01/05/2022
เวทีเสวนา “ค่าแรงต่ำ จ้างงานไม่เป็นธรรม ขึ้นทะเบียบแรงงานข้ามชาติแสนแพง” ส่วนหนึ่งของกิจกรรม Worker Fest! เราทุกคน คือ คนงาน We All Are Workers ณ ประตูท่าแพ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเป็นแรงงานในแต่ละภาคส่วน ได้แก่ ไรเดอร์ แรงงานภาคการเกษตร แรงงานก่อสร้าง แรงงานพนักงานบริการ แรงงานแม่บ้าน และแรงงานภาคประชาสังคม
เริ่มจากผู้แทนแรงงานไรเดอร์ กล่าวว่า ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 หลายคนอาจคิดว่าไรเดอร์เงินดี แต่งานเราขึ้นอยู่บนแพลตฟอร์มที่มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ลูกค้า ร้านค้า และไรเดอร์กับบริษัท พอโรคอยู่นาน เศรษฐกิจดร็อป ร้านค้าทยอยปิดเรื่อยๆ ส่งผลให้งานมีน้อยลง ไรเดอร์เองได้งาน 2 ชั่วโมงต่อ 1 งาน การเป็นไรเดอร์นั้นจึงเป็นแรงงาน ไม่ใช่แค่พาร์ทเนอร์
“ผมไม่ปฏิเสธว่ามันเป็นงานอิสระ เข้างานเมื่อไหร่ก็ได้ เลือกวันหยุดได้ แต่เมื่อคุณทำงานแล้วเลือกที่จะทำงานนี้แล้ว ค่าใช้จ่ายอื่นๆ จะตามมา เช่น ผมเป็นนักศึกษาจบใหม่ พอมาทำจริงๆ มันพึ่งเวลาการทำงาน เหมือนคนทำงานทั่วไป ถ้าคุณจะทำตามเป้าแรงงานขั้นต่ำ 300 บาท คุณต้องรับทั้งหมด 10 งาน สมมติวันนั้นวานไม่ดี บางค่ายคุณได้แค่ 1 งาน 28 บาท แสดงว่าคุณต้องเพิ่มชั่วโมงการทำงานเรื่อยๆ” ผู้แทนไรเดอร์กล่าว
หลังเผชิญสถานการณ์การลดค่ารอบ ไรเดอร์ประท้วงกันหลายรอบ ขับรถไปที่ศาลากลางจังหวัด ไปยื่นหนังสือที่กรมแรงงานให้มาช่วยจัดการ ตอนนี้เราก็ยังไม่ได้ค่ารอบกลับคืนมา
ด้านผู้แทนแรงงานภาคเกษตร กล่าวว่า ปัญหาแรกๆ ในการทำงานภาคเกษตร ในช่วงโควิดที่ผ่านมา พี่น้องแรงงานได้รับผลกระทบ เช่น พี่น้องทำงานในสวนลำไย จังหวัดลำพูน ในช่วงโควิดได้รับผลกระทบคือ ถ้าสมมติพี่น้องแรงงานเหล่านั้นติดโควิดซักคนหนึ่ง ในห้องแถวหรือแคมป์คนงาน ภาครัฐ อสม. หรือหน่วยงานสาธารณสุขอื่นๆ ไม่สามารถให้เราไปเก็บผลผลิตได้ สมมติเราอยู่รวมกัน 10 ครอบครัว ติดคนหนึ่งต้องกักตัวทั้งหมด ขาดรายได้ไปเลย
“ถ้าขาดรายได้ รัฐและนายจ้างไม่ได้มีการดูแลเลย ถ้าหยุดงานก็คือไม่ได้เงิน เหมือนกับว่าตกงานไปเลย พี่น้องแรงงานในชุมชนแรงงานต้องพยายามช่วยเหลือกันโดยการระดมสิ่งของ ข้าวสาร อาหารแห้ง เพื่อบรรเทาช่วยเหลือซี่งกันและกันไป” ผู้แทนแรงงานภาคเกษตรกล่าว
อีกปัญหาหนึ่งคือ พี่น้องที่ไปเก็บผลผลิตไกลๆ พี่น้องต้องเดินทางไปเป็นลำรถ ถ้ามีการติดโควิด สมมติผมเป็นหัวรถให้แรงงาน 20 คน ถ้าสมมติคนงานของผมติดโควิด 1-2 คน จะถูกสั่งให้หยุดทั้งคันรถเลย
