Home Blog Page 8

‘ฟอร์ตี้ฟายไรต์’ เผยทหารไทยทำร้ายชาวเมียนมาจนเสียชีวิต ไร้การตรวจสอบที่โปร่งใส

14 พฤศจิกายน 2567 ฟอร์ตี้ฟายไรต์ (Fortify Rights) เปิดเผยรายงานว่าเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2567 ทหารไทย 4 นาย ได้ทรมานและซ้อมชาวเมียนมาจนเสียชีวิต ในพื้นที่ อ.แม่สอด จ.ตาก พร้อมทั้งปกปิดความผิดแม้จะมีผู้เห็นเหตุการณ์

ฟอร์ตี้ฟายไรต์ ระบุว่า พบหลักฐานบ่งชี้ว่าทหารไทยได้ควบคุมตัวและทรมานนายอ่อง โก โก วัย 37 ปี พลเมืองชาวเมียนมาที่อาศัยในไทย และอาสาสมัครของชุดรักษาความปลอดภัยชุมชนบ้านใต้ (ชรบ.) จนเสียชีวิต ใกล้ชายแดนไทย-เมียนมา อีกทั้งยังได้ดำเนินคดีนาย ศิรชัช ชายชาวเมียนมาอายุ 24 ปี หนึ่งในพยานรู้เห็นเหตุการณ์ข้อหาฆ่าคนตาย

คำบอกเล่าของ “เอ็ม.แอล.” (นามสมมติ) ทำให้รู้ว่า หัวหน้าทหารได้ใช้ไม้ไผ่ตีซ้ำๆ ที่หลังและขาด้วยความแรงจนไม้ไผ่หัก จากนั้นได้ใช้ไม้แข็งยาวประมาณ 1.5 เมตรตีต่อไปจนไม้หักและแม้จะมีพยานกว่า 23 คนที่ยืนยันว่าเขา เป็นชรบ. แต่ทหารอีก 3 นายก็ยังคงทำร้ายนายอ่อง โก โก อย่างรุนแรง ด้วยการใช้ไม้ยาวตีที่ร่างของเขา

“วันนี้เป็นวันสุดท้ายในชีวิตมึงที่นี่” คือคำพูดของทหารที่กล่าวขณะซ้อมนายอ่อง โก โก แม้ว่าพยานหลักฐานจะประจักษ์ชัดว่าทหารไทยเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการตายของนายอ่อง โก โก แต่พวกเขากลับไม่ได้รับโทษ เจ้าหน้าที่ตำรวจไทยเลือกดำเนินคดีนาย ศิรชัช เขากลายเป็นแพะรับบาปที่ถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 3 ปี 4 เดือน ฐานทำร้ายร่างกายจนเสียชีวิต

“การนำตัวผู้ที่สังหารนายอ่อง โก โก ตัวจริงมาลงโทษจะเป็นก้าวสำคัญในการปกป้องผู้อพยพและผู้ลี้ภัย ซึ่งทั้งสองกลุ่มต่างประสบกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงในประเทศ”

ฟอร์ตี้ฟายไรต์ มองว่าในฐานะที่ไทยเป็นสมาชิกของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาลที่มีหน้าที่ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนทั่วโลก รัฐบาลไทย ควรดำเนินการสอบสวนอย่างละเอียด รวดเร็ว และเป็นกลางเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของทหารไทยในกรณีการทรมานและการสังหารนายอ่อง โก โก และต้องแน่ใจว่าผู้กระทำผิดทั้งหมดได้รับการลงโทษตามกฎหมาย

“ในฐานะสมาชิกใหม่ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน ผู้นำของประเทศไทยมีความรับผิดชอบเพิ่มขึ้นในการปกป้องสิทธิมนุษยชน” แมทธิว สมิท (Matthew Smith) ประธานกรรมการบริหารของฟอร์ตี้ไรต์ กล่าว

สามารถอ่านรายงานเพิ่มเติมได้ที่ https://www.fortifyrights.org 

เปิดเหตุผลทำไม 9 นายก อบจ. ภาคเหนือ ลาออกก่อนหมดวาระ

ตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ) ที่ได้รับเลือกตั้งเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2563 จะมีการครบวาระในการดำรงตำแหน่งในวันที่ 19 ธันวาคม 2567 หากมาดูที่ตัวเลขของ นายก อบจ.ที่ลาออกจากตำแหน่งก่อนครบวาระทั้งหมด 27 คน โดยในพื้นที่ภาคเหนือมีนายก อบจ. ที่ลาออกจากตำแหน่งก่อนครบวาระทั้งหมด 9 จังหวัด ดังนี้ นครสวรรค์ พะเยา พิษณุโลก อุทัยธานี สุโขทัย กำแพงเพชร ตาก เพชรบูรณ์ และอุตรดิตถ์ มีรายชื่อดังนี้

สมศักดิ์ จันทะพิงค์ นายก อบจ.นครสวรรค์ ได้ยื่นลาออกจากตำแหน่งในวันที่ 1 พ.ค. 67 ซึ่งปัจจุบันสมศักดิ์ก็ยังคงดำรงตำแหน่ง นายก อบจ. ได้อีกหนึ่งสมัยหลังจากการเลือกตั้งนายก อบจ.นครสวรรค์ อีกครั้งในวันที่ 23 มิ.ย. ที่ผ่านมา 

อัครา พรหมเผ่า อดีตนายก อบจ.พะเยา น้องชายของ ธรรมนัส พรหมเผ่า ได้ยื่นลาออกจากตำแหน่งในวันที่ 13 มิ.ย. 67 โดยปัจจุบันอัคราไม่ได้ดำรงตำแหน่ง นายกอบจ.พะเยา โดยให้เหตุผลว่าตนต้องการไปเล่นการเมืองระดับชาติ แต่มีการส่งไม้ต่อให้ ธวัช สุทธวงค์ นายก อบจ.พะเยา คนปัจจุบัน

มนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ นายก อบจ.พิษณุโลก ได้ยื่นลาออกจากตำแหน่งในวันที่ 20 มิ.ย. 67 ซึ่งปัจจุบันมนต์ชัยก็ยังคงดำรงตำแหน่ง นายก อบจ. เป็นสมัยที่ 3 หลังจากการเลือกตั้งนายก อบจ.พิษณุโลก อีกครั้งในวันที่ 18 ส.ค. ที่ผ่านมา 

เผด็จ นุ้ยปรี นายก อบจ.อุทัยธานี ได้ยื่นลาออกจากตำแหน่งในวันที่ 2 ส.ค. 67 ซึ่งปัจจุบันเผด็จก็ยังคงดำรงตำแหน่ง นายก อบจ. เป็นสมัยที่ 5 หลังจากการเลือกตั้งนายก อบจ.อุทัยธานี อีกครั้งในวันที่ 6 ต.ค. ที่ผ่านมา โดยการเลือกตั้งในครั้งนี้ เผด็จ เป็นผู้ลงสมัครเพียงคนเดียว

มนู พุกประเสริฐ นายก อบจ.สุโขทัย สามีของน้องสาวของ สมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ยื่นลาออกจากตำแหน่งในวันที่ 19 ก.ย. 67 และปัจจุบันยังคงดำรงตำแหน่ง นายก อบจ. เป็นสมัยที่ 2 หลังจากมีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 3 พ.ย. ที่ผ่านมา

สุนทร รัตนากร อดีตนายก อบจ.กำแพงเพชร ได้ยื่นลาออกจากตำแหน่งในวันที่ 11 ต.ค. ที่ผ่านมา โดยปัจจุบันจังหวัดกำแพงเพชรอยู่ในช่วงหาเสียงเลือกตั้งใหม่อีกครั้ง ก่อนจะมีการเลือกตั้งนายก อบจ.กำแพงเพชร ในวันที่ 1 ธ.ค.ที่จะถึงนี้ สุนทรก็เป็นหนึ่งในผู้ลงสมัครเลือกตั้งเช่นเดียวกัน

ณัฐวุฒิ ทวีเกื้อกูลกิจ อดีตนายก อบจ.ตาก ได้ยื่นลาออกจากตำแหน่งในวันที่ 24 ต.ค. ที่ผ่านมา โดยตั้งแต่วันที่ 4-8 พ.ย. นี้เป็นวันรับสมัครรับเลือกตั้งนายก อบจ.ตาก ซึ่งณัฐวุฒิได้มีการส่งไม้ต่อให้ อัจฉรา ทวีเกื้อกูลกิจ ลูกสะใภ้ของณัฐวุฒิและอดีตรองนายก อบจ.ตาก ในการลงสมัคร หลังจากตนดำรงตำแหน่งนายก อบจ.มากว่า 3 สมัย

อัครเดช ทองใจสด อดีตนายก อบจ.เพชรบูรณ์ ได้ยื่นลาออกจากตำแหน่งในวันที่ 25 ต.ค. โดยมีผลในวันที่ 28 ต.ค. ที่ผ่านมา โดยในวันที่ 4 พ.ย. ที่ผ่านมาเป็นวันเปิดรับสมัครรับเลือกตั้ง โดย อัครเดช ได้ดำรงตำแหน่งนายก อบจ.เพชรบูรณ์ มากว่า 6 สมัย

ชัยศิริ ศุภรักษ์จินดา อดีตนายก อบจ.อุตรดิตถ์ ได้ยื่นลาออกจากตำแหน่งในวันที่ 26 ต.ค. ที่ผ่านมา โดยตั้งแต่วันที่ 4-8 พ.ย. 67 จะเป็นวันเปิดรับสมัครรับเลือกตั้ง และจะมีการเลือกตั้งนายก อบจ.อุตรดิตถ์ในวันที่ 22 ธ.ค.67

จากจำนวนของนายก อบจ. ที่ลาออกก่อนครบวาระ Lanner ได้วิเคราะห์เหตุผลว่า ทำไม? นายก อบจ. ถึงลาออกก่อนครบวาระ ดังนี้

1.ข้อจำกัดด้านกฎหมาย

สิ่งหนึ่งที่ถือว่าเป็นข้อจำกัดแก่เหล่า นายก อบจ. และผู้บริหารท้องถิ่นในการทำงานจนไม่สามารถบริหารงานได้อย่างอิสระตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2562 รวมไปถึงข้อจำกัดในการหาเสียงล่วงหน้า ห้ามผู้สมัครหาเสียงหรือดำเนินการใดๆ ในเชิงหาเสียงเลือกตั้งในระยะเวลา 180 วันก่อนครบวาระ ซึ่งรวมไปถึงการใช้งบประมาณที่มีข้อจำกัดและเงื่อนไขเป็นจำนวนมาก

ในหมวด 6 ค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งและวิธีการหาเสียงเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ตามมาตรา 65 ที่มีข้อห้ามหลายข้อ เช่น ห้ามให้ ทรัพย์สิน หรือ ผลประโยชน์อื่นใดแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ห้ามจัดเลี้ยงหรือมองความบันเทิง ห้ามใช้วิธีการข่มขู่หรือใช้กำลังบังคับ ห้ามใช้ข่าวสารหรือข้อมูลเท็จ ห้ามใช้ทรัพยากรของรัฐเพื่อประโยชน์ส่วนตนในการเลือกตั้ง ทั้ง บุคลากร สถานที่ ยานพาหนะ และวัสดุอุปกรณ์ของทางราชการ หากนายก อบจ.ฝ่าฝืน พ.ร.บ.ดังกล่าว ก็จะมีบทลงโทษทั้ง 1.การตัดสิทธิ์การเลือกตั้ง 2.การเพิกถอนสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้งในครั้งถัดไป รวมไปถึง 3.อาจถูกดำเนินคดีทางอาญาและรับโทษจำคุกหรือปรับ

จะเห็นได้ว่าด้วยข้อจำกัดทางกฎหมายและบทลงโทษที่หากผู้นายก อบจ. ฝ่าฝืนในช่วงคาบเกี่ยวในการทำงานบริหารและช่วงของการหาเสียงเลือกตั้งนั้นมีบทลงโทษที่รุนแรง นี่อาจจะเป็นหนึ่งเหตุผลว่าทำไมเหล่า นายก อบจ. ถึงทยอยลาออกจากการดำรงตำแหน่งของตนก่อนครบวาระในการบริหาร

2.ชิงความได้เปรียบทางการเมือง

นอกจากข้อกฎหมายที่รัดกุมที่ฉุดรั้งนายก อบจ. ทั้งในการทำงานและการหาเสียง การลาออกจากตำแหน่งก่อนครบวาระก็มาพร้อมกับนัยยะทางการเมืองที่แฝงไปด้วยกลยุทธ์เช่นเดียวกัน เนื่องจากหากนายก อบจ. ดำรงตำแหน่งครบวาระกฎหมายกำหนดให้มีการเลือกตั้งภายใน 45 วัน แต่หากลาออกก่อนกำหนดกฎหมายกำหนดให้มีการเลือกตั้งภายใน 60 วัน ซึ่งระยะเวลาในการหาเสียงนานกว่าถึง 15 วัน 

ถึงแม้จะส่งผลให้คู่แข่งทางการเมืองมีเวลาเตรียมการในการหาเสียงมากขึ้น แต่การลาออกก่อนตำแหน่งจะทำให้คู่แข่งตั้งตัวไม่ทันในการหาเสียง ทั้งการเตรียมกำลังพล ทรัพยากร รวมไปถึงการสื่อสาร อาจกล่าวได้ว่าการที่นายก อบจ.หลายคนประกาศลาออกก่อนครบวาระ ตนและพรรคพวกรู้อยู่แล้วว่าจะออกตอนไหน ทำให้การเตรียมกำลังพลและทรัพยากรเป็นไปตามแผนที่วางไว้

ประเด็นการชิงลาออกก่อนนอกจากเป็นการชิงความได้เปรียบทางการเมืองแล้ว การเลี่ยงเผชิญกับกระแสพรรคสีส้มอย่างพรรคประชาชนอดีตพรรคก้าวไกลก็เป็นเรื่องที่น่าคิด เนื่องจากที่ผ่านมาพรรคก้าวไกลถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคส่งผลให้พรรคนั้นต้องโฟกัสกับการก่อร่างพรรคและสมาชิกพรรคใหม่ การเลือกตั้งนายก อบจ.ก็อาจจะถูกลดความสนใจ และนี่อาจจะเป็นอีกหนึ่งช่องว่างที่ทำให้เหล่านายก อบจ. ใช้จังหวะนี้ในการลาออกก่อนหมดวาระและเลือกตั้งใหม่ หรือหากนายก อบจ. ดำรงตำแหน่งอยู่ครบวาระและมีเลือกตั้งนายก อบจ.พร้อมกันทั้งประเทศ การที่ต้องต่อสู้กับกระแสของพรรคการเมืองระดับชาติอย่างพรรคประชาชนก็เป็นเรื่องยาก 

นอกจากนี้ยังมีประเด็นอื่นๆ ที่น่าสนใจอย่างการจัดรูปแถวสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือ ส.อบจ. อีกหนึ่งกลไกทางการเมืองที่สำคัญ ทั้งในการตรวจสอบการบริหารและการถ่วงดุลย์อำนาจของ อบจ. ซึ่งจะครบวาระการดำรงตำแหน่งในวันที่ 19 ธ.ค. และมีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 1 ก.พ. 68 พร้อมกับ นายก อบจ. หากมีนายก อบจ. ลาออกจากตำแหน่งก่อนหมดวาระในจังหวัดใด จะทำให้นายก อบจ.ที่เข้ามาก็จะมีวาระในการดำรงตำแหน่งเป็น 4 ปี ซึ่งวาระ 4 ปี ก็มาพร้อมกับอำนาจที่เพิ่มตาม ก็สามารถนำพรรคพวกของตนเข้าไปนั่งในตำแหน่ง ส.อบจ.ได้ง่ายขึ้น การถ่วงดุลย์อำนาจก็จะน้อยลงหากสัดส่วนของ ส.อบจ.อยู่ในฝั่งเดียวกับตน อาจเปรียบได้ว่าเป็นการผูกขาดอำนาจทางการเมืองอย่างเบ็ดเสร็จ

3.สถานการณ์ที่เปลี่ยนไป

นอกจากเงื่อนไขทางกฎหมายที่รัดตัวเหล่า นายก.อบจ.และกลยุทธ์ทางการเมืองของการเมืองท้องถิ่นแล้ว ถ้าพูดแบบแฟร์ๆ การลาออกจากตำแหน่งก่อนหมดวาระอาจจะมีเหตุผลอื่นที่อาจจะไม่ใช่ที่กล่าวมาข้างต้นก็ได้ อดีต นายก อบจ.หลายคนที่ลาออกเนื่องจากเหตุผลเรื่องส่วนตัวทั้งเรื่องสุขภาพ หรือสถานการณ์ส่วนตัวที่ไม่สามารถปฎิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ อย่างล่าสุด วิเชียร ขาวขำ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ที่ลาออกไปเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 67 เนื่องจากปัญหาสุขภาพ

หรือความสนใจในการย้ายตัวเองไปลงเล่นในสนามการเมืองระดับชาติ อย่าง อัครา พรหมเผ่า อดีตนายก อบจ.พะเยา น้องชายของ ธรรมนัส พรหมเผ่า ที่ได้ยื่นลาออกจากตำแหน่งในวันที่ 13 มิ.ย. 67 เพื่อไปนั่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หลังความขัดแย้งภายในพรรคพลังประชารัฐต้นสังกัดของพี่ชาย

อย่างไรก็ตามการลาออกจากตำแหน่งก่อนหมดวาระจะมีเหตุผลรองรับไม่ว่าจะทั้งกฎหมาย ยุทธศาสตร์ทางการเมือง หรือเหตุผลอื่นๆ แต่สิ่งที่ประชาชนต้องเสียในสมการนี้แน่ๆ ก็คือเวลาที่ต้องไปเลือกตั้งจาก 1 ครั้งที่สามารถหย่อนบัตรทั้ง นายก อบจ. และ ส.อบจ จะกลายเป็นการเลือกตั้งถึง 2 ครั้งที่ต้องไปเลือกนายก อบจ. ที่ลาออกก่อนหมดวาระ 1 ครั้ง และ ส.อบจ. อีก 1 ครั้ง นอกจากนี้ยังรวมถึง กกต. ต้องใช้งบประมาณในการจัดการเลือกตั้งใหม่ถึง 2 (เลือกตั้งนายก อบจ. ก่อนหมดวาระ 1 ครั้ง และ เลืองตั้ง ส.อบจ. ตามวาระอีก 1 ครั้ง) ซึ่งแต่ละครั้งใช้งบประมาณจากภาษีประชาชนแตกต่างกันตามจังหวัดและพื้นที่ประมาณ 30 ล้านบาท ซึ่งหากจัดให้มีการเลือกตั้ง 2 ครั้งจะต้องคูณงบประมาณไปถึง 2 เท่า ซึ่งเป็นการเสียงบประมาณโดยใช่เหตุ 

รวมไปถึงการที่ประชาชนจะได้มีผู้นำในการบริหารจังหวัดของตนไม่ครบ 4 ปี และความต่อเนื่องที่ของนโยบายและโครงการที่เป็นต่อนๆ ขาดครึ่ง ก็จะทำให้ประชาชนเสียประโยชน์ในส่วนนี้อีกด้วย นี่อาจเป็นเหตุผลว่าทำไมเราในฐานะประชาชนต้องช่วยกันตรวจสอบและตั้งคำถามกับทั้งตัวบทกฎหมายที่รัดกุมรวมไปถึงการลาออกก่อนหมดวาระของเหล่า นายก อบจ.ที่อาจจะความหมายแฝงของผลประโยชน์ส่วนตนมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม

ความเชื่อพิธีกรรมการย่นข้าว : ความเปลี่ยนแปลงบ้านหนองอุมลัว หมู่ 6 ตำบลโพนสูง อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย

เรื่อง: ธีรภัทร์ แก้วกัณหา และปวีณา บุหร่า*

ความนำ

บทความชิ้นนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาความเชื่อการย่นข้าว พิธีกรรม และความเปลี่ยนแปลงของการย่นข้าวของชาวบ้าน บ้านหนองอุมลัว หมู่ 6 ตำบลโพนสูง อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย

ผลการศึกษาพบว่า ความเชื่อเกี่ยวกับพิธีกรรมการย่นข้าวสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างชาวบ้านและเรื่องเหนือสิ่งธรรมชาติ โดยมีความเชื่อว่าการเจ็บป่วยบางอย่างเกิดจากผีหรือวิญญาณมารบกวน ความเชื่อพิธีกรรมย่นข้าวชาวบ้านหนองอุมลัวเชื่อว่า พิธีกรรมย่นข้าวจะช่วยหาสาเหตุการเจ็บป่วยได้

พิธีกรรมย่นข้าวเริ่มจากผู้ทำพิธีจะนำข้าวเหนียวมาปั้นเป็นก้อนกลมแล้วผูกด้วยสายสิญจน์ ผู้ป่วยจะตั้งคำถามว่า สาเหตุการป่วยเกิดจากอะไร ผีใช่ไหม หากใช่ข้าวที่ติดกับสายสิญจน์จะแกว่งไปมา หากไม่ใช่ข้าวที่ติดกับสายสิญจน์ก็จะไม่แกว่ง

ความเปลี่ยนแปลงของพิธีกรรมย่นข้าว ข้อมูลจากการสัมภาษณ์หมอพิธีกรรม พบว่า เมื่อการแพทย์แผนปัจจุบันเข้ามามีบทบาทในสังคมมากขึ้น ทำให้ผู้คนหันไปใช้การรักษาที่เป็นการแพทย์แผนปัจจุบันมากขึ้น การหาสาเหตุการเจ็บป่วยแบบแพทย์พื้นบ้านด้วยการย่นข้าวจึงลดลง ส่งผลให้บทบาทของหมอพิธีกรรม  ความเชื่อและพิธีย่นข้าวของบ้านหนองอุมลัวจึงลดลงเช่นกัน

พิธีกรรมย่นข้าว บ้านหนองอุมลัว ตำบลโพนสูง อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย เป็นพิธีกรรมหาสาเหตุการเจ็บป่วยโดยใช้ข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนกลมและติดกับสายสิญจน์ ผู้ที่ไปให้พิธีกรรมย่นข้าวช่วยจะตั้งสมมติฐานขึ้นเพื่อถามผู้ทำพิธีกรรมย่นข้าว เช่น นาย/นางนี้ป่วยเพราะผีมาก่อกวนใช่ไหม ถึงทำให้ผู้ป่วยไม่สบาย หาก “ใช่” ข้าวก็จะแกว่งไปมา หาก “ไม่ใช่” ตามที่ตั้งคำถามไว้ ข้าวก็จะไม่แกว่ง แต่ถ้าผู้ทำพิธีกรรมย่นข้าวบอกว่าผีมาก่อกวนทำให้ไม่สบาย ผู้ทำพิธีกรรมย่นข้าวจะบอกผู้ที่ไปให้พิธีกรรมย่นข้าวช่วย ว่า “กลับไปบ้านให้จัดเตรียมหาพาข้าวน้อยไปให้ผีกิน ผู้ป่วยจะหาย” ส่วนมากแล้วผู้ป่วยจะหาย[2] ความเชื่อพิธีกรรมการย่นข้าว อาจทำให้เห็นถึงความเชื่อของชาวบ้านหนองอุมลัวต่อพิธีกรรมย่นข้าวและความเปลี่ยนแปลงของพิธีกรรม ในการหาสาเหตุการเจ็บป่วย เนื่องจากการเข้ามาของเทคโนโลยีและการแพทย์สมัยใหม่ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงทั้งความเชื่อและการรักษาของพิธีกรรม ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาความเชื่อพิธีกรรมการย่นข้าวและความเปลี่ยนแปลงของพิธีกรรมย่นข้าวบ้านหนองอุมลัว เนื่องจากพิธีกรรมดังกล่าวสามารถแสดงให้เห็นถึงการรักษาโรคของชาวบ้าน และทำให้เห็นถึงความเชื่อของชาวบ้านต่อพิธีกรรมย่นข้าวอีกด้วย

บทความนี้จะศึกษาเนื้อหาที่สำคัญดังนี้ 1.ประวัติบ้านหนองอุมลัว 2.ความเชื่อและพิธีกรรมย่นข้าว บ้านหนองอุมลัว อำเภอด่านซ้าย ตำบลโพนสูง จังหวัดเลย เป็นการศึกษาถึงขั้นตอนและรายละเอียดของพิธีกรรม เช่น ความเชื่อเกี่ยวกับพิธีกรรมย่นข้าว ความเป็นมาของพิธีกรรม และ 3.การเปลี่ยนแปลงของพิธีกรรมย่นข้าว เป็นการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของพิธีกรรมเมื่อการแพทย์แผนสมัยใหม่เข้ามามีบทบาทในชุมชนมากขึ้น ส่งผลให้พิธีกรรมย่นข้าวได้รับผลกระทบ

ประวัติและความเป็นมาของบ้านหนองอุมลัว

บ้านหนองอุมลัว ตั้งอยู่ในตำบลโพนสูง อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ไม่ได้มีการจดบันทึกของประวัติหมู่บ้านไว้อย่างแน่ชัด แต่เป็นการเล่าจากรุ่นสู่รุ่นซึ่งแบ่งออกเป็น 3 แบบดังนี้ 1. เป็นนกกระยาง สีน้ำตาล คอยาว ปากยาว แหลมคม ซึ่งมีมากในหนองน้ำ ชื่อนก อัวลัว เสียงร้องดังก้องกังวาน ไปไกล ครั้งแรก คงเรียกว่าหนองนกอัวลัวนานเข้าคำว่านกหายไป เหลือแต่ หนองอุมลัว 2. ตั้งตามลักษณะของหนองน้ำ คำเดิมคงเป็นอุลลัว ภาษาถิ่นหมายถึง อุม แปลว่า ชุ่มชื้น ลัว แปลว่า กว้างใหญ่ นานเข้าเสียงวรรณยุกต์เอกหายไปคงเหลือเพียง หนองอุมลัว หมายถึงหนองกว้างชุ่มชื่น 3. คำว่า ลัว อาจมาจากที่ว่า อั้วลั้ว หมายความว่า ขุ่นข้น เหลวไม่มีน้ำ เหยียบผืนแหน จะสะเทือนไปทั่วหนองน้ำ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า เฝี่ยน หรือ แปลว่า ดินดูด ซึ่งหมู่บ้านได้ตั้งอยู่ใกล้หนองน้ำจึงได้ชื่อว่า หนองอุมลัว[3]

ลักษณะของหมู่บ้านหนองอุมลัวนั้นทิศเหนือจะติดกับ ตำบลโคกงาม ทิศตะวันออกจะติดกับ บ้านหัวฝาย และบ้านหนองสนุ่น ทิศใต้จะติดกับ บ้านโพนสูง และบ้านหางนา ทิศตะวันตกจะนั้นติดกับบ้าน ห้วยตาด ภูมิอากาศบ้านหนองอุมลัว มีทั้งหมด 3 ฤดู ประกอบด้วย 1.ฤดูฝน 2. ฤดูร้อน 3. ฤดูหนาว ทั้ง 3 ฤดูนี้ทำให้ชาวบ้านหนองอุมลัวมีวิถีชีวิตที่แตกต่างกันไป วิถีชีวิตและการสร้างอาชีพหรือการสร้างรายได้ของคนบ้านหนองอุมลัว จะเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาล เช่น เมื่อฤดูฝน ชาวบ้านจะออกไปหากบ (ภาษาถิ่นเรียกว่าไต่เขียด) เป็นวิถีชีวิตอย่างหนึ่งที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในหมู่ชาวบ้านช่วงฤดูฝน นอกจากจะนำมาบริโภคแล้วยังนำไปขายในตลาดหรือคลองถมอีกด้วย[4]

การประกอบอาชีพของชาวบ้านหนองอุมลัว อาชีพของชาวบ้านหนองอุมลัวนั้น หลากหลายอาชีพ ในอดีตบ้านหนองอุมลัวจะมีการทำเกษตร ชาวบ้านหนองอุมลัวมีอาชีพเกษตรกรปลูกข้าวเป็นส่วนใหญ่ แต่ในปัจจุบันนี้พื้นที่ที่ปลูกข้าวในอดีตได้กลายมาเป็นการปลูกพืชชนิดอื่นแทนอย่างเช่น แก้วมังกร เสาวรส และมันสำปะหลัง นอกจากนี้พื้นที่ทางกลางเกษตรบางส่วนได้กลายเป็นที่สร้างบ้านเรือนของชาวบ้าน[5] และในปัจจุบันเกิดอาชีพที่หลากหลายมากขึ้น ทำให้การปลูกข้าวได้เรือนหายไปแต่ก็มีอยู่บ้าง เมื่อระบบการศึกษาเข้ามามีบทบาทมากขึ้นทำให้การทำนานั้นลดลงทำให้คนรุ่นหลังหันเข้าสู่ตลาดแรงงานอย่างเช่น ภาคอุตสาหกรรม   รับราชการ จึงไม่ได้ใส่ใจการทำนามากนัก

ความเชื่อพิธีกรรมย่นข้าว

ชาวบ้านหนองอุมลัว มีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องผี หรือสิ่งเหนือธรรมชาติ โดยเชื่อว่าผีจะอยู่ในวิถีชีวิตของพวกเขา เช่น จะทำอะไรก็ต้องยกมือไหว้ขอก่อน เนื่องจากเชื่อว่าทุกที่มีเจ้าที่ ผีสาง เทวดา หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์อาศัยอยู่ ยกตัวอย่าง เมื่อเข้าป่าชาวบ้านก็จะยกมือไหว้บอกผีป่า ว่า “อย่าบังตา อย่ามาแกล้ง”[6]  นอกจากผีป่าแล้วยังมีความเชื่อเกี่ยวกับผีบ้านอีกด้วย ยกตัวอย่าง เมื่อลูกหลานกลับมาบ้านในช่วงเทศกาลหรือวันหยุดยาว แม่หรือคนเฒ่าคนแก่ที่อยู่ที่บ้านก็จะหาพาข้าวน้อยไหว้บอกผีบ้านผีเรือน ดังนั้นความเชื่อเรื่องผีถือว่าเป็นเครื่องยึดเหนียวจิตใจของชาวบ้านเลยก็ว่าได้ ทำให้ชาวบ้านเกิดความศรัทธา และความสบายอก สบายใจ[7] เช่น การรักษาหรือการหาสาเหตุผ่านพิธีกรรมความเชื่อ ซึ่งทำให้ชาวบ้านเกิดความศรัทธาและมีความเชื่อต่อพิธีกรรมในการรักษาสิ่งต่าง ๆ

พิธีกรรมย่นข้าวของชาวบ้านหนองอุมลัว ตำบลโพนสูง อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย เป็นพิธีกรรมหาสาเหตุการเจ็บป่วยที่เกิดจากผี ชาวบ้านเชื่อว่าการเจ็บป่วยหรือความไม่สบายเกิดจากการรบกวนของผีหรือวิญญาณทั้งดีไม่ดี ผีเหล่านี้อาจจะมาสิงมารบกวนทำให้ผู้คนไม่สบาย พิธีกรรมการย่นข้าวจึงจะหาสาเหตุการเจ็บป่วยโดยใช้ข้าวเหนียวที่ติดกับสายสิญจน์ช่วยในการสื่อสารกับผีโดยการแกว่งข้าวและใช้พิธีกรรมหาพาข้าวน้อยในการรักษา

