01/05/2022
ณ ข่วงประตูท่าแพ เชียงใหม่ (รอบที่ 3) #WorkerFest #เราทุกคนคือคนงาน #เครือข่ายแรงงานภาคเหนือ
01/05/2022
ณ ข่วงประตูท่าแพ เชียงใหม่ (รอบที่ 3) #WorkerFest #เราทุกคนคือคนงาน #เครือข่ายแรงงานภาคเหนือ
01/05/2022
ปี 2563 เป็นปีที่เราสามารถพูดออกมาได้อย่างชัดถอยชัดคำว่าประเทศนี้ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป การเริ่มฉากทัศน์ของประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยบทใหม่ โดยเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่มีความปรารถนาอยากเห็นอำนาจสูงสุดในการปกครองที่เป็นของประชาชน หาใช่อำนาจเถื่อนของเผด็จการ บทตอนใหม่ของการต่อสู้นี้ยังไม่ได้เพียงรวมศูนย์อยู่ในเมืองหลวง แต่กระจายขยายกว้างเป็นระลอกคลื่นไปในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ
ในพื้นที่ภาคเหนือ การเคลื่อนไหวของประชาชนก็เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ในหลากหลายประเด็นปัญหาและเครื่องมือในการต่อสู้ แต่ทุกประเด็นเริ่มเห็นถึงความเชื่อมโยงกันของปัญหาที่รัฐกระทำต่อพลเมืองแต่ละคน นักเรียน-นักศึกษา-คนรุ่นใหม่เริ่มถามหาความหวังในการออกแบบอนาคตทั้งของตนเองและสังคม นักวิชาการออกมาส่องสว่างสังคมโครงสร้างอำนาจนิยมที่แฝงฝังตามซอกมุมต่างๆ กลุ่มแรงงาน เกษตรกร พี่น้องชาติพันธุ์ ต่างออกมาทวงคืนชีวิตที่ถูกกดขี่จากการเอารัดเอาเปรียบซ้ำซ้อน ศิลปินสร้างสรรค์ผลงานไม่ไหวเอนตามจารีต ประชาชนทั่วไปหูตาสว่าง เริ่มตั้งคำถามต่อประวัติศาสตร์รากเหง้าที่ถูกทำให้เลือนหายหรือปกปิดไว้โดยรัฐส่วนกลาง ขณะหลายคนเริ่มฝันถึงการกระจายอำนาจเพื่อความสามารถในการจัดการปัญหาของตัวเอง ทำให้ชีวิตในท้องถิ่นต่างๆ สามารถเลือกสรร ปฏิเสธ กำหนดเส้นทางของตนเองได้มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่
ในความเคลื่อนไหวที่ยังไม่สิ้นสุดนี้ ความคิดความฝันอีกมากดูเหมือนจะยังไม่ได้ถูกพูดถึง เสียงหลาย ๆ เสียงที่อยู่ไกลจากศูนย์กลางยังอาจจะไม่ดังเพียงพอ นี่เป็นความรู้สึกหนึ่งของพวกเราเอง จนอยากลงมือก่อร่างสร้างสำนักข่าวเล็ก ๆ ในภาคเหนือที่ชื่อว่า Lanner (อ่านว่า ลาน-เน้อ)
Lanner มาจากคำว่า ล้านนา ผสมกับคำสร้อยที่คนภาคเหนือพูดกันติดปาก พอลองเอาคำนี้ไปค้นหาก็พบว่าในภาษาอังกฤษ ยังเป็นชื่อเของเหยี่ยวสายพันธุ์หนึ่ง มันจึงไม่ได้มีความหมายที่อ้างอิงที่เพียงแค่ความเป็นภาคเหนือแต่เพียงเท่านั้น หากยังมีนัยยะไปถึงเสรีภาพในการแสดงออกและมุมมองของเหยี่ยวที่โบยบินอยู่ภายใต้ชื่อนี้อีกด้วย
