สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จากโครงการห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) ปีที่ 2 : ชายแดนศึกษากับการเรียนรู้บนฐานชุมชนสู่การสร้างสังคมสร้างสรรค์ ศูนย์วิจัยนวัตกรรมสังคมเชิงพื้นที่ (Ab-SIRC) สำนักวิชานวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
บ้านห้วยลึกอยู่ที่ไหน ?
ชุมชนสุดท้ายริมฝั่งแม่น้ำโขงในภาคเหนือของประเทศไทย ก่อนที่แม่น้ำโขงจะไหลเข้าสู่ประเทศลาว บริเวณแก่งผาได แม่น้ำโขง จึงเปรียบเหมือนสายธารแห่งชีวิตของผู้คนที่อยู่ริมสองฝั่ง ความอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำโขงทำให้ชาวบ้านห้วยลึกสามารถจับปลาได้จำนวนมากพอจนเป็นอาชีพหลักได้ ซึ่งในอดีตอาชีพชาวประมงพื้นบ้านหรือที่เรียกว่า พรานปลา ถือว่าเป็นอาชีพหลักที่สามารถสร้างรายได้สำหรับเลี้ยงครอบครัวของชาวบ้านห้วยลึกได้เป็นอย่างดี
พงษ์ ชาวบ้านห้วยลึกกล่าวว่า
“ปัจจุบันเรือออกหาปลาเหลือประมาณแค่ 10 กว่าลำ เมื่อเขาปล่อยน้ำจากลงมาด้านบนพื้นที่หาปลาและอุปกรณ์ที่ใช้หาปลาลอยหายไปกับแม่น้ำโขง ”
การเกิดขึ้นของโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ในแม่น้ำโขงตอนบน ทำให้มีการควบคุม กักเก็บ และปล่อยน้ำมายังบริเวณแม่น้ำโขงตอนล่างที่ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติ และมีการสร้างแนวเขื่อนป้องกันตลิ่งเพื่อป้องกันการกัดเซาะตลอดแนวริมแม่น้ำโขง ซึ่งการพัฒนาเหล่านี้ทำให้การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำไม่เป็นไปตามฤดูกาล ส่งผลให้ปลาแม่น้ำโขงลดน้อยลงมาก และวิถีประมงพื้นบ้านอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้พรานปลาจำนวนมาก จำเป็นต้องละทิ้งวิถีประมงที่หมู่บ้านได้สืบทอดมาตั้งแต่ในอดีต และการจับปลาแม่น้ำโขงไม่ใช่อาชีพหลักอีกต่อไป
เครื่องมือหาปลาที่เกิดได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาแม่น้ำโขง
1.ซ้อน พรานปลาที่ถือซ้อนอยู่ยังต้องมีประสาทสัมผัสที่เร็ว เมื่อปลาเข้ามาติดที่ตาข่ายแล้ว พรานปลาที่ถือซ้อนจะต้องยกซ้อนขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ระหว่างนั้นพรานปลาอีกคนต้องบังคับเรือให้มีสมดุลเพื่อช่วยให้พรานปลายกซ้อนได้ง่ายขึ้น แต่ในปัจจุบัน ระดับน้ำของแม่น้ำโขงที่ขึ้นลงเป็นผลมาจากโครงการพัฒนาในแม่น้ำโขงตอนบน ทำให้เครื่องมือนี้ไม่ค่อยมีพรานปลาใช้อีกต่อไป
2.เรือ พาหนะสำคัญในการหาปลา เรือมีลักษณะที่ขนาดเรียวยาว เนื่องจากแม่โขงมีความเชี่ยวจึงต้องใช้เรือลักษณะนี้
3.ไหลมอง ซึ่งทำได้เฉพาะบริเวณที่ไม่มีเกาะแก่งหรือดอนหินเป็นวิถีการจับปลาในแม่น้ำโขงรูปแบบหนึ่งที่ยังคงสืบทอดกันมา ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำโขงที่ทำให้จำนวนปลาลดลง
เขตอนุรักษ์พันธุ์ปลาบ้านห้วยลึก
เริ่มต้นจากการร่วมแรงร่วมใจกันของชาวบ้าน เนื่องจากความยาวตลอดริมแม่น้ำโขงของหมู่บ้านห้วยลึก เหมาะสมกับการเป็นพื้นที่ปลอดภัยในการอนุรักษ์พันธุ์ปลา และสามารถปล่อยให้ปลาขยายพันธ์ุเองตามธรรมชาติได้อย่างเต็มที่ ชาวบ้านห้วยลึกจึงได้ร่วมกันกำหนดขอบเขตพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์พันธุ์ปลาขึ้นมา ร่วมกันสร้างจิตสำนึก เพื่อให้ชาวบ้านห้วยลึกยังคงช่วยกันรักษาพันธุ์ปลาและดูแลพื้นที่ที่ปลาอาศัยในเขตของหมู่บ้าน ผ่านพิธีกรรมทำบุญเขตอนุรักษ์พันธุ์ปลา การปล่อยปลา และให้อาหารปลาความพยายามอนุรักษ์พันธุ์ปลาของชาวบ้านห้วยลึกนี้ ส่งผลให้ในช่วงที่ไม่ใช่ฤดูจับปลา พรานปลาบ้านห้วยลึกยังคงสามารถทำประมงพื้นบ้านได้ ซึ่งสุดท้ายแล้ว งานชิ้นนี้หวังว่าจะสามารถบอกเล่าถึงพรานปลาบ้านห้วยลึก กลุ่มคนตัวเล็ก ๆ ที่กำลังเผชิญกับการพัฒนาที่กลายเป็นผลกระทบต่อปากท้องและรายได้ของพวกเขาได้เช่นกัน
งานชิ้นนี้เป็นผลงานของนักศึกษา สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จากโครงการ ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) ปีที่ 2: ชายแดนศึกษากับการเรียนรู้บนฐานชุมชนสู่การสร้างสังคมสร้างสรรค์ ศูนย์วิจัยนวัตกรรมสังคมเชิงพื้นที่ (Ab-SIRC) สำนักวิชานวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
สามารถอ่าน เครื่องมือหาปลาที่กำลังจะหายไปในวิถีพรานปลา ฉบับเต็มได้ที่ https://fishfarmingathuayl.wixsite.com/fish-farming-at-hu-2