การรักษาด้วยพิธีกรรมทั้งสองนี้สามารถเยี่ยวยาจิตใจของชาวบ้านหนองอุมลัวได้ โดยให้พิธีกรรมย่นข้าวหาสาเหตุการเจ็บป่วยและใช้พิธีกรรมหาพาข้าวน้อย ในการรักษาโดยการไปไหว้ ขอโทษ ขอขมาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และสิ่งลี้ลับให้อภัยเราในสิ่งที่เราล่วงเกินไป หรือขอให้ผีไม่มาก่อกวนให้เราไม่สบาย ขอให้หายจากอาการป่วย  การทำพิธีกรรมย่นข้าวและพิธีกรรมหาพาข้าวน้อยทำให้ชาวบ้านหนองอุมลัวรู้สึกปลอดภัยและมีความหวังในการหายป่วย นอกจากนี้พิธีกรรมที่กล่าวมาข้างต้นสามารถเยี่ยวยาสภาพจิตใจของผู้ป่วยและชาวบ้านได้อีกด้วย พิธีกรรมมีส่วนในการส่งเสริมสุขภาพทั้งด้านจิตใจและสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ[8]

พิธีกรรมหาพาข้าวน้อยในการรักษา คือ เป็นการจัดสำรับอาหารประกอบไปด้วย อาหารคาว ของหวาน   ต่าง ๆ พร้อมกับน้ำ 1 แก้วเล็ก แต่การจัดสำรับอาหารจะจัดเป็นขนาดเล็ก คือ การจัดสำรับอาหารใส่ถ้วยเล็ก เหมือนการจัดสำรับอาหารที่เรากินกันแต่ พาข้าวน้อย เป็นการจัดสำรับอาหารที่มีขาดเล็กลงจากสำรับอาหารที่เราจัด พาข้าวน้อยช่วยรักษาอาการป่วยได้ เมื่อเราไปให้พิธีกรรมย่นข้าวช่วยหาสาเหตุการเจ็บป่วย เมื่อรู้แล้วว่าสาเหตุการป่วยเกิดจากผีเป็นผู้กระทำ ผู้ทำพิธีกรรมย่นข้าวจะให้ผู้ป่วย กลับบ้านไปหาข้าวน้อยให้ผีกิน เมื่อผีได้กินพาข้าวน้อยที่เราจัดเตรียมไปให้แล้ว ผีก็จะออกไป ไม่มารบกวน ไม่มาทำให้เราไม่สบาย ผู้ป่วยจากไม่สบายไม่หายป่วย เมื่อจัดเตรียมพาข้าวน้อยไปให้พาผีกินก็บอกชื่อผู้ป่วย เช่น “นาง/นายนี่หาพาข้าวมาให้กินละเด้อ อย่ามากวนอย่ามาเฮ็ดให้บ่สบายอีกเด้อ กินละกะไปเด้อ”[9]  เมื่อหาพาข้าวให้ผีกินเสร็จแล้ว ส่วนใหญ่ 1 – 2 วันก็จะหายป่วย นางจิราภรณ์ ให้สัมภาษณ์ว่า “เมื่อให้พิธีกรรมย่นข้าวช่วยหาสาเหตุการป่วยละ พอกลับบ้าน หาพาข้าวน้อยให้ผีกินตามผู้ทำพิธีกรรมบอก ประมาณวัน สองวันก็หายป่วย”[10] การหาพาข้าวน้อยให้ผีกินจะจัดนอกบ้าน หน้าบ้านหรือหลังบ้านก็ได้ขอเพียงแค่อยู่นอกบ้านของเรา สาเหตุที่ต้องทำนอกบ้าน นางหวาน โสประดิษฐ ให้สัมภาษณ์ว่า “ครั้นหาในบ้านผีก็จะเข้ามาในบ้าน เลยต้องไปหานอกบ้าน จะหาข้างหลังบ้าน หน้าบ้านหรือข้างบ้านก็แล้วแต่เราเพียงไม่ให้หาพาข้าวน้อยในบ้าน”[11]

พิธีกรรมย่นข้าวเป็นรูปแบบหนึ่ง ในการหาสาเหตุการเจ็บป่วยโดยใช้ความเชื่อเข้ามาเกี่ยวข้อง ถึงแม้ว่าคนในปัจจุบันมองว่าเป็นเรื่องไร้สาระ แต่มุมมองของคนในอดีตนั้นเชื่อว่าพิธีกรรมนี้ช่วยได้ ซึ่งในปัจจุบันก็มีชาวบ้านเข้ามาให้ย่นข้าวให้อยู่เป็นประจำ ควบคู่กับการรักษาทางการแพทย์สมัยใหม่และพิธีกรรมย่นข้าวเป็นการรักษาทางจิตใจของชาวบ้านหนองอุมลัว ในปัจจุบัน ก็มีคนเข้ามาให้ย่นข้าวให้ ครั้นอยู่ไกลก็โทรมาบอกว่า ให้ย่นข้าวให้ “บ่สบายมาหลายมื้อแล้ว ยายน้อยกะอิย่นข้าวให้ ครั้นได่คำตอบละว่าเกิดจากอิหยังยายน้อยกะอิโทรไปบอก เขาบ่หาพาข้าวน้อยคืออยู่บ้านเฮา เขากะไปทำบุญ พอมื้อสองมื้อกะหายดี”[12] พิธีกรรมย่นข้าวเป็นพิธีกรรมหาสาเหตุการเจ็บป่วย แต่พาข้าวน้อยเป็นการรักษา เหมือนกับการขอขมาผีให้หายป่วยโดยการจัดพาข้าวน้อยไปให้ผีกินข้าว

หมอพื้นบ้านในพิธีกรรมย่นข้าว

จากการลงพื้นที่ ผู้วิจัยได้สัมภาษณ์ นางสุริน โสประดิษฐ ผู้ทำพิธีกรรมย่นข้าว นางสุรินเล่าว่า “พิธีกรรมย่นข้าวนั้นสืบทอดต่อกันมาตั้งแต่รุ่นแม่ นางสุรินเริ่มทำพิธีกรรมย่นข้าวหลังจากแม่เสีย เมื่อประมาณ 23 ปีที่แล้ว(นับจากปีปัจจุบันพ.ศ. 2567) เมื่อพ.ศ. 2544 ตอนเริ่มทำพิธีกรรมนางสุรินมีอายุประมาณ 50 ปี”[13]

นางสุริน โสประดิษฐ เล่าว่า “เมื่อก่อนชาวบ้านหนองอุมลัวไม่มีหมออนามัยในการรักษา ก็ต้องใช้หมอสมุนไพร หมอพิธีกรรม หมอเป่า ช่วยในการรักษาอาการป่วย และอุบัติเหตุต่าง ๆ ทำให้ชาวบ้านเกิดความคิดกำเนิดพิธีกรรมย่นข้าวขึ้น เพื่อหาสาเหตุการป่วย”[14]

ขั้นตอนการทำพิธีกรรมย่นข้าว

1. ผู้ป่วยเกิดอาการป่วยโดยไม่รู้สาเหตุ ไปหาหมอมาแล้วยังไม่ดีขึ้น

2. ผู้ป่วยจะแต่งขันธ์ 5 เข้ามาหาผู้ทำพิธีกรรมย่นข้าว

3. เมื่อผู้ทำพิธีกรรมทราบแล้วว่าผู้ป่วยมาให้พิธีกรรมย่นข้าวช่วยเหลือ

4. ผู้ทำพิธีกรรมจะจัดเตรียมอุปกรณ์ดั้งนี้ คือ สายสิญจน์ และข้าวเหนียว ขนาดสายสิญจน์จะตัดให้ได้ขนาดความยาวประมาณ 10 – 15 เซนติเมตร เมื่อขนาดสายสิญจน์ได้ขนาดได้แล้วก็นำข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนกลม ติดกับสายสิญจน์ เมื่อจัดเตรียมพร้อมแล้วก็เริ่มพิธีกรรม

5. ผู้ป่วยจะถามผู้ทำพิธีกรรม เช่น อาการป่วยเกิดจากผีตามมาก่อกวนทำให้ไม่สบายหรือไม่ หากใช่ ข้าวที่ติดกับสายสิญจน์ ก็จะแกว่ง แต่หากไม่ใช่ ข้าวที่ติดสายสิญจน์บนมือของผู้ทำพิธีกรรมก็จะไม่แกว่ง หากผู้ป่วยทราบว่าเกิดจากผี

6. เมื่อทราบแล้วว่าเกิดจากผี ผู้ป่วยกลับบ้านมาจะจัดเตรียมอาหาร ซึ่งเรียกว่า “พาข้าวน้อย” เพื่อไหว้ผี ไม่ให้มาก่อกวนทำเราไม่สบาย เพียงวัน สองวัน อาการป่วยก็จะดีขึ้น[15]

บทสัมภาษณ์ผู้ที่เคยใช้พิธีกรรมย่นข้าวในการหาสาเหตุโรค

นางหวาน โสประดิษฐ์ ให้สัมภาษณ์ว่า “เมื่อก่อนยายเลี้ยงหลาน หลานมักให้อยู่ซือ ๆ หลานยายก๋อไห้ บ่ฮู้เป็นหยัง ไห้หลายเทื่อ บ่ฮู้เกิดจากอิหยัง ยายกะเลยให้ยายน้อย ย่นข้าว ว่าหลานยายเป็นหยังถึงไห้จั่งสี้ พอยายให้ยายน้อยย่นข้าวไห้ละกะฮู้ว่า มีผีมากวน ยายน้อยกะให้ยาย หาข้าวน้อยละกะบอกผีเอา พอยายกลับมาบ้านยายกะจัดหาพาข้าวน้อยให้ผีได้กินแล้วละกะขอผีอย่ามากวนหลาน ให้หลานเซาไห้เด้อ พอยายเฮ็ดให้แล้ว มื้อ สองมื้อหลานยายกะเซาไห้”[16]

นางสาวชริญญา พรมโสภา ให้สัมภาษณ์ว่า “ตอนนั้นเฮ็ดของหายเป็นเหรียญพระ ตอนนั้นพอดีว่าอิเดินทางไกลไปเรียนปกติอิพกเหรียญพระตอนเดินทางนำ แต่ก่อนอิออกเดินทางเหรียญหาย บ่จักว่าจัวเองเอาไปไว้ได หาทั่วบ้านละก็บ่เห็น เลยไปหายายน้อยให้ย่นข้าวเบิ่ง ว่าเหรียญพระหายไปได ยายน้อยกะถามให้ว่าอยู่ม่งได คั้นแม่นข้าวก็อิแกว่ง คั้นบ่แม่นข้าวก็บ่แกว่ง ยายน้อยกะถามไปว่าอยู่หลังตู้บ่ข้าวก็แกว่ง อยู่ห้องนอนบ่ข้าวก็แกว่ง พอกลับไปหากะเจอ”[17]

นายไพวัลย์ โสประดิษฐ์ ให้สัมภาษณ์ว่า “ตอนนั้นลุงป่วยเจ็บเนื้อเจ็บตัว ลุกบ่ได๋เลย เวียนหัว ละกะอ้วกหลายเทื่อ ก่อนอิป่วยลุงกะไปสวนตามปกติ พอตกแลงดึก จู่ ๆ กะมีไข้ตัวฮ้อนเวียนหัว ลุกบ่ได๋ บ่ฮู้เป็นหยัง ลุงกะเลยให้หลานไปให้ยายน้อย ย่นข้าวเบิ่งว่าเป็นอิหยัง พอย่นข้าวเบิ่งละ ยายน้อยบอกว่า แม่ของลุงเข้าป่าไปหาของป่ามากิน เลยเฮ็ดให้ผีป่าตามแม่ลุงมา ละกะมาเฮ็ดให้ลุงป่วย ละพอมื้อเช้าแม่ลุงกะหาพาข้าวน้อย  ไปขอขมาผี ละกะบอกว่า ได่กินข้าวละก๋อกลับไปที่เคยมา ละอย่ามาเฮ็ดลูกเฮ็ดหลานยายอีก มื้อสองมื้อกะดีขึ้น กลับมาแข็งแรงคือเก่า เข้าป่าเข้าสวนได่คือเก่า”[18]

นางสุริน โสประดิษฐ กำลังทำพิธีกรรมย่นข้าว

ข้าวหยุดนิ่ง หากคำถามของผู้ที่ให้ทำพิธีกรรมย่นข้าวแล้วคำตอบ ไม่ใช่ ข้าวก็จะหยุดนิ่ง

ข้าวกำลังแกว่งไปมา หากคำถามของผู้ที่ให้ทำพิธีกรรมย่นข้าวแล้วคำตอบเป็นว่าใช่ ข้าวก็จะแกว่งไปมา

ความเปลี่ยนแปลงของพิธีกรรมย่นข้าว

การแพทย์สมัยใหม่เข้ามาในชุมชนบ้านหนองอุมลัว ส่งผลให้การแพทย์พื้นบ้านโดนลดบทบาทลง คนรุ่นหลังให้ความสนใจกับเทคโนโลยีการแพทย์สมัยใหม่มากขึ้น เมื่อสถานีอนามัยบ้านหนองอุมลัวได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2540[19] ส่งผลให้จำนวนผู้คนหันมาใช้พิธีกรรมย่นข้าวลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากปี พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา เมื่อการแพทย์สมัยใหม่สามารถเข้าถึงผู้คนได้กว้างขวางและสะดวกมากขึ้น ทำให้กลุ่มคนรุ่นใหม่เริ่มไม่ได้สนใจในการใช้พิธีกรรมย่นข้าวหาสาเหตุการเจ็บป่วยแต่กลับเลือกพึ่งพาการแพทย์แผนสมัยใหม่เป็นหลักเมื่อผ่านไปอีก 10 ปี พ.ศ. 2560 กลุ่มผู้มาให้พิธีกรรมย่นข้าวช่วยหาสาเหตุการเจ็บป่วย จะเป็นกลุ่มผู้ที่ช่วงอายุราวประมาณ 40 ปี เป็นต้นไปมาให้พิธีกรรมย่นข้าวช่วยในหาสาเหตุการเจ็บป่วย[20]

การรักษาในทางการแพทย์สมัยใหม่นั้นจะเน้นไปที่การรักษาทางอาการและทางกายซึ่งสามารถวินิจฉัยได้ด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ เช่น การตรวจร่างกาย การใช้ยา การผ่าตัด หรือการใช้เครื่องมือทางการแพทย์ การรักษานี้มุ่งเน้นไปที่การหายจากอาการทางกายอย่างชัดเจน แต่ในบางครั้ง อาการทางจิตใจหรือความเครียดที่เป็นสาเหตุร่วมอาจไม่ได้รับการดูแลเท่าที่ควร จึงทำให้ผู้ป่วยบางราย แม้จะได้รับการรักษาทางร่างกายแล้ว แต่อาการทางใจที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่สบายใจได้[21]

ผู้วิจัยพบว่าการรักษาด้วยพิธีกรรมไม่ได้เน้นการรักษาเฉพาะการรักษาทางกาย แต่ยังให้ความสำคัญกับการดูแลจิตใจของผู้ป่วยอีกด้วย การทำพิธีกรรม เช่น การหาสาเหตุของการป่วยจากผีหรือวิญญาณ หรือการเซ่นไหว้เพื่อปลอบประโลมผีให้ปล่อยผู้ป่วยจากความทุกข์ อาจไม่ได้เป็นการรักษาโดยตรงทางร่างกาย แต่สร้างความสบายใจให้กับผู้ป่วยและครอบครัว ความเชื่อในพิธีกรรมเหล่านี้ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าได้รับการช่วยเหลือจากสิ่งเหนือธรรมชาติ ซึ่งส่งผลให้จิตใจสงบและเกิดความมั่นใจว่าตนจะหายจากโรคได้[22]

ความสัมพันธ์ระหว่างกายกับใจความเจ็บป่วยไม่ได้เกิดจากอาการทางกายเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงความไม่สมดุลของจิตใจ ความเครียด ความวิตกกังวล หรือความเชื่อที่ฝังแน่นในเรื่องเหนือธรรมชาติ การที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาทางจิตใจด้วยการสร้างความเชื่อมั่นว่าตนจะหายจากการเจ็บป่วย เช่น การได้รับการปลอบใจจากหมอพื้นบ้าน หรือการทำพิธีกรรมเพื่อขจัดสิ่งชั่วร้าย สิ่งเหล่านี้อาจส่งผลต่อการฟื้นตัวของร่างกายด้วยเช่นกัน ความเชื่อและความมั่นใจเหล่านี้ทำให้จิตใจของผู้ป่วยมีพลังบวก ซึ่งสามารถส่งผลต่อร่างกายได้โดยตรง ด้วยเหตุนี้เองพิธีกรรมจึงได้เข้ามามีส่วนร่วมในการรักษาผู้ป่วยด้วยเช่นกัน แต่เป็นการรักษาผู้ป่วยทางสภาพจิตใจ พิธีกรรมถือเป็นการเยี่ยวยาผู้คนที่เข้ามาให้พิธีกรรมช่วย ถึงแม้ว่าพิธีกรรมจะไม่มียาใด ๆ แต่มีหนึ่งสิ่งที่สำคัญคือ ความศรัทธา และความเชื่อ[23]

การรักษากายและใจมีความสำคัญไม่แพ้กัน โดยการรักษาทางกายด้วยแพทย์แผนปัจจุบันมุ่งเน้นการฟื้นฟูร่างกาย แต่การรักษาทางใจด้วยพิธีกรรมหรือการดูแลจากหมอพื้นบ้านช่วยสร้างความสบายใจและเสริมสร้างพลังทางจิตใจ ซึ่งสามารถมีผลกระทบต่อการฟื้นตัวของร่างกายได้เช่นกัน การประสานทั้งสองแนวทางเข้าด้วยกันจะช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้อย่างสมบูรณ์

นอกจากการแพทย์สมัยใหม่เข้ามาแล้ว การไม่มีผู้สืบทอดพิธีกรรมย่นข้าวก็อาจทำให้พิธีกรรมย่นข้าวหายไปในอนาคต นางสุริน โสประดิษฐ ให้สัมภาษณ์ว่า “ปัจจุบันยังไม่มีผู้สืบทอดพิธีกรรมย่นข้าวต่อ ลูกหลานก็เฮ็ดบ่ได(ลูกหลานก็ทำไม่ได้)”

ผู้วิจัยถามนางสุริน ต่อไปว่า “ถ้าหมดรุ่นยายไปแล้วพิธีกรรมย่นข้าวก็จะหายไปใช่ไหม” นางสุริน ตอบว่า “ก็แม่นแน้วหว่า(ก็อาจจะใช่นั้นแหละ)”[24] ทำให้เห็นได้ว่านอกจากการแพทย์สมัยใหม่ที่เข้ามามีบทบาทในสังคมไทยแล้ว เรื่องความรู้สมัยใหม่ก็มีส่วนในการทำให้พิธีกรรมย่นข้าวนั้นหายไป นอกจากนี้สื่อออนไลน์ เทคโนโลยี และคนรุ่นหลังได้รับการศึกษาที่เป็นสมัยใหม่มากขึ้น ทำให้คนรุ่นใหม่มีความเชื่อต่อพิธีกรรมย่นลดน้อยลง ดังนั้นเมื่อบริบททางด้านสังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงทำให้พิธีกรรมย่นข้าวต้องปรับตัวให้เข้ากับบริบททางสังคม เช่น การรักษาควบคู่กับการแพทย์แผนปัจจุบัน การแพทย์แผนปัจจุบันจะเข้าถึงผู้คนในชุมชนมากขึ้น ผู้คนบางส่วนยังคงเลือกที่จะทำพิธีกรรมย่นข้าวควบคู่ไปกับการรักษาทางการแพทย์ เช่น เมื่อรักษาทางการแพทย์แล้วอาการไม่ดีขึ้น ผู้ป่วยหรือญาติอาจหันไปพึ่งพิธีกรรมย่นข้าวเพื่อหาสาเหตุการป่วย จากความเชื่อด้านจิตวิญญาณ

สรุป

ชาวบ้านหนองอุมลัวมีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องผี สิ่งเหนือธรรมชาติ ชาวบ้านหนองอุมลัวเชื่อผีอยู่ในวิถีชีวิตของชาวบ้าน คือ จะทำอะไรก็ต้องไหว้ขอก่อน เนื่องจากมีความเชื่อที่ว่าทุกที่มีผีสาง เทวดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์อาศัยอยู่ เช่น เมื่อเข้าป่าชาวบ้านก็จะยกมือไหว้บอกผีป่า ว่า อย่าบังตา อย่ามาแกล้ง  หรือแม้แต่ในบ้าน เมื่อลูกหลานกลับมาบ้านช่วงเทศกาลหรือหยุดยาว แล้วลูกหลานกลับมานอนอยู่บ้าน เจ้าของบ้านก็จะหาพาข้าวน้อยไหว้บอกผีบ้านผีเรือน ความเชื่อเรื่องผีถือว่าเป็นเครื่องยึดเหนียวจิตใจของชาวบ้านหนองอุมลัวเลยก็ว่าได้ เมื่อมีการไหว้บอกกล่าวแก่ผี ชาวบ้านก็จะมีความมั่นใจในการทำสิ่งนั้น เช่น การรักษาด้วยพิธีกรรม ชาวบ้านก็จะได้มีความสบายอกสบายใจทำให้จิตใจของผู้ป่วยกลับมาแข็งแรงโดยเร็ว

พิธีกรรมย่นข้าวเป็นความเชื่อพื้นบ้านของชาวบ้านหนองอุมลัว มีรากฐานมาจากความเชื่อเกี่ยวกับผี และเรื่องเหนือสิ่งธรมมชาติ พิธีกรรมย่นข้าวเป็นการเสี่ยงทายและการหาสาเหตุของการเจ็บป่วย โดยเชื่อว่าอาการป่วยเกิดจากผีหรือสิ่งเหนือธรรมชาติเข้ามารบกวนทำให้เราป่วย

แต่เมื่อการแพทย์สมัยใหม่เข้ามามีบทบาทในชุมชนทำให้คนรุ่นหลังหันไปเชื่อแบบวิทยาศาสตร์มากขึ้น ความเชื่อต่อพิธีกรรมการย่นข้าวน้อยลงไป การแพทย์สมัยใหม่มีการวินิจฉัยโรคมีเหตุมีผลมากกว่าพิธีกรรม และเครื่องมือทางการแพทย์มีความทันสมัย ทำให้ผู้คนต่างให้ความสนใจกับการแพทย์สมัยใหม่มากขึ้น นอกจากการแพทย์สมัยใหม่เข้ามาแล้ว การไม่มีผู้สืบทอดพิธีกรรมย่นข้าวก็อาจทำให้พิธีกรรมย่นข้าวหายไปในอนาคต


[*] หมายเหตุ งานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ปริญญาตรีเรื่อง  ความเชื่อพิธีกรรมการย่นข้าวและความเปลี่ยนแปลงบ้านหนองอุมลัว หมู่ 6 ตำบลโพนสูง อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2567.

* อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

รายการอ้างอิง

[2] สัมภาษณ์ นางมาลิกา พรมโสภา, วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567.

[3] GoToเลย, บ้านหนองอุมลัว, gotoloei, สืบค้นจาก https://www.gotoloei.com/p/481431, (เข้าถึงวันที่ 10 กรกฏาคม พ.ศ. 2567).

[4] ข้อมูลนี้ได้มาจากการที่ผู้วิจัยเป็นสมาชิกของบ้านหนองอุมลัวจึงเห็นวิถีชีวิตของคนในหมู่บ้านทั้ง     3 ฤดู มานับทศวรรษ 10 ปี.

[5] สัมภาษณ์ นายบุญจันทร์ โสประดิษฐ, 14 เมษายน 2567.

[6] สัมภาษณ์ นางหวาน โสประดิษฐ, วันที่ 9 กันยายน 2567.

[7] ชาญชัย คงเพียรธรรม, สิริวงษ์ หงส์สวรรค์และอภินันท์ สงเคราะห์, ผีอีสาน: ความเชื่อและพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับผีของกลุ่มชาติพันธุ์ลาว เขมร ส่วยและเวียดนาม ที่อาศัยอยู่ในบริเวณอีสานใต้ของประเทศไทย, (อุบลราชธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2556), หน้าที่ 46 – 85.

 [8] เครือข่ายพุทธิกา, พิธีกรรมกับการเยี่ยวยา, อาทิตย์อัสดง 8, 27 (มกราคม – มีนาคม 2559): 7.

[9] สัมภาษณ์ นางหวาน โสประดิษฐ, วันที่ 14 กันยายน 2567.

[10] สัมภาษณ์ นางจิราภรณ์ โสประดิษฐ, วันที่ 25 กันยายน 2567.

[11] สัมภาษณ์ นางหวาน โสประดิษฐ, วันที่ 5 ตุลาคม 2567.

[12] สัมภาษณ์ นางสุริน โสประดิษฐ, วันที่ 10 กันยายน 2567.

[13] สัมภาษณ์ นางสุริน โสประดิษฐ, วันที่ 10 กันยายน 2567.

[14] สัมภาษณ์ นางสุริน โสประดิษฐ, วันที่ 10 กันยายน 2567.

[15] สัมภาษณ์ นางสุริน โสประดิษฐ, วันที่ 10 กันยายน 2567.

[16] สัมภาษณ์ นางหวาน โสประดิษฐ์, วันที่ 11 กันยายน 2567.

[17] สัมภาษณ์ นางสาวชริญญา พรมโสภา, วันที่ 11 กันยายน 2567.

[18] สัมภาษณ์ นายไพวัลย์ โสประดิษฐ์, วันที่ 9 กันยายน 2567.

[19] สัมภาษณ์ นายบุญจันทร์ โสประดิษฐ, 14 เมษายน 2567.

[20] ศรีศักร วัลลิโภดม, ประเพณีพิธีกรรมที่เปลี่ยนไป, มูลนิธิเล็ก ประไพ วิริยะพันธุ์, สืบค้นจาก https://n9.cl/9e0mw, (เข้าถึงวันที่ 6 ตุลาคม 2567).

[21] พาณี  ศิริสะอาด, ประโยชน์ทางการแพทย์แผนปัจจุบันจากตำรายาแผนโบราณ,  คลังความรู้ล้านนา, สืบค้นจาก https://accl.cmu.ac.th/Knowledge/details/1336, (เข้าถึงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2567).

[22] สุรเชษฐ์ คูหาเลิศ, “ปรัชญาการรักษาโรคด้วยพิธีกรรมในวัฒนธรรมไทย,” (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาคติชนวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2565), หน้า 2.

[23] เครือข่ายพุทธิกา, พิธีกรรมกับการเยี่ยวยา, อาทิตย์อัสดง 8, 27 (มกราคม – มีนาคม 2559): 6–7.

[24] สัมภาษณ์ นางสุริน โสประดิษฐ, วันที่ 5 ตุลาคม 2567.

