งานชิ้นนี้เป็นผลงานของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สำนักวิชานวัตกรรมสังคม สาขาการพัฒนาระหว่างประเทศ จากโครงการห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) ปีที่ 2 : ชายแดนศึกษากับการเรียนรู้บนฐานชุมชนสู่การสร้างสังคมสร้างสรรค์ ศูนย์วิจัยนวัตกรรมสังคมเชิงพื้นที่ (Ab-SIRC) สำนักวิชานวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
“จะมีอะไรการันตีได้ว่า
“วิถีเกษตร” เป็นความมั่นคง
ที่ชาวบ้านตามหาอยู่อย่างแท้จริง”
จากอาชีพเสริม กลายมาเป็นอาชีพหลัก: เมื่อหาปลาไม่ได้ เลยต้องกลายมาเป็นชาวสวน
บ้านห้วยลึก อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงรายเป็นชุมชนสุดท้ายของฝั่งประเทศไทย โดยมีแม่น้ำโขงเป็นเส้นแบ่งเขตแดน ชาวบ้านดำรงชีวิตด้วยการทำประมงพึ่งพิงแม่น้ำโขงเป็นหลัก ภายหลังจากการเริ่มต้นของโครงการพัฒนาต่าง ๆ ได้ส่งผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำโขง และความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์ริมชายฝั่งน้ำโขงก็เริ่มหายไป ทำให้ชาวห้วยลึกต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตตามสภาพแวดล้อม การพึ่งพาน้ำโขงสู่การเกษตรบนฝั่งชาวห้วยลึกจึงต้องหันมาประกอบอาชีพเกษตรกรรมมากขึ้น โดยการทำสวนบนที่ดินที่อยู่อีกฝั่งของชุมชนหรือไกลออกไปจากแม่น้ำ พืชที่ปลูกส่วนมากจะเป็น ไร่ข้าวโพด สวนยางพารา และสวนส้มโอ
สวนยางพารา: ความหวังที่จะมีรายได้อีกครั้ง หลังจากหาปลาไม่ได้
พงษ์ลูกชาวประมงของหมู่บ้านห้วยลึกได้กล่าวว่า “สมัยก่อนอาชีพประมงสามารถยึดเป็นอาชีพหลักได้ สมัยที่ยังมีปลาเยอะๆนะ แต่ตอนนี้กลายเป็นว่าสวนยางกลายมาเป็นอาชีพหลัก แล้วประมงกลายเป็นอาชีพเสริม เพราะว่าความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์มันหายไปไง”
ส้มโอ: ทางเลือกใหม่ที่ยังเต็มไปด้วยคำถาม บนความ (ไม่) มั่นคงในชีวิตของชุมชนริมน้ำโขง
ส้มโอบ้านห้วยลึก มีลักษณะเฉพาะตัวคือมีรสชาติที่หวานอมเปรี้ยว ซึ่งแตกต่างจากทางภาคกลางและภาคใต้ ผลผลิตเหล่านี้ล้วนเกิดขึ้นจากแรงกายแรงใจและความมุ่งมั่นตั้งใจของเกษตรกร เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพต่อไป
ชุมชนริมน้ำโขงท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงแบบเดินหน้าสองก้าวถอยหลังสามก้าว
ในอดีตการทำสวนยางพารามักถูกมองว่า กว่าจะสร้างเงินได้นั้นต้องใช้ทั้งเวลาและการดูแลเอาใจใส่ กว่าต้นยางพาราจะเติบโตจนสามารถเริ่มกรีดขายได้ การปลูกยางพาราจึงถือเป็นการลงทุน ที่ได้ผลตอบแทนที่มั่นคงยั่งยืนเกษตรกรบ้านห้วยลึก และสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้ตลอดทั้งปี
ถึงแม้ชาวบ้านห้วยลึก จะมีการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต และอาชีพ จากประมงกลายเป็นเกษตรกรรมบนชายฝั่งแล้ว ก็ยังคงประสบปัญหาความไม่มั่นคง และความไม่ยั่งยืนของพืชที่ปลูก ทั้งที่ส้มโอที่ในอดีต ให้ผลตอบแทนที่ดี แต่เมื่อเวลาผ่านไป ส้มโอก็ไม่สามารถให้ผลตอบแทนได้เท่าเดิม เช่นเดียวกันกับสวนยางพารา แม้ชาวบ้านจะถือว่าเป็นความยั่งยืน แต่แล้วไม่มีสิ่งใดที่จะสามารถการันตีได้ว่า สวนยางพารานี้ จะเป็นความยั่งยืนที่ชาวบ้านตามหาอยู่อย่างแท้จริง ทั้งนี้ ความไม่มั่นคงเหล่านี้ ล้วนเป็นผลมากจากโครงการการพัฒนาในพื้นที่ที่ชาวบ้านอาจไม่ได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจแต่ชาวบ้านกลับเป็นผู้ได้รับผลกระทบนั้น
สามารถอ่านจากวิถีฮิมโขง… สู่ความ (ไม่) มั่นคงในวิถีเกษตร ฉบับเต็มได้ที่ https://sites.google.com/view/agricultural-baanhuailuek/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%81?authuser=0