Till we breathe again จนกว่าเราจะมีลมหายใจ ( บริสุทธิ์ ) กันอีกครั้ง

เรื่องและภาพ: ฑิมพิกา เวชปัญญา

ความเป็นธรรมทางลมหายใจ – Breathing Justice ” 

ความเป็นธรรมทางลมหายใจ

ไม่มีใครสามารถคาดการ์ณล่วงหน้าถึงภัยพิบัติได้ท่วงทันเวลา
ไม่มีใครเลือกเกิดในพื้นที่เสี่ยงต่อผลกระทบ
ไม่ใช่ทุกคนอยากถูกตีตราว่าผู้อพยพ
และไม่ใช่ทุกคนมีอำนาจในการต่อรองกับสิ่งเหล่านี้ได้

ด้วยเหตุอันใดเล่า

Breathing Justice

No one knows when natural disasters come.
No one chooses to be born in a vulnerable area to take all risks
No one needs a label as an immigrant.
Not everyone has the power to negotiate these things.

Someone

คำจำกัดความ(จริง)

ในทศวรรษของการโหยหาความเป็นธรรมและการอยู่รอดของปากท้อง ท่ามกลางระเบิดเวลาของวิกฤตโลกรวน ช่วงเวลานี้ถือเป็นหนึ่งในจุดสำคัญของประวัติศาสตร์ ที่ประชาชนโลกจะเป็นผู้กำหนดทิศทางของอนาคต อย่างที่ทราบกันดีถึงปรากฎการณ์ ภาวะโลกร้อน หรือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change หรือ Climate Crisis และยังมีคำอีกมากมายที่ใช้อธิบายปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ ไม่ว่าคำที่คุ้นเคยจะเป็นคำไหน แต่คำเหล่านี้ก็ไม่สามารถอธิบายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นและความรู้สึกผู้ได้รับผลกระทบทั้งหมดได้ 

ด้วยเหตุใดกันเล่า

การขบคิดเกี่ยวกับความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อมเกี่ยวเนื่องมาจาก ความเปราะบางหรืออำนาจในการต่อรอง ของแต่ละประเทศนั้นไม่เท่ากัน เมื่อลองมองจากสถิติความเปราะบาง จะเห็นถึงเค้าโครงของความไม่เป็นธรรมปรากฏ

Charts by “These 6 charts explain the concept of climate justice”. Fast Company, 11.06.21

ซึ่งประเทศไทยมีค่าการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็น 4.8 ตัน / คน และมีดัชนีความเสี่ยงเป็น 1.28

เมื่อเรามานั่งพิจารณาเรื่องนี้ให้ใกล้มากขึ้น วิกฤตทางสิ่งแวดล้อม ( Climate Crisis ) เหล่านี้ ไม่สามารถมองเพียงมิติเดียวแต่ต้องรวม มนุษย์, สัตว์  และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เข้าไปในสมการ เพราะเมื่อเรามองผ่านเลนส์ความยุติธรรม ( Justice ) สิทธิมนุษยชน ( Human rights ) และ ความเป็นธรรมทางสิ่งแวดล้อม ( Climate Justice ) จักเป็นเรื่องเดียวกัน

ภาวนาให้เป็นเรื่องสมมติ

องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน The International Organization for Migration (IOM) ได้คาดการณ์ว่า จำนวนผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาโลกร้อนจะแผ่ขยายอย่างรวดเร็ว จนทำให้ผู้อพยพจากปัญหาทางสภาพอากาศมีมากขึ้นจาก 44 ล้าน ไปจนถึง 216 ล้านคน ในปี 2050 เท่ากับว่าในเวลา 27 ปีนับจากวันนี้ 172 ล้านคน! 172 ล้านคน! 172 ล้านคน! จะต้องตกอยู่ในสภาวะไร้บ้าน ไร้ถิ่นฐาน ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ เข้าไม่ถึงน้ำสะอาด วัฒนธรรมอาจหล่นหายระหว่างทาง เมื่อเราหยุดพินิจพิจารณาและใช้เวลาไตร่ตรองสักหน่อยกับคำถามที่ว่า  “172 ล้านคนที่กล่าวถึงนั้นสมควรได้รับสิ่งนี้เช่นนั้นหรือ” หรือมากไปกว่านั้น เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าเราจะไม่กลายเป็นหนึ่งในผู้อบยพทางสภาพอากาศวันใดวันหนึ่ง ถ้าหากเป็นเช่นนั้นแล้ว อาจจะทำให้เราตอบคำถามข้างต้นได้ชัดเจนมากขึ้นก็เป็นไปได้

