู้คนที่หลากหลายชาติพันธุ์ในพะเยา
โดย กมลชนก เรือนคำ
ทีมข่าวที่ประกอบไปด้วยผู้คนหลากหลาย บ้างก็มาจากทะเล บ้างก็มาจากภูเขา แต่สุดท้ายก็ลงเอยที่ภาคเหนืออยู่ที่ Lanner นี่แหละ...