เรื่องราววิถีชีวิตกับไร่หมุนเวียน ความเชื่อ วัฒนธรรม ของคนในพื้นที่หมู่บ้านสบลาน ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ผ่านรูปภาพขาวดำ
ต้นสะดือ ต้นไม้แห่งชีวิต
ต้นสะดือ คือ ต้นไม้ที่มีสะดือของเด็กปกาเกอะญอในวัยแรกเกิดผูกเอาไว้
โดยต้นไม้จะถือเป็นตัวแทนของเด็กคนนั้น
ตัดไม้ทำลายชีวิต
ชาวปกาเกอะญอเชื่อว่า การตัดต้นสะดือจะทำให้คนที่ผูกสะดือไว้ต้องเจ็บป่วยหรือมีเคราะห์ร้าย ถือเป็นหนึ่งกุศโลบายในการอนุรักษ์ป่าของชาวปกาเกอะญอ
ใช้ป่าอย่างรู้ค่า
ชาวปกาเกอะญอบ้านสบลาน จำกัดพื้นที่ป่าสำหรับใช้สอย
เป็นการเลือกใช้ทรัพยากรอย่างพอดีและรู้คุณค่า
เคารพบูชา
ชาวปกาเกอะญอบ้านสบลาน ให้ความสำคัญกับป่า ด้วยความเชื่อว่าทุกสรรพสิ่งล้วนมีเจ้าของ
ดังนั้นการกระทำใด ๆ ต่อสรรพสิ่งจึงต้องมีพิธีกรรมประกอบ เพื่อเป็นการขอใช้ต่อเทพแห่งสรรพสิ่ง
หรือชาวปกาเกอะญอเรียกว่า “ต้า ที ต้า ตอ”
ปกปักษ์รักษา
ศาลเจ้าแม่ตะเคียน ศาลประจำหมู่บ้านสบลาน ที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ
ไปลามาไหว้
ชาวบ้านสบลานกราบไหว้บูชาศาลหมู่บ้านทุกครั้งก่อนออกเดินทางหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ แสดงถึงความเคารพที่มีต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำหมู่บ้าน
“ลื่อที” เลี้ยงผีนา
ทุกปีเมื่อถึงฤดูทำนา ชาวบ้านจะนำเครื่องเซ่น อาทิ ไก่ เหล้า มาทำพิธี “ลื่อที”
หรือที่รู้จักกันในนาม “ผีนา” เพื่อให้ช่วยดูแลผลผลิตในปีนั้นและเมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยว
ก็จะไหว้ผีนาอีกครั้งเพื่อเป็นการขอบคุณ
กินอยู่กับป่า
ในการเดินทางไปทำนา ทำไร่ หรือเข้าป่าหาอาหาร เมื่อถึงเวลาแวะกินข้าว ชาวบ้านจะแบ่งข้าวส่วนหนึ่งเพื่อไหว้ผีป่าก่อน
‘หมุนเวียน’ ไม่ใช่ ‘เลื่อนลอย’
ชาวปกาเกอะญอทำการเกษตรในรูปแบบ ‘ไร่หมุนเวียน’ ไม่ใช่ ‘ไร่เลื่อนลอย’ อย่างที่หลายคนเข้าใจ
ไร่หมุนเวียน
การทำไร่หมุนเวียน คือ ระบบการผลิตบนพื้นที่สูง แนวคิดสำคัญคือการใช้ที่ดินระยะสั้นและปล่อยทิ้งไว้ระยะยาว เพื่อปล่อยฟื้นฟูด้วยระบบธรรมชาติ ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้ ไม่มีความจำเป็นต้องใช้น้ำประปา เพราะใช้น้ำจากห่าฝนในฤดูฝน ไม่ใช้สารเคมี เพื่อปุ๋ยมาจากการบริหารเชื้อเพลิงและแร่ธาตุที่สั่งสมมาจนครบ 7 ปี หรือตามเงื่อนไขของการใช้ที่ดินแต่ละชุมชน
พักฟื้นผืนป่า
ไร่เหล่า คือพื้น พักฟื้นเพื่อให้ดินปรับสภาพ ด้วยแนวคิดธรรมชาติฟื้นฟู โดยจะปล่อยพักฟื้น 5-7 ปี เพื่อให้แร่ธาตุในดินสมบูรณ์ แล้วจะกลับมาทำไร่อีกครั้งเมื่อถึงกำหนด ขณะเดียวกันเป็นบ้านและอาหารของสัตว์ป่า
ในน้ำมีปลา
ชาวปกาเกอะญอให้ความสำคัญกับแหล่งน้ำ เพราะเป็นทรัพยากรที่สำคัญในการดำรงชีวิต และการทำเกษตรกรรม
ในนา (ขั้นบันได) มีข้าว
นาข้าว เป็นระบบการเพาะปลูกข้าวอีกรูปแบบ ซึ่งทำในที่ราบสูง หรือที่ราบลุ่มบริเวณของหมู่บ้าน
ในกองคือของดี
กุดจี่ หรือ แมลงขี้ควาย ของดีเลิศรสที่หาไม่ได้ง่าย ๆ ถือเป็นอีกหนึ่งอาหารที่มีมูลค่าของชาวปกาเกอะญอ
ผึ้งป่า ดัชนีชีวัดความสมบูรณ์
ป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ มักจะมีผึ้งอยู่อาศัย เป็นการพึ่งพาระหว่างคนกับผึ้ง คนดูแลบ้านของผึ้ง ผึ้งตอบแทนด้วยน้ำ ซึ่งสร้างเศรษฐกิจให้ชุมชนไปพร้อม ๆ กัน
ผ้าโพก
ผ้าโพกหัวที่ชาวปกาเกอะญอถักทอด้วยฝีมือของตนเอง
คู่หูคู่ใจ
สุนัข สัตว์เลี้ยงคู่ใจ ไปไหนไปกัน คอยดูแลอารักขา ช่วยสร้างสีสันให้ชีวิตชาวปกาเกอะญอ
กะเหรี่ยงกับป่า
วิถีชีวิตของชาวปกาเกอะญอที่ดำรงควบคู่ไปกับการรักษาป่า แสดงให้เห็นถึงการเคารพและตระหนักถึงคุณค่าของผืนป่า
กะเหรี่ยงกับน้ำ
นอกจากการรักษาป่า การดูแลแหล่งน้ำ ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ชาวปกาเกอะญอให้ความสำคัญ
พะตี ตาแยะ
ผู้อาวุโสชาวปกาเกอะญอ หมู่บ้านสบลาน อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่
แหล่งที่มา
- ตาแยะ ยอดฉัตรมิ่งบุญ, การสื่อสารส่วนบุคคล, 24 มกราคม 2567
- มิ่งขวัญ รัตนคช. (2562). ขึ้นดอยไปทำ ‘ปฏิทินไร่หมุนเวียน’ เล่าเรื่องแหล่งอาหารตลอดปีของชาวปกาเกอะญอ. The Cloud. สืบค้นโดย https://readthecloud.co
- โอชิ จ่อวาลู. (2562). การมีอยู่ของ ‘ต้นสะดือ’ ต้นไม้มีสะดือเด็ก ภูมิปัญญา ที่ช่วยปกป้องป่า ของชาวปกาเกอะญอ. The Cloud. สืบค้นโดย https://readthecloud.co
ผลงานชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาการสื่อสารเพื่อเสริมพลังทางสังคม คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในโครงการ ‘การศึกษาไร่หมุนเวียนในแง่มุมด้านวัฒนธรรม การจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพื่อลดอคติเรื่องชาวเขาทำลายป่า’