เสวนาผสานความร่วมมือ Digital Rights นักสิทธิดิจิทัลเห็นพ้องเรื่องนี้สำคัญ


24 พฤษภาคม 2566 วันที่ 3 ของงานประชุมนานาชาติสิทธิดิจิทัลเอเชีย-แปซิฟิก (DRAPAC23) ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม Uniserv CMU และหอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดขึ้นเพื่อหารือผสานความร่วมมือ แลกเปลี่ยนประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ออนไลน์ โดยเสวนาในวันนี้คือเรื่องของ Building Collaborations on Digital Rights หรือการสร้างความร่วมมือด้านสิทธิด้านดิจิทัล


Phet Sayo

เนื้อหาหลักคือการมุ่งสู่การสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องสิทธิด้านดิจิทัล และการสร้างความร่วมมือในระดับภูมิภาค ผู้ดำเนินเสวนาในวันนี้คือ Phet Sayo, Executive Director, Engage Media และผู้ร่วมเสวนา 3 คน โดยคำถามหลักของเสวนานี้คือ ตัวอย่างเครื่องมืออะไรที่สามารถสร้างขึ้นได้จริงในเรื่องสิทธิด้านดิจิทัล


Lisa Garcia

Lisa Garcia, Executive Director, Foundation for Media Alternatives กล่าวว่า ความร่วมมือในเรื่องสิทธิด้านดิจิทัล เป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องตั้งคำถามว่าจะทำยังไงได้บ้าง ในปัจจุบันมีองค์กรมากมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิด้านดิจิทัล อย่างเช่นงานของเรา เราจัดค่ายเยาวชน สร้างความเข้าใจทางดิจิทัล และมีหลายหน่วยงานที่ผลักดันเชิงนโยบาย เราสนับสนุนสิทธิความเท่าเทียมทางเพศ มีความร่วมมือจากหลากหลายอาชีพในเรื่องสิทธิด้านดิจิทัล แต่เรื่องสำคัญในการร่วมมือกันคือการสื่อสาร เราต้องมั่นใจว่าช่องทางสื่อสารจะไม่ขาดหายไป มีความเชื่อใจระหว่างกลุ่มให้มากที่สุด หลังจากที่เราได้ทำงานในอาเซียน แต่ละพื้นที่ชุมชนจะมีปัญหาสิทธิดิจิทัลต่างกัน

“เราต้องมีการวางแผนปัญหาเพื่อจะมองเห็นภาพรวมของปัญหา ที่สำคัญคือต้องไว้วางใจในการทำงานร่วมกับองค์กรอื่น ๆ ขยายความร่วมมือไปยังบริษัทต่าง ๆ ใส่ใจความสามารถขององค์กรและเพิ่มบุคลากรที่ดี ทั้งการสร้างองค์ความรู้ให้กับองค์กรและการมีส่วนร่วมกับชุมชน เพราะการสร้างความร่วมมือคือการทำงานกับทุกภาคส่วนโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”


Endy Bayuni

ด้าน Endy Bayuni, Member, Oversight Board อธิบายต่อว่า หลายปัญหาที่เรารู้กัน อย่างกรณีของ Facebook ที่มีการลงเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม และเราก็ได้มีการจัดการไปหลายครั้ง ทีมเรามีเบื้องหลังหลายฝ่าย เช่น นักกฎหมาย สื่อมวลชน ฯลฯ ซึ่งตอนนี้เราเลือก 40 เคส เพื่อวิเคราะห์และต้องเป็นเคสที่มีความสำคัญ  และใน 36 เคสมีการตัดสินใจแล้วว่าต้องทำยังไง เช่น เคสหนึ่งที่มีการโพสต์ข้อความเป็นคลิป 5-10 นาทีที่พูดเจาะจงฝ่ายตรงข้าม หรือปัญหาในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับโควิด-19 ซึ่งทาง Meta อยากจะหยุดการใช้ข้อมูลเกี่ยวกับโควิด-19 ที่ผิดพลาด

ฉะนั้นจึงต้องปรับปรุงในการดูแล content ถึงแม้ข้อมูลปลอมเหล่านี้อาจจะดูไม่น่าเชื่อถือ แต่ยังมีคนหลายกลุ่มที่เชื่อและนำไปปฏิบัติ Meta ก็ต้องการบังคับใช้นโยยาย และประกาศผ่าน WHO ซึ่งบางประเทศก็ยังไม่สามารถนำไปใช้ได้จริง เช่นประเทศที่ไม่มีการแจกจ่ายวัคซีนได้ครบถ้วน และปัญหาของ Oversight Board ตอนนี้คือการเข้าถึงผู้คน คนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจการทำงานของเรา เราจึงมีการจัดกิจกรรมพูดคุย ชวน CEO จากฝ่ายต่าง ๆ มาพูดคุยเรื่องการมอนิเตอร์ข้อมูล เพื่อสร้างความเข้าใจมากขึ้น เพราะฉะนั้นการร่วมมือกัน คือการตัดสินใจอย่างหนึ่งในการออกนโยบาย เราตัดสินใจว่าการมอนิเตอร์ content ต่าง ๆ จะต้องมีการตรวจสอบร่วมกัน และผมยินดีมากที่จะได้แลกเปลี่ยนข้อมูลกับทุกท่านในวันนี้เพื่อนำไปพัฒนานโยบายต่อไป