‘หยุดกฎหมายป่าปลอดคน’ เกษตรกร-ประชาชนเชียงใหม่ ประท้วงหยุด ‘พ.ร.ฎ.ป่าอนุรักษ์’

11 พฤศจิกายน 2567 เวลา 08.30 น. ที่ลานอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย เชียงใหม่ สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือและประชาชนที่จะได้รับผลกระทบจาก “พ.ร.ฎ.ป่าอนุรักษ์” รวมตัวกันในนามขบวนการป่าปลอดคนหยุด “พ.ร.ฎ.ป่าอนุรักษ์” เรียกร้องให้รัฐบาลแพทองธารหยุดผลักดันร่างพระราชกฤษฎีกาป่าอนุรักษ์เข้า ครม. ในวันพรุ่งนี้ (12 พ.ย. 2567) โดยทันที เนื่องจากกฎหมายดังกล่าวจะทำให้มีประชาชนที่อยู่ในเขตป่าถูกไล่ออกจากพื้นที่เป็นจำนวนมาก

09.30 น. ประชาชนได้เคลื่อนตัวจากลานอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย มุ่งหน้าไปยังศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อยื่นหนังสือข้อเรียกร้องต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งในเวลาต่อมา นายทศพล เผื่อนอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นตัวแทนรับมอบหนังสือและกล่าวว่าจะนำข้อเรียกร้องนี้ส่งไปยังรัฐบาลให้โดยเร็วที่สุด

ขบวนการประชาชนได้แถลงการณ์หยุดพระราชกฤษฎีกาป่าอนุรักษ์ เรื่อง รัฐบาล ‘แพทองธาร’ ต้องหยุดผลักดันร่างพระราชกฤษฎีกาป่าอนุรักษ์เข้า ครม. โดยมีเนื้อหาว่า

“ท่ามกลางการรุกไล่ประกาศพื้นที่ป่าอนุรักษ์ตามนโยบายของหลายรัฐบาลสืบเนื่องกันมาทำให้สถานการณ์การเร่งรัดประกาศป่าอนุรักษ์ด้วยการออกกฎหมายและใช้กำลังป่าเถื่อนเกิดเป็นกรณีความขัดแย้งทั่วประเทศ ข้อพิพาทอันปรากฏเป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชนหลายกรณีตอกย้ำความรุนแรงจากผู้ถือกฎหมายที่กระทำต่อผู้คนในเขตป่าอย่างเลือดเย็นไม่จบสิ้น และท่ามกลางช่วงเวลาอันเจ็บปวดเหล่านั้นที่พวกเราในฐานะ “ผู้บุกเบิก” และผู้ดูแลรักษาป่าถูกกล่าวหาว่าเป็น “ผู้บุกรุก” และผู้ทำลายป่า แต่พี่น้องของเราก็ได้ยืนยันสิทธิและร่วมต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรมมาโดยตลอด นอกจากนี้ที่ผ่านมา หลายชุมชนยังได้ร่วมกันดูแลรักษาป่า และปกป้องผืนป่า ร่วมกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้และหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ ทำให้ปัจจุบันสภาพป่าได้ฟื้นตัวและมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้นกว่าเดิม แต่ภัยคุกคามใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ คือความพยายามของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ที่เร่งผลักดันร่างพระราชกฤษฎีกาป่าอนุรักษ์ภายใต้พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ และ พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ให้มีผลบังคับใช้ผ่านที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันอังคารที่ 12 พฤศจิกายนนี้ เนื้อหาในร่างพระราชกฤษฎีกาฯ ทั้ง 2 ฉบับนั้นเต็มไปด้วยการละเมิดสิทธิมนุษยชน เปลี่ยนประชาชนผู้บุกเบิกให้กลายเป็นผู้บุกรุก สอดแทรกแนวทางการยึดที่ดินของประชาชนบีบบังคับจำกัดสิทธิ์การถือครองที่ดิน และยังรวบอำนาจผูกขาดการจัดการทรัพยากรธรรมชาติไว้ที่หน่วยงานป่าไม้เท่านั้น แนวทางดังกล่าวเป็นการผลักคนออกจากป่าไม่ต่างจากอดีตที่ผ่านมาแม้แต่น้อย

วันนี้เราขอประณามการกระทำของกระทรวงทรัพยากรฯ และกรมอุทยาน ฯ ที่พยายามผลักดันกฎหมายอนุรักษ์อันล้าหลังและอำนาจนิยมขนาดนี้มากดขี่ประชาชนโดยไม่สนใจกระแสโลกที่เปลี่ยนไปสู่การกระจายอำนาจการจัดการทรัพยากรสู่ชุมชนท้องถิ่น แม้ประเทศไทยจะเปลี่ยนผ่านสู่รัฐบาลเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยแล้วก็ตาม

และเราขอเรียกร้องไปยังนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร, รองนายกรัฐมนตรี ประเสริฐ จันทรรวงทอง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เฉลิมชัย ศรีอ่อน รวมถึงคณะรัฐมนตรีทั้งคณะ ว่าคุณจะต้องแสดงความกล้าหาญปกป้องประชาชนที่อยู่ในป่าอนุรักษ์กว่า 4 พันชุมชนที่กำลังถูกฝ่ายรัฐราชการอำนาจนิยมโดยกรมอุทยานฯ กดขี่รังแก โดยในอังคารที่ 12 พฤศจิกายนนี้ รัฐบาลต้องยุติการนำร่างพระราชกฤษฎีกาโครงการอนุรักษ์และดูแลทรัพยากรธรรมชาติภายในอุทยานแห่งชาติ ตามมาตรา 64 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 และร่างพระราชกฤษฎีกาโครงการอนุรักษ์และดูแลทรัพยากรธรรมชาติภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ตามมาตรา 121 แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 เข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีโดยทันทีอย่างไม่มีเงื่อนไข

“หยุดพระราชกฤษฎีป่าอนุรักษ์ที่ไม่เห็นหัวคนทันที” นี่คือประกาศิตจากพวกเราในนามประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตยของประเทศ จะให้ประชาชนอยู่อย่าง “มีกิน มีใช้ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี” อย่างไร ในเมื่อที่ดินทำกินเรากำลังจะถูกยึด วิถีชีวิตกำลังถูกทำลายย่อยยับ รัฐบาลแพทองธารที่อ้างตัวว่ามาจากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย จะต้องกล้าหาญที่จะหักหาญกับข้าราชการประจำเพื่อปกป้องสิทธิของพี่น้องประชาชนอย่างถึงที่สุด เพราะเราต้องทุกข์ทนจากกฎหมายป่าไม้มรดกรัฐบาลเผด็จการ คสช. มากว่า 10 ปี หน้าที่ของรัฐบาลเลือกตั้งคือปลดปล่อยพวกเราออกจากอำนาจป่าเถื่อนกดหัวคนจนในคราบนักอนุรักษ์ที่กดทับเรามาหลายทศวรรษแล้วเช่นกัน ซึ่งนี่จะเป็นเดิมพันถึงอนาคตของรัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทยเช่นกันว่าจะดำรงอยู่ได้อย่างสง่างามในสายตาประชาชนไทยและประชาคมโลกหรือไม่ หรือจะเป็นผู้สืบทอดอำนาจเผด็จการและลิ่วล้อข้าราชการเท่านั้น”

หากในวันนี้นายกรัฐมนตรียังไม่ส่งสัญญาณว่าจะยกเลิกการพิจารณา พ.ร.ฎ.ป่าอนุรักษ์ ขบวนการป่าปลอดคนหยุด “พ.ร.ฎ.ป่าอนุรักษ์” จะยังคงปักหลักอยู่ที่ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ และจะมีตัวแทนเดินทางเข้ากรุงเทพ เพื่อชุมนุมหน้าทำเนียบรัฐบาลในวันพรุ่งนี้

วัดได้ถ้าใจถึง ถกจัดหนัก ‘ครม.แพทองธาร’ ดันร่าง กม.อุทยานฯ-สงวนสัตว์ป่า ส่อฉุดสิทธิชุมชนลงเหวลึก

เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2568 มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ จัดเวทีเสวนาออนไลน์ ในหัวข้อ “วัดใจ ครม.แพทองธาร จะปกป้องประชาชนจากกฎหมายมรดกเผด็จการ คสช.หรือไม่” ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร จะพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกา 2 ฉบับ ที่มีเนื้อหามุ่งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ แต่กลับมีผลกระทบต่อสิทธิของประชาชนในกว่า 4,000 ชุมชน และพื้นที่กว่า 4 ล้านไร่ ที่อาศัยอยู่ในอุทยานแห่งชาติและเขตห้ามล่าสัตว์ป่า แม้ภาคประชาชนจะคัดค้านอย่างรุนแรงเพื่อปรับแก้กฎหมายนี้ แต่กรมอุทยานฯ ยังคงเดินหน้าเสนอร่างกฎหมายดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของ ครม. ดำเนินรายการโดย พชร คำชำนาญ ตัวแทนมูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ

พชร กล่าวดำเนินรายการว่า พวกเราเป็นพี่น้องประชาชนที่อยู่ในเครือข่ายที่ทำงานด้านป่าไม้ที่ดินก็คงจะได้ติดตามสถานการณ์ที่ทางกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก็พยายามจะผลักดันเสนอร่างพระราชกฤษฎีกา 2 ฉบับเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี หรือ ครม.ซึ่งตัวร่างพระราชกฤษฎีกา ทั้ง 2 ฉบับ ก็เป็นตัวกฎหมายลำดับรองประกอบในส่วนของมาตรา 64 ของพรบ.อุทยานแห่งชาติ และพรบ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่ามาตรา 121 ซึ่งทั้ง 2 มาตรานี้ ก็เป็นหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่เกี่ยวกับการทำกินที่ดินทำกินของพี่น้องประชาชนที่อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ทั่วประเทศ ซึ่งประเด็นนี้ได้ร้อนขึ้นมาเพราะมีกลุ่มประชาชนออกมาขับเคลื่อนเคลื่อนไหวให้ทางกระทรวงทรัพย์ถอนเรื่องนี้ออกจากครม. หรือว่าเคลื่อนไหวให้ทางครม.เองก็ตามคือไม่รับเรื่องนี้ไปพิจารณาในครม. ซึ่งตอนนี้เส้นตายที่เกิดขึ้นก็คือวันที่ 12 พฤศจิกายน วันอังคารที่จะถึงนี้เป็นนัดสุดท้ายท้ายชี้ชะตาว่ากฎหมายทั้งร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับนี้จะผ่านที่ประชุมของครม.หรือไม่ และถ้าผ่านมาแล้วจะสร้างผลกระทบกับพี่น้องประชาชนที่อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ทั่วประเทศอย่างไร

ปรับแก้กฎหมายป่าไม้ครั้งใหญ่หลังรัฐประหาร

ธนากร อัฏฐ์ประดิษฐ์ ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า กฎหมายพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติปี 62 หรือว่าสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ปี 62 หรือกฎหมายป่าไม้อื่นๆ มีการเปลี่ยนแปลง มีการปรับแก้ครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของประเทศ หลังจากยุคที่คสช.ยึดอำนาจเมื่อปี 57 หลังจากนั้นเกิดสภานิติบัญญัติแห่งชาติซึ่งแต่งตั้งโดยคสช. ที่ออกกฎหมายไม่ต่ำกว่า 300 ฉบับ ที่มีการเร่งในการปรับแก้ออกกฎหมายเยอะมากและรวดเร็วมาก กฎหมายที่ส่งผลกระทบกับคนจำนวนมาก อย่างเช่นกฎหมายอุทยานแห่งชาติที่ส่งผลกระทบต่อคนที่อยู่กับป่า ส่งผลกระทบต่อการจัดการป่าทรัพยากรของประเทศ มันไม่ควรที่จะเกิดขึ้นในยุคที่ยึดอำนาจรัฐประหารเข้ามา เพราะฉะนั้นการมีส่วนร่วมเป็นตัวชี้วัดสำคัญที่เป็นวิธีคิดสำคัญของระบบประชาธิปไตย มันไม่มีในบรรยากาศการหารือกลไกการออกกฎหมายแบบนั้นอันนี้เป็นปัญหาเริ่มต้นแรก 

กระบวนการออกกฎหมายที่ขาดการมีส่วนร่วม

แม้ว่าภาคประชาชน เครือข่ายชาวบ้าน เครือข่ายนักวิชาการมีการออกมาเรียกร้องรณรงค์คัดค้านการออกกฎหมายของสภาคสช.อย่างต่อเนื่องแต่เราก็พบว่าไม่สามารถทำได้มากอยู่แล้ว ภายใต้บรรยากาศที่มีทั้งกฎของคณะรัฐประหาร มีทั้งกฎหมายการควบคุมกันอะไรต่างๆ มีข้อจำกัดมาก กฎหมายมันก็เลยถูกเข็นออกมาจนได้ ในปี 62 หลังจากนั้นตัวกฎหมาย เนื้อหาในตัวพรบ.อุทยานแห่งชาติมันมีเนื้อหาที่มีปัญหาตั้งแต่แรกในตัวพรบ.หลายๆ ตัวที่ตอกย้ำการไม่เปลี่ยนแปลงวิธีคิดในการแก้ปัญหาเรื่องนี้เลย ตั้งแต่แรกตัวกฎหมายลูก กฎหมายลำดับรองที่ถูกเขียนไว้ว่าจะต้องออกมาภายใต้ตัวพรบ.ต่างๆ เหล่านั้นมันจึงเป็นปลายทางเป็นผลผลิตอันหลัง ที่มาจากการก่อเกิดปัญหาทุกอย่างระหว่างต้นทางกลางทางและปลายทางไม่ได้ อันนี้ความเห็นของผมตัวกฎหมายรองกฎหมายลำดับรองหรือกฎหมายรูปต่างๆ เป็นแค่ปลายทางเป็นปัญหาปลายทางที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่เริ่มจากการก่อเกิดตัวพรบ.ด้วยซ้ำไป ในพระราชกฤษฎีกาล่าสุดที่พยายามนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ตามมาตรา 64 ของพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พบว่า หลายมาตราของกฎหมายฉบับนี้สะท้อนถึงการออกแบบที่ไม่ได้คำนึงถึงสิทธิของชุมชนท้องถิ่นและประชาชนที่อาศัยอยู่กับทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งที่สิทธิของชุมชนได้รับการรับรองในรัฐธรรมนูญของประเทศไทยตั้งแต่ปี 2540 และมีมากว่า 30 ทศวรรษแล้ว ไม่มีความคิดแบบนั้นอยู่ในตัวกฎหมายเหล่านี้เลย 

การวิเคราะห์ข้อกฎหมายที่ขัดแย้งกับสิทธิของชุมชนในพื้นที่อนุรักษ์

มาตรา 5 การที่กฎหมายไม่รับรองสิทธิ์ในที่ดินของชุมชนท้องถิ่น ถือเป็นการตอกย้ำปัญหาของการขาดสิทธิ์ในการเข้าถึงและจัดการทรัพยากรที่สำคัญ ซึ่งถูกระบุในรัฐธรรมนูญ แต่กลับไม่ได้ถูกนำมาปรับใช้ในกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรของชุมชน ทำให้ไม่สามารถจัดการทรัพยากรตามสิทธิที่ควรจะได้รับ

มาตรา 6  เปลี่ยนสถานะของชุมชนที่อยู่ในเขตอนุรักษ์จาก “ชุมชนท้องถิ่น” ที่เคยมีสิทธิในการดูแลทรัพยากรในพื้นที่ มาเป็น “ผู้อยู่อาศัย” หรือ “ผู้ทำกิน” ที่มีสิทธิ์แค่ภายใต้โครงการ ซึ่งหมายความว่า ชุมชนที่เคยมีบทบาทในการจัดการทรัพยากรในแบบที่ยั่งยืน ถูกตัดขาดจากการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับทรัพยากรของตัวเอง การออกแบบกฎหมายแบบนี้ไม่ได้คำนึงถึงวิถีชีวิตของชุมชนที่อยู่กับป่าและทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งทำให้ชุมชนเหล่านี้กลายเป็นเพียง “ผู้รับผลประโยชน์” จากโครงการต่างๆ ที่รัฐหรือองค์กรต่างๆ จัดทำขึ้น โดยไม่สามารถมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางหรือการจัดการทรัพยากรได้อย่างเต็มที่

มาตรา 10 และ 11 กำหนดว่า ครัวเรือนต้องมีที่ดินไม่เกิน 20 ไร่ และครอบครัวไม่เกิน 40 ไร่ หากเกินต้องคืนให้กับอุทยาน ซึ่งกฎหมายนี้มีความขัดแย้งกับวิถีการใช้ที่ดินของชุมชนชาติพันธุ์หรือชนพื้นเมืองในประเทศ ที่มักใช้ระบบที่ดินร่วมกัน (สิทธิชุมชน) โดยไม่ได้แบ่งแยกเป็นแปลงย่อยหรือกำหนดขนาดชัดเจน เช่น ระบบไร่หมุนเวียน ที่มักมีการปรับเปลี่ยนการใช้ที่ดินตามความต้องการในแต่ละปี ซึ่งข้อกำหนดในกฎหมายอาจทำลายระบบดั้งเดิมนี้ได้ อีกปัญหาหนึ่งคือเรื่องสิทธิสัญชาติของชุมชนชาติพันธุ์บางกลุ่มที่ยังอยู่ในกระบวนการยืนยันสิทธิและสถานะทางกฎหมาย เช่น การขอสัญชาติไทยหรือการแก้ไขสถานะการเป็นพลเมือง ทำให้บางคนไม่ผ่านคุณสมบัติและตกหล่นจากระบบนี้ไป

มาตรา 12 และมาตรา 13 ระบุเกี่ยวกับกรณีที่โครงการในพื้นที่อนุรักษ์จะต้องสิ้นสุด หรือผู้ที่ได้รับอนุญาตจะหมดสิทธิ์ในการอยู่อาศัยในพื้นที่นั้นๆ ซึ่งจะมีการกำหนดเงื่อนไขและกรอบเวลาอย่างชัดเจน สำหรับการสิ้นสุดหรือหมดสิทธิ์ในโครงการ แต่ประเด็นสำคัญคือ เมื่อมีการจำกัดสิทธิในการอยู่อาศัย ก็อาจทำให้เกิดผลกระทบกับประชาชนในพื้นที่ที่ยังอาศัยอยู่ตามวิถีดั้งเดิม มีการพูดถึงการคืนพื้นที่ต้นน้ำลำธารให้กลับมาเป็นพื้นที่อนุรักษ์ ซึ่งในบางกรณีอาจมีการใช้นโยบายนี้ในการกลับคืนพื้นที่จากการทำเกษตรกรรมหรือการใช้ประโยชน์อื่นๆ เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศ นอกจากตัวกฎหมายแล้ว ยังมีการใช้หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับลุ่มน้ำและพื้นที่อ่อนไหว (พื้นที่ที่ต้องการการอนุรักษ์เป็นพิเศษ) มาใช้ในการควบคุมการใช้ที่ดินในพื้นที่ป่า ซึ่งทำให้การกำหนดกฎหมายเหล่านี้ดูเหมือนมีเป้าหมายที่จะนำพื้นที่เหล่านั้นกลับคืนสู่การอนุรักษ์โดยอาจยึดพื้นที่คืนตามหลักเกณฑ์เหล่านี้

มาตรา 64 มีการพูดถึงการสำรวจพื้นที่ภายใต้กรอบเวลาที่กำหนดไว้ 240 วันตามมาตรา 64 ซึ่งมีการร้องเรียนจากชุมชนว่าไม่รู้หรือไม่ได้มีส่วนร่วมในกระบวนการสำรวจเหล่านี้ จนกระทั่งทราบผลหลังจากการสำรวจเสร็จสิ้นแล้ว การตีความคำศัพท์หรือคำต่างๆ ภายใต้กฎหมายที่มีความคลุมเครือทำให้หน่วยงานภาครัฐสามารถใช้ดุลพินิจในการตีความได้กว้าง ส่งผลให้เกิดปัญหากับชุมชน โดยเฉพาะในเขตป่าหรือพื้นที่อนุรักษ์ เช่น การปฏิบัติที่อาจถูกมองว่าเป็นการบุกรุก การแผ้วถางป่า หรือการทำลายสิ่งแวดล้อม การตีความที่ไม่ชัดเจนทำให้เกิดปัญหาหลายประการ เช่น การยกเลิกสิทธิในการอยู่อาศัย การคืนพื้นที่ให้กับอุทยาน หรือการเสียชีวิตของสมาชิกในชุมชนที่อาจทำให้สูญเสียสิทธิ์ในพื้นที่

มาตรา 16 ต่อมาโอนให้คนนอกครอบครัวไม่ได้ อันนี้ก็ขัดแย้งกับระบบการจัดการที่ดินในหลายชุมชนชาติพันธุ์ที่ยังมีอยู่ตอนนี้เหมือนกัน เพราะว่าเขาใช้ระบบชุมชน ไม่จำเป็นต้องเป็นญาติพี่น้องในครอบครัวเดียวกันแต่สามารถแบ่งปันจัดสรรแชร์ที่ทำกินในแต่ละปีในแต่ละฤดูกาลให้กันได้

มาตรา 17 และ 18 กำหนดหน้าที่และข้อจำกัดสำหรับผู้ที่อาศัยในพื้นที่อนุรักษ์ โดยระบุว่าผู้ที่อยู่ในพื้นที่ต้องทำตามระเบียบที่หน่วยงานราชการกำหนด เช่น ห้ามรบกวนชีวิตพืชสัตว์ และห้ามทำการเกษตรที่ส่งผลกระทบต่อดิน น้ำ อากาศ หรือสุขภาพ รวมถึงการห้ามใช้ไฟและการเคลื่อนไหวที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การคิดและการจัดการพื้นที่อนุรักษ์มักมุ่งเน้นไปที่การรักษาสิ่งแวดล้อม (พืชสัตว์) แต่กลับมีข้อจำกัดที่กระทบต่อการดำรงชีวิตของชุมชน เช่น ห้ามทำการเกษตร หรือห้ามสร้างสิ่งปลูกสร้างเกินความจำเป็น การที่ชุมชนสามารถอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ได้นั้นมีเงื่อนไขชัดเจน หากไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบที่กำหนดไว้ ก็อาจทำให้สิทธิ์ในการอยู่ในพื้นที่ถูกยกเลิกได้ ความท้าทายคือใครจะตัดสินว่าอะไรจำเป็นหรือไม่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในพื้นที่อนุรักษ์ โดยเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจตามกฎหมายเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตสิ่งใดในพื้นที่นั้นๆ ซึ่งเป็นข้อกังวลในการตีความกฎหมายที่อาจไม่เป็นธรรมกับชุมชน

มาตรา 24 ของพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติฉบับใหม่ ระบุว่า พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถห้าม ระงับ หยุด หรือสั่งให้ออกจากพื้นที่ได้ แม้ว่าผู้ที่เข้าไปในพื้นที่จะปฏิบัติตามระเบียบทั้งหมดก็ตาม ซึ่งผู้วิจารณ์มองว่า การกำหนดอำนาจนี้อาจส่งผลกระทบต่อสิทธิของประชาชนในชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะใน 4,000 ชุมชนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ ซึ่งอาจไม่ได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ การออกกฎหมายลูกในครั้งนี้ทำให้สิทธิของประชาชนในชุมชนเหล่านี้ไม่สามารถใช้ได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากมีอำนาจในการควบคุมพื้นที่ที่เข้มงวดกว่ากฎหมายทั่วไป อีกทั้งชุมชนที่อาศัยในพื้นที่อนุรักษ์ยังต้องอยู่ภายใต้ข้อบังคับที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและการดำรงอยู่ของพวกเขาในอนาคต 

ข้อกังวลยังรวมถึงการตั้งคำถามว่าทำไมชุมชนเหล่านี้ต้องถูกบังคับให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบของพื้นที่อนุรักษ์ ทั้งๆ ที่พวกเขาอยู่ภายใต้กฎหมายของประเทศมาโดยตลอด การออกกฎหมายฉบับนี้จึงทำให้เกิดความผิดหวังต่อระบบกฎหมายและการปกครองที่ไม่สามารถรับรองสิทธิของประชาชนในพื้นที่อนุรักษ์ได้อย่างแท้จริง

การต่อสู้ของชาวบ้านภาคเหนือ ปัญหากฎหมายใหม่กระทบสิทธิชุมชนในพื้นที่ป่า

จรัสศรี จันทร์อ้าย สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ กล่าวว่า ย้อนกลับไป 30 ปีที่แล้ว ช่วงที่มีการต่อสู้เรื่องการอพยพคนออกจากป่าในปี 37 ซึ่งมีเครือข่ายเกษตรกรภาคเหนือเข้ามามีส่วนร่วม การต่อสู้ในครั้งนั้นคล้ายกับสถานการณ์ในปัจจุบันที่เกิดจากการออกกฎหมายพระราชกฤษฎีกาใหม่ ที่มีผลกระทบต่อสิทธิ์ของชุมชนในพื้นที่ป่า โดยเฉพาะการออกกฎหมายลูกที่จำกัดสิทธิ์ชาวบ้านและไม่สะท้อนความเป็นธรรม  กระบวนการพิสูจน์สิทธิ์ของชุมชนในพื้นที่ป่าเริ่มตั้งแต่ปี 34 จนถึงการประกาศอุทยานในปี 60 และต้องใช้เวลา 240 วันในการพิสูจน์สิทธิ์ แต่ก็ยังไม่ได้ผลลัพธ์ที่เป็นธรรม เช่นเดียวกับการพิสูจน์ว่าใครอยู่มาก่อนหรือใครเป็นผู้บุกเบิก ที่ถูกตัดสินด้วยการใช้ภาพจากดาวเทียม ซึ่งไม่สะท้อนถึงความเป็นจริงของชุมชน 

ตั้งแต่ปี 58 ชุมชนต่างๆ และขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรมได้พยายามต่อสู้เพื่อไม่ให้กฎหมาย 3 ฉบับที่ไม่ยุติธรรมออกมา เช่น พ.ร.บ. อุทยานแห่งชาติและ พ.ร.บ. ฝ่าชุมชน โดยเฉพาะการไม่ยอมรับการพิสูจน์สิทธิ์ที่ไม่สามารถตอบสนองความเป็นจริงได้ แม้ในรัฐบาลชุดของนายกรัฐมนตรีประยุทธ์ที่ผ่านมาก็ยังไม่ได้แก้ไขปัญหานี้จนถึงปัจจุบัน  การต่อสู้ของชุมชนเริ่มต้นตั้งแต่สมัยที่ สนช. พยายามร่างกฎหมาย พ.ร.บ. ฉบับนี้ โดยชุมชนปฏิเสธที่จะรับการแก้ไข และในปี 63 ก็พยายามผลักดันการปรับปรุงเนื้อหากับรัฐมนตรีวลายุทธ แต่ก็ไม่ได้รับการแก้ไขอะไรจนถึงปี 64 การประชาพิจารณ์ในรูปแบบออนไลน์ (ซูม) ก็ไม่สามารถเข้าถึงชาวบ้านบนดอยและชาติพันธุ์ได้ ในปี 65 รัฐบาลชะลอร่าง พ.ร.บ. นี้ออกไปก่อน แต่ในปี 66 ภายใต้รัฐบาลเศรษฐา ยังคงเคลื่อนไหวและเสนอนโยบายที่ไม่สอดคล้องกับชีวิตของชาวบ้านในเขตป่า โดยเฉพาะ พ.ร.บ. อุทยานแห่งชาติและ พ.ร.บ. สงวนคุ้มครองสัตว์ป่า ซึ่งไม่ตอบโจทย์ชีวิตของพี่น้อง

แม้ในวันที่ 10 ตุลาคม 2566 ครม. รับรองจะมีการแก้ไข แต่ไม่นานนายกฯ เศรษฐาก็พ้นจากตำแหน่ง และหลังจากนายกฯ พรทองทานขึ้นมา ก็เคลื่อนไหวอีกครั้ง จนถึงวันที่ 22 ตุลาคม 2567 รัฐบาลใหม่มีมติชะลอการออก พ.ร.บ. ชุดนี้ก่อน แต่ยังคงมีการผลักดันให้เข้าสู่ ครม. วันที่ 12 พฤศจิกายน ทำให้เกิดความไม่เข้าใจว่าทำไมถึงเร่งรัดออกมา  ทั้งที่มันมีผลกระทบกับ 4,000 ชุมชนในพื้นที่อนุรักษ์ ในวันที่ 22 ตุลาคม ที่ผ่านมา อธิบดีกรมอุทยานกล่าวว่า 4,000 ชุมชนในพื้นที่อนุรักษ์คือ “ผู้บุกรุก” ไม่ใช่ “ผู้บุกเบิก” ซึ่งชุมชนเหล่านี้ยืนยันว่ายังมีสิทธิ์ที่จะแสดงว่า พวกเขาคือผู้ดูแลพื้นที่มาโดยตลอด และคำกล่าวนี้ไม่สะท้อนถึงความเป็นธรรมเพราะชุมชนเหล่านี้อยู่มาก่อนและได้ดูแลพื้นที่มาโดยตลอด การใช้คำว่า “ผู้บุกเบิก” ไม่ควรถูกละเลยแบบนี้

วาทกรรมบุกรุกขัดหลักการรัฐธรรมนูญ และเรียกร้องรัฐยอมรับบทบาทชุมชนในการจัดการทรัพยากร

สุมิตรชัย หัตถสาร ผู้อำนวยการศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น กล่าวว่า เรื่องวาทกรรมบุกรุก มันก็เป็นวาทกรรมที่เขาใช้เป็นเครื่องมือมาตลอด เพราะว่ากฎหมายป่าไม้กฎหมายอุทยานกฎหมายทั้งหมด นิยามเบื้องต้นว่าทั้งหมดที่ดินที่รัฐประกาศเป็นเขตอุทยานเป็นของรัฐ หมายถึงว่าทรัพยากรในรัฐเป็นของรัฐ บุคคลที่จะเข้าไปในพื้นที่เหล่านี้ต้องได้รับอนุญาตจากรัฐถ้าไม่ได้รับอนุญาตก็ถือว่าเป็นผู้บุกรุกหมด อันนี้คือเขาเรียกหมายถึงว่าแนวคิดในการมองกฎหมายเป็นแบบนั้น แล้วก็กฎหมายเขียนเนื้อหาคำนองนั้น ซึ่งเป็นเขาเรียกอะไรรูปแบบของกฎหมายในยุคเดิมตั้งแต่ยุคก่อนตั้งแต่สมัยยุคล่างนายคมนยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในยุคแรก ๆ ก็คือออกกฎหมายมาตราแล้วก็ประกาศพื้นที่เหล่านั้นให้เป็นที่ของรัฐแล้วก็รัฐก็อำนาจมาในการที่จะมากำหนดว่าใครจะได้ ใครจะอยู่ยังไง ใครจะอยู่ที่ไหน อย่างไร คือป่านั้นรัฐจะใช้ยังไง เป็นเรื่องอำนาจที่รัฐจะใช้ในการที่จะควบคุมในการจัดการเรื่องป่าทั้งหมด 

ผมคิดว่ายุคโลกปัจจุบันก็ดีหรือหลังจากที่รัฐธรรมนูญ 40 รับรองเรื่องสิทธิชุมชนแล้ว  มันไม่มีผู้บุกรุกอีกแล้วในความเห็นผม เพราะว่าถือว่าชุมชนหรือบุคคลที่เป็นชุมชนที่รัฐยอมรับให้เป็นชุมชน เพราะส่วนใหญ่แล้วเป็นหมู่บ้านทั้งหมดในประเทศไทยไม่มีที่ไหน ที่ไม่หมู่บ้านที่รัฐตั้งเป็นเขตปกครอง เพราะฉะนั้นทุกพื้นที่จะมีชุมชนอาศัยอยู่มีบุคคลและชุมชนอาศัยอยู่ทั้งหมดหมด เมื่อเป็นบุคคลและชุมชนก็ย่อมมีสิทธิ์ในการที่จะบริหารจัดการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอันนี้เป็นสิทธิ์ที่รัฐธรรมนูญรับรองมาตั้งแต่ปี 40 จนถึงปัจจุบัน เมื่อรัฐรับรองสิทธิ์นี้แล้วเนี่ยสิทธิ์นี้ถูกรับรองโดยรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศแล้ว เพราะฉะนั้นมันจะไม่มีใครเป็นในประเทศนี้เป็นผู้บุกรุกครับรัฐมีหน้าที่ในการดูแลและจัดสรรทรัพยากรให้กับประชาชนเข้าอย่างสมดุลและยั่งยืนก็พูดง่ายๆ คือ ต้องจัดสรรให้ราษฎรสามารถเข้าใช้ประโยชน์จากทรัพยากรได้อย่างสมดุลและยั่งยืนคือหน้าที่ของรัฐมีการออกแบบในการที่จะทำให้ชุมชนสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรได้ โดยให้เหมาะสมกับพื้นที่ให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตของชุมชนต่างๆ นี่คือหน้าที่ของรัฐที่จะเข้ามาช่วยทำให้การจัดการทรัพยากรมันมันยั่งยืนและสมดุลและยั่งยืน

การดำเนินการตามกฎหมายอุทยานแห่งชาติยังคงใช้แนวคิดที่มองชุมชนท้องถิ่นเป็น “ผู้ลุกล้ำ” ในพื้นที่ป่า ซึ่งขัดแย้งกับหลักการตามรัฐธรรมนูญและหลักการสากลที่ยอมรับบทบาทของชุมชนท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงการดูแลป่าโลกในระดับสากล ทั้งนี้สหประชาชาติได้เผยแพร่รายงานทุกปีที่ระบุถึงการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และในข้อตกลงต่างๆ เช่น ข้อตกลงปารีสและข้อตกลงกาสโก ก็มุ่งเน้นให้รัฐส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรของประเทศ โดยไม่ใช่การจัดการจากรัฐเพียงฝ่ายเดียว

‘เลาฟั้ง’ สส.พรรคประชาชน ค้านร่าง กม.อุทยานฯ-สงวนสัตว์ป่า ย้ำไร้การมีส่วนร่วมของประชาชน

วันนี้ (10 พ.ย.67) เลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน เปิดเผยต่อผู้สื่อข่าวว่า ตนขอให้รัฐบาลทบทวนการผลักดันร่างพระราชกฤษฎีกาที่จะออกตาม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 และ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ที่มีเนื้อหาเป็นกฎหมายแย่งยึดที่ดินของประชาชนอย่างชัดเจน หากกฎหมายฉบับนี้ผ่านจะกระทบต่อคน 4,265 หมู่บ้าน ประชากรกว่า 1 ล้านคน เนื้อที่รวมกัน 4.27 ล้านไร่

เมื่อเร็วๆ นี้ รัฐบาลชี้แจงว่ามีความจำเป็นจะต้องออกกฎหมายให้ทันภายในกำหนดระยะเวลา โดยจะบรรจุเป็นวาระเข้าประชุม ครม. ในวันอังคาร ที่ 12 พ.ย. นี้ ท่ามกลางการออกมาคัดค้านของชาวบ้าน องค์กรภาคประชาชน ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งระยะเวลาออกกฎหมายกำลังจะสิ้นสุดลงในวันที่ 27 พฤษจิกายน 2567 นี้ 

ร่างพระราชกฤษฎีกาทั้งสองฉบับนี้ มีปัญหาทั้งกระบวนการจัดทำที่ขาดการมีส่วนร่วมของผู้ที่ได้รับผลกระทบ และเนื้อหาที่แย่งยึดที่ดินและจำกัดสิทธิของคนลงไปเป็นอย่างมาก กล่าวคือ 