Lanner เป็นสำนักข่าวที่มองตัวเองว่าต้องยืนอยู่เคียงข้างประชาชนผู้เป็นเจ้าของอธิปไตย เน้นเนื้อหาที่อยู่ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน เราวาดหวังจะเป็นพื้นที่กลางที่ประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างมีเสรีภาพ แลกเปลี่ยนถกเถียง เพื่อพยายามค้นหาข้อเสนอใหม่ ๆ ในการออกแบบชีวิตที่ดีของเราจากในพื้นที่เอง
Lanner มุ่งหวังจะเป็นสำนักข่าวที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการเสริมพลังในการเคลื่อนไหวของประชาชน เป็นปากเป็นเสียงให้กับประชาชนในประเด็นปัญหาต่าง ๆ เชื่อมโยงประชาชน นักวิชาการ นักเขียน นักกิจกรรม และกลุ่มประชาสังคมอื่น ๆ ให้เรียงร้อยนำไปสู่การมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงสังคม ที่ประชาชนคือผู้สามารถกำหนดอนาคตตนเองได้มากยิ่งขึ้น
หากใครมองหาพื้นที่กลางในการสื่อสารเรื่องราวของตนเอง หากใครคิดว่าทุกประเด็นปัญหาในสังคมล้วนเชื่อมโยงกัน หากใครอึดอัดอยากจะทดลองระบายปัญหาสังคมที่ประสบพบเจอ เรายินดีอย่างยิ่ง ให้มาร่วมกันสร้างพื้นที่ตรงนี้ ผ่านการเป็นกระบอกเสียงร่วมกันกับ Lanner โดยสามารถส่งข้อมูลข่าวสารจากพื้นที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะในภาคเหนือ รวมถึงบทความและงานสื่อสารทัศนะ ความคิด เจตจำนง ในรูปแบบต่าง ๆ มาได้ พื้นที่ของ Lanner ยินดีต้อนรับให้ทุกคนมาสร้างพื้นที่นี้ไปด้วยกัน
แม้อาจใช้ระยะเวลาในการทดลองทำงานเหล่านี้ แต่เราจะพยายาม
สามารถติดตามสำนักข่าว Lanner ได้ในทุก ๆ platform
facebook : https://www.facebook.com/lanner2022/
Instagram : https://www.instagram.com/lanner.news/
Twitter : https://twitter.com/Lanner2022
YouTube : https://www.youtube.com/…/UCH4EcXa63qzaWtvPltG…/featured
TikTok : https://www.tiktok.com/@lanner2022?is_from_webapp=1…
01/05/2022
วันที่ 30 เมษายน 2565 เวลา 17.00-18.12 น. กลุ่มพลเมืองเสมอกัน We, The People ได้จัดกิจกรรม #ยืนหยุดทรราชll บริเวณ ท่าแพ จังหวัดเชียงใหม่
โดยจุดประสงค์ของการยืนหยุดทรราชในครั้งนี้สืบเนื่องมาจากที่รัฐได้มีการคุมขังประชาชนในระหว่างการสอบสวนและไม่มีสิทธิในการประกันตัวเป็นจำนวน 8 คน ได้แก่ ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ ในคดีมาตรา 112 ที่ถูกกล่าวหาว่าไลฟ์สดก่อนมีขบวนเสด็จ และถูกเพิกถอนประกันเมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2565 ,เอกชัย หงส์กังวาน ในคดีคดีโพสต์เกี่ยวกับการถูกจำคุกในเรือนจำเมื่อวันที่ 23 เม.