วันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปีคือวันแรงงานแห่งชาติ หรือวันกรรมกรสากล (International Workers’ Day) คือวันที่จะให้ทุกคนได้ระลึกถึงหยาดเหยื่อของผู้ใช้แรงงาน นอกจากการระลึกถึงและให้ความสำคัญของผู้ใช้แรงงานแล้ว เรายังต้องทบทวนสวัสดิการ ค่าตอบแทน ให้กับผู้ใช้แรงงานในทุกสาขาวิชาชีพ และมีมาตรฐานเพื่อให้คนทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มากกว่าแค่การลืมตาอ้าปากได้
1 พฤษภาคม 2567 เครือข่ายแรงงานภาคเหนือ จัดกิจกรรมเดินขบวนและเวทีดนตรี ศิลปะ พื้นที่แสดงข้อเรียกร้องของคนใช้แรงงาน “ความรวยของเขา มาจากความจนของเรา” โดย ศุภลักษณ์ บำรุงกิจ, วงเสวนา “แรงงานทั้งผอง เป็นพี่น้องกัน” โดยตัวแทนจาก มูลนิธิประกายแสง, สหพันธ์คนงานข้ามชาติ, คนทำงาน Sex Worker, คนทำงานภาคประชาสังคม, สหภาพแพทย์ผู้ปฏิบัติงาน, คุยให้ฟัง “การรณรงค์ประเด็นแรงงานในระดับสากล” โดย ภาสกร ญี่นาง อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมีตัวแทนจากพรรคการเมืองได้เข้ามาฟังข้อเสนอแนะในเวทีครั้งนี้
17.30 น. ขบวนได้เริ่มจากลานอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ ผ่านหน้าโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จนถึงตลาดสมเพชร จากนั้นกลับขบวนบริเวณคูเมืองเพื่อเดินต่อจนถึงบริเวณลานประตูท่าแพ ซึ่งขบวนประกอบไปด้วย Migrant Worker Federation, กลุ่มแรงงานหญิงเพื่อยุติธรรม, สหภาพแรงงานบาริสต้า, มูลนิธิประกายแสง, สหพันธ์คนงานข้ามชาติ, คนทำงาน Sex Worker, คนทำงานภาคประชาสังคม, สหภาพแพทย์ผู้ปฏิบัติงาน และศิลปินและคนทำงานศิลปะสร้างสรรค์ ภายในขบวนมีการตะโกน บอกกล่าว เรียกร้อง ถึงความสำคัญของการเป็นผู้ใช้แรงงาน อาทิ “ความรวยของเขา มาจากความจนของเรา” “รัฐบาลจะเก็บภาษีก้าวหน้ากี่โมง” “มหาวิทยาลัยต้องเป็นสวัสดิการ” “ค่าแรง 600 บาททั่วประเทศกี่โมง”
บนเวทีมีการแสดงจากตัวแทนเครือข่ายผู้ใช้แรงงานออกมาพูดถึงปัญหาและข้อเสนอแนะ สำหรับการแสดงนั้นมีทั้ง การแสดงชุดนกกิ่งกระรา, การกล่าวบทกวี “ความรวยของเขา มาจากความจนของเรา”, การแสดงคาบาเร่โชว์ เป็นต้น
“ความรวยของเขา มาจากความจนของเรา” โดย ศุภลักษณ์ บำรุงกิจ เกริ่นถึงปีที่แล้ว เศรษฐกิจเชียงใหม่ มีเงินสะพัดจากการท่องเที่ยว 1 แสนล้านบาท แต่ค่าแรงขึ้นมาแค่ 10 บาท นี่แค่ภาคท่องเที่ยวอย่างเดียว ยังไม่รวมภาคการผลิตอื่น ไม่รวมภาคอุตสาหกรรม ดังนั้น ทุกวันนี้ค่าแรงเราหายไปไหน ที่ค่าแรงมันต่ำอยุ่ทุกวันนี้ เพราะนายทุน ฮุบไว้คนเดียวต่างหาก
“ไหนใครบอกว่าถ้าเศรษฐกิจโต ทุกคนจะได้ประโยชน์? ไหนใครบอกว่าถ้าคนรวยโตก่อน ความมั่งคั่งจะไหลรินจากคนรวยลงมาสู่แรงงาน จริงไม่จริงครับ จริงไม่จริงครับ”
“ไหนใครบอกว่าค่าแรงปรับตัวตามกลไกตลาด จำนวนแรงงานมีเยอะ แต่ตำแหน่งงานมีน้อย ถ้าไปดูตามข่าวนะ ภาคท่องเที่ยวเชียงใหม่ขาดแคลนแรงงาน มาตั้งแต่ช่วงโควิด โรงแรมใหญ่ๆมี 200 ห้อง ก็เปิดได้แค่ 100 ห้อง แต่ทำไมทุกคนยังได้ค่าแรงเท่าขั้นต่ำอยู่?”