ประการแรก ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง เพราะในการร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว กรมอุทยานฯ เพียงเปิดรับฟังความเห็นในระบบอินเตอร์เน็ตและจัดประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Zoom Meeting) หนึ่งครั้งเท่านั้น ทำให้ประชาชนที่จะได้รับผลกระทบ ไม่มีโอกาสได้รับรู้ข้อมูลและแสดงความคิดเห็นประกอบ 

ประการที่ 2. รัฐบาลเร่งรัดจะออกกฎหมายโดยไม่ทำให้ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด โดยกรมอุทยานฯ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมว่า ร่างพระราชกฤษฎีกาที่ส่งให้คณะรัฐมนตรีนั้นมีโครงการและแผนที่แนบท้ายจำนวน 14 แห่ง จากทั้งหมด 224 แห่งนั้น ซึ่งหากรัฐบาลนำไปประกาศเป็นกฎหมาย จะขัดต่อบทบัญญัติใน พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 มาตรา 64 และ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า มาตรา 121 ซึ่งต่างบัญญัติไว้ว่าจะต้องจัดให้มีแผนที่แสดงแนวเขตโครงการที่จะดำเนินการแนบท้ายพระราชกฤษฎีกาด้วย ดังนั้น การตราพระราชกฤษฎีกานี้จะต้องมีแผนที่แนวเขตโครงการแนบท้ายให้ครบทุกแห่ง หากไม่มีจะถือบังคับเป็นกฎหมายไม่ได้

ประการที่ 3. ตามร่าง พรฎ. กำหนดว่ามีกำหนดยี่สิบปี โดยที่ไม่ได้บัญญัติว่าจะมีการอนุญาตต่อได้หรือไม่ด้วยเงื่อนไขอะไร เป็นการบัญญัติกฎหมายที่มีกำหนดระยะเวลาให้สิทธิสิ้นสุดลง เท่ากับเป็นกฎหมายยึดที่ดิน หากยึดถือตามนี้หมายความว่าในอีก 20 ปีข้างหน้า ประชาชน 4,265 ชุมชน พื้นที่ 4.27 ล้านไร่ จะต้องส่งมอบคืนให้แก่กรมอุทยานฯ ทั้งหมด 

ประการที่ 4. จำนวนเนื้อที่ในการอนุญาตจะได้ครอบครัวละไม่เกิน 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 40 ไร่ ส่วนที่เกินจะต้องส่งมอบให้แก่กรมอุทยานฯ เพื่อนำไปฟื้นฟูเป็นป่า เท่ากับเป็นการกำหนดกฎหมายเพื่อยึดคืนที่ดินซึ่งถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ทั้งไม่สอดคล้องกับสภาพการใช้ประโยชน์ของแต่ละท้องถิ่น เช่น พื้นที่ไร่หมุนเวียน พื้นที่ปลูกไม้ยืนต้นหรือครัวเรือนใหญ่ ที่ครอบครองที่ดินทำกินมากกว่าที่กำหนดนี้ 

ประการที่ 5. ตาม พรฎ. ได้กำหนดคุณสมบัติและข้อห้ามหลายประการที่มีลักษณะไม่เป็นธรรม กล่าวคือ ต้องการมีสัญชาติไทย ต้องไม่มีที่ดินอื่นนอกเขตโครงการ ต้องไม่มีที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิครอบครองอื่น ต้องไม่เคยกระทำความผิดเกี่ยวกับคดีป่าไม้ทุกประเภทในเขตป่าอนุรักษ์

กรณีนี้จะทำให้คนจำวนมากเสียสิทธิ เพราะบุคคลที่ยังไม่มีสัญชาตินั้น ส่วนมากเป็นมีคุณสมบัติที่จะได้สัญชาติไทยตามกฎหมาย แต่กระบวนการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนของกรมการปกครองล่าช้าแต่บุคคลเหล่านี้อาจจะได้รับอนุมัติสัญชาติในภายหลังก็ได้

กรณีคนมีที่ดินอื่นนั้น มีชุมชนจำนวนมากที่เป็นพื้นที่คาบเกี่ยวระหว่างพื้นที่ป่าอนุรักษ์กับพื้นที่ที่มีกรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง หนังสืออนุญาตให้ทำประโยชน์ เขตป่าสงวน สปก. เป็นต้น ดังนั้น จึงไม่ควรนำมากำหนดเป็นข้อห้ามให้เสียสิทธิ์ 

สำหรับกรณีที่กำหนดว่าต้องไม่เคยกระทำความผิดในเขตป่าอนุรักษ์ หรือฝ่าฝืนข้อหนึ่งข้อใดของพระราชกฤษฎีกานี้นั้น  เป็นการเอาเงื่อนไขอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องมากำหนดห้ามหรือเพิกถอนสิทธิ์ ควรห้ามเฉพาะเมื่อเป็นความผิดที่เกี่ยวกับที่ดินที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น 

ประการที่ 6. สิทธิที่ได้มาไม่สามารถสืบทอดทางมรดกได้ หากทายาทประสงค์จะได้สิทธิต่อจะต้องขออนุญาตต่ออธิบดีใหม่ ข้อห้ามนี้ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 37 ที่บัญญัติว่าบุคคลย่อมมีสิทธิในทรัพย์สินและการสืบมรดก นอกจากนี้ยังขัดต่อบทบัญญัติในมาตรา 64 แห่ง พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ 2562 และมาตรา 121 แห่ง พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ที่ไม่ได้บัญญัติเอาไว้ จึงเสนอให้ตัดบทบัญญัติที่ห้ามมิให้มีการสืบมรดกสิทธิออก

ประการที่ 7. การห้ามโอนหรือยินยอมให้บุคคลอื่นทำประโยชน์โดยเด็ดขาดนั้นไม่ถูกต้อง เนื่องจากที่ดินเป็นปัจจัยการผลิตที่มีจำกัด ในขณะที่คนในท้องถิ่นจำนวนมากมีอาชีพทำการเกษตรและไม่มีที่ดินทำกินหรือมีไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาการบุกรุกทำลายป่า นอกจากนี้แม้รัฐจะห้ามแต่ในข้อเท็จจริงก็มีการเปลี่ยนมือหรือให้เช่าโดยที่รัฐไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งส่วนใหญ่มีเจ้าหน้าที่รัฐรู้เห็นเป็นใจและเรียกรับผลประโยชน์ด้วย ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหานายทุนกว้านซื้อที่ดิน จึงเสนอให้เปิดให้มีการโอนแก่กันหรือแบ่งกันใช้ได้ระหว่างคนในชุมชน โดยมีกฎระเบียบและกลไกรัฐคอยกำกับ พร้อมกำหนดเพดานการถือครองจะเหมาะสมกว่า 

ประการที่ 8. การก่อสร้างอาคาร โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง ต้องห้ามไม่ให้สูงไม่เกินสองชั้น และต้องใช้เพื่อการอยู่อาศัยหรือทำกินเท่าที่จำเป็นแก่การดำรงชีพเท่านั้น ซึ่งคำว่า “จำเป็นแก่การดำรงชีพ” ไม่มีความชัดเจนว่ามากน้อยเพียงใด และห้ามมิให้ใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น โรงงาน โรงแรม เท่ากับห้ามมิให้มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน 

ด้าน มานพ คีรีภูวดล สส.พรรคประชาชน อีกหนึ่งตัวแทนกลุ่มชาติพันธุ์-ชนพื้นเมือง ชี้ว่ารัฐบาลควรใช้สภาผู้แทนราษฎรที่ประชาชนเลือกมาอย่างถูกต้อง ปรับแก้กฎหมายอุทยานแห่งชาติเพื่อยุติปัญหาความขัดแย้งคนกับป่า

หลังจากมี พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ และ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าในปี 2562 ผมและพรรคก้าวไกลขณะนั้น เราได้รับหนังสือร้องเรื่องการออกกฎหมายลำดับรองตาม พ.ร.บ.ทั้งสองฉบับจากชุมชนที่ถูกรัฐประกาศเป็นเขตอนุรักษ์หลายแห่ง โดยเฉพาะชุมชนชาติพันธุ์ที่จะกลายเป็นผู้เสี่ยงถูกบีบให้ต้องสูญเสียวิถีชีวิตจนไม่สามารถอยู่อาศัยพึ่งพิงกับป่าที่ได้อยู่อาศัยกันมาแต่บรรพบุรุษ

กฎหมายทั้งสองฉบับถือกำเนิดจากยุค คสช. โดยสภา สนช. ซึ่งเป็นกฎหมายที่ไร้การมีส่วนร่วมของประชาชน หลังลงพื้นที่รับฟังปัญหาจากพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์หลายจังหวัด ประชาชนแสดงความกังวลใจต่อประเด็นการที่รัฐผลักดันการออกกฎหมายลำดับรองและมีข้อเสนอให้ทางผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ได้ชะลอและสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงมาโดยตลอดแม้เครือข่ายประชาชน จะมีการทักท้วง คัดค้านและนำเสนอการแก้ปัญหามาต่อเนื่องหลายห้วงจังหวะ แต่เสียงของพวกเขาแทบไร้ความหมาย 

มาถึงวันนี้ ปัญหาเดิมยังไม่ถูกคลี่คลาย ปัญหาใหม่กำลังจะเพิ่มซ้อนอีก รัฐบาลควรชะลอการออกกฎหมายลูก พร้อมทั้งให้แก้ไขกฎหมายแม่ (พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ) เนื่องจากไม่มีกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนตั้งแต่ต้น ขณะที่ร่างกฎหมายฉบับที่ประชาชนร่วมลงชื่อกว่า 10,000 รายชื่อ ถูกปัดตกโดย สนช.

กฎหมายนี้ทำให้ชุมชนดั้งเดิมกลายเป็นผู้บุกรุกป่า อีกทั้งยังกีดกันคนหลายกลุ่ม เช่น คนที่ไม่มีบัตรประชาชน คนที่ถูกยึดที่ดินและดำเนินคดีจากการทำกินตามวิถีชุมชน คนเหล่านี้จะไม่มีสิทธิชุมชนในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ อำนาจในการชี้ชะตาว่าให้พวกเขา “อยู่” หรือให้ “ออก” ถูกรวบไปอยู่กับอธิบดีและเจ้าหน้าที่รัฐ

ทรัพยากรที่ดิน เป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตของพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะพี่น้องชาติพันธุ์ ที่มีวิถีชีวิตพึ่งพิงกับป่าไม้ มีวิถีวัฒนธรรมที่ถ้อยอาศัยธรรมชาติ แต่ที่ผ่านมา ชุมชนในพื้นที่ป่าถูกรัฐเข้ามาจัดการด้วยความไม่เข้าใจ และมุ่งแสวงหาประโยชน์จากพื้นที่ป่า โดยไม่สนใจประชาชนที่เป็นชุมชนดั้งเดิม

หากการเปลี่ยนแปลงกฎหมายครั้งนี้ เป็นไปเพื่อประโยชน์ของประชาชน การหยุดฟังเสียงของประชาชน เพื่อเดินหน้าอย่างถูกทิศทางย่อมเป็นสิ่งที่หน่วยงานรัฐต้องพึงกระทำ หากรัฐนั้นมีไว้เพื่อประชาชนอย่างแท้จริง”

ก่อนหน้านี้กรมอุทยานฯ ได้ทำคำชี้แจงต่อคณะรัฐมนตรี แต่ก็ไม่ได้อธิบายหรือโต้แย้งประเด็นเรื่องที่ถูกประชาชนคัดค้าน เช่น ขาดการมีส่วนร่วม สิทธิสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนด 20 ปี จำกัดการถือครองเพียงครอบครัวและ 20 ไร่ ครัวเรือนละไม่เกิน 40 ไร่ ห้ามสร้างที่พักรองรับนักท่องเที่ยว ประกอบกับการเคลื่อนไหวคัดค้านอย่างต้อเนื่องของภาคประชาชน ก็เท่ากับว่ารัฐบาลรู้อยู่แล้วว่าไม่ใช่ร่างกฎหมายที่ออกมาแก้ไขปัญหา มีแต่จะสร้างปัญหาเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังจะเดินหน้าประกาศ นั่นก็เท่ากับว่ารัฐบาลนี้ไม่ได้รู้ร้อนรู้หนาวกับปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน 

‘สาวมอนอ’ รักแท้แพ้ขนส่งพิษณุโลก

เรื่อง: สุภาพบุรุษเมืองสองแคว

“ไปอยู่ที่ไหนแล้ว…สาวมอนอ

ไปอยู่กับใครหนอ…ไปอยู่หอไหน”

ประโยคดังกล่าวมาจากเพลง ‘สาวมอนอ’ จากอัลบั้มเข้หมาทอด ๆ ของศิลปิน ‘น้าส์อ้อยห์ จูปะจุฟ’ หรืออีกชื่อในปัจจุบันที่คนพิษณุโลกน่าจะรู้จักกันดีคือ ‘น้าอ้อยห์ สหายโฟล์ค’ เป็นบทเพลงที่มีอายุกว่า 14 ปี นับจากการอัพโหลดลง YouTube เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2553 และมียอดคนดู 238,296 วิว เพลงสาวมอนอเป็นเพลงที่ผู้เขียนได้ยินมาตั้งแต่อายุได้ 10 ขวบ เพลงพูดถึงมุมมองความรักของชายหนุ่มที่อาศัยอยู่ในตัวอำเภอเมืองพิษณุโลกที่มีความรู้สึกดี ๆ ต่อหญิงสาวในรั้วมหาวิทยาลัยนเรศวร หรือเรียกกันอย่างรวบรัดตัดความว่า ‘สาวมอนอ’ เพลงนี้เป็นเพลงอกหักของหนุ่มพิษณุโลก ที่ขี่มอเตอร์ไซค์ไปรับไปส่งสาวมอนอ และพาสาวมอนอไปเที่ยวสถานที่สำคัญในจังหวัดพิษณุโลก แต่ก็ต้องแพ้ให้กับหนุ่มขับรถเก๋งป้ายแดงที่มาแย่งหัวใจจากหนุ่มมอเตอร์ไซค์คันเดิม โดยเพลงสาวมอนอไม่เพียงทำให้เห็นถึงความรักระหว่างหนุ่มพิดโลกกับสาวมอนอเพียงเท่านั้น แต่บทเพลงนี้ยังทำให้เห็นถึงความรักที่แพ้ภัยให้กับการคมนาคมที่ไม่เพียงแต่ทำให้หนุ่มพิดโลกต้องอกหัก เมื่อพามาพิษณุโลกก็ไม่ได้พามาใช้ชีวิตแต่พามาเที่ยว ความห่างไกลไม่ที่ไม่เพียงทำให้หัวใจห่างกันแต่เป็นการคมนาคมที่ทำให้อารมณ์ความรู้สึกของคนห่างกันด้วย ก่อนจะกล่าวถึงวิธีการแก้ไขหรือข้อเสนอ ผู้เขียนอยากชวนผู้อ่านไปดูพลวัตของบริหารสาธารณะที่ไม่ได้เกิดความเปลี่ยนแปลงตามความสมัยของเทคโนโลยีแต่เกิดจากปัจจัยของแผนพัฒนาเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบจนนำมาสู่ข้อเสนอการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น

พลวัตของการเดินทางจังหวัดพิษณุโลก

จังหวัดพิษณุโลกเป็นเมืองที่มีสายน้ำผ่ากลางเมือง และมีเส้นทางรถไฟ เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ ได้แก่ พื้นที่ในบริเวณด้านทิศเหนือ และด้านทิศตะวันตกของพิษณุโลก ลักษณะเป็นที่ราบอันเกิดจากการทับถมตะกอนริมฝั่งแม่น้ำน่าน และแม่น้ำแควน้อย เริ่มจากด้านทิศเหนือ แล้วค่อยๆ ลดความสูงลงมาสู่ทางด้านทิศใต้ ย้อนวกไปทางด้านทิศตะวันตก ทอดตัวยาวต่อเนื่องกับที่ราบลุ่มแม่น้ำยม เขตที่ราบลุ่มเหล่านี้ ได้แก่ พื้นที่ในเขตอำเภอพรหมพิราม อำเภอเมืองจังหวัดพิษณุโลก อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอบางกระทุ่ม และอำเภอบางระกำ บริเวณดังกล่าวนี้ในฤดูน้ำหลากน้ำจะท่วมพื้นที่เป็นบริเวณกว้างมาก เมื่อน้ำลดจะปรากฏห้วย หนอง คลอง บึง ซึ่งมีน้ำขังตลอดปี จึงเป็นพื้นที่ เพาะปลูก และประมงของจังหวัด

ปดิวลดา บวรศักดิ์ ได้กล่าวถึงชื่อจังหวัดพิษณุโลกในบทความชื่อ “ทำไมต้องเรียก “พิษณุโลก” ว่า “สองแคว” ? ” ของศิลปวัฒนธรรมว่า เหตุที่เรียกว่าสองแคว เนื่องจากสมัยก่อน บริเวณดังกล่าวมีแม่น้ำ 2 สายไหลผ่านเมือง นั่นคือ “แม่น้ำน่าน” และ “แม่น้ำแควน้อย” โดย แม่น้ำน่าน ไหลผ่านเข้าในตัวเมือง (จวบจนปัจจุบันก็ยังไหลในเส้นทางนี้อยู่) ส่วน แม่น้ำแควน้อย เปลี่ยนทิศในการไหลผ่าน จากเดิม ไหลลงใต้ขนานกับแม่น้ำน่าน ผ่าน เมืองสองแคว หรือ เมืองพิษณุโลก และไหลลงแม่น้ำน่านใต้ 

การเดินทางสาธารณะของจังหวัดพิษณุโลกยุคเริ่มแรก

การเดินทางสาธารณะของจังหวัดพิษณุโลกยุคแรกก็ต้องกล่าวถึงการเดินทางทางน้ำที่มีบทบาทต่อภูมิศาสตร์ที่มีแม่น้ำน่านเป็นเส้นทางที่ผ่านตัวเมืองพิษณุโลกและสามารถเดินทางไปยังกรุงเทพ การเดินทางสาธารณะทางบกด้วยรถไฟก็ที่มีเส้นทางผ่านตัวเมืองจังหวัดพิษณุโลกเช่นกัน

ข้อมูลการสาธารณะทางบกของรถไฟในจังหวัดพิษณุโลกจากวิทยาพิพนธ์เรื่อง การเปลี่ยนแปลงลักษณะและรูปแบบการตั้งถิ่นฐานของชุมชนชาวเรือนแพในลำน้ำน่าน จังหวัดพิษณุโลก ของคุณนิธิกาญจน์ จีนใจตรง นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า “จังหวัดพิษณุโลก และเทศบาลนครพิษณุโลก เมื่อเริ่มมีเส้นทางคมนาคมทางบก อันเป็น เส้นทางรถไฟสายเหนือที่เริ่มสร้างใน พ.ศ. 2442 การสร้างทางรถไฟนี้ได้เปิดทำการเมื่อ พ.ศ.2450 โดยเส้นทางรถไฟสายเหนือได้ตัดผ่านเข้ามาในตัวเมืองพิษณุโลก และถือได้ว่า การสร้างเส้นทางรถไฟผ่านตัวเมืองพิษณุโลกแทบจะไม่มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนชาวเมืองพิษณุโลกและชุมชนชาวเรือนแพ เนื่องจากแม่น้ำยังคงเป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งที่สำคัญของเมือง ดังปรากฏในรายงานการตรวจราชการมณฑลพิษณุโลก พ.ศ.2471 ระบุว่า สาเหตุที่ประชาชนไม่นิยมใช้เส้นทางรถไฟในการขนส่ง เนื่องจากค่าระวางรถไฟที่มีราคาแพงพ่อค้าจึงเลือกที่จะส่งสินค้าทางรถไฟเฉพาะสิ่งที่พอจะขายเป็นกำไรได้บางอย่าง ทั้งนี้คนเมืองพิษณุโลกจะเริ่มได้รับประโยชน์จากทางรถไฟก็ต่อเมื่อสภาพความเป็นเมืองแม่น้ำขยายตัวกลายเป็นเมืองบก หรือเรียกได้ว่าประชาชนส่วนใหญ่หันมาใช้บริการเส้นทางคมนาคมขนส่งทางบกแทน” โดยเส้นทางรถไฟที่ผ่านตัวเมืองพิษณุโลกเรียกว่า “สายเหนือ” ที่ผ่านสถานีหลักของพิษณุโลกได้แก่ขาเข้าจังหวัดพิษณุโลกจากทางใต้ คือ “สถานีรถไฟบางกระทุ่ม” และทางออกของสถานีทางเหนือ คือ “สถานีรถไฟพรมพิราม” ส่วนการเดินทางคมนาคมทางน้ำ

การเดินทางสาธารณะทางเรือผู้เขียนได้มีโอกาสสัมภาษณ์คนไทยเชื้อสายจีนไหหลำ อำเภอวัดโบสถ์ อย่างคุณวิภาพรรณ บำรุงพงษ์ หรือชื่อในอดีตส้วน แซ่เจียง อายุ 91 ปี เจ้าของกิจการ วัดโบสถ์ขนส่ง จำกัด วันเดือนปีที่จดทะเบียน วันที่ 24 เมษายน 2517 (50 ปี 7 เดือน 1 วัน) เป็นคนไทยเชื้อสายจีนไหหลำที่อาศัยอยู่อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก มีประสบการณ์ต่อการเดินสาธารณะทางน้ำ เนื่องจากบิดา หรือแด (ภาษาไหหลำแปลว่า “พ่อ”) ของคุณวิภาพรรณ กล่าวว่า

“คุณยายเป็นคน ไหหลำ แดมาตั้งบ้านใกล้แม่น้ำ เพราะเมื่อก่อนเดินทางด้วยเรือ บ้านของคุณยายเป็นจุดโดยสารเรือเมล์ ขนส่งคน ขนส่งข้าว ไปกรุงเทพฯ หลังบ้านจะเป็นโรงเก็บข้าวที่มาจากโรงสี”

ในพื้นที่ที่รถไฟไม่ได้ผ่านเข้ามาในอำเภอวัดโบสถ์ คุณวิภาพรรณ ทำให้เห็นถึงพื้นที่ที่ติดกับริมน้ำ และการทำธุรกิจสะท้อนถึงการตั้งที่อยู่อาศัยของชาวจีนไหหลำที่สัมพันธ์แม่น้ำไม่เพียงสัมพันธ์ทั้งทางกับเศรษฐกิจช่วงหนึ่งในการจัดการเรื่องขนส่งสาธารณะทางน้ำไปยังกรุงเทพ โดยเส้นแม่น้ำแควน้อยที่ผ่านอำเภอวัดโบสถ์ก็จะไปประจบกับแม่น้ำน่านที่เป็นแม่น้ำที่สามารถเดินทางไปยังตัวเมืองพิษณุโลกได้ และจากในอดีตไม่มีการคมนาคมที่ถนนจากนอกอำเภอเมืองไปยังตัวอำเภอเมือง ส่วนใหญ่ใช้เรือเป็นพาหนะไปโดยทางน้ำอันเป็นแม่น้ำสายสำคัญของวัดโบสถ์ 

หนังสือสารนิพนธ์ “ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรอำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก” ของคุณนัยนา เนียมศรีจันทร์ บัณฑิตอาสา เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ เขียนขึ้นเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2516 กล่าวถึงการเดินทางเรือกับทางบกไว้ว่า ช่วงต้นพุทธศตวรรษ 26 การคมนาคมทางน้ำกับถนนควบคู่กับทางรถยนต์

(ภาพจากพิพิธภัณผู้พันไก่ ท่าเรือบริเวณตลาดใต้ในตัวเมืองจังหวัดพิษณุโลก)

โดยออกจากตัวจังหวัดไปตามถนนมิตรภาพพิษณุโลก-หล่มสัก ถึง ก.ม. ที่ 6 เรียกว่าบริเวณบ้านร้องโพธิ์ อยู่ในเขตอำเภอเมืองพิษณุโลก และแยกเข้าทางซ้ายมือเป็นถนนลูกรังและมูลดินระยะทางอีกประมาณ 21 ก.ม. จึงจะถึงอำเภอวัดโบสถ์ การเดินทางโดยรถยนต์ทางนี้ใช้ได้สะดวกเฉพาะฤดูแล้งเท่านั้น รถยนต์โดยสารขนาดเล็กวิ่งรับส่งโดยสาร มีอัตราค่าโดยสารคนละ 5 บาท ใช้เวลาวิ่งประมาณ 1 ชั่วโมง และทางน้ำ (ที่ หมายถึงฤดูน้ำ) การเดินทางระหว่างตัวจังหวัดกับอำเภอวัดโบสถ์สามารถเดินทางได้ด้วยทางเรือจากตัวเมืองพิษณุโลกขึ้นไปทางเหนือผ่านลำน้ำน่านและแยกไปลำน้ำแควน้อยที่บริเวณบ้านปากโพด ตำบลปากโพด อำเภอเมืองพิษณุโลก ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง

(ภาพจากพิพิธภัณฑ์ผู้พันไก่ จุดท่าเรือที่อยู่ใกล้กับท่ารถขนส่งบริเวณสะพานเอกทศรสในปัจจุบัน)

 สิ่งที่ทำให้การคมนาคมทั้งสองทางนี้ควบคู่กันได้ คือการเดินทางที่ใช้เวลาไม่ต่างกันเนื่องจากบริการขนส่งสาธารณะเรือเป็นการเดินทางตามฤดู การเดินทางของบริการขนส่งทางบกก็ยังไม่ได้มีให้เลือกมาก และถนนก็ยังเป็นลูกรังอยู่ แต่เมื่อได้พูดคุยกับคุณวิภาพรรณ ทำให้ทราบว่า “พอมีการสร้างถนนขึ้น การขนส่งก็เปลี่ยนไป ขนส่งด้วยเรือก็น้อย” 

จุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้การขนส่งสาธารณะทางน้ำได้ทำให้บริการทางบกมีบทบาทสำคัญต่อผู้คนมากขึ้น คือการเกิดขึ้นของเขื่อนสิริกิติ์ ที่เริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2511 และสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2515 กับเขื่อนนเรศวรที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2518 และสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2525  คุณนิธิกาญจน์ ได้กล่าวว่า

“ชุมชนชาวเรือนแพซึ่งถือส่วนเป็นหนึ่งของชุมชนเมืองพิษณุโลก จึงงเกิดการเปลี่ยนแปลงตามการวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของจังหวัดพิษณุโลกด้วยเช่นกัน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงตามโครงการสร้างเขื่อนสิริกิติ์ และเขื่อนเรศวรเพื่อกักเก็บน้ำ กล่าวคือ สำหรับลำน้ำน่านถือว่า การไหลและระดับนั้นน้ำของลำน้ำน่านจะเป็นไปหารถดูกาล แต่ความจุของน้ำเมื่อไหลเข้ามาในเขตพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกจะลดลงครึ่งหนึ่งของปริมาณความจุของน้ำในจังหวัดอุตรดิตถ์ (กรมชลประทานได้เริ่มสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำสิริกิติ์) แต่ได้รับปริมาณน้ำจากแม่น้ำแควน้อยที่ไหลมาบรรจบทางด้านฝั่งข้าย และขนาบด้วยแม่น้ำยมทางฝั่งขวาปริมาณน้ำของลำน้ำน่านจะลดลงอีกเมื่อไหล่สู่จังหวัดพิจิตร” หน้า 92 

จากการสัมภาษณ์ ‘ลุงเนี้ยว’ เจ้าของร้านชำ สุรเนตี ชาวจีนไหหลำ วัย 71 ปี ภายในอำเภอวัดโบสถ์ ได้กล่าวว่า 

“อดีตก่อนมีเขื่อนก็ตามฤดูกาล ฤดูร้อนน้ำแห้ง ฤดูฝนน้ำล้น พอเกิดเขื่อนมันกลับกันฤดูร้อนน้ำมีบ้าง ฤดูฝนน้ำก็มีบ้าง ไหนจะเวลาของการเดินทางที่บนถนนใช้เวลาไวกว่า”

ดังนั้น การเกิดขึ้นของถนนทำให้บริการสาธารณะทางเรือเริ่มมีบทบาทน้อยลงแต่ไม่ได้หายไปทันที เนื่องจากยังคงมีการใช้งานบริการสาธารณะทั้งทางบกและทางน้ำควบคู่กัน แต่สิ่งที่สร้างผลกระทบต่อการคมนาคมทางเรือก็คือการสร้างเขื่อนสิริกิตดิ์กับเขื่อนนเรศวรทำให้การเดินทางด้วยเรือที่ต้องพึ่งฤดูกาลตามธรรมชาติได้เปลี่ยนไป เนื่องจากช่วงนั้นประจวบกับการมีตัวเลือกในการเดินทางทางบกที่มีความต่อเนื่องกว่าบริการสาธารณะทางน้ำที่น้ำตามฤดูกาลถูกควบคุมจากการเกิดขึ้นของเขื่อนตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ

บริการสาธารณะทางบกนอกเหนือจากรถไฟก็มีรถสองแถวและรถเมล์ ที่มีส่วนสำคัญหลักจากที่การขนส่งสาธารณะทางน้ำถูกแทนที่ด้วยการขนส่งทางถนน และผลกระทบจากการสร้างเขื่อนสิริกิติ์และเขื่อนนเรศวร ที่ทำให้การเดินทางทางเรือที่พึ่งเวลาตามฤดูกาลเปลี่ยนไป และนัยนา ได้กล่าวถึงผลราคาพืชพันธุ์ที่ขนส่งด้วยรถยนต์ไว้ว่า “ปัจจุบันมีทางถนนติดต่อถึงจังหวัด แม้ยังเป็นถนนลูกรัง แต่ก็ใช้การได้ดี การขนส่งส่วนใหญ่จึงใช้รถบรรทุก” ความหมายของรถบรรทุกสมัยก่อนไม่ใช่รถบรรทุกที่เป็นโครงเหล็กแต่เป็นรถเสริมด้วยโครงไม้

(ภาพจากเฟสบุ้ค พิพิธภัณฑ์ผู้พันไก่ พิษณุโลก https://www.facebook.com/share/p/15VY7jUbW9/ ภาพด้านซ้ายเป็นรถโดยสาร นครไทย-พิษณุโลก และภาพด้านขวา รถโดยสารจอดในปั๊มน้ำมันเอสโซ่ ตรง โรงเรียนสิ่นหมิน พิษณุโลก)

ข้อมูลเกี่ยวกับรถบรรทุกได้มีการกล่าวถึงจากผู้จัดจำหน่ายรถอีซูซุในประเทศไทยที่กล่าวว่า “บริษัทเริ่มจำหน่ายรถบรรทุกอีซูซุคันแรกในประเทศไทยก่อน พ.ศ. 2500” และนโยบายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติทั้ง 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 (ระยะที่ 1) พ.ศ. 2504-2506 กับ ฉบับ 1 (ระยะที่ 2) พ.ศ. 2507-2509 ที่ได้มีกล่าวว่า “การคมนาคมและขนส่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจของประเทศ หาก ปราศจากการคมนาคมและการขนส่งที่ดีแล้ว การพัฒนาเศรษฐกิจด้านอื่นๆ ก็ไม่อาจดาเนินไปได้ โดยสมบูรณ์ ฉะนั้น เพื่อที่จะให้การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศดาเนินไปอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพสมความมุ่งหมายของรัฐบาล การพัฒนาด้านคมนาคมและการขนส่งจึงมีอันดับความสำคัญสูงมากในแผนพัฒนา” รวมถึงการชูนโยบายของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ว่า “น้ำไหล ไฟสว่าง ทางดี มีงานทำ” รถบรรทุกในช่วงแรกก็ไม่ต่างกับการมีรถเมล์ที่สามารถขนส่งทั้งผู้คน และขนสินค้าทางการเกษตรเพื่อเข้ามายังเมือง 