ย.2560 โดยศาลวิเคราะห์แล้วว่าข้อความมีลักษณะลามกอนาจาร ทำให้ถูกฟ้องดำเนินคดีในความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์,เวหา แสนชนชนะศึก ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดตามมาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จากการแชร์ 2 โพสต์เพจเยาวชนปลดแอก,พรพจน์ แจ้งกระจ่าง และ ปฏิมาในคดีเดียวกันคือถูกกล่าวหาว่าปาระเบิดปิงปองบริเวณกรมทหารราบที่ 1 หลังการชุมนุมรำลึกเมษาเลือด #ยุติธรรมไม่มี12ปีเราไม่ลืม เมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2565 คทาธรและคงเพชร ที่ถูกกล่าวหาว่ามีวัตถุระเบิดไว้ในครอบครองในการชุมนุมรำลึกเมษาเลือด และสมบัติ ทองย้อย ถูกกล่าวหาตามความผิดมาตรา 112 กรณีโพสต์ #กล้ามาก #เก่งมาก #ขอบใจ
ในการยืนหยุดทรราชครั้งนี้ยังคงเรียกร้องในเรื่องของสิทธิประกันตัวที่เป็นเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมืองตามหลักสิทธิมนุษยชน
กิจกรรมในวันนี้มีประชาชนมาร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก โดยมีเสียงแตรรถและผู้คนชูสามนิ้วส่งกำลังใจอยู่อย่างต่อเนื่อง แม้จะมีพายุฝนที่ตกหนักอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เวลา 17.30 น. แต่ประชาชนบางส่วนก็ยังคงยืนหยุดทรราชแสดงออกจนจบกิจกรรมในเวลา 18.12 น.
กิจกรรม #ยืนหยุดทรราชll จะจัดอย่างต่อเนื่องในทุกๆ วันเสาร์ เวลา 17.00-18.12 น. ที่ท่าแพ จังหวัดเชียงใหม่ อย่างต่อเนื่องจนกว่าประชาชนที่ถูกคุมขังจะได้รับการปล่อยตัว
ภาพ: วรรณา แต้มทอง
#หยุดละเมิดสิทธิประกันตัว
#ยกเลิก112
01/05/2022
1 พ.ค. 2565 เนื่องในวันแรงงานสากล (International Workers’ day) Lanner ขอเชิญชวนประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม Worker Fest! เราทุกคน คือ คนงาน We All Are Workers จัดโดย เครือข่ายแรงงานภาคเหนือ ณ ข่วงประตูท่าแพ จังหวัดเชียงใหม่
กิจกรรมจะเริ่มตั้งแต่เวลา 17.50 น. เป็นต้นไป โดยมีทั้งการกล่าววัตถุประสงค์การจัดกิจกรรม ชู 11 ข้อเรียกร้องของเครือข่ายแรงงานภาคเหนือ เวทีเสวนา “ค่าแรงต่ำ จ้างงานไม่เป็นธรรม ขึ้นทะเบียนแรงงานข้ามชาติแสนแพง” การกล่าวแถลงการณ์ ตลอดจนซุ้มนิทรรศการ กิจกรรมเดิน Fasion Show การแสดงดนตรี และรับชมคลิปวีดิโอเกี่ยวกับแรงงาน
