02/05/2022
วันที่ 1 พฤษภาคม 2565 เครือข่ายแรงงานภาคเหนือ จัดกิจกรรม Worker Fest “เราทุกคน คือ คนงาน” ณ ข่วงประตูท่าแพ เชียงใหม่ เนื่องในโอกาสวันแรงงานสากล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อชู 11 ข้อเรียกร้องของเครือข่ายแรงงานภาคเหนือ เวทีเสวนา “ค่าแรงต่ำ จ้างงานไม่เป็นธรรม ขึ้นทะเบียนแรงงานข้ามชาติแสนแพง” การกล่าวแถลงการณ์ ตลอดจนซุ้มนิทรรศการ กิจกรรมเดิน Fasion Show การแสดงดนตรีจากเครือข่าย และรับชมคลิปวีดิโอเกี่ยวกับแรงงาน
โดยข้อเรียกร้องทั้ง 11 ข้อ คือ 1. อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 492 บาททั่วประเทศ 2. รับรองอนุสัญญา ILO 87, 98, 189 3. ทุกอาชีพต้องไก้เข้าประกันสังคม 4. ทุกอาชีพ ทุกรูปแบบการทำงานต้องได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายแรงงานทุกฉบับ 5. ใบอนุญาตทำงานของคนงานข้ามชาติต้องมีอายุคราวละ 4 ปี 6. ยกระดับการขึ้นทะเบียนแรงงานข้ามชาติเป็นระบบดิจิทัล 7. ยกเลิก พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี 8. รัฐสวัสดิการถ้วนหน้า 9. ควบคุมราคาสินค้าอุปโภค บริโภค 10. ยกเลิกร่าง พ.ร.บ.ควบคุมการทำงานขององค์กรไม่แสวงหาผลกำไร 11. สิทธิและเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นและการชุมนุม
ในเวทีเสวนา “ค่าแรงต่ำ จ้างงานไม่เป็นธรรม ขึ้นทะเบียบแรงงานข้ามชาติแสนแพง” มีผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเป็นแรงงานในแต่ละภาคส่วน ได้แก่ ไรเดอร์ แรงงานภาคการเกษตร แรงงานก่อสร้าง แรงงานพนักงานบริการ แรงงานแม่บ้าน และแรงงานภาคประชาสังคม (สามารถอ่านเนื้อหาได้ที่ https://www.facebook.com/…/a.1143675412…/114679941224958 )
พร้อมกันทั้งนี้เครือข่ายแรงงานภาคเหนือได้แถลงข้อเรียกร้องเนื่องในวันกรรมกรสากล เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาและส่งเสริมให้เห็นถึงคุณค่าความสำคัญของคนทำงาน 7 ข้อ คือ
1. รัฐบาลต้องควบคุมราคาสินค้าอุปโภคและบริโภคโดยด่วน
2. ขอให้รัฐบาลนำหลักการการคำนวณค่าจ้างที่เป็นธรรมตามมาตรฐานแรงงานสากล
3. ขอให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว และเร่งดำเนินการรับรองอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 98 ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการเจรจาต่อรอง และอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 189 ว่าด้วยงานที่มีคุณค่าสำหรับลูกจ้างทำงานบ้าน เพื่อส่งเสริมสิทธิของคนงานทำงานบ้าน
4. ขอให้รัฐบาลปรับปรุงระบบประกันสังคมโดยเร่งด่วน
5. ขอให้รัฐบาลดำเนินการโดยเร่งด่วนเพื่อแก้ไขนิยามของ “งาน” และ “แรงงาน” ให้ครอบคลุมแรงงานทุกกลุ่ม
6. ขอให้รัฐบาลกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านแรงงานข้ามชาติอย่างเป็นระบบ ในระยาว เป็นแผน 5 ปี หรือ 10 ปี โดยให้คำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน ไม่มีการเลือกปฏิบัติ และเน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน และแก้ไขพระราชกำหนดการทำงานของคนต่างด้าว ปี 2561
7. ขอให้รัฐบาลยกเลิกพ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี และให้แก้ไข พรบ.คุ้มครองแรงงาน 2541 ให้ความคุ้มครองครอบคลุมแรงงานภาคบริการ
ทั้งนี้ยังมีการแสดง Sex work Fashion week การเดินแบบของพนักงานบริการและผู้ที่สนับสนุนสิทธิพนักงานบริการ ครั้งแรกในประเทศไทย โดยชูประเด็นส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของพนักงานบริการ เพื่อให้อาชีพของเรา มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกับทุกอาชีพ และยกเลิกพรบป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี 2539โดยได้เสียงตอบรับที่ดีจากประชาชนที่มาร่วมกิจกรรมเป็นอย่างดี
ภาพ: กนกพร จันทร์พลอย
#WorkerFest
#เราทุกคนคือคนงาน
#เครือข่ายแรงงานภาคเหนือ
#Lanner
ทีมข่าวที่ประกอบไปด้วยผู้คนหลากหลาย บ้างก็มาจากทะเล บ้างก็มาจากภูเขา แต่สุดท้ายก็ลงเอยที่ภาคเหนืออยู่ที่ Lanner นี่แหละ...