09/08/2022
8 สิงหาคม 2565 ภาคีเครือข่ายนักกิจกรรมเมียนมาและไทย จัดงานรำลึกประวัติศาสตร์ปฏิวัติเมียนมาครบรอบ 34 ปี เหตุการณ์ 8888 และแสดงจุดยืนต่อต้านการใช้ความรุนแรงต่อประชาขนของรับบาลเผด็จการ มิน อ่อง ลาย เวลา 17.00 – 19.00 น. ณ ลานอเนกประสงค์ ประตูท่าแพ จังหวัดเชียงใหม่
โดยวันที่ 8 เดือน 8 ปี 1988 ประชาชนชาวเมียนมาที่ออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องประท้วงต่อต้านรัฐประหารของรัฐบาลทหารเนวิน ภายใต้การปกครองของนายพลเนวิน ตั้งแต่ ค.ศ. 1962-1988 ทหารเข้ามาปกครองเมียนมา โดยสภาปฏิวัติยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือน ซึ่งวันที่ 8 สิงหาคม 1988 ได้เกิดเหตุการณ์ลุกฮือ ต่อต้านรัฐบาลทหาร ประชาชนได้ลุกขึ้นมาต่อต้านรัฐบาลเนวิน
กิจกรรมภายในงานมีการร้องเพลงโฟร์ค โดย ชวด สุดสะแนน, การแสดงฟ้อนล้านนา โดย ศิลปินชาวไทย, การกล่าวบทกวี โดย พอต นักกิจกรรมไทยและนักกิจกรรมเมียนมา พร้อมกันนั้นมีการมีการแสดง Performance Art โดย ศิลปินชาวไทย บทกวี ต้องการจะสื่อว่า เราอยู่ภายใต้กำแพงเปรียบกับประเทศที่กักขังเราไว้ เราจะต้องทำลายกำแพงนี้ลงทวงคืนสร้างขึ้นมาใหม่ด้วยมือของเรา ร่วมกันออกไปต่อต้านและสรรสร้างการเปลี่ยนแปลง, กล่าวปราศัยและร้องเพลงจาก khun patrick ระหว่างการปราศัยและร้องเพลง มีการแสดง Performance Art จากศิลปินชาวไทย, รำพม่า, แร๊ปภาษาพม่าและคำเมือง จากศิลปินเยาวชนชาวไทยและเมียนมา, การปราศัยจากนักกิจกรรมเมียนมา คุณสกาย คุณอู และนักกิจกรรมไทย ต้น นักสิทธิด้าน LGBTQ+ กล่าวถึง พี่น้องชาวเมียนมา ต้องเผชิญกับระบบเผด็จการเหมือนกับไทย การถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยได้พูดถึงความหมายของสีแต่ล่ะสีที่มีในธง pride ซึ่งรัฐบาลเผด็จการพม่าได้แย่งชิงความหมายของธงไป
ในช่วงท้ายของกิจกรรมมีการแสดง Performmance Art จากศิลปินชาวไทยและเมียนมา “Don’t be silent” ที่สื่อถึงความนิ่งเฉย ความเงียบของประชาคม ASEAN ต่อเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในเมียนมา และจุดเทียนเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ 8888 พร้อมทั้งการกล่าว Manifesto แสดงจุดยืนต่อต้านการที่รัฐบาลเผด็จการมิน อ่อง ลายกระทำความรุนแรงต่อประชาชนชาวเมียนมา
“Our revolution, our victory”
“တို့တော်လှန်ရေး အောင်ရမည်။”
ภาพ : สิรศลิป์ ปังประเสริฐกุล
#8888revolutioncnx
#whatishappeninginmyanmar
#myanmarstudentrevolution
#ASEAN
#Lanner
ทีมข่าวที่ประกอบไปด้วยผู้คนหลากหลาย บ้างก็มาจากทะเล บ้างก็มาจากภูเขา แต่สุดท้ายก็ลงเอยที่ภาคเหนืออยู่ที่ Lanner นี่แหละ...