18.00 น. “เราต้องการค่าแรงที่เป็นธรรม” เครือข่ายแรงงานภาคเหนือ กล่าวถึงค่าใช้จ่ายของกลุ่มแรงงาน ได้แก่ ค่านมลูก ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าทำบัตร ค่าน้ำ-ค่าไฟ ค่าห้อง ค่า Internet เรียนออนไลน์ลูก ค่ารักษาพยาบาล และที่สำคัญที่สุด คือเครือข่ายแรงงานภาคเหนือเรียกร้องและต้องการ “ค่าแรงที่เป็นธรรม”
18.05 น. กลุ่ม BEAM มูลนิธิการศึกษาประกายแสง Education Foundation
18.10 น. คลิป “Sex workers are equal workers” ผลการรายงานสิทธิมนุษยชนของพนักงานบริการ ตามกระบวนการ UPR สหประชาชาติ (UN) ที่กล่าวถึง ชีวิตของแรงงานข้ามชาติที่ผูกติดอยู่กับการจ่ายค่าต่อบัตร ต้องชุ้นปีต่อปีว่าค่าต่อบัตรจะราคาเท่าไร เพราะมีราคาสูงขึ้นทุกปี โดยสามารถรับชมคลิปเต็มได้ที่ https://fb.watch/cK9vRC922T/
ในขณะนี้ซุ้มกิจกรรมของแต่ละเครือข่ายแรงงานนั้นยังมีผู้เข้าร่วมงานเข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เช่น การเข้าชื่อสนับสนุนการฟ้องเพิกถอนคุณสมบัติสัญชาติไทยในการเยียวยาผลกระทบจากโรคโควิด-19 ตามโครงการ ม.33 เรารักกัน กิจกรรมซุ้มของกลุ่ม Empower การทำโพลเกี่ยวกับแรงงาน ซุ้มของเครือข่ายแรงงานข้ามชาติ เป็นต้น
‘ต้น’ ศิริศักดิ์ ไชยเทศ นักกิจกรรมอิสระด้านสิทธิมนุษยชนด้านคนที่มีความหลากหลายทางเพศและพนักงานบริการ กล่าวกับ Lanner ว่า วันนี้เป็นวันแรงงานซึ่งเป็นวันสำคัญของพวกเรา แรงงานในไทยมี 48 ล้านคน พนักงานบริการอีก 3 แสนกว่าคน ล้วนถูกกดขี่ เลือกปฏิบัติจากนายจ้าง จากระบบเศรษฐกิจ ยิ่งแรงงานข้ามชาติเองก็ยิ่งทับซ้อน วันนี้จึงเป็นวันสำคัญของคนทั่วโลก เราต้องการรณรงค์เรื่องทุกคนคือคนทำงาน หมายความว่ามันไม่ใช่แค่กรรมกร แต่รวมถึงครู แพทย์ แม่บ้าน และอาชีพอื่นๆ คนเหล่านี้ถือเป็นคนทำงานหมดเลย
ทั้งนี้ ข้อเรียกร้องเครือข่ายแรงงานภาคเหนือ
1. อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 492 บาททั่วประเทศ
2. รับรองอนุสัญญา ILO 87, 98, 189
3. ทุกอาชีพต้องไก้เข้าประกันสังคม
4. ทุกอาชีพ ทุกรูปแบบการทำงานต้องได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายแรงงานทุกฉบับ
5. ใบอนุญาตทำงานของคนงานข้ามชาติต้องมีอายุคราวละ 4 ปี
6. ยกระดับการขึ้นทะเบียนแรงงานข้ามชาติเป็นระบบดิจิทัล
7. ยกเลิก พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี
8. รัฐสวัสดิการถ้วนหน้า
9. ควบคุมราคาสินค้าอุปโภค บริโภค
10. ยกเลิกร่าง พ.ร.บ.ควบคุมการทำงานขององค์กรไม่แสวงหาผลกำไร
11. สิทธิและเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นและการชุมนุม
#WorkerFest
#เราทุกคนคือคนงาน
