ผู้ว่าฯ (จำลอง) ลงพื้นที่เข้าใจปัญหาทั่วเมืองเชียงใหม่ !!​

วันที่ 31 สิงหาคม 2565

ภาพ : สิรศิลป์ ปังประเสริฐกุล​


วันที่ 27 สิงหาคม 2565 ได้มีการจัดกิจกรรม “มองหาอนาคต: ทิศทางและการพัฒนาขนส่งสาธารณะเพื่อคนเจียงใหม่” ขึ้น ณ ลานกิจกรรมหอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ ตั้งแต่เวลา 09.30 – 16.30 น. ผู้ร่วมกิจกรรมรับบทเป็นผู้ว่าฯ ลงพื้นที่ไปในบริเวณต่างๆของจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อสังเกตุปัญหาและแนวทางการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเพื่อชาวเชียงใหม่​

กิจกรรมในช่วงเช้า ผู้เข้าร่วมกิจกรรม รับบท “ผู้ว่าฯจำลอง” ออกเดินทางเพื่อไปลงพื้นที่ใน 3 พื้นที่ เดินทางโดยรถไฟฟ้าเขียวสวยหอม โดยมีเพื่อนร่วมทริประหว่างลงพื้นที่ ผศ.ดร.จิรันธนิน กิติกา อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ หนุ่ย ชนกนันทน์ นันตะวัน ตัวแทนจากเพื่อลมหายใจเชียงใหม่ ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ตลอดทั้งการเดินทางในช่วงเช้า​

ภาพ : สิรศิลป์ ปังประเสริฐกุล​


พื้นที่แรกของการลงพื้นที่คือ ขนส่งอาเขต มีการแลกเปลี่ยนกันระหว่างกลุ่มว่า โดยทีมงานได้พาผู้เข้าร่วมเดินทางไป สุสานรถเมล์ขาวที่ถูกทิ้งร้างไว้มาร่วมแล้ว 1 ปี หลังโครงการขาดทุนทำให้ไม่ได้ดำเนินการต่อ หลังจากนั้นผู้ว่าได้ร่วมแลกเปลี่ยนกันถึงปัญหาของการใช้ทรัพยากร “คมนาคม” ที่ไม่คุ้มค่า​

ต่อมาพื้นที่สองของการลงพื้นที่คือ กาดหลวง (ตลาดวโรรส) ผู้เข้าร่วมเดินจากวัดเกตการามเดินทางข้าม ขัวแขก (สะพานจันทร์สมอนุสรณ์) ผศ.ดร.จิรันธนิน ให้ความเห็นของการออกแบบถนนที่ไม่สอดรับกับชุมชนดั้งเดิมยกตัวอย่างเช่น วัดเกตการาม ที่การออกแบบถนนสมัยใหม่ไม่สอดรับกับชุมชมดั้งเดิมโดยประตูทางเข้าที่ติดถนนนั้นเป็นบริเวณหลังวัดไม่ใช่หน้าวัด หลังจากผู้เข้าร่วมเดินข้ามขัวแขก ผศ.ดร.จิรันธนิน ได้ให้ผู้เข้าร่วมเดินทางไปต่อที่ สวนสาธารณะต้นลำไย โดยให้แลกเปลี่ยนในประเด็นสวนสาธารณะที่ไม่ได้สอดรับกับคนในท้องถิ่นเลย​

ภาพ : สิรศิลป์ ปังประเสริฐกุล​


ต่อมาพื้นที่สุดท้ายของการลงพื้นที่คือ คลองแม่ข่าบริเวณที่มีการปรับปรุงขึ้นมาใหม่ โดยให้ผู้เข้าร่วมเริ่มต้นเดินตั้งแต่บริเวณวัดหัวฝายซึ่งเป็นจุดเกือบสุดท้ายของคลองแม่ข่าที่มีการปรับปรุง โดยให้ผู้เข้าร่วมเดินย้อนศรจากจุดสุดท้ายไปยังจุดเริ่มต้น ​

ภาพ : สิรศิลป์ ปังประเสริฐกุล​


หลังจากนั้นผู้เข้าร่วมได้กลับมายังบริเวณหอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่และพักรับประทานอาหาร​