“เงินชดเชยทางภาครัฐไม่มีเลย ถ้านายจ้างส่วนมากก็จะไม่มี จะได้จากพี่น้องแรงงานที่ระดมสิ่งของที่บริจาคช่วยพี่น้องที่กักตัว” ผู้แทนแรงงานภาคเกษตรย้ำ
ผู้แทนพนักงานบริการ กล่าวว่า เราถูกสั่งปิดกิจการก่อนเพื่อน และยังไม่ได้รับการเยียวยาใดๆ ทั้งสิ้น พวกเราอยู่กันอย่างไร ก็ทำเท่าที่ได้ บางคนต้องไปรับจ้างก่อสร้าง ขับรถส่งของ ขายอะไรเล็กๆ น้อยๆ เพราะว่าทุกคนมีลูก พ่อแม่ที่ต้องดูแล ต้องดิ้นรนออกไป
ตนยังย้ำว่า ได้มีการเรียกร้องขอความช่วยเหลือให้มีการเยียวยา แต่เราก็ไม่เคยได้ เขาบอกว่าพวกเราเป็นสถานบริการ เป็นพนักงานบริการ เขาไม่มองเราเป็นอาขีพ ไม่ได้มองเราเป็นแรงงาน แต่เราเป็นแรงงาน เราก็ทำงานเหมือนกัน
ผู้แทนแรงงานก่อสร้าง กล่าวว่า ค่าแรงต่ำ ประมาณ 300 บาทต่อวัน แต่ค่าครองชีพสูงขึ้นเรื่อยๆ ค่าซื้อของ ค่าใช้จ่าย สูงขึ้น ต้องส่งลูกเรียน ค่าน้ำ ไฟ เราลำบากมาก พอโควิดระบาด แรงงานก่อสร้างส่วนใหญ่ไม่ได้ทำงาน บางทีต้องทำวันเว้นวัน เนื่องจากไม่ได้ทำงาน และมีเรื่องค่าบัตรเข้ามาอีก พี่น้องแรงงานต้องยากลำบากมากที่ต้องหาเงินไปต่อบัตร
ส่วนผู้แทนแรงงานภาคประชาสังคม กล่าวว่า เขาหาว่าเราชอบปลุกปั่นคนอื่น แต่เรามาจากปัญหาสังคมที่เกิดขึ้น เราถึงต้องรวมตัวกัน มีความคิด อุดมการณ์เพื่อแก้ไขปัญหา สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นมามันมาตั้งแต่ 8 ปีที่แล้ว จนกระทั่งโควิดเข้ามา สถานการณ์เศรษฐกิจแย่ลง สวัสดิการไม่มี ค่าแรงของแรงงานไม่เพียงพอ รัฐบาลประกาศปาวๆ ว่ามีนโยบายช่วยเหงือ รวมกับคนละครึ่งอีก แต่ในความเป็นจริงนโยบายคนละครึ่งมันทำให้ร้านค้าและนายทุนขึ้นราคาของ ทำให้เราต้องจ่ายแพงขึ้นไปอีก
เราออกมาเรียกร้องร่าแรงที่เพิ่มขึ้นให้เพียงพอต่อค่าครองชีพ แต่ค่าใช้จ่ายก็เพิ่มขึ้นอีก มันจึงเกิดภาคประชาสังคมขึ้นเพื่อไปต่อรอง พูด เรียกร้อง ช่วยเหบือคนที่กำลังเดือดร้อน ภาคประชาสังคมแต่ละภาคส่วนก็มาจากคนที่เดือดร้อนนั่นแหละ คนที่ถูกยึดที่ดินก็มารวมตัวกัน บางกลุ่มก็จดทะเบียน บางกลุ่มก็ไม่จดทะเบียน
มติ ครม. 4 เมษายน 2565 ให้มีร่างกฎหมายคัดค้านการรวมกลุ่มของประชาชน ตรวจสอบองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร เนื้อหาใน พ.ร.บ. ตัวนี้กำลังห้ามพวกเรารวมกลุ่มกัน ฉะนั้นถ้าเราเดือดร้อน อยากไปบอกความเดือดร้อนของเรามันทำไม่ได้อีกแล้ว เราจึงลุกขึ้นมาต่อต้าน
#WorkerFest
#เราทุกคนคือคนงาน
#เครือข่ายแรงงานภาคเหนือ
#Lanner