#เครือข่ายแรงงานภาคเหนือ
#Lanner
01/05/2022
เวทีเสวนา “ค่าแรงต่ำ จ้างงานไม่เป็นธรรม ขึ้นทะเบียบแรงงานข้ามชาติแสนแพง” ส่วนหนึ่งของกิจกรรม Worker Fest! เราทุกคน คือ คนงาน We All Are Workers ณ ประตูท่าแพ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเป็นแรงงานในแต่ละภาคส่วน ได้แก่ ไรเดอร์ แรงงานภาคการเกษตร แรงงานก่อสร้าง แรงงานพนักงานบริการ แรงงานแม่บ้าน และแรงงานภาคประชาสังคม
เริ่มจากผู้แทนแรงงานไรเดอร์ กล่าวว่า ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 หลายคนอาจคิดว่าไรเดอร์เงินดี แต่งานเราขึ้นอยู่บนแพลตฟอร์มที่มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ลูกค้า ร้านค้า และไรเดอร์กับบริษัท พอโรคอยู่นาน เศรษฐกิจดร็อป ร้านค้าทยอยปิดเรื่อยๆ ส่งผลให้งานมีน้อยลง ไรเดอร์เองได้งาน 2 ชั่วโมงต่อ 1 งาน การเป็นไรเดอร์นั้นจึงเป็นแรงงาน ไม่ใช่แค่พาร์ทเนอร์
“ผมไม่ปฏิเสธว่ามันเป็นงานอิสระ เข้างานเมื่อไหร่ก็ได้ เลือกวันหยุดได้ แต่เมื่อคุณทำงานแล้วเลือกที่จะทำงานนี้แล้ว ค่าใช้จ่ายอื่นๆ จะตามมา เช่น ผมเป็นนักศึกษาจบใหม่ พอมาทำจริงๆ มันพึ่งเวลาการทำงาน เหมือนคนทำงานทั่วไป ถ้าคุณจะทำตามเป้าแรงงานขั้นต่ำ 300 บาท คุณต้องรับทั้งหมด 10 งาน สมมติวันนั้นวานไม่ดี บางค่ายคุณได้แค่ 1 งาน 28 บาท แสดงว่าคุณต้องเพิ่มชั่วโมงการทำงานเรื่อยๆ” ผู้แทนไรเดอร์กล่าว
หลังเผชิญสถานการณ์การลดค่ารอบ ไรเดอร์ประท้วงกันหลายรอบ ขับรถไปที่ศาลากลางจังหวัด ไปยื่นหนังสือที่กรมแรงงานให้มาช่วยจัดการ ตอนนี้เราก็ยังไม่ได้ค่ารอบกลับคืนมา
ด้านผู้แทนแรงงานภาคเกษตร กล่าวว่า ปัญหาแรกๆ ในการทำงานภาคเกษตร ในช่วงโควิดที่ผ่านมา พี่น้องแรงงานได้รับผลกระทบ เช่น พี่น้องทำงานในสวนลำไย จังหวัดลำพูน ในช่วงโควิดได้รับผลกระทบคือ ถ้าสมมติพี่น้องแรงงานเหล่านั้นติดโควิดซักคนหนึ่ง ในห้องแถวหรือแคมป์คนงาน ภาครัฐ อสม. หรือหน่วยงานสาธารณสุขอื่นๆ ไม่สามารถให้เราไปเก็บผลผลิตได้ สมมติเราอยู่รวมกัน 10 ครอบครัว ติดคนหนึ่งต้องกักตัวทั้งหมด ขาดรายได้ไปเลย
“ถ้าขาดรายได้ รัฐและนายจ้างไม่ได้มีการดูแลเลย ถ้าหยุดงานก็คือไม่ได้เงิน เหมือนกับว่าตกงานไปเลย พี่น้องแรงงานในชุมชนแรงงานต้องพยายามช่วยเหลือกันโดยการระดมสิ่งของ ข้าวสาร อาหารแห้ง เพื่อบรรเทาช่วยเหลือซี่งกันและกันไป” ผู้แทนแรงงานภาคเกษตรกล่าว
อีกปัญหาหนึ่งคือ พี่น้องที่ไปเก็บผลผลิตไกลๆ พี่น้องต้องเดินทางไปเป็นลำรถ ถ้ามีการติดโควิด สมมติผมเป็นหัวรถให้แรงงาน 20 คน ถ้าสมมติคนงานของผมติดโควิด 1-2 คน จะถูกสั่งให้หยุดทั้งคันรถเลย