กิจกรรมในช่วงบ่ายเริ่มขึ้นด้วยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้ร่วมกิจกรรม ถึงประสบการณ์การลงพื้นที่ในช่วงเช้า หนึ่งในผู้ร่วมกิจกรรมกล่าวถึงความเป็นไปได้ที่ยังขาดหายไป ไม่ว่าจะเป็นส่วนของรถเมล์ที่ไม่ถูกนำมาใช้ ทางเท้า หรือพื้นที่บริเวณคลองแม่ข่า กล่าวถึงการเดินทางที่ควรจะมีตัวเลือกมากขึ้น โดยให้ความสำคัญถึงความคล่องตัว (mobility) ที่แตกต่างกันไปของแต่ละคน ก่อนจะทิ้งท้ายสรุปไว้ ว่าคนทุกคนควรมีสิทธิ์เข้าถึงการขนส่งที่มีคุณภาพ​

ต่อมาให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม รวมกลุ่มกันตามกลุ่มในช่วงเข้า เพื่อร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นภายในกลุ่ม หาคำตอบของคำถามที่ว่า “ในฐานะผู้ว่าฯ เห็นปัญหาอะไรบ้างจากการลงพื้นที่ ?” และ “จะแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างไร ?” โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม โดยมีประเด็นปัญหา และแนวทางแก้ไขถูกนำเสนอมากมายในช่วงท้ายของกิจกรรม เช่น ความไม่ตอบโจทย์ของระบบขนส่งสาธารณะต่อประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ ที่ทุกอย่างไปกระจุกตัวในอยู่ในพื้นที่เมือง ทำให้ผู้คนที่อาศัยอยู่นอกตัวเมืองต้องเผชิญกับความยากลำบากในการทำธุระหลายอย่าง ที่ต้องเข้ามาในตัวเมือง แต่กลับไม่มีระบบขนส่งที่ครอบคลุมมากพอ พร้อมยกแนวทางแก้ไขปัญหาผ่านการออกแบบพิมพ์เขียวการขนส่งที่ครอบคลุมทั้งจังหวัด เพื่อแก้ปัญหาที่กลุ่มตนยกขึ้นเสนอ หรือปัญหาในระบบการจัดการของผู้มีอำนาจ ที่จำเป็นต้องจัดการให้ตรงกับหน้าที่ของแต่ละภาคส่วน ใช้ความเห็นของประชาชนเป็นสารตั้งต้นการออกแบบการจัดการ ก่อนจะเริ่มแก้ไขปัญหาการขนส่ง หรือการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการออกแบบระบบขนส่งในจังหวัดเป็นต้น​

ภาพ : สิรศิลป์ ปังประเสริฐกุล​


ถัดมาจะเป็นกิจกรรม “ขนสุข คาเฟ่” เป็นการแยกวงประเด็นพูดคุยเกี่ยวกับระบบขนส่งสาธารณะในจังหวัดเชียงใหม่ โดยวิทยากรมาร่วมพูดคุยกับผู้ร่วมกิจกรรมพร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เข้าร่วมวงพูดคุยไม่เกิน 2 วง แบ่งเป็น 2 รอบ แบ่งออกเป็น 4 ประเด็น ได้แก่ ​
1.ขนส่งสาธารณะในแง่สวัสดิการประชาชน ​
2.ทำไมเชียงใหม่ไม่มีขนส่งฯสักที VS ทำไมถึงไม่อยากใช้ขนส่งฯ ​
3.ถ้าเชียงใหม่จัดการตนเองได้ จะเป็นอย่างไร? ​
4.แหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศในพื้นที่เมือง​

ปิดท้ายกิจกรรมด้วยการแสดงดนตรีจากศิลปิน Karnya​​


ทีมข่าวที่ประกอบไปด้วยผู้คนหลากหลาย บ้างก็มาจากทะเล บ้างก็มาจากภูเขา แต่สุดท้ายก็ลงเอยที่ภาคเหนืออยู่ที่ Lanner นี่แหละ...

ข่าวที่เกี่ยวข้อง