เวทีเสวนา ยกฟ้อง! จะไปอย่างไรต่อ ประชาชนจะเอาผิด IO อย่างไรได้บ้างในกรอบกฎหมายไทย​พบกับเสวนายกฟ้อง!

จะไปอย่างไรต่อ ประชาชนจะเอาผิด IO อย่างไรได้บ้างในกรอบกฎหมายไทย หนทางในการปกป้องนักสิทธิมนุษยชนไทย: ​ IO และการดำเนินคดีเชิงกลยุทธ์ ในวันที่ 24 พฤษภาคม 2566 ตั้งแต่เวลา 17.00 – 19.00 น.ที่ Book Re:public เข้าร่วมฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย

​ผู้ร่วมสนทนา​

-ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

-ยิ่งชีพ อัชฌานนท์, ผู้จัดการ iLaw

-วัลย์นภัสร์ เจนร่วมจิต, ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

-กอบกุศล นีละไพจิตร, เอเชีย เซ็นเตอร์

ผู้ดำเนินรายการโดย ญาวีร์ บุตรกระวี ผู้จัดการโครงการสิทธิดิจิทัล Engage Media

นับตั้งแต่รัฐประหารในปี 2557 นอกจากการใช้กฎหมายที่เข้มงวดเพื่อปิดปากผู้วิจารณ์รัฐบาล นักปกป้องสิทธิมนุษยชน และสมาชิกฝ่ายค้านแล้ว เจ้าหน้าที่ของรัฐยังใช้กระบวนการนอกกฎหมายอีกด้วย อาทิ การเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัว (การแขวน) รวมถึงการรณรงค์ให้ข้อมูลเท็จทางโลกออนไลน์ หรือที่เรียกกันว่าปฎิบัติการ IO ถึงแม้ว่าเหตุการณ์เหล่านี้มักเกิดขึ้นบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย แต่เมื่อมีการร้องขอข้อมูลเพื่อสนับสนุนในการดำเนินคดี บริษัทเทคโนโลยีที่เป็นเจ้าของแพลตฟอร์ม กลับปฏิเสธที่จะให้ความร่วมมือกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและโจทก์ นอกจากนี้ ระบบนิเวศการตรวจสอบข้อเท็จจริงในประเทศไทยยังถูกครอบงำโดยศูนย์ต้านข่าวปลอม

เมื่อพิจารณาจากดุลอำนาจที่ไม่เท่าเทียมกันนี้ ภาคประชาสังคมและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนจะมีหนทางในการต่อสู้กับการคุกคามทางออนไลน์ที่รัฐสนับสนุนได้อย่างไรบ้าง กฎหมายที่มีอยู่ เช่น พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จะสามารถนำมาใช้ เพื่อให้รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐต้องรับผิดชอบในความเสียหายของประชาชนได้อย่างไรบ้างร่วมกันหาคำตอบได้ในเสวนา

พื้นที่สื่อสาร สังคมประชาธิปไตย ชีวิตใหม่ที่ดีกว่า

ทีมข่าวที่ประกอบไปด้วยผู้คนหลากหลาย บ้างก็มาจากทะเล บ้างก็มาจากภูเขา แต่สุดท้ายก็ลงเอยที่ภาคเหนืออยู่ที่ Lanner นี่แหละ...

ข่าวที่เกี่ยวข้อง