ก่อนจะมีพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ ในป่าเคยมีคนอยู่ในตำบลกระวาน

ก่อนจะมีพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ ในป่าเคยมีคนอยู่ในตำบลกระวาน

แนวคิดการอนุรักษ์ผืนป่าได้ขยายไปทั่วประเทศแบบที่ต้องเลือกว่ามีประโยชน์อุดมสมบูรณ์เหมาะสำหรับสงวนรักษา และสร้างความรื่นรมย์ไว้ให้คนมีเวลาว่างได้พักผ่อน ไม่เป็นที่ดินของในการดูแลขององค์กรของรัฐด้วยกัน ทำให้เกิดการคุ้มครองป่าแบบต่าง ๆ และ พ.ร.บ. ดังกล่าวมีคุณในการคุ้มครองให้พืชพรรณสัตว์ป่าหายากได้เจริญเติบโตไร้การรบกวนจากคนจำนวนมาก ๆ

หากแต่ในอดีต การเปลี่ยนป่าให้ไร้คนที่เป็นผลมาจากทุนนิยมในช่วงล่าอาณานิคม สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของรัฐสยามท่ามกลางการเจริญเติบโตของระบบเศรษฐกิจที่สามารถส่งออกสินค้าไปยังตลาดต่างประเทศ รวมถึงการขยายตัวของคนจีนในแหล่งค้าขายและแหล่งผลิตอุตสาหกรรมทั้งดีบุก เหล็กและน้ำตาล ทำให้ระบบการค้าภายในแต่เดิมที่เน้นพึ่งตนเองกลายเป็นต้องเร่งผลิตพืชพรรณต่าง ๆ และการรวบรวมสินค้าของป่าที่กระจายตัวอยู่ตามป่าเขาห้วยหุบดงส่งไปยังตลาดจีนและป้อนตลาดโล

พวกข้าราชการจึงเร่งรัดขูดรีด ฝ้าย พริกไทย และกระวานจากกะเหรี่ยงเพื่อส่งไปเป็นส่วย และบางพื้นที่อย่างเมืองตากได้ตั้งกะเหรี่ยงมีบรรดาศักดิ์ทำหน้าที่ในการเก็บทรัพยากรในป่าทั้งพืชต่าง ๆ

สำหรับเมืองอุทัยธานีก็มีตำบลสำหรับเก็บกระวานเหมือนกัน ตำบลกระวานของเมืองอุทัยธานีดูจะตรงกันกับแผนที่ในหอสมุดรัฐสภาสหรัฐอเมริกาที่มีทั้งทางน้ำ ภูเขา ป่ากระวาน และหมู่บ้านกะเหรี่ยงอยู่ใกล้กัน การที่ผู้เขียนแผนที่ระบุบ้านคน (กะเหรี่ยง) และที่อยู่ของทรัพยากรที่เอาไปขายได้เสียอย่างนี้ต้องมีเลศนัย

อ่าน “ก่อน พ.ร.บ.อุทยานฯ จะมา ในป่าเคยมีคนอยู่ตำบลกระวาน” ได้ที่ https://www.lannernews.com/28062567-01/

ทีมข่าวที่ประกอบไปด้วยผู้คนหลากหลาย บ้างก็มาจากทะเล บ้างก็มาจากภูเขา แต่สุดท้ายก็ลงเอยที่ภาคเหนืออยู่ที่ Lanner นี่แหละ...

ข่าวที่เกี่ยวข้อง