“ไหนใครบอกว่าพวกเราไม่มีทักษะ เราไม่มีผลิตภาพ ทุกวันนี้ยามใช้กล้องวงจรปิดดูรอบๆตึก ทุกวันนี้ไรเดอร์ใช้ GPS ส่งอาหาร ทุกวันนี้บาริสต้าเปิดสูตรชงกาแฟออนไลน์ เราไม่มีผลิตภาพใช่ไม่ใช่?”
“ถ้าเขาบอกว่า พวกเราไม่มีทักษะ เลยได้ค่าแรงน้อย ผมถามจริง เด็กมช. จบใหม่ ได้เงินเดือนถึงหมื่นไหม เด็กมช.จบใหม่ มีทักษะไหม” ศุภลักษณ์ กล่าว
มีการยื่นข้อเรียกร้อง 29 ข้อ เนื่องในวันกรรมกรสากล พ.ศ.2567 ต่อนักการเมืองและสถานทูตสหรัฐอเมริกา และสุดท้ายมีการอ่านคำประกาศโดยตัวแทนสหภาพแรงงาน เนื้อหาดังนี้
“วันนี้เป็นแรงงานสากล เป็นวันที่แรงงานทั่วโลกให้ความสำคัญ ยกย่องให้เห็นถึงความสำคัญของทุกสาขาอาชีพ เป็นสิทธิอันชอบธรรมของคนทำงานที่ควรได้รับในฐานะมนุษย์ มีศักดิ์ศรีทัดเทียมกันทุกคน ข้อเรียกร้องในปีนี้คือ ประชาชนควรมีสิทธิในกรรวมกลุ่มกันได้โดยที่ไม่ถูกเลือกปฏิบัติในเชื่อชาติ ศาสนา ชาติพันธุ์ต่าง ๆ และรัฐาบาลต้องรับอนุสัญญา ilo ฉบับที่ 87 และ 97 เพื่อรับรองสิทธิในการรวมตัวกันของประชาชนทุกคน อีกทั้ง ต้องไม่มีการเลือปฏิบัติระหว่างเพศ ไม่ว่าจะเป็น LGBTQ+ ชาย/หญิง ค่าจ้างต้องได้รับเท่าเทียมกัน มากไปกว่านั้น เราพบว่าค่าจ้างในปัจจุบัน ยังไม่เพียงพอสำหรับเลี้ยงชีพที่เป็น Living Wage ในปัจจุบัน เครือข่ายแรงงานภาคเหนือมีข้อเรียกร้องให้ปรับค่าแรงขั้นต่ำขึ้นเป็น 700 บทต่อวัน เพื่อให้เพียงพอสำหรับการเลี้ยงดูคนในครอบครัวทั้งหมด”
สำหรับวงเสวนา “แรงงานทั้งผอง เป็นพี่น้องกัน” ประกอบไปด้วย กลุ่มแรงงานหญิงเพื่อยุติธรรม, สหภาพแรงงานบาริสต้า, มูลนิธิประกายแสง, สหพันธ์คนงานข้ามชาติ, คนทำงาน Sex Worker, คนทำงานภาคประชาสังคม, สหภาพแพทย์ผู้ปฏิบัติงาน ต่างแสดงความคิดเห็นเสนอข้อเรียกร้องให้ได้รับทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการถูกใช้แรงงานโดยไม่มีขอบเขตและถูกกดค่าแรง ถุกขูดรีด ซึ่งทุกอย่างล้วนเกิดขึ้นจากการที่รัฐไม่มีสวัสดิการมาตรฐานให้กับคนใช้แรงงาน
“เชียงใหม่เป็นเมืองที่ผลิตบุคลากรระดับประเทศ เรามีคนเก่ง ๆ ที่พร้อมจะทำงาน ไม่ว่าจะจบมหาลัยดัง ๆ ในเชียงใหม่ แต่เชียงใหม่ไม่สามารถรักษาบุคลากรที่มีคุณภาพเหล่านั้นไว้ในจังหวัดของตัวเองได้ เนื่องจากคนที่เรียนจบในพื้นที่ได้รับเงินเดือนที่น้อยมาก จึงเกิดปัญหาที่ว่าเราต้องไปอยู่จังหวัดอื่น เช่น กรุงเทพ แต่ทุกคนก็ไม่ได้คิดอย่างนั้น เรามีเพื่อน มีครอบครัวของเราอยู่ที่นี่ ทำไมเราจะต้องจากบ้าน จากครอบครัว เพื่อไปต่างจังหวัด ทั้งที่ต้องเสียค่าที่พักค่าเดินทางที่มากกว่า อีกทั้งค่าครองชีพก็ไม่ได้ต่างกันเท่าไหร่ แต่สิ่งที่น่าหดหู่คือถ้าอยู่เชียงใหม่ก็อยู่ไม่ได้” ตัวแทนจาก สหภาพแรงงานบาริสต้า