Breathing Justice I เหตุใดจึงมาเอาลมหายใจของฉันไป

ในที่สุดวันที่ทุกคนรอคอยก็มาถึง เมื่อ “ความเท่าเทียม”  มาในรูปแบบของ “ปัญหาที่เท่าเทียม” อากาศที่เป็นทรัพยากรที่ทุกคนเข้าถึงได้ แปลงสภาพทางภาษาเป็น มลพิษ ไม่มีใครเลี่ยงไม่หายใจได้แต่เลี่ยงรับมลพิษทางอากาศได้ อาจจะเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อยกระดับทางด้านเศรษฐกิจของประเทศแบบก้าวกระโดดของ หน้ากากอนามัย หรือ เครื่องฟอกอากาศก็เป็นได้ 

ดูไปดูมาก็เหมือนว่า ปัญหาทางมลพิษก็พอจะมีทางออก(ทางหนีตาย) ได้อยู่บ้าง ต้นทุนของบางคนอาจสามารถเข้าถึงราคาของเครื่องมือป้องกันมลพิษต่างๆได้ ทว่าแต่การใช้เครื่องฟอกอากาศเพื่อเกิดประสิทธิภาพก็จำเป็นต้องสัมพันธ์กับพื้นที่ด้วยเช่นกัน เท่ากับว่า การมีอำนาจในการต่อรองกับมลพิษไม่ได้มีเพียงอำนาจในการจับจ่ายใช้สอยเครื่องใช้ไฟฟ้า แต่ขึ้นอยู่กับสถาปัตยกรรมที่พึ่งพิง จะเป็นใจมากน้อยเพียงใด

กล่าวได้ว่า ถึงแม้ทุกคนจะเผชิญกับปัญหาเดียวกัน แต่อำนาจใจการต่อรองของปัญหาก็ยังมีช่องว่างมหาศาลอยู่ดี


Photography Documentary

“ความเป็นธรรมทางลมหายใจ – Breathing Justice ” 

สถาปัตยกรรม และ ลมหายใจ

Breathe I ลมหายใจ

“ช่วงฝุ่นก็ต้องขนของย้ายลงมานอนข้างล่างแทน ถ้าจะย้ายก็ไม่รู้จะย้ายไปไหนอยู่ดี” 

ผู้อาศัยอยู่ในสถาปัตยกรรมที่ครอบครัวช่วยกันสร้าง ครึ่งบนเป็นไม้ครึ่งล่างเป็นปูน 

“ตอนมันมาก็สูดเข้าไปนั่นแหล่ะ เราก็ทำอะไรไม่ได้” 

ผู้อาศัยอยู่ในบ้านไม้ที่ครอบครัวและเพื่อนบ้านช่วยกันสร้าง

สารคดีภาพถ่ายที่พาไปสำรวจผู้คนและที่พักพิงอาศัย

ส่วนบุคคลปริศนาที่ปรากฏก็ตามแต่ว่าทุกท่านจะตีความ

ไม่เกินจริงที่เราอยู่ท่ามกลางจุดเปลี่ยนของโลก คุณก็ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของประชาชนโลก มีอำนาจใจการเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกันไม่ต่างกับผู้มีอำนาจ ความโชคดีและอำนาจในการต่อรองของเราไม่ได้ดำรงอยู่เสมอไป อย่างไรก็ตามระเบิดเวลากำลังนับถอยหลัง 

โปรดรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง จนกว่าเราจะพบกันใหม่ จนกว่าเราจะมีอากาศบริสุทธิกันอีกครั้ง

Till we breathe again

Reference

  • ใครเป็นผู้ทำให้เกิดโลกร้อน? แล้วใครควรจะรับผิดชอบ? I Kurzgesagt – In a Nutshell https://www.youtube.com/watch?v=ipVxxxqwBQw
พื้นที่สื่อสาร สังคมประชาธิปไตย ชีวิตใหม่ที่ดีกว่า

ทีมข่าวที่ประกอบไปด้วยผู้คนหลากหลาย บ้างก็มาจากทะเล บ้างก็มาจากภูเขา แต่สุดท้ายก็ลงเอยที่ภาคเหนืออยู่ที่ Lanner นี่แหละ...

ข่าวที่เกี่ยวข้อง