Darika Bamrungchok

และ Darika Bamrungchok, Security Matters and Thai Netizen Network กล่าวปิดท้ายถึงความสำคัญในการพูดถึงความร่วมมือ ในฐานะที่เป็นคนส่วนใหญ่ที่ใช้อินเทอร์เน็ตก่อนเผชิญกับโรคระบาด ทำให้เห็นความสำคัญในการมี Digital Rights เพราะยังไม่มีสิทธิด้านดิจิทัลในประเทศไทย โดยมี 3 Keywords เกี่ยวกับ Digital Rights ที่เราต้องเข้าใจว่าจะนิยามยังไง นั่นคือ Digital Rights, Collaboration และ SEA (Southeast Asia) ถ้าหากนิยามได้ขั้นต่อไปก็จะต้องนำไปใช้ในพื้นที่ชุมชนได้จริง แต่ปัญหา Digital Rights ใน Southeast Asia มีความหลากหลายและแตกต่างกันมาก ขอยกตัวอย่างประเทศไทยใน 9 ปีที่ผ่านมาที่มีการเปลี่ยนแปลงมากมาย ซึ่งอยากพูดถึง 5 Keywords สำคัญที่มีผลต่อประะเทศไทย คือ 1) Monarchy ราชาธิปไตย 2) Military ทหาร 3) Monopoly การผูกขาด 4) Movement Mobilization การระดมการเคลื่อนไหว, การลงมือทำ และ 5) Media Platform ฐานช่องทางสื่อ เพราะประเทศไทยมีการพูดถึงเรื่องนี้ในหลายพื้นที่ ซึ่ง Social Media มีผลอย่างมากต่อการรับข้อมูลในช่วงที่ผ่านมา ทั้งความนิยมใน Twitter หรือ TikTok ที่เพิ่มมากขึ้น และมุมมองต่อเรื่อง Digital Rights ในประเทศไทยยังไม่สำคัญมากนัก คำถามคือเราจะปรับตัวและรับมือความเปลี่ยนแปลงนี้ยังไงให้ทัน เช่น การที่ปีนี้คนไทยตื่นตัวในการอยากเห็นผลเลือกตั้ง เราจะสามารถสนับสนุนการเคลื่อนไหวได้ยังไง และจะทำยังไงให้แน่ใจว่าแพลตฟอร์มต่าง ๆ จะคุ้มครองสิทธิด้านดิจิทัลของทุกคน อย่างสุดท้ายคือเราจะสื่อสารความหมายของ Digital Rights ให้คนเข้าใจได้ยังไง เราอยากเห็นชุมชนหรือเยาวชนมาเข้าร่วมกิจกรรม และคีย์สำคัญคือการสร้างบรรยากาศยังไงให้คนรุ่นใหม่อยากเข้ามาร่วมมือตรงนี้ ประเทศไทยต้องมีการ engage with community ในภูมิภาค เราต้องกำหนดยุทธศาสตร์ในการร่วมมือระหว่างประเทศและวางยุทธศาสตร์ในระดับภูมิภาค เพื่อดูว่าแต่ละประเทศมีปัญหาอะไร และร่วมกันวางแผนหาทางแก้ในเรื่อง Digital Rights ให้ดีขึ้น

“เราต้องผลักดันให้ประเทศไทยหันมาวางแผนยุทธศาสตร์ระดับภูมิภาคในเรื่อง Digital Rights เพื่อแสดงออกถึงความต้องการของเรา และให้ทั้งโลกหันมาสนใจประเทศไทย” Darika Bamrungchok ทิ้งท้าย



หากสนใจเข้าร่วมกิจกรรมเสวนานี้เพื่อขับเคลื่อนการเคลื่อนไหวด้านสิทธิดิจิทัล สามารถดูกำหนดการในภาษาไทยได้โดยการสร้างบัญชีบนเว็บไซต์ของงาน DRAPAC23 ที่  https://drapac.engagemedia.org/. ถึงวันที่ 26 พฤษภาคม 2566 ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

พื้นที่สื่อสาร สังคมประชาธิปไตย ชีวิตใหม่ที่ดีกว่า

ทีมข่าวที่ประกอบไปด้วยผู้คนหลากหลาย บ้างก็มาจากทะเล บ้างก็มาจากภูเขา แต่สุดท้ายก็ลงเอยที่ภาคเหนืออยู่ที่ Lanner นี่แหละ...

ข่าวที่เกี่ยวข้อง