“เราเป็นผู้หญิง เราก็เป็นแม่ ตอนเป็นประจำเดือนปอดท้อง เจ็บทรมานมาก กลุ่มเราก็คุยกับองค์กรเครือข่ายอื่น ๆ ว่าควรมีวันหยุดสำหรับการเป็นประจำเดือน 3-5 วัน โดยได้รับค่าจ้างด้วย ทีนี้เรื่องอนามัยฟรี เราเป็นกลุ่มผู้หญิง เราเป็นแม่ ค่าใช้จ่ายของเรามันเยอะแยะมากมาย ค่าแรงของเราก็ไม่เท่าผู้ชายเลย หนึ่งวันเราก็ใช้หลายอัน เราเลยอยากได้ผ้าอนามัยฟรี” ตัวแทน กลุ่มแรงงานหญิงเพื่อยุติธรรม
ด้าน ภาสกร ญี่นาง อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คุยให้ฟังในหัวข้อ “การรณรงค์ประเด็นแรงงานในระดับสากล” โดยกล่าวว่า
“ทุกคนอาจจะเบื่อหน่ายกับกฎหมายที่เกี่ยวกับเงินทดแทนที่จะจ่ายก็ต่อเมื่อเราประสบเคราะห์กรรมตอนทำงาน ทุกคนอาจจะเบื่อกฎหมายประกันสังคมที่ต้องจ่ายสมทบทุกปี ทุกเดือน ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่าจะได้ผลประโยชน์จากกองทุนดังเกล่านั้นได้ ผมจะขอนำเสนอ ประกันรายได้ถ้วนหน้า คือจะเป็นรายได้ให้พวกเราทุกคนที่ทำงาน ที่รัฐจะต้องสนับสนุนจ่ายให้เราทุกเดือน ในอัตราที่เพียงพอต่อการดำรงชีพ เพื่อคุ้มครองศักดิ์ศรีของพวกเราทุกคนในฐานะที่เป็นแรงงาน UBI หรือหลักประกันรายได้ถ้วนหน้า จะเข้ามาทดแทน ส่งเริม และอุดช่องว่างทางกฎหมายที่กฎหมายแรงงานไปไม่ถึง ทุกวันนี้กฎหมายแรงงานไม่เคยเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เทคโนโลยีถูกสร้างมาให้ทันสมัยและสร้างความสะดวกสบายให้นายจ้าง เพื่อหลบซ้อนตัวเองหรือซ้อนเร่นการเอารัดเอาเปรียบของตัวเองที่อยู่เบื้องหลังขงสิ่งที่เรียกว่าแพลตฟอร์ม วันนี้เราทุกคนมารวมตัวกันเพื่อที่จะประกาศว่าเราทุกคนคือแรงงาน แรงงานคือผู้ที่สร้างโลกและสร้างความเป็นตัวตนของมนุษย์ทุกคนตรงนี้” ภาสกร กล่าว
ในช่วงสุดท้ายเป็นการร่วมกันกล่าวแถลงการณ์ เนื่องในวันกรรมกรสากล 2024 และร่วมร้องเพลง “โซดาลิตี้” ก่อนที่จะปิดกิจกรรมในท้ายที่สุด
ทีมข่าวที่ประกอบไปด้วยผู้คนหลากหลาย บ้างก็มาจากทะเล บ้างก็มาจากภูเขา แต่สุดท้ายก็ลงเอยที่ภาคเหนืออยู่ที่ Lanner นี่แหละ...