(ภาพจาก: พิพิธภัณฑ์ผู้พันไก่ พิษณุโลก  รูปด้านซ้าย: หน้าตึกอำนวยการโรงพยาบาลพุทธชินราชพิษณุโลก รูปด้านขวา: ตลาดอำเภอวัดโบสถ์พิษณุโลก)

คุณพิสิฐ อาภัสระวิโรจน์ อายุ 71 สมาชิกสภาเทศบาลนครพิษณุโลก เขต 2 ได้กล่าวถึงรถโดยสารของจังหวัดพิษณุโลกในอดีตว่า “วิ่งรับส่งผู้โดยสารระหว่างอำเภอ ยังไม่เป็นรถกระบะ ผมเข้าใจว่า ซื้อเฉพาะโครงรถ Nissan อะไรอย่างนี้ แล้วก็มาจ้างช่างประกอบตีโครงไม้ขึ้นมา ซึ่งเป็นโครงรถ หลังคารถ เก้าอี้ไม้สองข้าง และอาจจะมีราวถ้าคนเยอะ ยืนก็มี พอมาอีกยุคหนึ่งมีรถปิ้กอัพเข้ามา รถปิ้กอัพมาใช้เพื่อขนส่งของ แล้วก็มีคนมาดัดแปลงให้เป็นรถสองแถวมารับคน” ต่อมาได้รถเมล์พิษณุโลกบ้านเรา ของบริษัทพิษณุโลกบริการ จำกัด วันเดือนปีที่จดทะเบียนวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2508 วันที่เลิก วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557 หากนับจากปัจจุบันปี 2567 ก็ผ่านมา 59 ปี 

อรุณ ภักดิ์ประไพ กำลังไหว้พระ ภาพจาก https://images.app.goo.gl/247eXChgW5WGF4Dp8
อนัน ภักดิ์ประไพ ลูกชายของคุณอรุณ ภักดิ์ประไพ ภาพจาก https://images.app.goo.gl/PwrNAjjPvKyGj1PB7

โดยคุณพิสิฐ ได้กล่าวว่า “คนริเริ่มเป็นเจ้าของอู่รถชื่อ อู่ปกรณ์ และตัวพ่อเขาเคยเป็นนายกเทศมนตรีฯ อยู่ระยะหนึ่งด้วย อรุณ ภักดิ์ประไพ ลูกชายเขาเคยเป็น สส. พิษณุโลกเขต 1 ชื่ออนัน ภักดิ์ประไพ” 

รูปรถเมล์พิษณุโลกบ้านเราที่จอดเทียบท่าใกล้กับโรงแรมเอเซีย

คุณนายอรุณ ภักดิ์ประไพ อดีตผู้ร่วมพัฒนาเมือง พิษณุโลก ในคณะ 18 อาสา เป็นนายกเทศบาลคนแรกเมื่อ ปี พ.ศ. 2500-2510 ผู้ก่อตั้ง บริษัท พิษณุโลกบริการจำกัด และปัจจุบันได้ปิดตัวอย่างถาวร โดยนายนรินทร์ศักดิ์ บูรณะเขตต์ ผู้จัดการบริษัท พิษณุโลกบริการ จำกัด ผู้ดำเนินกิจการรถเมล์รอบเมืองพิษณุโลก ระบุว่า ได้ยื่นเรื่องขอยกเลิกสัมปทานเดินรถและยุติบริการรถเมล์รอบเมืองพิษณุโลกกับสำนักงานขนส่งจังหวัดพิษณุโลกและได้รับการอนุมัติยกเลิกเดินรถแล้ว โดยกำหนดยกเลิกบริการรถเมล์รอบเมืองทุกสายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2557 นี้ โดยระยะนี้ ยังคงเปิดบริการรถเมล์ใน 6 เส้นทาง ตามเงื่อนไขที่ทำกับขนส่งจังหวัดไปจนถึงวันสุดท้าย ได้แก่ สายมหาวิทยาลัยนเรศวร สายบ้านกร่าง สายวัดอรัญญิก สายรอบเมือง สายบึงพระ-แม่ระกา และสายท่าตาล และได้ปิดตัวลงเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2557

ส่วนรถเมล์คุณวิภาพรรณ บำรุงพงษ์ ผู้ริเริ่มเส้นทางรถเมล์สายแรกของอำเภอวัดโบสถ์ ของบริษัทวัดโบสถ์ขนส่ง จำกัด จอดรับผู้โดยสารหลังวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หรือวัดใหญ่ จดทะเบียน วันที่ 24 เมษายน 2517 ปัจจุบันยังคงทำการอยู่ 

การขนส่งผู้คนภายในจังหวัดพิษณุโลกเป็นบริการสาธารณะที่เริ่มต้นขึ้นด้วยการเดินทางสาธารณะทางน้ำด้วยเรือเมล์ จนกระทั่งช่วงหลัง 2500 ในยุคที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้เป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากการรัฐประหาร และได้มีการชูนโยบาย “น้ำไหล ไฟสว่าง ทางดี มีงานทำ” และรัฐบาลก็ได้ดำเนินเศรษฐกิจตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาในช่วงสงครามเย็นเพื่อทำให้เห็นถึงความเจริญของการดำเนินนโยบายตามอุดมการณ์เสรีนิยม เนื่องจากช่วงสงครามเย็นเป็นการปะทะระหว่างสองอุดมการณ์ คือ อุดมการณ์เสรีนิยมและอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ การจะทำให้เห็นถึงความเจริญของการเข้าร่วมอุดมการณ์เสรีนิยมเป็นการต่อสู้ต่ออุดมการณ์คอมมิวนิสต์ที่ถูกให้ภาพของความด้อยพัฒนา แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติได้ทำให้เกิดการสร้างเขื่อนสิริกิติ์กับเขื่อนนเรศวร และมีการสร้างถนนเส้นทางหลวงเกิดความเจริญขึ้น ทำให้ส่งผลกระทบต่อบริการขนส่งสาธารณะทางน้ำได้หายไปอย่างถาวร เนื่องจากการเดินเรือต้องพึ่งฤดูกาลไม่ได้มีความรวดเร็วเทียบเท่ากับบริการสาธารณะทางบกที่มีตัวเลือกได้แก่ รถปิ้กอัพ รถบรรทุก และรถมล์ ที่เกิดขึ้นมาในรุ่นราวคราวเดียวกัน แต่เวลาต่อมาผู้ประกอบการขนส่งสาธารณะทางน้ำอย่างบิดาของคุณวิภาพรรณ ก็ได้มีการปรับตัวเช่นกัน

การเดินสาธารณะในปัจจุบันกับการเดินทางของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร

รถม่วงถือเป็นรถขนส่งสาธารณะที่ทันสมัยที่สุดในจังหวัดพิษณุโลก เนื่องจากเป็นรถขนส่งสองแถวที่มีการติดตั้งแอร์ รถม่วงอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของนายเกรียงศักดิ์ บุญศิลป์ ผู้จัดการบริษัทคิงด้อม ออโต้คาร์พิษณุโลก จำกัด เปิดตัวรถม่วงเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2562 แต่ก่อนจะมาทำรถม่วงบริษัทคิงด้อม ออโต้คาร์พิษณุโลก จำกัด ก็ได้ทำ Taxi Kingdom มาก่อน โดยนายเรวัตร พนาอุดมสิน เจ้าของ หจก.คิงด้อม ทัวร์ 2015 และผู้บริหารสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพิษณุโลกแห่งที่ 2 กล่าวว่า ได้ลงทุนเปิดบริการรถแท็กซี่รายใหม่ “แท็กซี่ คิงด้อมทัวร์ 2015” จำนวน 50 คัน หรือเมื่อปี 2558 บริษัทคิงด้อม ออโต้คาร์พิษณุโลก จำกัด ได้รับสัมปทานมาจากขนส่งจังหวัดพิษณุโลก ต่อจากรถเมล์บ้านเราที่เลิกกิจการไปเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา และได้บริการวิ่งรอบเมืองพิษณุโลก จนถึงปัจจุบัน บริษัทคิงด้อมเข้ามาแทนที่รถเมล์พิษณุโลกบ้านเรา ของบริษัทพิษณุโลกบริการ จำกัด ได้ปิดกิจการขนส่งสาธารณะไป เส้นทางที่รถม่วงเดินจึงเป็นเส้นทางที่บริษัทพิษณูโลกบริการได้ทำการเดินสายขนส่งมาก่อน 

เส้นทางที่บริษัทขนส่งบริการเคยเดินมาก่อนจนกลายมาเป็นรถม่วงก็คือ มหาวิทยาลัยนเรศวรอยู่ห่างจากเทศบาลนครเมืองพิษณุโลกประมาณ 15 กิโลเมตร  และห่างจากเซนทรัลพิษณุโลกรวม 18 กิโลเมตร เมื่อนึกถึงการเดินทางระหว่างมหาวิทยาลัยนเรศวรไปยังตัวเมืองพิษณุโลกด้วยรถสาธารณะแล้ว นิสิตมอนอก็คงนึกถึงสถานีขนส่งรถโดยสารประจำทางสาย 12 หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ‘รถม่วง’ 

สถานีขนส่งรถม่วงตั้งอยู่ใกล้กับหอพักภายในมหาวิทยาลัยนเรศวร โดยจะมี 2 เส้นทาง ได้แก่ รอบรถมหาวิทยาลัยนเรศวรไปยังสถานีรถไฟ มี 9 เที่ยว ตั้งแต่เวลา 06.40 – 17.30 น. รถม่วงรอบนี้เดินทางตั้งแต่จุดเริ่มต้นมหาวิทยาลัยนเรศวร ไปยัง โลตัส ท่าทอง – แม็คโคร (เก่า) – ตลาดใต้ – หอนาฬิกา – ตลาดร่วมใจ และปลายทางสถานีรถไฟ และรอบมหาวิทยาลัยนเรศวรไปยังสถานีขนส่งโดยสาร แห่งที่ 2  มี 8 เที่ยว ตั้งแต่เวลา 07.00 – 16.25 น. รถม่วงรอบนี้เดินทางตั้งแต่จุดเริ่มต้นมหาวิทยาลัยนเรศวร ไปยัง โลตัส ท่าทอง – บ้านคลอง – เซ็นทรัล – ท็อปแลนด์ – วัดใหญ่ – สถานีขนส่งฯ (เก่า) – บิ๊กซี – โลตัส โคกช้าง และปลายทางสถานีขนส่งผู้โดยสาร แห่งที่ 2 ทั้งสองเส้นทางราคาเริ่มต้นที่ 20 บาท จากนั้นคิดราคาตามระยะทาง และราคาตลอดทาง 35 บาท หากต้องการที่จะเดินทางมายังมหาวิทยาลัยนเรศวรก็ขึ้นตามจุดโดยสารของรถม่วง

เมื่อหมดรอบรถม่วงหลังจากนั้นก็ไม่มีรถสาธารณะในการให้บริการ หากต้องการเดินทางก็คงต้องพึ่งยานพาหนะส่วนตัว ไม่ก็ใช้บริการรถสาธารณะของบริษัทเอกชน เช่น รถ Taxi Kingdom บริษัทเดียวกับรถม่วง หรืออีกทางเลือกหนึ่งก็คือ Grab ที่มีราคาแพงกว่า รถม่วง เนื่องจากคิดค่าบริการจากระยะทางไม่ได้คิดค่าบริการเป็นเที่ยวเหมือนรถม่วง เช่น หากปักหมุดด้วยแอพพิเคชั่น Grab จากมหาวิทยาลัยนเรศวรไปยังสถานีรถไฟราคาจะอยู่ที่ 130 บาท (ลดจากราคา 153 บาท) และกรณของ Taxi kingdom จากรูปที่แนบดังนี้

หากเดินทางจากมหาวิทยาลัยนเรศวรไปยังสถานีรถไฟ 14 กิโลเมตร ก็คือ 2 กิโลเมตร 40 บาท ต่อมา 2 กิโลเมตร ถึง 10 กิโลกเมตร เป็น 48 บาท ต่อ 10 โลขึ้นไปก็เหลืออีก 4 กิโลเมตร เป็น 40 บาท และค่าเรียกผ่านศูนย์ผ่านโทรศัพท์ หรือไลน์เพิ่มอีก 20 บาท รวมทั้งสิ้น 148 บาท ดังนั้น ถ้าอยากประหยัดเงินก็สามารถใช้รถม่วงในการเดินทางไปกลับโดยมีราคาอยู่ที่ 40 – 80 บาท แต่ก็จะใช้เวลาเดินทางที่นานกว่า หรือถ้าเดินทางด้วยบริการของเอกชนที่สะดวกรวดเร็วก็ต้องใช้บริการขนส่งด้วยรถยนต์ ค่าไปกลับอยู่ที่ 260-300 บาท แต่ถ้าใช้ควบคู่กับรถม่วงจะอยู่ที่ 170-180 บาท 

การเข้าไปใช้ชีวิตในเมืองของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร จึงต้องใช้เวลานาน หรือหากต้องการประหยัดเวลาก็ต้องมีค่าใช้จ่ายมากขึ้น อีกตัวเลือกหนึ่งที่ทำให้การเดินทางสะดวกขึ้น ก็คือการใช้ ‘รถส่วนตัว’ แต่ก็จะตามมาด้วยความกังวลเกี่ยวกับอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าน้ำมัน ค่าเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง เป็นต้น ตัวเลือกที่ไม่มากนี้ทำให้การเข้าไปใช้ชีวิตจึงไม่ต่อเนื่อง ทำให้การเข้ามาใช้ชีวิตในเมืองของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวรจึงไม่ได้รู้สึกเชื่อมโยงกับชุมชนในเมือง เนื่องจากไม่สามารถเดินทางมาอย่างต่อเนื่องได้การเข้ามาของนิสิตจึงเป็นการเข้ามาเที่ยวมากกว่ามาใช้ชีวิตประจำวันในเมืองพิษณุโลก

แล้วหนุ่มพิดโลกจะรักกับสาวมอนอได้หรือไม่?

“เคยพาซ้อนท้าย…ไปเที่ยวลานนม

เคยพาไปชมจันทร์สวนชมน่าน

ไปกินก๋วยเตี๋ยวห้อยขากันเมื่อวาน 

แต่วันนี้ ต้องซมซาน เพราะไม่มีเธอ”

‘สาวมอนอ’ เป็นเพลงที่สะท้อนถึงจุดที่ตั้งอันห่างไกลของมหาวิทยาลัยนเรศวรกับตัวเมืองพิษณุโลกที่ทำให้ความสัมพันธ์ของผู้คนมีความแตกต่างกันแม้จะอยู่ในจังหวัดเดียวกันที่ห่างกันเพียง 15 กิโลเมตร สิ่งที่ตอกย้ำถึงปัญหาที่ขัดขวางความรักของหนุ่มพิดโลกกับสาวมอนอก็คือ ‘ปัญหาของการคมนาคม’   ที่ควรจะเป็นส่วนสำคัญในการจัดการระยะห่างให้วิถีชีวิตของผู้คนมีความสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อการคมนาคมไม่ได้มีประสิทธิภาพมากพอก็ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเมืองพิษณุโลกกับนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวรไม่ต่อเนื่อง บทเพลงสาวมอนอก็ทำให้เห็นว่าตัวเมืองพิษณุโลกไม่ใช่พื้นที่ที่จะสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ แต่เป็นสถานที่ท่องเที่ยว หรือการเข้ามาตามอีเวนต์ที่มีในเมือง เช่น การไปเที่ยวเซนทรัล ไปเที่ยวผับ Picasso ไปเที่ยวตะวันแดง ไปเที่ยววัดใหญ่ ไปเที่ยวถนนคนเดิน เป็นต้น หากจะให้นิสิตมหาวิทยาลัยตื่นเช้าเพื่อไปเดินตลาดใต้เพื่อมีความสัมพันธ์กับคนในชุมชนก็คงไปไม่ได้บ่อยมากนัก ดังนั้น การคมนาคมที่ไม่มีประสิทธิภาพจึงทำให้นิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวรถูกจำกัดในการมีปฏิสัมพันธ์กับคนในเมือง การเข้ามาในเมืองจึงไม่ใช่การเข้าไปใช้ชีวิตประจำวันแต่เป็นการเข้าไปเที่ยวเพียงเท่านั้น 

พิษณุโลกก็เคยมีความคิดจะเพิ่มรถไฟฟ้าเมื่อปี 2563 ที่นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. กล่าวว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติให้ รฟม. เริ่มดำเนินโครงการทั้งศึกษา ออกแบบรายละเอียดและรูปแบบการลงทุน PPP รถไฟฟ้าจังหวัดพิษณุโลก สายสีแดงช่วงมหาวิทยาลัยพิษณุโลก-เซ็นทรัลพิษณุโลก มีระยะทาง 12.6 กม.จำนวน 15 สถานี เงินลงทุน 1,666.78 ล้านบาทรูปแบบโครงสร้างเป็นระดับพื้นดิน ส่วนรถไฟฟ้าจะเป็นระบบออโต้แทรมหรือรถรางล้อยาง ตามแผนจะเสนอขออนุมัติรูปแบบการลงทุนในเดือน พ.ค.2564 คัดเลือกเอกชนในเดือน ก.ย.2565 ก่อสร้างเดือน ต.ค.2566 เปิดบริการเดือน ธ.ค.2569 

(รูปจาก https://www.isranews.org/content-page/item/85721-gov_85721.html)

แนวเส้นทางเริ่มต้นจากมหาวิทยาลัยพิษณุโลก ผ่านสถานีขนส่งพิษณุโลกแห่งที่ 2 แนวเส้นทางมุ่งไปทางทิศเหนือตามแนวทางหลวงหมายเลข 126 ไปบรรจบกับทางหลวงหมายเลข 12 ที่สี่แยกอินโดจีน จากนั้นแนวเส้นทางมุ่งไปยังทิศตะวันตกตามแนวทางหลวงหมายเลข 12 และสิ้นสุดแนวเส้นทางที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซ่าพิษณุโลก และหากชวนคิดถึงอีกทางเลือกหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับจังหวัดพิษณุโลกด้วยบริการสาธารณะทางน้ำอย่าง “เรือเมล์” เนื่องจากหลายประเทศก็ยังคงนิยมใช้อยู่ รวมถึงประเทศไทย เช่น เรือไฟฟ้าคลองผดุง เป็นต้น ส่วนนี้ก็จะถูกโต้แย้งด้วยการที่เขื่อนมีบทบาทสำคัญในการทำให้เรือเมล์ในอดีตไม่สามารถเดินทางตามธรรมชาติ และพิษณุโลกก็คงจะมีเรือเมล์ไม่ได้ เพราะคนภายนอกอำเภอยังต้องการเขื่อนเพื่อไม่ให้น้ำท่วม ส่วนนี้ผู้เขียนอยากเสนอให้ตั้งคำถามต่อเขื่อนว่า ช่วงเวลาหนึ่งเขื่อนสร้างขึ้นมาด้วยปัจจัยอะไร เพื่อต้องการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม หรือแก้ไขปัญหาทางการเมือง? ผู้เขียนไม่ได้หมายความว่า เขื่อนดีหรือไม่ดีแต่เรามีการแก้ปัญหานอกเหนือจากเขื่อนบ้างไหมในยุคปัจจุบัน เพื่อเพิ่มทางเลือกต่อการเดินทางของจังหวัดพิษณุโลก โดยข้อเสนอที่สำคัญก็คือ “การกระจายอำนาจ” มีอดีตพรรคการเมืองอย่างก้าวไกลได้เสนอการกระจ่ายอำนาจของบริการสาธารณะดังนี้

1. บริการสาธารณะถูก-เร็ว-ดี ท้องถิ่นจัดทำได้ทั้งหมด ยกเว้น ทหาร-ศาล-เงินตรา

– กำหนดหลักการว่าอำนาจและหน้าที่ในการจัดทำบริการสาธารณะในพื้นที่ (เช่น ถนน ขนส่ง ขยะ ไฟฟ้า ประปา โรงเรียน โรงพยาบาล) เป็นของท้องถิ่น โดยรัฐส่วนกลางมีเพียงบทบาทในการกำหนดมาตรฐานระดับประเทศ และออกแบบตัวชี้วัดเพื่อประเมิน-วัดผลการจัดทำบริการสาธารณะของท้องถิ่น โดยไม่กระทบหลักความเป็นอิสระของท้องถิ่น

– เปลี่ยนวิธีการเขียนกฎหมายแบบ “positive list” ที่ให้ท้องถิ่นมีอำนาจจัดทำบริการสาธารณะในพื้นที่เฉพาะในข้อที่ถูกระบุ มาเป็นการเขียนกฎหมายแบบ “negative list” ที่ให้ท้องถิ่นมีอำนาจจัดทำบริการสาธารณะในพื้นที่ได้ทุกอย่าง ยกเว้นเพียงบางเรื่องที่เขียนห้าม (เช่น การทหาร ศาล ระบบเงินตรา)

– กำหนดให้รัฐส่วนกลาง มีหน้าที่และอำนาจในการจัดทำบริการสาธารณะเฉพาะ

  • — (i) เรื่องที่ไม่อยู่ในหน้าที่และอำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  • — (ii) เรื่องที่ท้องถิ่นไม่สามารถจัดทำได้จนทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบและเดือดร้อนเสียหาย
  • — (iii) เรื่องที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร้องขอให้รัฐส่วนกลางจัดทำแทน

2. ถ่ายโอน ถนน-คูคลอง-แหล่งน้ำ-ขนส่ง-สิ่งแวดล้อม-พิสูจน์สิทธิที่ดิน-โรงงาน-โรงแรม-สถานบริการ

– เร่งรัดออกแผนและขั้นตอนกระจายอำนาจฉบับที่ 3 เพื่อถ่ายโอนภารกิจให้ท้องถิ่นมากขึ้น เช่น

  • ถ่ายโอนการบริหารจัดการถนน-คูคลองแหล่งน้ำ-ชลประทาน เพื่อให้ทุกจังหวัดออกแบบวางแผนเมืองและแก้ปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งได้ตรงจุดมากขึ้น
  • ถ่ายโอนการบริหารจัดการขนส่งสาธารณะ-สิ่งแวดล้อม-พิสูจน์สิทธิที่ดิน เพื่อให้ทุกจังหวัดเพิ่มสายรถเมล์ได้ง่าย สั่งปิดโรงงานที่ปล่อยน้ำเสียกลิ่นเหม็นได้เอง แก้ปัญหาข้อพิพาทที่ดินให้ประชาชนได้เร็ว
  • ถ่ายโอนการออกใบอนุญาต โรงแรม-โรงงาน-สถานบริการ เพื่อให้ทุกจังหวัดดูแลเรื่องท่องเที่ยวได้เองทั้งระบบ แก้ปัญหาโรงแรมที่ไม่มีใบอนุญาตได้ ให้ท้องถิ่นกำหนดเวลาปิดสถานบริการได้ และช่วยแก้ปัญหาส่วยที่สถานบริการโดนไถเงินมาตลอด

3. ยกเลิกกฎระเบียบและคำสั่ง คสช. ที่ล็อกคอ-ล้วงลูกท้องถิ่น ภายใน 100 วัน

– ยกเลิกระเบียบมหาดไทยและคำสั่ง คสช. ที่เป็นอุปสรรคและทำให้ท้องถิ่นขาดอิสระในการทำงานและการบริหารทรัพยากร ภายใน 100 วันแรก (เช่น คำสั่ง คสช. 8/2560 ที่เข้ามาแทรกแซงการบริหารงานบุคคลของ อปท. ทำให้ท้องถิ่นขาดกำลังคน)”

ข้อเสนอเชิงโครงสร้างที่สำคัญก็ คือ “การกระจายอำนาจ” หากผู้เขียนฝันถึงการมีขนส่งเรือเมล์ที่ทันสมัยและจังหวัดพิษณุโลกก็เคยมีบริการสาธารณะทางน้ำมาอยู่แล้ว จึงไม่ใช่สิ่งใหม่ที่จะกลับมาศึกษาการบริการสาธารณะทางน้ำใหม่ และเป็นการเพิ่มเศรษฐกิจการท่องเที่ยว เพราะก่อนจะชื่อพิษณุโลกก็คือสองแคว แต่ปัจจุบันกลับไม่ได้เห็นวิถีชีวิตจากแม่น้ำน่าน แต่สิ่งเหล่านี้กลับต้องถูกเก็บเข้าในลิ้นชัก เนื่องจากติดปัญหาจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติที่มีนโยบายให้มีการสร้างเขื่อนขึ้น เมื่ออำนาจกระจุกอยู่ที่ศูนย์กลางมากๆ ต่างจังหวัดก็จะอยู่ในวังวนที่ “ศูนย์กลางทำท้องถิ่นตาม” แล้วอย่างนี้จังหวัดพิษณุโลกเลือกอะไรได้บ้าง? หรือข่าวของการมีรถไฟฟ้าในต่างจังหวัดที่รวมถึงพิษณุโลก ทางส่วนกลางทำการศึกษาโดยถามความต้องการของคนในพื้นที่และศึกษาอย่างถี่ถ้วนจริงๆ ใช่ไหม? ทางภาครัฐคิดจะแก้ระบบขนส่งสาธารณะด้วยรถไฟฟ้าแบบกรุงเทพฯ ที่ประชาชนก็ทราบดีว่า รถไฟฟ้าไม่ได้แก้ปัญหาการขนส่งสาธารณะแต่เป็นการทิ้งการขนส่งสาธารณะอื่นๆ ที่ควรแก้ไขให้ดีขึ้น และควรได้รับการสนับสนุนที่ดีจากภาครัฐ เมืองพิษณุโลกไม่จำเป็นต้องเดินตามเมืองกรุงเทพฯ ส่วนกลางได้โปรยความเจริญแต่ไม่ถึงสักที หรือคนพิษณุโลกจะปลูกเมืองด้วยมือของคนพิษณุโลกเองโดยที่ไม่ต้องรอส่วนกลาง

อ้างอิง

  • จิรวัฒน์ พิระสันต์,   วัฒนธรรมในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก”, (จังหวัดพิษณุโลก:  พี อาร์ พริ้นติ้ง,  2556), หน้า 15.
  • นิธิกาญจน์ จีนใจตรง,การเปลี่ยนแปลงลักษณะและรูปแบบการตั้งถิ่นฐานของชุมชนชาวเรือนแพในล้าน้้าน่าน จังหวัดพิษณุโลก, (การผังเมืองบัณฑิต สาขาวิชาการผังเมืองคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปีการศึกษา 2551), 
  • นัยนา เนียมศรีจันทร์, “ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรอำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก”, (สารนิพนธ์บัณฑิตอาสาสมัคร สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2516), หน้า 18.
  • กองกิจการ นิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร. ตารางเดินรถโดยสานประจำทาง สาย 12. สืบค้นจาก https://www.sa.nu.ac.th/?p=17069. เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2567.
  • เขื่อนนเรศวร (จ.พิษณุโลก), การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, สืบค้นจากhttps://www.egat.co.th/home/naresuan-rohpp/, (เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2567)
  • เขื่อนสิริกิติ์ความเป็นมา, การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, สืบค้นจากhttps://www.egat.co.th/home/sirikit-dm-about/, (เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2567)
  • นายกเทศมนตรีคนแรกอายุ 100 ปี,Phitsanulok Hotnews,   สืบค้นจาก  https://www.phitsanulokhotnews.com/2013/01/16/30571,   (เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 พฤษจิกายน 2567).
  • บริษัท พิษณุโลกบริการ จำกัด, Credendata,   สืบค้นจาก  https://data.creden.co/company/general/0655508000024?kc=3b21ff6cdbc44c1b898a6e336cbd9aa162674857c970c,   (เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 พฤษจิกายน 2567).
  • บริษัท วัดโบสถ์ขนส่ง จำกัด, Credendata,   สืบค้นจาก  https://data.creden.co/company/general/0655517000031,   (เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 พฤษจิกายน 2567).
  • รถไฟฟ้าพิษณุโลก: ราชกิจจาฯ ประกาศให้ “รฟม.” เริ่มโครงการแล้ว, ประชาชาติ ออนไลน์, สืบค้นจาก https://www.prachachat.net/property/news-481654, (เข้าถึงเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2567).
  • ปิดฉากตำนาน52ปีรถเมล์รอบเมืองพิษณุโลก, กรุงเทพธุรกิจ, สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/social/598728?fbclid=IwY2xjawGbAMNleHRuA2FlbQIxMAABHeUQoShCKl-OW6n6Up1r5QCyUB2oDAhsvlNLyrQ5HQ7xPqkOGfJzCfT7Fg_aem_FMgXVdJePMAVCXaXZfozUA,   (เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 พฤษจิกายน 2567).
  • ประวัติอีซูซุในประเทศไทย. อีซูซุ. ออนไลน์. สืบค้นจาก https://www.isuzu-tis.com/about-history/  เข้าถึงเมื่อ (8 พฤศจิกายน 2567)
  • ปดิวลดา บวรศักดิ์,  “ทำไมต้องเรียก “พิษณุโลก” ว่า “สองแคว” ? ,  ศิลปวัฒนธรรม,   สืบค้นจาก  https://www.silpa-mag.com/history/article_122782,   (เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 พฤษจิกายน 2567).
  • เปิดตัว “สองแถวไฮโซ” แอร์เย็นฉ่ำ เบาะกำมะหยี่ เจ้าแรกในภาคเหนือ, ไทยรัฐ ออนไลน์, สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/news/society/1510491, เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2567).
  • วีรพงษ์ รามางกูร. “สฤษดิ์น้อย,” ใน มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 28 มิถุนายน 2561. สืบค้นจากhttps://www.matichon.co.th/columnists/news_1015972 , เข้าถึงเมื่อ 17 กันยายน 2564.
  • เสาหลักนโยบายที่ 3 “ต้องก้าวไกล ทุกจังหวัดไทยก้าวหน้า”,  พรรคก้าวไกล, สืบค้นจาก
  •  https://www.moveforwardparty.org/article/15809/, (9 พฤศจิกายน 2567).
  • หน้าใหม่ใจถึง! แท็กซี่คิงด้อมฯ ขนอัลติสใหม่เอี่ยมรับ-ส่งคนพิษณุโลกฟรีวันเปิดตัว, MGRonline, สืบค้นจากhttps://mgronline.com/local/detail/9580000074187?fbclid=IwY2xjawGb1VdleHRuA2FlbQIxMAABHYMpFKl3lI74-2YCd2AKmefqFVneIQf57e8_wU_T95VMMzHaWXdM_THUgQ_aem_lZJXmWLoHIrKSsCL7f_hWg, (เข้าถึงเมือวันที่ 8 พฤศจิกายน 2567)

