26/06/2022
เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2565 กลุ่ม SAAP 24:7 และ Book Re:public ได้จัดวงเสวนาแลกเปลี่ยนในหัวข้อ “รนหา (พื้น) ที่” ตั้งแต่เวลา 16.00 – 18.30 น. ณ ร้าน Book Re:public
วงเสวนาแลกเปลี่ยนในหัวข้อ “รนหา (พื้น) ที่” โดยนักศึกษา 4 ท่าน จาก 3 มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ร่วมแลกเปลี่ยนบริบท การต่อสู้ของการเข้าถึง”พื้นที่”ดำเนินรายการโดย นิธิกร ศรีลารักษ์
ผู้เข้าร่วมเสวนาจาก 3 มหาวิทยาลัย
แฟรงก์ เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล (นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
พรีเมียร์ นาวินธิติ จารุประทัย (นักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สมาชิกกลุ่ม SAAP 24:7)
ขวัญ ขนิษฐา สุวรรณสังข์ (นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา)
อิง มณฑิรา คำสอน (นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา)
เปิดงานโดยพิธีกรให้ผู้ร่วมเสวนาทั้ง 4 ท่าน แลกเปลี่ยนและเล่าถึงบริบทของพื้นที่ในมหาลัยของตนเอง ซึ่งแต่ละพื้นที่มีบริบท ความต้องการของนักศึกษา ความทับซ้อนของอำนาจ กระบวนการเข้าถึงพื้นที่สาธารณะของแต่ละกลุ่มนั้นมีวิธีอย่างไรมีความยุ่งยาก ซับซ้อน ต่างกันอย่างไร และพื้นที่สาธารณะที่มันไม่ได้เอื้ออำนวย ทั้งในเชิงการใช้งานและการแสดงออกทางเสรีภาพของนักศึกษา
เนติวิทย์ กล่าวว่า “เมื่อก่อนผมมองเรื่องพื้นที่ ในเชิงนามประธรรมมากๆ คือมองว่าเป็นพื้นที่ปลอดภัย เป็นพื้นที่ที่ผู้ปกครองสร้างเด็กอยู่แล้วรู้สึกปลอดภัย ก็เริ่มเรียนรู้มาเรื่อยๆ จนคำว่าพื้นที่นั้นเริ่มเปลี่ยนเป็นทางกายภาพมากขึ้น เพื่อจะสามารถต่อรองได้”
นาวินธิติ กล่าวว่า “พื้นที่สาธารณะมันคือคนในสังคมยอมรับร่วมกันว่าเนี่ยเป็นพื้นที่ทุกคนสามารถเข้ามาใช้ร่วมกันได้ เป็นจุดที่มาบรรจบกันระหว่างพื้นที่ส่วนบุคคลของแต่ละคนกับของคนอื่นๆที่มาใช้เวลาร่วมกันในลักษณะความสัมพันธ์ที่แตกต่างกันออกไป”
ขนิษฐา กล่าวว่า “ถ้าพูดถึงบริบทของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนารู้สึกว่าเวลาทำการของพื้นที่ส่วนกลางที่มันปิดตามเวลาราชการ มันก็เท่ากับการปิดกั้นไม่ให้นักศึกษาได้มาเจอกันหลังจากเรียน เวลามี movement ส่วนใหญ่มันจะกระจุกอยู่แค่ มช ทำให้เกิดการกระจุกตัวของกิจกรรม ทำให้คนในมหาลัย มทร ไม่ได้มาเจอกันนักศึกษาต่างคณะ และไม่มีส่วนกลางให้มาพูดคุยกันว่าพอทุกอย่างมันปิดทุกคนก็ต้องแยกย้ายกลับไปใช้ชีวิตของตัวเองข้างนอก”
มณฑิรา กล่าวว่า “หลักๆที่มีปัญหาอย่างเช่นว่าเปิดปิดไวเกินไป มันจะวนไปเรื่องแบบปัญหาที่ระยะเวลาการเปิดปิดของมันก็จะเป็นเรื่องเวลาเหมือนเดิม ละก็เรื่องประชาสัมพันธ์ที่ไม่ทั่วถึง ทำให้นักศึกษาไม่มาใช้งานพื้นที่ส่วนกลางที่มีอยู่”
ต่อมาให้ผู้เข้าร่วมเสวนาแต่ละคนแลกเปลี่ยนเรื่องการต่อสู้ในการที่จะได้มาของพื้นที่ ที่เป็นของนักศึกษาและจัดการโดยนักศึกษา ว่าแต่ละบริบทของแต่ละพื้นที่นั้นแตกต่างกันอย่างไร ปัจจัยภายนอกและภายในส่งผลอย่างไรกับพื้นที่ การเข้าถึงสภานักศึกษาหรือสโมนักศึกษา เพื่อตั้งกลุ่มในการต่อรองอำนาจกับผู้บริหารของมหาวิทยาลัย
ต่อมาผู้เข้าร่วมงานและผู้รับชมไลฟ์สดจากทางบ้าน ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้เข้าร่วมเสวนา
สามารถรับชมไลฟ์สดย้อนหลังได้ที่ : https://fb.watch/dT6UjtePOD/
ภาพ: นันท์ณิชา ศรีวุฒิ
#SAAP247
#พื้นที่เรียนรู้24ชั่วโมง
#สนับสนุนวัยรุ่ยวันค่ำคืนฮุ่ง
#lanner
ทีมข่าวที่ประกอบไปด้วยผู้คนหลากหลาย บ้างก็มาจากทะเล บ้างก็มาจากภูเขา แต่สุดท้ายก็ลงเอยที่ภาคเหนืออยู่ที่ Lanner นี่แหละ...