“เงินชดเชยทางภาครัฐไม่มีเลย ถ้านายจ้างส่วนมากก็จะไม่มี จะได้จากพี่น้องแรงงานที่ระดมสิ่งของที่บริจาคช่วยพี่น้องที่กักตัว” ผู้แทนแรงงานภาคเกษตรย้ำ
ผู้แทนพนักงานบริการ กล่าวว่า เราถูกสั่งปิดกิจการก่อนเพื่อน และยังไม่ได้รับการเยียวยาใดๆ ทั้งสิ้น พวกเราอยู่กันอย่างไร ก็ทำเท่าที่ได้ บางคนต้องไปรับจ้างก่อสร้าง ขับรถส่งของ ขายอะไรเล็กๆ น้อยๆ เพราะว่าทุกคนมีลูก พ่อแม่ที่ต้องดูแล ต้องดิ้นรนออกไป
ตนยังย้ำว่า ได้มีการเรียกร้องขอความช่วยเหลือให้มีการเยียวยา แต่เราก็ไม่เคยได้ เขาบอกว่าพวกเราเป็นสถานบริการ เป็นพนักงานบริการ เขาไม่มองเราเป็นอาขีพ ไม่ได้มองเราเป็นแรงงาน แต่เราเป็นแรงงาน เราก็ทำงานเหมือนกัน
ผู้แทนแรงงานก่อสร้าง กล่าวว่า ค่าแรงต่ำ ประมาณ 300 บาทต่อวัน แต่ค่าครองชีพสูงขึ้นเรื่อยๆ ค่าซื้อของ ค่าใช้จ่าย สูงขึ้น ต้องส่งลูกเรียน ค่าน้ำ ไฟ เราลำบากมาก พอโควิดระบาด แรงงานก่อสร้างส่วนใหญ่ไม่ได้ทำงาน บางทีต้องทำวันเว้นวัน เนื่องจากไม่ได้ทำงาน และมีเรื่องค่าบัตรเข้ามาอีก พี่น้องแรงงานต้องยากลำบากมากที่ต้องหาเงินไปต่อบัตร
ส่วนผู้แทนแรงงานภาคประชาสังคม กล่าวว่า เขาหาว่าเราชอบปลุกปั่นคนอื่น แต่เรามาจากปัญหาสังคมที่เกิดขึ้น เราถึงต้องรวมตัวกัน มีความคิด อุดมการณ์เพื่อแก้ไขปัญหา สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นมามันมาตั้งแต่ 8 ปีที่แล้ว จนกระทั่งโควิดเข้ามา สถานการณ์เศรษฐกิจแย่ลง สวัสดิการไม่มี ค่าแรงของแรงงานไม่เพียงพอ รัฐบาลประกาศปาวๆ ว่ามีนโยบายช่วยเหงือ รวมกับคนละครึ่งอีก แต่ในความเป็นจริงนโยบายคนละครึ่งมันทำให้ร้านค้าและนายทุนขึ้นราคาของ ทำให้เราต้องจ่ายแพงขึ้นไปอีก
เราออกมาเรียกร้องร่าแรงที่เพิ่มขึ้นให้เพียงพอต่อค่าครองชีพ แต่ค่าใช้จ่ายก็เพิ่มขึ้นอีก มันจึงเกิดภาคประชาสังคมขึ้นเพื่อไปต่อรอง พูด เรียกร้อง ช่วยเหบือคนที่กำลังเดือดร้อน ภาคประชาสังคมแต่ละภาคส่วนก็มาจากคนที่เดือดร้อนนั่นแหละ คนที่ถูกยึดที่ดินก็มารวมตัวกัน บางกลุ่มก็จดทะเบียน บางกลุ่มก็ไม่จดทะเบียน
มติ ครม. 4 เมษายน 2565 ให้มีร่างกฎหมายคัดค้านการรวมกลุ่มของประชาชน ตรวจสอบองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร เนื้อหาใน พ.ร.บ. ตัวนี้กำลังห้ามพวกเรารวมกลุ่มกัน ฉะนั้นถ้าเราเดือดร้อน อยากไปบอกความเดือดร้อนของเรามันทำไม่ได้อีกแล้ว เราจึงลุกขึ้นมาต่อต้าน
#WorkerFest
#เราทุกคนคือคนงาน
#เครือข่ายแรงงานภาคเหนือ
#Lanner