ชาร์ลส์ เอฟ. คายส์ ครูและมิตรรักชาวไท(ย) จากพ่อใหญ่คายส์บ้านหนองตื่นในอีสานสู่สนามแม่สะเรียงและเชียงใหม่ 

เรื่อง : ป.ละม้ายสัน

สนามอยู่ที่ไหน? เป็นคำถามที่สำคัญข้อหนึ่งของนักมานุษยวิทยาในการศึกษาคนอื่นหรือแม้กระทั่งศึกษาตนเอง จนมีหนังสือในประเด็นเกี่ยวกับการสะท้อนย้อนคิดในสนามของนักมานุษยวิทยาเป็นจำนวนมากทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

การเขียนถึงสนามในโลกภาษาไทยก็มีอยู่จำนวนหนึ่งอาทิเช่น คนใน : ประสบการณ์ภาคสนามของนักมานุษยวิทยาไทย อีกเล่มที่น่าสนใจไม่แพ้กันก็คือหนังสือรวมบทความการประชุมวิชาการทางมานุษยวิทยาในปี 2566 ที่สะท้อนย้อนคิดเกี่ยวกับตนเองในการเข้าไปทำวิจัยภาคสนามเรื่อง ชีวิตภาคสนาม : Life Ethnographically! หนังสือสองเล่มนี้มีจุดร่วมกันอย่างหนึ่งคือ นักมานุษยวิทยาที่เข้าไปในภาคสนามเพื่อทำการวิจัยนั้นไม่สามารถแยกขาดกับตัวตนของเราได้ มันมีทั้งอารมณ์ความรู้สึกและความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นในสนามที่ตนเองศึกษาอยู่เสมอ

ในหนังสือเล่มหลัง Charles F. Keyes เป็นนักมานุษยวิทยาท่านหนึ่งที่มีคนเขียนถึงเขาด้วย ทั้งการทำความเข้าใจความคิด วิธีวิทยา และบริบททางการเมืองที่ส่งผลต่องานวิจัยที่ของอาจารย์คายส์ที่ออกมา อาจารย์คายส์เป็นครูบาอาจารย์ที่มีลูกศิษย์ลูกหาชาวไทยเป็นจำนวนมาก การทบทวนแนวคิดหรือการเขียนถึงท่านจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ

นอกจากบทความทางวิชาการแล้ว คุณูปการของอาจารย์คายส์ยังถูกพูดถึงในพื้นที่สาธารณะอย่าง เสวนาออนไลน์ในหัวข้อ อาจารย์คายส์เดอะซีรี่ย์ และบทความใน The isaan record ก็กล่าวถึงคุณูปการของท่านต่อด้านความเปลี่ยนแปลงของชนบทภาคอีสานที่สำคัญผ่านการภาคสนามของท่าน

สนามอันเป็นพื้นที่โด่งดังของเขาซึ่งก็คือ “บ้านหนองตื่น” จังหวัดมหาสารคาม ที่เป็นพื้นที่สำคัญในการทำความเข้าใจหมู่บ้าน/ชนบทในภาคอีสาน เริ่มตั้งแต่วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกที่ศึกษาการปฏิสัมพันธ์ระหว่างความเป็นไทยและความเป็นลาว หรืองานในช่วงหลังที่ศึกษาความเปลี่ยนแปลงของชนบทอีสานเพื่อทำความเข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างการเมืองและเศรษฐกิจรวมถึงขบวนการเคลื่อนไหวของชาวบ้านชนบทในทศวรรษที่ 2550 และเสนอว่าชาวบ้านในภาคอีสานมีความคิดที่ไม่ได้ปิดตัวเองอยู่เพียงแค่ในหมู่บ้านชนบทเพียงเท่านั้น แต่เชื่อมถึงโลกภายนอกอันเกิดจากความเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อการเคลื่อนย้ายแรงงาน จนเป็นชาวบ้านผู้เจนต่อโลก (Cosmopolitan villagers)

ข้อเขียนชิ้นนี้มิได้มุ่งสรุปสาระสำคัญของงานชิ้นต่าง ๆ ของอาจารย์คายส์ แต่จะเป็นการเขียนประวัติศาสตร์สนามของอาจารย์คายส์จากบ้านหนองตื่นสู่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอนและจังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากทั้งสองสนามแห่งนี้ได้สร้างท่านได้สร้างผลงานเกี่ยวกับชาติพันธุ์นิพนธ์และไทยศึกษาชิ้นสำคัญหลายต่อหลายชิ้น และผลงานของท่านก็ชวนคิดต่อในภาวะปัจจุบันด้วยซึ่งจะกล่าวในช่วงหลัง

ลูกแก้ว (เด็กชายที่มาบวชเป็นสามเณรที่วัดอมราวาส) ที่บ้านของชาร์ลส์และเจน ไคส์ ชาร์ลส์กำลังผูกด้าย โดยมีสุลักษณ์ ศิวลักษณ์ และนิคมมองดูอยู่ ออกจากบ้านของชาร์ลส์ และเจนไคส์, อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮองสอน ประเทศไทย พฤษภาคม พ.ศ.2511. (อ้างอิงจาก จดหมายเหตุนักมานุษยวิทยาที่รวบรวมโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)) ภาพต้นฉบับ https://digital.lib.washington.edu/researchworks/items/08027ff2-acec-455f-905d-c06d39e0aeca

จากบ้านหนองตื่นสู่แม่สะเรียงและเชียงใหม่ห้วงสงครามเย็น

อาจารย์คายส์เป็นนักเรียนมานุษยวิทยาตั้งแต่ระดับปริญญาตรี และระดับปริญญาโท-เอกที่มหาวิทยาลัยคอร์เนล การเข้ามาเมืองไทยของอาจารย์คายส์ได้รับทุนวิจัยจากมูลนิธิฟอร์ด เพื่อมาเขียนวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกหัวข้อเรื่อง Peasant and Nation : A Thai-Lao Village in a Thai Stage (1966)

ข้อเขียนชิ้นหนึ่งที่อภิปรายถึงสังคมวิทยาความรู้ด้านชนบทศึกษาในช่วงสงครามเย็นของเก่งกิจ กิติเรียงลาภ เรื่อง เขียนชนบทให้เป็นชาติ ชี้ให้เห็นว่า อาจารย์คายส์เริ่มต้นวิทยานิพนธ์ของเขาด้วยการสร้างปมปัญหาหนึ่งที่เรียกว่า “ปัญหาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (The Northeastern Problem) ได้สอดรับกับบรรยากาศในแวดวงของการศึกษาชาวเขาของรัฐไทยและนักวิชาการอเมริกันคนอื่น ๆ ที่มุ่งเสนอสิ่งที่เรียกว่า “ปัญหาชาวเขา” (The Hill Tribe Problem) ในฐานะปมปัญหาและความขัดแย้งที่รัฐต้องให้ความสำคัญ โดยเฉพาะปัญหาด้านความมั่นคงและคอมมิวนิสต์ซึ่งกลายมาเป็นอุปสรรคของการผนึกรวมสร้างความเป็นชาติในช่วงสงครามเย็น ราวกับว่าการอ้างอิงสมมติฐานหรือปมปัญหาว่าด้วย “ปัญหา” ทั้งภาคอีสานและปัญหาชาวเขา เป็นการหยิบยืมกันไปมาของนักวิชาการเหล่านี้ (หน้า, 86-87)

อย่างไรก็ดี ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี  นักมานุษยวิทยาผู้เป็นลูกศิษย์คนหนึ่งของอาจารย์คายส์ ชี้ให้เห็นเงื่อนไขในการสร้างโจทย์วิจัยของเขาในห้วงสงครามเย็นคือ 1) การเมืองของสงครามเย็น 2) อิทธิพลของโครงการคอร์แนล-ไทยแลนด์ และ 3) วิธีคิดแบบเวเบอร์ เหตุผลนิยม และ Verstehen อันเป็นรากฐานความคิดสำคัญต่องานวิจัย สำหรับคายส์ ปิ่นแก้วชี้ต่อว่า การเกี่ยวข้องกับเมืองไทยของเขา ไม่ได้มาจากการเมืองของวงการมานุษยวิทยาในสหรัฐฯ หากแต่มาจากความสัมพันธ์ที่เขามีกับชาวบ้านในสนามที่เขาศึกษา และกับมิตรสหายในไทย ข้อเท็จจริงเรื่องนี้แสดงให้เห็นได้ในอีกหลายทศวรรษต่อมา (ชีวิตภาคสนาม, หน้า 90-92)

ชาร์ลส์เต้นรำตามวงดนตรีพม่าที่บ้านของชาร์ลส์และเจน เมอร์เรย์และสุลักษณ์ ศิวลักษณ์ มองดูอยู่, อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮองสอน ประเทศไทย พฤษภาคม พ.ศ. 2511.(อ้างอิงจาก จดหมายเหตุนักมานุษยวิทยาที่รวบรวมโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)) ภาพต้นฉบับ https://digital.lib.washington.edu/server/api/core/bitstreams/c33b76ea-40ef-4516-8024-5bc09bd79050/content

อาจารย์คายส์มาถึงที่ภาคเหนือของประเทศไทยเมื่อทศวรรษที่ 2510 จังหวัดแม่ฮองสอนและเชียงใหม่ หลังจากเขียนวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกเสร็จสิ้นแล้ว วสันต์ ปัญญาแก้ว ได้อธิบายในเรื่อง ตามรอย มานุษยวิทยาศาสนาของ Charles F. Keyes ที่เชียงใหม่และแม่สะเรียง แสดงให้เห็นถึงจุดมุ่งหมายต่องานวิชาการของอาจารย์คายส์ กล่าวคือ หลังสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอก อาจารย์คายส์ได้ย้ายขึ้นมาทางเหนือของประเทศไทย คือที่แม่สะเรียงและเชียงใหม่ การทำงานภาคสนามหลังปริญญาเอกนี่เองที่ “เปิดประตู” ของท่านเข้าสู่ “โลกของชาวไท” (The Tai World) เมื่อคายส์ย้ายสนามของการศึกษามาสู่สังคมไทยภาคเหนือและชาวกระเหรี่ยงในแถบชายแดนไทย-พม่า ที่แม่สะเรียง จึงเป็นการย้าย หรือขยายอาณาบริเวณของท่าน จากดินแดนอาณาจักรล้านช้าง สู่อาณาจักรล้านนา (หน้า, 96)

ภาพมองลงไปจากประตูสิงโต, ชาร์ลส์ และมาร์ค แอนเดอร์สันอยู่ที่ประตูสิงโต, อำเภอเมืองจังหวัดแม่ฮองสอน (อ้างอิงจาก จดหมายเหตุนักมานุษยวิทยาที่รวบรวมโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)) ภาพต้นฉบับ https://digital.lib.washington.edu/server/api/core/bitstreams/a0e70024-c9fb-4318-9ebe-89e7eef8e49a/content

วสันต์ เล่าต่อว่า ท่านใช้เวลาทำงานวิจัยที่แม่สะเรียงนานกว่าขวบปี งานสนามที่แม่สะเรียงคือ “จุดเปลี่ยน” สำคัญที่ทำให้อาจารย์คายส์หันมาสนใจเรื่องชาติพันธุ์ (Ethnicity) โดยเฉพาะชาวกระเหรี่ยง ไทลื้อ และสังคมวัฒนธรรมล้านนา ในบรรดางานเขียนเกี่ยวกับสังคมวัฒนธรรม การศึกษาทางมานุษยวิทยาศาสนา คือแกนกลางของการผลิตงานอันทรงคุณค่า 

อานันท์ กาญจนพันธุ์ นักมานุษยวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เล่าถึงความสนใจของอาจารย์คายส์ต่อพุทธศาสนาในล้านนาว่า ท่านสนใจเรื่องของเจ้าคุณธรรม สนใจคัมภีร์ใบลานซึ่งเป็นแหล่งความรู้เกี่ยวกับพุทธศาสนาในล้านนา ท่านก็เลยออกค้นหาคัมภีร์ศาสนาเหล่านี้ ชาวบ้านหรือบรรดาพระสงฆ์เอาไปเก็บไว้ตามถ้ำต่างๆ (ส่วนหนึ่งอาจเป็นเหตุจากช่วงที่เกิดสงครามระหว่างล้านนากับพม่า) อายุประมาณ 300 กว่าปี การพบคัมภีร์ใบลานต่าง ๆ เหล่านี้ มีหลายเรื่องที่ท่านนำมาเขียนอาทิ Buddhist Plgrimage Centers and the Twelve-Year Cyle (ในวารสาร History of Religions. 1975) เป็นการเขียนถึงการจาริกแสวงบุญของชาวล้านนาไปตามพระธาตุต่าง ๆ ตามปีเกิด อีกชิ้นหนึ่งที่ท่านเขียนถึงครูบาศรีวิชัยคือ Millennialism, Theravada Buddhism, and Thai Society (ในวารสาร The Journal of Asian Study. 1977) (อ้างถึงในชาร์ลส์ คายส์ มิตรสนิทชาวไทย, หน้า 249-251)

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าสนามของอาจารย์คายส์ที่แม่สะเรียงและเชียงใหม่ ก็มีความคุณูปการที่สำคัญต่อไทยศึกษาที่เป็นฐานสำคัญต่อล้านนาศึกษาที่คนรุ่นหลังต่อมาอีกหลายประเด็นเช่น ประเด็นเกี่ยวกับเมืองชายแดน (อย่างหนังสือเรื่อง เรื่องเล่าเมืองไต ของนิติ ภวัครพันธุ์) ประเด็นเรื่องขบวนการเคลื่อนไหวของพุทธศาสนาในล้านนาอีกหลายชิ้น (อย่างหนังสือเรื่อง ครูบาศรีวิชัย ตนบุญล้านนา ของโสภา ชนะมูล) และประวัติศาสตร์สังคมวัฒนธรรมล้านนา (อย่างหนังสือเรื่อง คนยองย้ายแผ่นดิน ของแสวง มาละแซม) เป็นต้น หากแต่การพูดถึงความสำคัญของสนามในภาคเหนือของอาจารย์คายส์ยังน้อยเกินไป

ความเป็นไท(ย)คืออะไร?

จากการลงภาคสนามในภาคเหนือของประเทศไทย งานเกี่ยวกับไต/ไทศึกษาของอาจารย์คายส์นั้นเริ่มต้นด้วยความสนใจด้านมานุษยวิทยาศาสนา (Antropology of Religion) ที่ท่านมีต่อ พุทธศาสนาเถรวาทควบคู่ไปกับเรื่องของพุทธศาสนา ประเด็นที่คายส์ในวัยหนุ่มให้ความสนใจอีกประการหนึ่งก็คือประเด็นปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวพันไปกับความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของคนไท ภายใต้บริบทการก่อตัวขึ้นมาของรัฐชาติ (Nation Stage Buliding) และการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ภาวะสมัยใหม่ (Modernization) (ชีวิตภาคสนาม, หน้า 95.)

คนอื่นๆตักบาตรพระในวันขึ้นปีใหม่ที่ที่ว่าการอำเภอ: คนต่างๆ, ชาร์ลส์, เจน, สง่า, อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประเทศไทย มกราคม พ.ศ. 2511. (อ้างอิงจาก จดหมายเหตุนักมานุษยวิทยาที่รวบรวมโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)) ภาพต้นฉบับ https://digital.lib.washington.edu/server/api/core/bitstreams/bacade4e-7c98-43ea-8eea-3bc54b10a658/content

ตัวอย่างงานสำคัญของอาจารย์คายส์ในภาคสนามภาคที่ภาคเหนือ ที่เน้นความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของชาวไท และการก่อตัวของรัฐชาติสมัยใหม่ คือบทความเรื่อง Who are the tai? Reflections on the Invention of Identities ที่เสนอว่า ความเป็นไต/ไท เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นภายใต้เงื่อนไขทางประวัติศาสตร์แบบชาตินิยมโดยเฉพาะสมัยของจอมพล ป. พิบูลสงคราม และวัฒนธรรมหลายแบบ เช่น ตำนาน พิธีกรรม อนุสาวรีย์ ละคร ฯลฯ การสร้างความเป็นไทยผ่านสิ่งเหล่านี้จึงเป็นสิ่งที่สมมติขึ้นมา นอกจากนั้นยังชี้ให้เห็นว่าก่อนการเป็นรัฐไทยสมัยใหม่นั้น ผู้คนที่พูดภาษาไต/ไทกลุ่มต่าง ๆ มีความผูกพันอีกแบบที่ไม่ใช่เรื่องเชื้อชาติ แต่ผ่านตำนาน นิทาน และการค้า สรุปก็คือ ความเป็นไทคือสิ่งที่เรียกว่า “พหุชาติพันธุ์นิยม”

อาจารย์คายส์ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2565 คุณูปการของท่านนั้นมีมากมาย (สามารถอ่านต่อได้ที่ The issen record ) แต่คุณูปการสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่นอกจากจะเป็นครูและมิตรของชาวไท(ย) และงานวิจัยเกี่ยวกับไทยศึกษาแล้ว ในมุมมองของผู้เขียนสิ่งที่น่าคิดต่อและคิดว่าเป็นคุณูปการของท่านคือคำถาม? และในปัจจุบันเรายิ่งต้องถามกันมากขึ้นโดยเฉพาะคำถามต่อความเป็นไทย เนื่องจากมีการถกเถียงในเรื่องแรงงานข้ามชาตินั้น ควรได้รับสัญชาติไทยหรือไม่ เป็นประเด็นที่เถียงกันในวงกว้าง 

ท่ามกลางการถกเถียงเช่นนี้ เราจะเห็นพลังของชาตินิยมที่มองคนอื่นต่างจากเราประหนึ่งว่าพวกเขาไม่ใช่มนุษย์มีมากขึ้นทุกที ความเป็นไทยที่ยึดถืออยู่ทุกวันนี้จึงต้องถูกตั้งคำถามอีกครั้ง ทวนสอบอีกครั้ง รื้อกันอีกครั้งหนึ่งในภาวะปัจจุบัน เพื่อทำลายมายาคติความเป็นไทยเป็นศูนย์กลางและมองคนอื่นโดยเฉพาะแรงงานข้ามชาติไม่ใช่เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน 

อย่าลืมว่าแรงงานข้ามชาตินั้นเป็นส่วนที่สำคัญมากในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพราะพวกเขาเหล่านั้นเป็นแรงงานในอาชีพที่คนไทยไม่อยากจะทำ!! ส่วนมีอาชีพอะไรบ้างนั้นก็ลองหาข่าว หรือเดินออกไปนอกหมู่บ้านที่ตนอยู่กันดู เผื่อจะมีความเห็นอกเห็นใจต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกันบ้าง

เอกสารที่ใช้ในการค้นคว้า

  • เก่งกิจ กิติเรียงลาภ. เขียนชนบทให้เป็นชาติ. กรุงเทพฯ : มติชน, 2562.
  • นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ และวิสุทธิ์ เวชวราภรณ์. บรรณาธิการ. ชีวิตภาคสนาม. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. องค์การมหาชน, 2566.
  • ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล. บรรณาธิการ. คนใน : ประสบการณ์ภาคสนามของนักมานุษยวิทยาไทย. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร .องค์การมหาชน, 2546.
  • ปิ่นแก้ว เหลืออร่ามศรี. สนามในประวัติศาสตร์ : นักมานุษยวิทยาอเมริกันกับภูมิภาคอีสานในห้วงสงครามเย็น. ใน. นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ และวิสุทธิ์ เวชวราภรณ์. บรรณาธิการ. ชีวิตภาคสนาม. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. องค์การมหาชน, 2566.
  • วสันต์ ปัญญาแก้ว. ตามรอย มานุษยวิทยาศาสนา ผ่านงานภาคสนามของ Charles F. Keyes ที่เชียงใหม่และแม่สะเรียง. ใน. นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ และวิสุทธิ์ เวชวราภรณ์. บรรณาธิการ. ชีวิตภาคสนาม. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. องค์การมหาชน, 2566.
  • อานันท์ กาญจนพันธุ์. ครูบาศรีวิชัย พุทธศาสนาล้านนา และชาร์ล คายส์. ใน ชาร์ล คายส์ มิตรสนิทชาวไทย. เชียงใหม่ : ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2567.
  • Charles f Keyes. Who Are the Tai? Reflections on the Invention of Identities. In Ethnic Identity : Creation Confict, and Accommodation. Lola Romanucci-Ross and George A. De Vos, eds. Third Edition. Walnut Creek, Alta Mira Press. Pp. 136-160.
  • Charles f Keyes. “cosmopolitan” villagers and populists democracy in Thailand.  South East Asia Research, 20,3, pp 343-360 doi: 10.5367/sear.2012.0109.
  • ดร.ชาร์ลส์ เอฟ ไคส์ มิตรสนิทของชาวไทย

สำรวจชีวิตและเศรษฐกิจภาคเหนือตอนล่าง ผ่านการไล่ล่า ‘ผี’  ในธี่หยด 2 

เรื่อง: ปองภพ ดั่นสมานฉันท์ชัย

*บทความนี้มีการเผยแพร่เนื้อเรื่องของภาพยนตร์บางส่วน

มึงกับกูต้องได้เจอกันอีกแน่

คำพูดของยักษ์ในฉากจบของภาพยนตร์ ‘ธี่หยด’ เหมือนเป็นการเปรยฝากไว้กับคนดูว่าธี่หยกจะมีภาค 2 ต่อแน่นอน กระทั่งสิ้นปี 2566 นวนิยายต้นฉบับของภาพยนตร์ก็ได้ออกวางจำหน่ายในชื่อ ‘ธี่หยด สิ้นเสียงครวญคลั่ง’ เพื่อเตรียมปูทางไปสู่การสร้างภาพยนตร์ธี่หยด 2 ตามมา

ในที่สุด ธี่หยด 2 ได้ถูกดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ออกฉายไปเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา ปัจจุบันภาพยนตร์ยังกวาดรายได้พุ่งสู่ 800 ล้านบาทเข้าไปแล้ว โดยภาคนี้เล่าเรื่องราวการตามล่า ‘ผี’ ของยักษ์ตัวละครหลักจากภาคก่อน หลังจากที่ผีร้ายตนนี้ได้พรากน้องสาวของยักษ์ไปอย่างไม่มีวันหวนคืน 

รูปภาพประกอบด้วย ข้อความ, หนังสือ, การพิมพ์, ผลิตภัณฑ์กระดาษ

คำอธิบายที่สร้างโดยอัตโนมัติ

เรื่องราวของทั้งในภาพยนตร์และนวนิยายเกิดขึ้นในจังหวัดอุตรดิตถ์ หนึ่งในจังหวัดของภูมิภาคเหนือตอนล่าง โดยเรื่องราวถูกสมมุติให้เกิดขึ้นราวปี 2520-2521 เป็นการเล่าเรื่องราวการเดินทางเพื่อตามหาวิธีการปราบผีร้ายที่ยักษ์เคยเผชิญหน้า ร่วมกับเพื่อนร่วมทางที่ต่างหมุนเวียนเข้ามาเป็นสหายร่วมเส้นทางกับยักษ์  

อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบภาพยนตร์ธี่หยด 2 กับ นวนิยายธี่หยด 2 ที่วางจำหน่ายไปก่อนหน้าภาพยนตร์ออกฉาย เราจะพบความแตกต่างมากมายระหว่างนวนิยายต้นฉบับกับภาพยนตร์ดัดแปลง ความแตกต่างประการหนึ่งคือ ‘การเดินทางของยักษ์’ ที่ถูกลดทอนรายละเอียดลงไปมาก 

การเดินทางของยักษ์เพื่อตามหาวิธีกำจัดผีในนวนิยายได้บรรยายถึงบรรยากาศของภาคเหนือตอนล่างได้อย่างน่าสนใจและควรที่จะนำมาเผยแพร่ เพื่อให้ผู้อ่านบทความชิ้นนี้และผู้ที่ได้ชมภาพยนตร์ได้มองเห็นมิติอื่นของจักรวาลธี่หยดที่ไม่ได้มีเพียงการตามล่าผี แต่เป็นการ ‘เดินทาง’ ไปบนพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง เราอาจจะได้สำรวจบรรยากาศ ชีวิต รวมถึงเศรษฐกิจของภาคเหนือตอนล่างผ่านการ ‘อ่าน’ การเดินทางของยักษ์ในนวนิยายธี่หยด 2

การเชื่อมโยงภูมิภาคและการพัฒนาเศรษฐกิจผ่านรางรถไฟ

การเดินทางของยักษ์ในภาพยนตร์ธี่หยด 2 เขาอาศัยการขับรถยนต์เพื่อเดินทางไปตามล่าผีในสถานที่ต่างๆ ขณะที่นวนิยามต้นฉบับกลับเลือกที่จะให้ยักษ์เดินทางโดยวิธีการนั่ง ‘รถไฟ’ ไปยังจังหวัดต่างๆ ในภาคเหนือล่างแทน เพื่อรวบรวมข่าวสารของผีร้ายที่เขากำลังตามหา และไล่ล่าวิธีหรือเครื่องมือที่จะปราบผีร้ายตนนี้ให้สิ้นไปพร้อมกัน

รูปภาพประกอบด้วย ไอน้ำ, ทางรถไฟ, รถไฟ, หัวรถจักร

คำอธิบายที่สร้างโดยอัตโนมัติ
ภาพ: สยามานุสสติ  

นวนิยายและภาพยนตร์ไม่ได้ระบุปีที่ชัดเจนว่าคือปีใด แต่เราอาจจะพออนุมานได้ว่าอยู่ราวๆ ปี 2520-2521 เนื่องจากมีการกล่าวถึงคดีฆ่าข่มขืนโหดที่อำเภอพรมพิราม จังหวัดพิษณุโลก หลังจากที่ยักษ์ถูกจับลากลงจากรถไฟเพื่อไปคุมขังในสถานีตำรวจอำเภอพรมพิราม แต่ก่อนจะถูกจับยักษ์เริ่มเดินทางจากกรุงเทพโดยนั่งรถไฟที่สถานีหัวลำโพง อดีตสถานีกลางที่เชื่อมต่อทุกภูมิภาคของประเทศไทยเข้าหากันผ่าน ‘รางรถไฟ’

ในช่วงปี 2520 รถไฟถือเป็นพาหนะหลักในการเดินทางของผู้คน แม้จะมีการสร้างถนนเพื่อเชื่อมต่อภูมิภาคต่างๆ เข้ากับกรุงเทพฯ ตั้งแต่ปี 2479 ถึงปี 2500 ก่อนที่จะมีการสร้างถนนเพิ่มอย่างมากมายหลังปี 2501 เป็นต้นมา ถนนพหลโยธินที่เป็นถนนที่เชื่อมต่อกรุงเทพฯ กับภาคเหนือก็ก่อสร้างแล้วเสร็จตั้งแต่ปี 2483 (เดิมใช้ชื่อว่า ถนนประชาธิปัตย์) แต่การเดินทางของผู้คนส่วนใหญ่ยังเป็นการนั่งรถไฟอยู่ รางจึงเปรียบได้กับเส้นเลือดที่นำพาคนรวมถึงสินค้าให้กระจายตัวไปในพื้นที่ต่างๆ ได้  

การเดินทางบนถนนด้วยรถยังอาจยังไม่เป็นที่แพร่หลายนักในช่วงปี 2520 อาจเป็นจากการที่รถยนตร์ยังราคาสูงอยู่เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้ของคนในประเทศ รถยนตร์ยังไม่ได้อยู่ในฐานะยานพาหนะส่วนบุคคลที่ทุกบ้านต้องมี หลายครั้งรถยนต์ถูกใช้เพื่อการขนส่งสินค้ามากกว่าจะถูกใช้เพื่อขนส่งผู้คน ขณะที่การเดินทางข้ามจังหวัดของผู้คนนิยมใช้รถไฟมากกว่า ตัวละครยักษ์เองก็อาศัยรถไฟเป็นยานพาหนะในการเดินทางข้ามไปมาระหว่างจังหวัด ขณะที่การเดินทางของยักษ์ภายในจังหวัดเขาจะอาศัยการขอติดรถไปกับพ่อค้าหรือขี่มอเตอร์ไซค์แทน

สำหรับภาคเหนือทั้งตอนล่างและตอนบน การมีรางรถไฟพาดผ่านถือได้ว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจในภูมิภาคนี้เปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล จากเดิมที่เป็นการค้าทางเรือที่ต้องอาศัยแม่น้ำเป็นช่องทางการขนสินค้ากลายมาเป็นการขนส่งผ่านรางแทน การขนสินค้าผ่านรถไฟทำให้ภาคเหนือตอนบนไม่ขาดดุลการค้ากับกรุงเทพอีกต่อไป การขนส่งสินค้าจากภาคเหนือลงไปที่กรุงเทพเพิ่มสูงขึ้นมากหลังรางรถไฟสร้างเสร็จราวปี 2460 มีงานศึกษามากมายที่กล่าวถึงความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในภาคเหนือตอนบนหลังการสร้างรางรถไฟ 

ภาพสถานีรถไฟอุตรดิตถ์ จากเพจอุตรดิตถ์ 24 ชั่วโมง 

ภาคเหนือตอนล่างเองก็มีความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจหลังจากการสร้างรางรถไฟเช่นกัน ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ จากเดิมที่เป็นศูนย์กลางการค้าทางน้ำระหว่างภูมิภาคเหนือตอนบน (ล้านนา) กับกรุงเทพฯ ได้กลายมาเป็นศูนย์กลางการค้าทางรางแทนหลังการเปิดสถานีปากน้ำโพเมื่อปี 2448  

ขณะที่เมืองพิษณุโลกก็มีความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจหลังการก่อสร้างสถานีรถไฟพิษณุโลกแล้วเสร็จในปี 2450 เช่นกัน หลังจากนั้นรางรถไฟก็ได้ก่อสร้างมาจนถึงเมืองอุตรดิตถ์ในปี 2451 ส่งผลให้เมืองอุตรดิตถ์จากเดิมที่มีศูนย์กลางการค้าทางเรืออยู่ที่ตำบลท่าอิฐได้เปลี่ยนศูนย์กลางการค้ามาอยู่ที่ตำบลท่าเสาซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีรถไฟแทน พ่อค้าจากเมืองแพร่และน่านเลือกที่จะเดินทางมาซื้อ/ขายสินค้าที่สถานีรถไฟท่าเสาแทน 

หลังการก่อสร้างสถานีและรางรถไฟแล้วเสร็จ พื้นที่รอบสถานีรถไฟของจังหวัดในภาคเหนือตอนล่างได้พัฒนากลายเป็นเมืองในท้ายที่สุด เป็นผลจากการพัฒนาเศรษฐกิจรอบสถานีรถไฟที่ทำให้ทุนและผู้คนต้องเคลื่อนย้ายเข้ามาอยู่รอบสถานีรถไฟ จังหวัดพิษณุโลกพัฒนาความเป็นเมืองได้จากการมีสถานีรถไฟ ต่อยอดมาจนถึงช่วงปี 2520 ช่วงเวลาเดียวกับเหตุการณ์ในภาพยนตร์และนวนิยายธี่หยด 2 รอบสถานีรถไฟพิษณุโลกได้มีการตั้งตลาดพระสถานีรถไฟพิษณุโลก ตลาดร่วมใจ (ตลาดสถานีรถไฟ) และโรงแรมพิษณุโลก ขณะที่ผู้คนก็เคลื่อนย้ายเข้ามาประกอบอาชีพทั้งค้าและบริการ ไม่ว่าจะเป็นแม่ค้าหาบเร่ รถคอกหมู หรือสามล้อถีบ เหล่านี้คือผลลัพธ์ของการสร้างรถไฟพาดผ่านเมืองต่างๆ ในภาคเหนือตอนล่าง  

ในการเดินทางของยักษ์ในนวนิยาย เขาถูกจับลากลงจากรถไฟที่สถานีพรมพิราม จังหวัดพิษณุโลกตั้งแต่ช่วงต้นเรื่อง แต่การเดินทางในครั้งนี้ของเขาไม่ใช่การเดินทางเพียงลำพัง เขามีเพื่อนร่วมเดินทางไปด้วยนั่นคือ น้ำเพชร ตัวละครเอกอีกหนึ่งคนที่หายไปเมื่อนวนิยายถูกดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ น้ำเพชรนั่งรถไฟมาจนถึงจังหวัดอุตรดิตถ์ 

รูปภาพประกอบด้วย กลางแจ้ง, อาคาร, รถยนต์, ยานพาหนะทางบก

คำอธิบายที่สร้างโดยอัตโนมัติ
ภาพหอนาฬิกาหน้าสถานีรถไฟอุตรดิตถ์ จากเพจอุตรดิตถ์ 24 ชั่วโมง

รอบสถานีรถไฟอุตรดิตถ์ในช่วงปี 2520 ก็มีความคล้ายคลึงกับจังหวัดพิษณุโลก คือมีการตั้งตลาดและโรงแรมอยู่รายรอบสถานีรถไฟ ในนวนิยายน้ำเพชรเลือกที่จะพักอยู่ที่โรงแรมอรุณแรก โรงแรมที่อยู่ติดกับสถานีรถไฟอุตรดิตถ์ ซึ่งชื่อโรงแรมอรุณแรกนี้น่าจะได้รับแรงบรรดาลใจจากโรงแรมฟ้าอรุณ ที่อยู่ติดกับสถานีรถไฟอุตรดิตถ์และถูกเพลิงไหม้ไปเมื่อปี 2508 ในนวนิยายต้นฉบับยังมีการกล่าวถึงชีวิตและอาชีพของผู้คนที่อยู่รายล้อมสถานีรถไฟอุตรดิตถ์เช่นกัน มีทั้งร้านกาแฟ ร้านขายยา และสามล้อถีบ ซึ่งเป็นบรรยากาศชีวิตของผู้คนรอบสถานีรถไฟในช่วงเวลานั้น ยิ่งช่วยตอกย้ำว่าความเป็นเมืองของหลายจังหวัดในภาคเหนือตอนล่างเกิดขึ้นได้เพราะรางรถไฟ จนนำมาสู่การเล่าเรื่องราวการเดินทางของยักษ์ในนวนิยายธี่หยด 2 เป็นที่น่าเสียดายที่การเดินทางและบรรยากาศชีวิตเหล่านี้ไม่ถูกเล่าในภาพยนตร์ 

พ่อเลี้ยงและป่าไม้    

เมื่อยักษ์สามารถหลุดออกจากการจับกุมของตำรวจอำเภอพรมพิรามได้ เขาเดินทางต่อเพื่อมาสมทบกับน้ำเพชรที่จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อนของเขาอย่าง เทวิน ลูกชายอดีตกำนันผู้กว้างขว้างและมากด้วยทรัพย์ ทั้งคู่เดินทางมายังจังหวัดอุตรดิตถ์เพื่อสมทบกับน้ำเพชร โดยพวกเขาอาศัยการขับรถยนต์ของเทวิน เสมือนการบอกอ้อมๆ ว่ารถยนต์และถนนในเวลานั้นเป็นของคนมีอันจะกินมากกว่าคนทั่วไป  

การเดินทางมาอุตรดิตถ์ครั้งนี้ของยักษ์มีจุดหมายอยู่ที่การตามหา พ่อเลี้ยงบรรลือ ลูกหลานของตาคล้อยผู้เคยเผชิญหน้ากับผีร้ายตนเดียวกับที่พรากชีวิตน้องสาวของยักษ์ไป พ่อเลี้ยงบันลืออาศัยอยู่ที่อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ เขาทำธุรกิจค้าไม้จนร่ำรวยกลายเป็นเศรษฐีใหญ่แห่งเมืองพิชัย  

รูปภาพประกอบด้วย ต้นไม้, กลางแจ้ง, เข้าสู่ระบบ, อาคาร

คำอธิบายที่สร้างโดยอัตโนมัติ
ภาพ:  konsilaat 

สัมปทานค้าไม้เป็นธุรกิจที่เฟื่องฟูตั้งแต่ปี 2450 เป็นต้นมา การทำธุรกิจค้าไม้เฟื่องฟูอย่างมากในภาคเหนือตอนบนโดยเฉพาะจังหวัดแพร่ที่ถูกกล่าวขานว่าเป็น ‘เมืองแห่งไม้สัก’ จังหวัดอุตรดิตถ์เป็นจังหวัดที่อยู่ติดกับจังหวัดแพร่ การทำสัมปทานป่าไม้จึงสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงข้ามจังหวัดมายังอุตรดิตถ์ พ่อเลี้ยงบรรลือเล่าให้ยักษ์ฟังว่า ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 ภาคเหนือของประเทศไทยถูกสัมปทานพื้นที่ป่าให้บริษัทต่างชาติเสียหมด บริษัทต่างชาติเหล่านี้เลือกที่จะทำการค้าร่วมกับผู้นำทางการเมืองหรือผู้นำทางเศรษฐกิจในท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นบริษัทบอมเบย์เบอร์มา, บริติชบอร์เนียว หรืออีสต์เอเชียร์ติก ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นบริษัทที่เคยได้สัมปทานป่าไม้ทั้งสิ้น  

หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี 2475 บริษัทต่างชาติเหล่านี้ต่างต้องถอนตัวออกจากการสัมปทานป่าไม้ ส่งผลให้กลุ่มคนที่เคยทำงานร่วมกับบริษัทเหล่านี้ก้าวขึ้นมารับช่วงสัมปทานป่าไม้แทน ในจังหวัดแพร่มีตระกูลวงศ์วรรณ ซึ่งสะสมทุนทางการเมืองและเศรษฐกิจผ่านการสัมปทานป่าไม้ในจังหวัดแพร่  

ขณะที่จังหวัดเพื่อนบ้านอย่างจังหวัดอุตรดิตถ์ก็ดำเนินไปในเส้นทางเดียวกัน สุนันท์ สีหลักษณ์ หรือที่รู้จักในนาม เสี่ยยู้ อดีตนายกเทศมนตรีอุตรดิตถ์หลายสมัย เขาก็สะสมทุนทางเศรษฐกิจและการเมืองผ่านธุรกิจสัมปทานป่าไม้เช่นกัน โดยในปี 2510 เขาเป็นผู้ที่ได้รับสิทธิ์สัมปทานป่าไม้ในจังหวัด ต่อมาในปี 2522 เสี่ยยู้ได้ก่อตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงเลื่อยจักรท่าเสา และบริษัทโรงเลื่อยจักรท่าสัก เพื่อทำการแปรรูปไม้ที่ได้จากการทำสัมปทานป่า  และขยับขยายกิจการไปจนถึงการเปิดบริษัทเพื่อแปรรูปไม้สัก ส่งผลให้เขาสามารถสะสมทุนจนก้าวขึ้นมาเป็นนายกเทศมนตรีในท้ายที่สุด

รูปภาพประกอบด้วย ใบหน้าของมนุษย์, เสื้อผ้า, คน, ชาย

คำอธิบายที่สร้างโดยอัตโนมัติ
ภาพ: ร้านหนังสือ 224books

พ่อเลี้ยงบันลือ หากเป็นบุคคลจริงๆ ก็คงเดินตามเส้นทางแบบเดียวกับเสี่ยยู้ เนื่องจากการทำธุรกิจสัมปทานรัฐถือได้ว่าเป็นช่องทางการสะสมทุนที่สำคัญในช่วงปี 2520 นักการเมืองในภาคเหนือตอนบนหลายคนอาศัยเครือข่ายที่ได้จากการทำธุรกิจสัมปทานจนสามารถชนะการเลือกตั้งได้ในหลายพื้นที่ หากนวนิยายธี่หยด 2 เล่าเรื่องยืดออกไปอีกสัก 10-20 ปี เราคงได้เห็นพ่อเลี้ยงบรรลือในฐานะนักการเมืองท้องถิ่นผู้กว้างขวางก็เป็นได้ ฉะนั้น เราจะเห็นว่าในช่วงเวลาดังกล่าวป่าไม้เป็นเครื่องมือทางเศรษฐกิจและการเมืองที่สำคัญ ที่ทำให้บุคคลคนหนึ่งสามารถสะสมทุนทางเศรษฐกิจและการเมืองขึ้นมาจนถูกสถาปนาเป็น ‘พ่อเลี้ยง’

ผีข้ามรุ่น  

แม้นวนิยายธี่หยด 2 จะพาเราไปสำรวจสภาพเศรษฐกิจและสังคมในช่วงปี 2520 ที่เผยให้เห็นว่า ในช่วงเวลาดังกล่าวความเป็นเมืองได้ปรากฏขึ้นแล้ว หลายเมืองมีธุรกิจการค้าและอาชีพเกิดขึ้นมากมาย แต่หากเราขยับออกจากพื้นที่เมืองไป เราจะได้เห็นภาพพื้นที่เกษตรมากมายรายรอบเมือง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 1-4 (ครอบคลุมปี 2505 จนถึง 2520) มีการกล่าวถึงอาชีพเกษตรกรว่าเป็นอาชีพหลักของผู้คนในเวลานั้น 

ครอบครัวของยักษ์ก็ประกอบอาชีพเกษตรกรในจังหวัดกาญจนบุรี มีการส่งต่อที่ดินเพื่อทำเกษตรจากพ่อ ปัจจุบันทุกจังหวัดในภาคเหนือตอนล่างยกเว้นจังหวัดอุตรดิตถ์มีพื้นที่เกษตรมากกว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด ประกอบกับมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ของจังหวัดในภาคเหนือตอนล่างได้มาจากมูลค่าของสินค้าเกษตรเป็นหลัก  

สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เน้นย้ำว่าภาคการเกษตรมีบทบาทสำคัญมากในการพัฒนาเศรษฐกิจของภาคเหนือตอนล่างทั้งในด้านรายได้และการจ้างงาน เนื่องจากหลายครอบครัวในภาคเหนือตอนล่างอาศัยการประกอบอาชีพเกษตรกรร่วมกับการเป็นแรงงานชั่วคราวในภาคการผลิตอื่น  

รูปภาพประกอบด้วย กลางแจ้ง, ข้าวโพด, ท้องฟ้า, อาหาร

คำอธิบายที่สร้างโดยอัตโนมัติ
ภาพ: กรุงเทพธุรกิจ 

หากเราเปรียบเทียบครอบครัวยักษ์กับครอบครัวอื่นในภาคเหนือตอนล่าง เราจะเห็นรูปแบบการประกอบอาชีพเกษตรกรที่ส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นผ่านการมอบที่ดินให้เป็นมรดก ยศ น้องชายของยักษ์คือตัวอย่างของชายผู้ต้องเข้าสู่อาชีพเกษตรกรจากการได้รับที่ดินมรดกจากพ่อ เขาอาศัยที่ดินที่ได้รับมาปลูกผักสวนครัวเพื่อขายและสะสมจนสามารถซื้อที่ดินรอบข้างได้เป็นกอบเป็นกำ แต่การสะสมทุนในรูปแบบนี้หากส่งต่อมาถึงรุ่นลูกรุ่นหลานของยศจะเป็นอย่างไร พวกเขาจะสามารถสะสมทุนจนตั้งตัวในฐานะเกษตรกรได้อย่างยศหรือไม่? 

เวที Post Election ภาพอนาคตหลังเลือกตั้งที่จัดขึ้นโดยไทยพีบีเอสร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และภาคีเครือข่าย เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับอนาคตของภาคเหนือตอนล่างที่ผู้คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องอยากเห็น ปัญหาหนึ่งที่มีการนำเสนอคือ เกษตรกรหลายคนในภาคเหนือตอนล่างมีปัญหาหนี้สินและการเข้าถึงทรัพยากร จนนำไปสู่ภาวะฆ่าตัวตายของเกษตรกรหลายคนในภาคเหนือตอนล่าง กลายเป็นว่ามรดกการเกษตรที่เคยได้รับไม่ได้สร้างเส้นทางอนาคตที่หอมหวานแบบที่ยศเคยได้รับในปี 2520 อีกต่อไป 

ในปัจจุบันสถานการณ์หนี้ของเกษตรกรในประเทศไทยถือเป็นเรื่องน่าเป็นห่วงอย่างมาก ในปี 2564 สำนักงานสถิติแห่งชาติได้เปิดเผยว่าปริมาณหนี้ครัวเรือนที่ทำการเกษตรพุ่งสูงขึ้นมาก มูลค่าหนี้สินโดยรวมทั้งประเทศมีสูงกว่า 800 ล้านบาท เฉลี่ยครอบครัวที่ทำการเกษตรหนึ่งครอบครัวจะมีหนี้สินอยู่ที่ประมาณ 311,098 บาท

หากมองสถานการณ์หนี้สินครัวเรือนที่เป็นเกษตรกรในภาคเหนือตอนล่างยิ่งน่าเป็นห่วง เนื่องจากสัดส่วนครัวเรือนที่เป็นหนี้สูงกว่าร้อยละ 70 ทุกจังหวัด (ยกเว้นจังหวัดตาก) สูงกว่าภาคเหนือตอนบนทุกจังหวัด (ยกเว้นจังหวัดแพร่) ประกอบกับมูลค่าหนี้สินในครัวเรือนที่ทำเกษตรของภาคเหนือตอนล่างก็มีสูงกว่าภาคเหนือตอนบน หนี้สินของเกษตรกรในภาคเหนือตอนล่างแลดูเหมือนจะเป็นปัญหาเรื้อรังที่หาแก้ไขปัญหาได้ยาก งานศึกษาปัญหาหนี้สินของเกษตรกรไทยจากสถาบันวิจัยป๋วยได้เผยให้เห็นกับดักหนี้ของเกษตรกรไทยที่กำลังจะกลายเป็นหนี้ข้ามรุ่น กล่าวคือหนี้สินของรุ่นพ่อแม่กำลังถูกส่งต่อให้ลูกหลานผ่านมรดกที่ดิน

ตารางสัดส่วนครัวเรือนเกษตรที่เป็นหนี้ และมูลค่าหนี้เฉลี่ยต่อครัวเรือน 

จังหวัด สัดส่วนครัวเรือนเกษตรที่เป็นหนี้ มูลค่าหนี้สิ้นเฉลี่ยต่อครัวเรือน 
อุตรดิตถ์ 82.3 361,641 
นครสวรรค์ 87.6 277,584 
อุทัยธานี 84.3 272,182 
กำแพงเพชร 78.9 578,523 
ตาก  56.5 224,558 
สุโขทัย 86.7 280,394 
พิษณุโลก 70.4 601,787 
พิจิตร 73.6 501,457 
เพชรบูรณ์ 89.8 518,615 
ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ เมื่อปี 2564

ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของปัญหาหนี้เกษตรกรข้ามรุ่นคือ ฉากหนึ่งในภาพยนตร์เรื่องวิมานหนามที่ตัวละครเจ้าหน้าที่สหกรณ์การเกษตรรายหนึ่งพูดกับตัวละครเสกว่า “ที่ดินผืนนี้ถูกจำนองไว้กับสหกรณ์มาตั้งแต่รุ่นพ่อไอ้เสก ไม่นึกว่ามันจะมาไถ่คืนได้” คำพูดนี้เป็นภาพสะท้อนที่เป็นรูปธรรมอย่างมากเมื่อกล่าวถึงปัญหาหนี้ข้ามรุ่น กล่าวคือที่ดินที่ถูกส่งต่อไม่ใช่มรดก หากแต่เป็นหนี้สินที่ลูกต้องไปไถ่ถอนคืนมา 

หากจะอุปมาปัญหาหนี้ข้ามรุ่นให้เข้ากับภาพยนตร์และนวนิยายธี่หยด 2 เราอาจอุปมาได้ว่า ‘ผี’ ที่ตามหลอกหลอนครอบครัวของยักษ์ไม่ใช่ผี หากแต่มันคือ ‘หนี้สิน’ ที่ถูกส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น คอยตามหลอกหลอนคนทุกรุ่นไป บางครอบครัวอาจมีคนอย่างพี่ยักษ์ที่คอยตามแก้ปัญหาไล่ล่าผีที่หลอกหลอน หรือก็คือเป็นคนที่ต้องหาเงินมาปิดหนี้ของครอบครัว ที่น่าสนใจคือยักษ์ไม่ได้เลือกที่จะเดินในเส้นทางเกษตรกรตามพ่อของเขา แต่เลือกจะไปประกอบอาชีพเป็นทหารแทน เสมือนกับภาพสะท้อนของหลายครอบครัวที่สมาชิกคนที่ไม่ได้ประกอบอาชีพเกษตรกรต้องหาเงินมาเพื่อปิดหนี้ของครอบครัวเพื่อรักษาที่ดินของครอบครัวไว้  

รูปภาพประกอบด้วย เสื้อผ้า, ใบหน้าของมนุษย์, คน, ยิ้ม

คำอธิบายที่สร้างโดยอัตโนมัติ

ในฉากจบของนวนิยายธี่หยด 2 ยักษ์ได้เสียชีวิตจากการป่วยเป็นโรคมะเร็ง (แตกต่างจากในภาพยนตร์) นวนิยายไม่ได้ให้คำตอบที่ชัดเจนว่ายักษ์เป็นมะเร็งจากสาเหตุใด แต่เราคงพออนุมานได้ว่าเขาน่าจะป่วยจากการต้องแบกรับความรับผิดชอบในการปกป้องครอบครัวจาก ‘ผี’ ยังมีอีกหลายคนที่ต้องแบกรับความรับผิดชอบในการไล่ล่าผีเช่นเดียวกับยักษ์ คำถามคือเราจะทำอย่างไรไม่ให้คนอื่นๆ ที่ต้องแบกรับความรับผิดชอบเช่นเดียวกับยักษ์ต้องเสียชีวิตหรือเจ็บป่วย เราจะแก้ปัญหาหนี้ข้ามรุ่นได้อย่างไร ยิ่งในภาคเหนือตอนล่างที่หลายครอบครัวประกอบอาชีพเกษตรกร คงจะมีหลายครอบครัวที่ถูกผีตามหลอกหลอน ทำให้สถานการณ์ผีหลอกหรือเจ้าหนี้ตามทวงคงเป็นสิ่งหลายภาคส่วนต้องมาช่วยกันขบคิดหาทางออกรวมกัน

“ผมในฐานะผู้เขียนหวังว่าจะไม่มีครอบครัวไหนต้องถูกผีหลอกจนต้องสังเวยชีวิตของสมาชิกในครอบครัวให้กับผีตนนี้”  

อ้างอิง  

  • Chantarat, S., Chawanote, C., Ratanavararak, L., Rittinon, C., Sa-ngimnet, B., & Adultananusak, N. (2022). Financial lives and the vicious cycle of debt among Thai agricultural households. PIER Discussion Paper
  • The Active. (3 เมษายน 2566). หลังเลือกตั้ง 2566 ประเทศไทยกับสถานการณ์ความขัดแย้งและการจัดตั้งรัฐบาล. สืบค้นจาก https://theactive.net/news/post-election-20230403/  
  • กิตติศักดิ์ กิตติวิรยานนท์. (2566). ธี่หยด….สิ้นเสียงครวญคลั่ง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อมรินทร์. 
  • กรมพัฒนาที่ดิน. (ม.ป.ป.). รายงานการวิจัยและพัฒนาด้านการพัฒนาที่ดิน. สืบค้นจาก http://www1.ldd.go.th/WEB_OLP/report_research_N.html 
  • ข่าวสด. (5 กันยายน 2564). “ซินแสเป็นหนึ่ง” เผยวิธีเลือกคนดีเข้าบ้าน แนะทริคเสริมมงคล [ออนไลน์]. สืบค้นจาก https://www.komchadluek.net/news/108866 
  • ชัยพงษ์ สำเนียง. (2567). กลุ่มทุนการเมืองล้านนา : การเปลี่ยนแปลงทุนเศรษฐกิจและวัฒนธรรมให้เป็นทุนการเมือง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แสงดาว 
  • วศิน ปัญญาวุธตระกูล. (2542) การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในล้านนา กับการก่อตัวของสำนึกท้องถิ่น พ.ศ.2459-2480 . จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย/กรุงเทพฯ. 
  • สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2504). แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2504-2506). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี. 
  • สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2506). แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2506-2509). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี. 
  • สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2510). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2510-2514). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี. 
  • สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2515). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2515-2519). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี. 
  • สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2520). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี. 
  • สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาภาคเหนือ พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๕ ฉบับทบทวน. สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=8533  
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). รายงานการวิเคราะห์หนี้สินครัวเรือนเกษตรกรรม พ.ศ. 2564. สืบค้นจาก https://www.nso.go.th/public/e-book/Analytical-Reports/Agriculture_Household_Debt_2564/ 
  • ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (n.d.). สถานะไฟพษณุโลก พื้นที่แห่งชีวิต ประวัติศาสตร์. สืบค้นจาก https://sac-research.sac.or.th/file_thb/367-ch6.pdf 
  • วารสารเมืองโบราณ. (27 กันยายน 2566). 2508 มองอุตรดิตถ์ผ่านภาพเก่า: ชมบรรยากาศที่หาชมได้ยาก. สืบค้นจาก https://www.muangboranjournal.com/post/uttaradit-old-picture-2508 

Lanner joy คุยกับ ศิลปะ เดชากุล ถึง ‘Crackers Books’ สำนักพิมพ์กรุบกรอบในพิษณุโลก ที่จะขอทำให้วิชาการไม่ต้องปีนบันไดอ่าน

เรื่องและภาพ : ณัฏฐวรรธน์ คล้ายสมมุติ

Crackers Books เป็นสำนักพิมพ์เปิดใหม่และใกล้หนึ่งขวบปี เน้นการนำเสนอประเด็นสังคมการเมือง ปรัชญาการเมืองเบื้องต้นลามไปจนถึงแนวคิดทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ และที่มากไปกว่านั้นคือนำเสนอความรู้ความคิดหลากหลายรูปแบบทั้งพอดแคสต์ หรือบทความที่เปิดพื้นที่ให้นิสิตนักศึกษาเข้ามานำเสนอนานาทัศนะ ที่สำคัญเลยคือสำนักพิมพ์อิสระแห่งนี้ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดพิษณุโลก! เลยเป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งว่าทำไมถึงมีความกล้าหาญในการก่อร่างสร้างมันขึ้นมา และทำไมต้องเป็นสำนักพิมพ์? ในยุคสมัยที่หลายคนบอกว่าหนังสือกำลังจะตาย? กับอีกมุมที่บอกว่าหนังสือและวัฒนธรรมการอ่านกำลังจะกลับมา?

เราเลยนัด ศิลปะ เดชากุล ผู้จัดการของสำนักพิมพ์ Crackers Books ในบ่ายของวันที่ร้อนระอุ เพื่อมาทำความรู้จักสำนักพิมพ์แห่งนี้ให้มากขึ้น ทั้งประสบการณ์ ความคิด  เป้าหมาย การทำหนังสือและอื่น ๆ ให้พอได้รู้จักกัน

เรารู้จักศิลปะครั้งแรกในฐานะที่เป็นนักเรียนรัฐศาสตร์ที่สนใจปรัชญาการเมือง มีอะไรเป็นจุดเปลี่ยนอะไรในชีวิตที่ทำให้สนใจเรื่องพวกนี้

มันเริ่มต้นตั้งแต่สมัยมัธยมปลายที่เป็นเรื่องปกติที่ต้องเลือกเรียนต่อในมหาวิทยาลัย ในขณะนั่นเรารู้เรื่องเกี่ยวกับรัฐศาสตร์น้อยมาก แต่สนใจประเด็นทางสังคมการเมืองเป็นระยะอยู่แล้ว เลยสนใจและเลือกที่จะเข้ามาเรียนทางนี้ดีกว่า พอเข้ามาเรียนมันก็ต้องเรียนวิชาปรัชญาการเมือง อาจารย์ในรายวิชาแนะนำให้เรามาอ่านหนังสือเล่มหนึ่ง หลายคนรู้สึกว่าหนังสือเล่มนี้มันอาจจะยากไปไหม แต่สำหรับเรารู้สึกว่ามันท้าทายดีคือ ความคิดทางการเมืองจากเพลโตถึงปัจจุบัน เอ็ม. เจ.ฮาร์มอน เขียน แปลโดย เสน่ห์ จามริก มันพูดถึงภาพรวมของนักคิดต่าง ๆ ทั้งเพลโต อริสโตเติล แนวคิดทางการปกครอง ปรัชญาในยุคกลาง มาจนถึงยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ ปรัชญาสมัยใหม่และจนถึงปัจจุบัน

แต่เหตุที่ทำให้สนใจปรัชญาการเมืองมันไม่ใช่แค่เรื่องหนังสืออย่างเดียวนะ มันมีหลายองค์ประกอบ เช่น ผู้สอน เนื้อหาวิชา เราคิดว่าหลาย ๆ อย่างที่พูดมามันมาประจบกันในตัวเรา ก็เลยสนใจ ถามว่าเชี่ยวชาญไหม เราคิดว่าเราเป็นเพียงคน ๆหนึ่งที่สนใจจะศึกษามากกว่า เพราะเราตามเรียนเกี่ยวข้องกับวิชาปรัชญาเกือบทั้งหมดในตอนนั้น

อีกเล่มที่เรารู้สึกว่ามันสร้างแรงบันดาลใจ และทำให้เราหันมาสนใจประเด็นเกี่ยวกับความคิดทางการเมือง รวมไปถึงแนวคิดทางปรัชญาเลย คือ บทสำรวจความคิดทางการเมืองของอันโตนีโอ กรัมชี เขียนโดยวัชรพล พุทธรักษา ถ้าจำไม่ผิดน่าจะพิมพ์ครั้งแรกตอน 2557 เรามาเรียนช่วง 2560 ช่วงเวลาที่เราได้อ่านหนังสือเล่มนี้ เราเห็นเสน่ห์ที่ผู้เขียนรังสรรค์มันออกมา และความน่าสนใจทางวิชาการที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้ แถมช่วงนั้นอาจารย์วัชรพลแกได้มาบรรยายที่มหาวิทยาลัย เราเลยรู้สึกชอบมาก หากจะบรรยายลักษณะสำคัญของหนังสือเล่มนี้คือ อาจารย์วัชรพลพยายามจะปูพรมแดนความคิดทางการเมืองของกรัมชี่ให้เราเห็น

ทั้งสองเล่มที่เราพูดถึงไปมีส่วนสำคัญมาก ๆ มันทำให้เราหันมาสนใจปรัชญาการเมือง และทำให้เราเรียนต่อในระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยนเรศวรด้วย แต่ไม่ใช่ว่าเราอ่านแค่สองเล่มนี้นะ คนอื่น ๆ เราก็อ่าน (ฮา) ถ้าเปรียบเป็นคำนิยามเรารู้สึกว่าการอ่านหนังสือที่เราสนใจและชื่นชอบ มันเหมือนอ่านแล้วเรากำลังเดินทาง มันเหมือนเราขับรถแล้วไปเจอตรอกซอกซอยใหม่ ๆ ไปเจอถนนหนทาง เจอวิวที่เราไม่เคยเห็น รถคันนั้นมันไม่ได้เป็นรถโฟวิลหรือเป็นจักรยาน แต่มันมีองค์ประกอบภายในรถทุกอย่างแล้วพาเราผ่านเส้นทางนี้ไปพร้อมกัน

แล้ว Crackers Books มันเกิดมาได้ยังไง

เอาจริงก็อาจารย์วัชรพลนี่แหละเป็นคนคิดและสร้างมันขึ้นมา ด้วยความที่เราเป็นลูกศิษย์ของแก และก็เห็นว่าทำสำนักพิมพ์มันมีความท้าทายพอสมควรนะ น่าลอง เราเลยรู้สึกสนใจมาทำตรงนี้และอาจารย์แกเลยให้โอกาศเราเข้าไปเรียนรู้การทำงาน

ที่มาของชื่อ “แครกเกอร์” (Crackers) เมื่อครั้งที่ก่อตั้งมีสองความหมายความหมายแรกสื่อถึงขนมกรุบกรอบ ที่รับประทานง่ายและเหมาะกับการทานในบรรยากาศผ่อนคลาย เช่น ระหว่างพักดื่มกาแฟ แต่ยังคงความอร่อยและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

ในอีกความหมายหนึ่ง “แครกเกอร์” หมายถึงการเปิดเผยความรู้หรือแง่มุมใหม่ๆ โดยช่วยกะเทาะเปลือกของความไม่รู้ ทำให้ผู้รับสารสามารถเข้าใจได้ง่าย ไม่ซับซ้อนจนเกินไป และนำเสนอข้อมูลที่หลากหลาย

การก่อตั้งสำนักพิมพ์นอกจากอาจารย์วัชรพลเป็นคนคิดและวางโครงสร้างทั้งหมดแล้วก็มีหลายคนที่ร่วมกันก่อตั้ง เช่น ดร.วีรชน เกษสกุล อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, ดร.สันทราย วงษ์สุวรรณ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, ดร.ศิริโสภา สันติทฤษฎีกร อาจารย์วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อาจารย์ทั้งหมดที่กล่าวถึงและไม่ได้กล่าวถึงก็ร่วมกันก่อตั้งมา

เรามอง Crackers Books เป็นสองมุมมอง คืออย่างแรกเป็นสถานที่ที่สร้างองค์ความรู้ อย่างที่สองทำให้เกิดข้อถกเถียงในเชิงวิชาการ เราคิดว่ามันมีคุณูปการต่อสังคมทางใดทางหนึ่ง รู้สึกว่าการสร้างองค์ความรู้มีหลายแบบ มันนอกเหนือจากห้องเรียน นอกเหนือจากการนำเสนอหนังสือ มันเลยเกิดรายการพอตแคสต์ ซึ่งมีสองรายการ รายการแรกเป็น Crackers Basics เป็นการนำเสนอแนวคิดที่เบสิกมาก ๆ ในสังคมไทย ฉบับที่เราฟังและเราเข้าใจง่าย ไม่ว่าจะเป็นทฤษฎีการเมือง สองรายการ คน/Crack/ความรู้ รายการนี้คือการเปิดพื้นที่ให้คนที่มีองค์ความรู้ทั้งในทางวิชาการ หรือความรู้ด้านสิ่งที่ตนเองทำ เราไม่ได้ปิดกั้น แค่อยากมีพื้นที่ให้คนได้มาเล่าความรู้ให้กับผู้ฟังในสังคมฟัง

แพลตฟอร์มอีกรูปแบบหนึ่งคือ Crackers Blogs เป็นพื้นที่ที่ให้คนมาเขียนบล็อก ทั้งนิสิตนักศึกษา อาจารย์ มาเขียนในสิ่งที่ตนเองสนใจทั้งด้านการเมือง นโยบายสาธารณะ วัฒนธรรมร่วมสมัย ทั้งหมดนี้เป็นองค์ประกอบของความเป็น “บ้าน” บ้านในทัศนะของพวกเราคือการสร้างองค์ความรู้ มันเลยเกิดสิ่งพวกนี้รวมทั้งการแนะนำในการเรียนในระดับบัณฑิตศึกษา เป็นแนวคิดของอาจารย์วัชรพลที่อยากให้เห็นภาพของสังคมศาสตร์ว่าเขาเรียนและใช้ชีวิตกันยังไง ทั้งหมดนี้สำนักพิมพ์จึงมีหน้าตาที่หลากหลาย

คิดว่าการทำสำนักพิมพ์มันมีคุณค่ากับสังคมยังไง และคุณค่ากับตัวเองแบบไหน และอยากเห็นสังคมไปในทิศทางใด

อย่างน้อยที่สุดคือการสร้างความเข้าใจต่อความรู้ในบางประเด็น สำหรับเราเองมันสร้างคุณค่าต่อเรามากๆ เพราะว่ามันได้เพิ่มพูนทักษะของตนเอง ทั้งวิธีการทำงาน การพบปะผู้คน และความรู้เชิงวิชาการ รวมไปถึงเรื่องอื่นๆที่เราไม่ได้กล่าวถึง เราได้ประโยชน์จากพื้นที่ตรงนี้มากๆ เรามีภาพฝันอยากเห็นสังคมรักการอ่านมากขึ้น เราคิดว่าสำนักพิมพ์ไม่ได้ทำเพียงประเด็นความรู้เชิงวิชาการอย่างเดียว แต่เราคิดว่าสำนักพิมพ์พยายามสร้างความรู้ที่มันสอดแทรกความคิดไปด้วย

อีกเรื่องที่อยากถามคือ ศิลปะเคยเป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมืองสมัยเป็นนักศึกษา แล้วกับการมาทำงานตรงนี้มันแตกต่างกันไหม

ด้วยกระบวนการเราคิดว่ามันไม่เหมือนกัน แต่สิ่งหนึ่งที่เราคิดว่ามันอาจจะคล้าย ๆ กันก็คือการสร้างองค์ความรู้ให้สังคม ในโลกของการทำสำนักพิมพ์มันเป็นพื้นที่การสร้างองค์ความรู้อยู่แล้ว ส่วนโลกแบบนักเคลื่อนไหวทางการเมืองมันก็เป็นการสร้างองค์ความรู้อีกแบบหนึ่งเหมือนกัน แต่เราคิดว่าเราไม่ใช่นักเคลื่อนไหวนะ เราเป็นเพียงแค่คนตัวเล็ก ๆ ที่สนใจประเด็นทางการเมืองมากกว่า แต่ในโลกทั้งสองมันเป็นการสร้างองค์ความรู้ผ่านวิธีการและกระบวนการไม่เหมือนกัน ทั้งสองอย่างนี้มันเพิ่มมุมมองให้กับสังคมเพิ่มขึ้นและสร้างการมองโลกทั่งคู่ ถ้าสำหรับเรานะเปรียบเป็นคำนิยามก็คงเหมือนคนใส่หมวกคนละใบแต่มองเหมือนกัน

เขาว่ากันว่างานหนังสือเป็นงานที่โดดเดี่ยวจริงไหม

เราคิดว่างานหนังสือมันไม่ได้โดดเดี่ยวขนาดนั้น เราใช้แพสชันนำ ผลตอบรับที่ตั้งไว้มันก็จะตามมาไม่ได้ให้ความสนใจว่ามันจะโดดเดี่ยว เช่น เราพยายามนำเสนอในรูปแบบที่หลากหลาย เราคิดว่าผู้คนก็จะหันมาสนใจไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่งที่สำนักพิมพ์ได้นำเสนอไป ถ้ามีผู้คนจำนวนหนึ่งมาสนใจเราก็เพียงพอแล้ว

ถ้าผลตอบรับมันไม่เป็นไปตามเป้าที่วางเอาไว้มันทำลายแพสชันเราหรือเปล่า?

เราคิดว่ามนุษย์โดยส่วนใหญ่ถ้าจะทำอะไรมักจะมีกระบวนการอยู่พอสมควร ยิ่งในภาพขององค์กรที่มีมนุษย์มาอยู่ร่วมกันหลาย ๆ คน ยิ่งต้องมีแบบแผนที่เป็นรูปธรรม สำนักพิมพ์ของพวกเราก็เช่นกัน พวกเราต้องประเมินสถานการณ์กันก่อน อย่างไรก็ตามเราก็ยังให้แพสชันเป็นตัวนำ เอามันเป็นช้างเท้าหน้า ส่วนอะไรต่าง ๆ  ที่ตามมามันเป็นช้างเท้าหลัง อย่างที่บอกไปถ้ามันไม่เป็นไปตามเป้า พวกเราก็ยังมีแบบแผนไว้อยู่เสมอ ด้วยสิ่งนี้เราจึงรู้สึกว่ามันไม่ได้ทำลายแพสชันของเรา และเราก็จะลุยกับมันไปเรื่อย ๆ ทั้งนี้ทั้งนั้นบางคนก็อาจจะไม่ได้คิดแบบเรา เช่น คนทำธุรกิจบางทีมันมีองค์ประกอบหลายอย่างที่ไม่จำเป็นต้องใช้แพสชันนำ ส่วนของเราผลลัพธ์มันจะออกมายังไงมันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง และไม่ได้ทำให้แพสชันมันลดลงไป

ยุ่งยากไหมสำหรับการทำสำนักพิมพ์ เช่น ติดต่อประสานงานของเลขเล่มหนังสือ ติดต่อร้าน ติดต่อปกออกแบบกราฟิก ติดต่อร้านขายหนังสือ การวางขายหนังสือ รวมถึงการขายผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของสำนักพิมพ์

มันไม่ยุ่งยากเลย เราคิดว่าการทำองค์กร มันมีการวางระเบียบแบบแผนที่ชัดเจน มีกระบวนการทำการมันถูกกรองมาตั้งแต่แรก ทุกกระบวนการมันอยู่ในห้องประชุม มันเลยไม่ยุ่งยาก หากเจออุบัติเหตุบางอย่างมันก็จะมีการประเมินวางแผนหนึ่งแผนสองอยู่โดยตลอด ทำให้การทำงานมันมีแบบแผนชัดเจน อาจารย์วัชรพลเป็นคนที่วางแผนมาดีอยู่แล้ว แบบแผนมันจึงชัดเจนในการทำงาน การทำงานจึงไม่ยุ่งยาก ต้นน้ำดีปลายน้ำจึงตามมาดี

สำนักพิมพ์ที่ “พิดโลก” มันมีข้อจำกัดแบบไหน หรือสำนักพิมพ์มันไม่จำเป็นต้องกระจุกอยู่ที่กรุงเทพฯ

เราไม่รู้ว่ามุมมองของคนอื่นที่ทำสำนักพิมพ์เขาคิดยังไง แต่มุมของเราคือ ณ เวลานี้มันไม่ได้เชื่อมอยู่ที่ถนนอย่างเดียวแล้ว มันถูกเชื่อมด้วยอินเทอร์เน็ตและหลาย ๆ อย่าง ถ้าถามเราสำนักพิมพ์มันไม่จำเป็นต้องเป็นพื้นที่ที่เป็นศูนย์กระจุกที่ใดที่หนึ่ง ขอแค่เรามีระบบแบบแผนที่มันชัด เราอยู่ที่ไหนก็ได้

แล้วเห็นข้อดีในการทำสำนักพิมพ์ที่พิษณุโลกในเชิงกิจกรรมทางปัญญาเป็นแบบไหน และมันยังขาดอะไรบ้างในการทำงาน

เราไม่กล้าที่จะพูดจริง ๆ ว่าเราสร้างกิจกรรมทางปัญญายังไง ประเด็นนี้เราคิดว่าต้องให้คนภายนอกเล่าดีกว่า สำหรับเรา Crackers Books เป็นสถานที่ของการสร้างองค์ความรู้ เป็นสถาบันที่จะทำให้คนได้ความรู้ แม้ในพื้นที่ที่เราอยู่เราตั้งอยู่ในพิษณุโลกก็จริง แต่อย่างที่เราบอกพอโลกมันไปไกลมาก การผสานอะไรต่าง ๆ ที่เชื่อมโดยอินเตอร์เน็ตไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ก็สร้างกิจกรรมทางปัญญาได้

ถามอีกเรื่องหากในต่างจังหวัดมีสำนักพิมพ์แบบเราแล้ว ร้านหนังสือในต่างจังหวัดมันจำเป็นด้วยไหม ที่จะช่วยให้คนในต่างจังหวัดมีทางเลือก หรือกระจายอำนาจทางปัญญาและบทสนาทนาใหม่ ๆ

ธุรกิจร้านหนังสือมันเป็นอีกแบบหนึ่งไปเลย เราไม่แน่ใจว่ามันมีข้อจำกัดขนาดไหน แต่สำหรับเราการทำงานแบบสำนักพิมพ์ไม่ว่าที่ไหนก็ตาม เราคิดว่ามันควรจะมีพื้นที่ที่ทำให้คนเอาเนื้อหาในหนังสือมาพูดคุยกันมากกว่า ถ้าจังหวัด ๆ หนึ่ง มีสำนักพิมพ์และร้านหนังสือมันมีควบคู่กันไปเป็นเรื่องดีอยู่แล้ว เราก็อยากเห็นภาพแบบนั้น แต่ด้วยข้อจำกัดหลายอย่างเราเลยรู้สึกว่า แค่มีพื้นที่ให้ลองพูดคุยสื่อสารกัน มันน่าจะมีการกระจายข้อแลกเปลี่ยนกันมากขึ้น

เราไม่ได้มองว่าพื้นที่จังหวัดนั้นมีสำนักพิมพ์แล้วมันจะทำให้คนหันมาสนใจ เราไม่มีตัวชี้วัดด้านนี้ การเปิดพื้นที่ให้คนคุยกัน สำนักพิมพ์เราตั้งอยู่ในพิษณุโลกก็จริงแต่มันมีการสั่งซื้อและกระจายไปยังที่อื่น เราเลยสนใจตรงที่ว่ามันมีพื้นที่ให้คุยกัน สำหรับเรามันไม่ได้เป็นประโยชน์แค่สำนักพิมพ์เรา มันเป็นประโยชน์กับสำนักพิมพ์ที่อื่น ๆ และผู้คนในท้องที่อื่น ๆ ด้วย

เนื้อหาที่สำนักพิมพ์ทำ มันพูดประเด็นที่เรื่องซีเรียสมาก ๆ ทั้งแนวคิดทฤษฎีแบบซ้าย ๆ เรื่องการเมืองแบบหนัก ๆ เรามองยังไงหากคนจะเบื้อนหน้าหนี

ไม่ได้ซีเรียสเลยถ้าคนจะเบือนหน้าหนี เราคิดว่าเราต้องทำงานหนักด้วยซ้ำว่าจะทำอย่างไรให้คนสนใจมากกว่าเราต้องการสร้างพื้นที่องค์ความรู้ มันเป็นไปไม่ได้เลยที่หนังสือทุกเล่มมันมีเนื้อหาเหมือนกัน หนังสือทุกเล่มเราก็จะนำผ่านกองบรรณาธิการ เราจัดหมวดหมู่เป็นล็อก ๆ หรือให้เรียกอีกแบบหนึ่งก็คือแบ่งเป็นซีรีย์ไว้ เราคิดว่าความพยายามเหล่านี้น่าจะเป็นที่สนใจไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

แล้วเราก็ไม่ได้นำเสนอในรูปแบบของหนังสืออย่างเดียว การนำเสนอมีรูปแบบทั้ง Crackers Blogs Crackers Basic มันจะมีอยู่ส่วนหนึ่งที่เรียกว่า เปเปอร์ครั้น (Paper Crunch) มันคือการนำเอาบทความทางวิชาการหนักๆหน้าที่ของพวกเราคือเอามาครั้น เอามาขมวดให้ง่ายขึ้น พอที่จะเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายจนไม่ต้องไปอ่านบทความทางวิชาการที่มันหนัก ๆ สำหรับบางคนจริตไม่เหมือนกัน บางคนก็ชอบที่จะอ่านงานที่มันหนักบางคนที่ชอบจะอ่านที่มันเบา มันก็เลยเกิดคอนเทนต์เปเปอร์ครั้นขึ้นมา ดังนั้นเราจึงไม่ซีเรียสที่ว่าคนจะเบือนหน้าหนี เรามองในเชิงเรื่องการสร้างพื้นที่ทางความรู้ เรามองแบบนี้ตลอด มันจะควบเส้นไปกับแพสชันของเรา ทำให้เราไม่วิตกกังวลกับเรื่องพวกนี้เลย กระบวนการมันเดินไปเรื่อย ๆ หน้าที่ของเราคือการนำเสนอประเด็นใหม่ ๆ ให้มากขึ้น

มีวิธีการเลือกคอนเทนต์มานำเสนอยังไง

วิธีการเลือกคอนเทนต์มานำเสนอ บางทีอาจมีล้อไปกับสังคมบ้างนิดหน่อยในตอนนี้ก็มีเรื่องน้ำท่วม เราก็นำเสนอเปเปอร์เกี่ยวกับน้ำท่วมออกไป เราคิดว่าเราทำสำนักพิมพ์แต่เราไม่ได้ทำงานในฐานะสื่อ ซึ่งไม่ได้ล้อไปกับสถานการณ์ทางสังคมมากขนาดนั้น พอเป็นแบบนั้นมันจะกลายเป็นการโฟกัสผิดจุด หากทำแบบนั้นมันจะทำให้เราลืมตัวตนและสถานะของตัวเราไปจริง ๆ

มันทำให้ผมนึกถึงพวกสังคมศาสตร์ปริทรรศน์ หรือวารสารต่าง ๆ เช่น วารสารฟ้าเดียวกัน วารสารอ่าน เมื่อก่อน เราอยากเป็นแบบนั้นหรือป่าว

เราชื่นชอบทุกวารสารที่พูดถึงมาทั้งหมดเลยนะ อย่างที่ว่าเราชื่นชอบการเปิดพื้นที่ให้คนสนทนากัน แต่ถ้าย้อนมามองสำนักพิมพ์ของเรา ในมุมมองเรามันคือการสร้างองค์ความรู้และข้อถกเถียงมากกว่า ถ้าไปดูใน Crackers Blogs ก็จะเห็นว่ามีนิสิตนักศึกษาจากหลายมหาวิทยาลัย เราเปิดพื้นที่ตรงนี้ให้มาแสดงมุมมอง ซึ่งบางบทความก็ไม่ได้เป็นความทางวิชาการที่หนัก ๆ อย่างบทความที่นักศึกษาไปแลกเปลี่ยนต่างประเทศ เราก็จะเห็นว่ามันเป็นการถอดประสบการณ์ เรารู้สึกว่ามันเปิดพื้นที่แบบนั้น พื้นที่ที่เราทำอยู่มันทำให้เกิดมุมมองใหม่ ๆ มากขึ้น เรื่องนี้สำคัญนะ เพราะทุกคนมีองค์ความรู้ในสิ่งที่ตนเองเชี่ยวชาญ และสนใจ การได้มีพื้นที่มาแลกเปลี่ยนกัน อย่างน้อยๆเราก็คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับสังคมไม่มากก็น้อย

มองสำนักพิมพ์ในการอยู่รอดในปัจจุบันยังไง เนื่องจากความไม่แน่นอนของการทำหนังสือมีสูงมาก

ทุกการทำธุรกิจย่อมต้องนึกถึงผลกำไร ถ้าเรามองเรื่องนี้เป็นการแบ่งระยะของการทำงาน ในบางองค์กรก็อยากได้ในระยะแรก บางองค์กรอยากได้ในระยะสอง สำนักพิมพ์ก็เหมือนกัน เราก็มองว่าอยากได้กำไร แต่มันขึ้นอยู่กับระยะของการทำงานที่วางไว้มากกว่ามากกว่า ตอนนี้ที่เราคุยกันอยู่สำนักพิมพ์มันกำลังจะหนึ่งขวบปี ตอนนี้มันคือการก่อร่างสร้างตัว ถ้าเปรียบเทียบกับการสร้างบ้านก็คือเราก็อยากจะให้สำนักพิมพ์สมบูรณ์ที่สุด เราใช้แพสชันเป็นตัวนำแล้วเราค่อย ๆ ทำทีละระยะไปป ถ้ามองในเชิงธุรกิจมันของเรามันเป็นเพียงแค่ SME นะ พอเป็นอย่างนี้มันต้องค่อย ๆ ดำเนินการไปเรื่อย ๆ ในเวลาเป็นตัวตอบดีกว่า แล้วก็คิดว่าดำเนินการไปทีละขั้นแล้วมันจะอยู่รอดได้โดยไม่ต้องกดดันตัวเองจนเกินไป

เริ่มชอบในสิ่งที่ทำหรือยัง หรือมีเรื่องดี ๆ ที่อยากเล่าให้ฟังไหม เฟลๆ ก็ได้ เพราะเท่าที่คุยกันทั้งหมดดูมีแพสชั่นมาก ๆ

โอเคตั้งแต่แรกเลยและคิดว่าคนอื่นที่มาทำสำนักพิมพ์เขาก็โอเคเหมือนกัน เพราะมันใช้อารมณ์ความรู้สึกนำ มันจะไม่รู้สึกว่าเฟลเลยสักอย่าง

งั้นลองแนะนำหนังสือของสำนักพิมพ์ให้หน่อย มีเล่มไหนน่าสนใจบ้าง

ถ้าอยากให้เราแนะนำหนังสือของสำนักพิมพ์ตอนนี้เราคงขอแนะนำหนังสือวิชาการสามเล่มแรกของสำนักพิมพ์เรา โดยเล่มแรกเป็นหนังสือชื่อว่า CRACK/MARXISM/101 หรือในอีกชื่อหนึ่ง Crack/ลัทธิมาร์กซ์/101 เขียนโดยวัชรพล พุทธรักษา หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือวิชาการเล่มแรกของสำนักพิมพ์ที่จัดอยู่ในหมวดหมู่ (The Basic Series) หนังสือเล่มดังกล่าวเป็นคู่มือเบื้องต้นสำหรับผู้ที่สนใจศึกษาลัทธิมาร์กซิสต์ และแนวทางการวิพากษ์สังคมทุนนิยมในมุมมองของคาร์ล มาร์กซ์ หนังสือเล่มนี้เน้นการทำความเข้าใจแนวคิดที่ซับซ้อนของมาร์กซ์ อาทิ สภาวะแปลกแยก (Alienation) ประวัติศาสตร์แบบวัตถุนิยม ชนชั้นและการต่อสู้ทางชนชั้น ศาสนา อุดมการณ์ รวมถึงการวิพากษ์เศรษฐกิจการเมือง โดยถ่ายทอดในรูปแบบที่เข้าใจง่าย เหมาะสำหรับทั้งนักศึกษาและผู้อ่านทั่วไปที่เริ่มต้นศึกษาแนวคิดของมาร์กซ์ นอกเหนือจากนี้หนังสือเล่มนี้ไม่ได้เพียงแต่แนะนำแนวคิดมาร์กซิสต์เท่านั้น แต่ยังตั้งคำถามและชวนให้ผู้อ่านพิจารณาโครงสร้างสังคมทุนนิยมที่เราดำรงอยู่ในปัจจุบัน ขณะเดียวกันยังชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการวิพากษ์เพื่อปลดแอกความคิดที่ครอบงำ และพัฒนาแนวทางสู่สังคมที่เท่าเทียมกันมากขึ้น

สำหรับเล่มที่สองเราอยากแนะนำหนังสือที่มีชื่อว่า เมื่อ “สหรัฐอเมริกา” ส่งออก “ประชาธิปไตย”: การเผยแพร่ประชาธิปไตย NED และไทย เขียนโดย ชุติเดช เมธีชุติกุล หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือวิชาการเล่มที่สองของสำนักพิมพ์ถูกจัดอยู่ในหมวดหมู่ (Crackers Briefs) หนังสือเล่มดังกล่าวเป็นหนังสือที่เจาะลึกถึงบทบาทของสหรัฐอเมริกาในการส่งเสริมประชาธิปไตยไปยังประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยในช่วงปี 2001-2008 ผ่านองค์การ NED (National Endowment for Democracy) ซึ่งเป็นตัวแทนรูปธรรมของนโยบายการเผยแพร่ประชาธิปไตยของสหรัฐฯ ขณะเดียวกันหนังสือเล่มนี้เริ่มต้นจากการอธิบายบริบททางการเมืองระหว่างประเทศที่มีความซับซ้อน ทั้งช่วงสงครามเย็นและเหตุการณ์ 9/11 ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญในยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ โดยเฉพาะการสนับสนุนพันธมิตรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิ ไทย  ผ่านการสนับสนุนทางการทหาร และการพัฒนาเศรษฐกิจ เป็นต้น การศึกษาในหนังสือเล่มนี้จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองระหว่างประเทศ รวมถึงผลกระทบต่อการเมืองภายในของไทยเมื่อถูกกดดันจากทั้งสหรัฐฯ และความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเน้นบทบาทของ NED ในการสนับสนุนกิจกรรมทางการเมืองต่าง ๆ ที่สหรัฐฯ มองว่าเป็นการส่งเสริมประชาธิปไตยในประเทศ

ในส่วนสุดท้ายหนังสือเล่มที่สาม เป็นหนังสือวิชาการเล่มล่าสุดของสำนักพิมพ์ Crackers Books ชื่อว่า จากพระคุณที่สามถึง ค.ศ.3 พลวัตรวิชาชีพครู ว่าด้วยอำนาจ และสถานภาพทางสังคมไทย เขียนโดย         ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ หนังสือเล่มล่าสุดเล่มนี้จัดอยู่ในหมวดหมู่ (Critical Sciences Series) นำเสนอการเปลี่ยนแปลงของวิชาชีพครูในประเทศไทยผ่านบริบทของการเมือง สังคม และเศรษฐกิจในแต่ละยุคสมัย โดยเริ่มจากการผลิตครูในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์จนถึงปัจจุบัน หนังสือเล่มนี้พาผู้อ่านไปสำรวจถึงบทบาทและอำนาจของครูในสังคมไทย รวมถึงความซับซ้อนทางสังคมและการต่อรองสิทธิประโยชน์ที่ครูไทยต้องเผชิญ ทั้งด้านสภาพการจ้างงาน ภาระหนี้สิน และการรวมตัวของครู เพื่อสร้างความเข้าใจที่ลึกซึ้งต่อวิชาชีพครูในแง่มุมที่ไม่ค่อยถูกพูดถึงมากนัก

นอกเหนือจากหนังสือวิชาการทั้งสามเล่มที่เราได้แนะนำไปเราอยากเชิญชวนให้ทุกคนติดตามหนังสือเด็กในหมวดหมู่ (Crackers Books/Kids) หนังสือภาพสำหรับเด็กแบบ 2 ภาษา มุ่งเปิดจินตนาการผ่านหนังสือภาพ เหมาะสำหรับเด็กวัย 0-7 ปี ซึ่งปัจจุบันทางสำนักพิมพ์ได้ปล่อยหนังสือออกมาเป็นจำนวนทั้งหมดสองเล่ม คือ การผจญภัยของมะลิเจ้าเหมียวส้ม (The Adventures of Mali, the Ginger Cat) และ บิตคอยน์สำหรับเด็ก (Bitcoin For Kids) เป็นหมวดหมู่หนังสือเด็กที่เราขายในทาง E-Book เป็นหลัก อาทิ Bookcaze, Meb, Pinto เป็นต้น

สุดท้ายนี้เราอยากเชิญชวนให้เหล่า Crackers Fellows คอยติดตามหนังสือทุกเล่มที่ปัจจุบันสำนักพิมพ์ได้วางขายไปแล้ว รวมไปถึงหนังสือที่กำลังจะออกมาในอนาคต ยิ่งไปกว่านั้นทุกคอนเทนต์ที่เราพยายามนำเสนอออกไป เพราะพวกเราเชื่ออย่างบริสุทธิ์ใจว่า “หนังสือ” เป็นมากกว่าหน้ากระดาษ แต่มันคือ “หน้าต่าง” สู่โลกใบ​ใหม่ ความคิด และความเป็นไปได้ใหม่ ๆ

กมธ.พลังงานเปิดเวที ‘ถ่านหิน โอกาส เศรษฐกิจลำปางที่ยังไปไม่ถึง’ แนะพลิกวิกฤติให้กลายเป็นโอกาส นำร่องโครงการพลังงานหมุนเวียนสู่ลำปาง

ภาพ: สรวิชญ์ หงษ์พาเวียน

1 กันยายน 2567 คณะกรรมาธิการการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร จัดสัมมนาว่าด้วย “ถ่านหิน โอกาส เศรษฐกิจลำปางที่ยังไปไม่ถึง” ณ อาคารหอประชุมจำป่าแดด ที่ว่าการอำเภอแม่เมาะ มีประชาชนอำเภอแม่เมาะกว่า 300 คน รวมทั้งหน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เข้าร่วม

ชลธานี เชื้อน้อย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ลำปาง เขต 3 พรรคประชาชน ในฐานะกรรมาธิการและที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการพลังงาน กล่าวว่า “ตลอดระยะเวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมา การผลิตไฟฟ้าด้วยถ่านหินของโรงไฟฟ้าแม่เมาะดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อำเภอแม่เมาะกลายเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของการผลิตไฟฟ้า ความนึกคิดของผู้คนต่างพื้นที่เมื่อได้ยินชื่อแม่เมาะคงนึกถึงพื้นที่เหมืองขนาดใหญ่

สิ่งที่น่ากังวลและจะเกิดขึ้นในอนาคตคือ การที่ถ่านหินหมดหรือการปิดเหมืองด้วยนโยบายของรัฐบาล เพื่อสอดรับกับทิศทางที่ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญต่อพลังงานสะอาดและยุติการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสกปรก” ชลธานี กล่าวเพิ่มเติม

ศุภโชติ ไชยสัจ

ด้าน ศุภโชติ ไชยสัจ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการพลังงาน ให้ข้อมูลถึงแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2567 – 2580 ซึ่งดำเนินงานโดยสำนักงานนโยบายและแผน กระทรวงพลังงาน ว่า “แผนดังกล่าวยังคงกำหนดการใช้พลังงานถ่านหินไว้ประมาณ 7% เรื่องนี้ส่งผลกระทบต่อประชาชนอำเภอแม่เมาะโดยตรง ปัจจุบันโรงไฟฟ้าแม่เมาะ มีพนักงงานและลูกจ้างมากถึง 9,000 คน หรือแม้กระทั่งผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดลำปาง (GPP) จะสูญเสียมากถึง 12,505 ล้านบาทต่อปี (GPP จังหวัดลำปาง อยู่อันดับที่ 41 ของประเทศในปัจจุบัน) สิ่งสำคัญในเวลานี้ คือ แผนการรองรับที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนผ่านพลังงานอย่างเป็นธรรม

ปัจจุบันมีหลายจังหวัดในประเทศ กำลังผลักดันวาระการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net zero emission) อย่างเป็นระบบ เช่น จังหวัดสระบุรีที่ดำเนินการเรื่องของพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม หรือ จังหวัดกระบี่ที่ดำเนินการเรื่องการสร้างเศรษฐกิจสีเขียวและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ” ศุภโชติ ให้ข้อมูลภาพรวมของการดำเนินงาน

ต่อมา โครงการเปลี่ยนผ่านพลังงานอย่างเป็นธรรม องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ที่เข้ามามีส่วนร่วมผลักดันโครงการเปลี่ยนผ่านพลังงานในพื้นที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ได้นำเสนอข้อมูลการทำงานในช่วงเวลาที่ผ่านมา อันมุ่งเน้นให้องค์ความรู้แก่ประชาชน ต่อทิศทางการดำเนินงานด้านการเข้าถึงองค์ความรู้เกี่ยวกับพลังงานทดแทน

สุชาติ คล้ายแก้ว ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน GIZ กล่าวว่า “GIZ ผลักดันโครงการที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อการปกป้องสิิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ มีการบูรณาการทำงานหลายฝ่าย โดยรัฐบาลของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอมรมนีเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณ สำหรับประเด็นพื้นที่อำเภอแม่เมาะ มีวัตถุประสงค์เพื่อการยกระดับเศรษฐกิจของชุมชนให้เกิดความยั่งยืนเป็นธรรม และเป้าหมายการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบพลังงานคาร์บอนต่ำ

GIZ บูรณาการทำงานร่วมกันกับโครงการแม่เมาะ สมาร์ทซิตี้, การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กระทรวงพลังงานและคณะกรรมาธิการการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร และประชาชนในพื้นที่อำเภอแม่เมาะ เพื่อร่วมกันกำหนดทิศทางการทำงาน ช่วงที่่ผ่านมามีการจัดอบรมพัฒนาศักยภาพการทำงานของประชาชนแม่เมาะ ในการทำงานรองรับกับการพัฒนาสู่การใช้พลังงานสะอาด” สุชาติ กล่าว

ปัญหาของแม่เมาะยังคงอยู่ เมื่อระยะเวลากำหนดการเปลี่ยนแปลง ทำอย่างไรที่ทุกคนจะไม่ตกขบวนการเปลี่ยนผ่าน ?

ต้องไม่หลงลืมว่าปัญหาหลายอย่างของอำเภอแม่เมาะยังคงอยู่ ยังไม่ได้รับการแก้ไขให้แล้วเสร็จ เช่น กรณีการออกเอกสารสิทธิรองรับการอพยพ หรือการพัฒนาพื้นที่ผ่านการใช้งบประมาณของกองทุนพัฒนาโรงไฟฟ้าแม่เมาะ” ชลธานี กล่าว

มะลิวรรณ นาควิโรจน์

มะลิวรรณ นาควิโรจน์ แกนนำเครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ กล่าวว่า “ผ่านมาหลายสิบปีปัญหายังคงอยู่ ประชาชนอกมาต่อสู้ เปลี่ยนแปลงรัฐบาลทุกอย่างตกไป เป็นแบบนี้มาโดยตลอด กรณีการออกเอกสารสิทธิตอนนี้อยู่ระหว่างการหารือ ประชาชนยังคงรอคอยอย่างมีความหวัง”

กองทุนรอบโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ยังคงมีปัญหาเชิงระบบ มีการทุจริตและเอื้อประโยนช์ การตัดสินใจอยู่ที่ผู้มีอำนาจไม่กี่คน ไม่มีใครกล้าดำเนินการเปิดโปง เนื่องจากผู้ว่าราชการจังหวัดลำปางเป็นประธาน ตอนนี้หลายโครงการได้รับผลกระทบ ขอรับงบประมาณไปหนึ่งก้อน แต่ถูกหารเฉลี่ยหลายทอด ตอนนี้หลายเรื่องกำลังอยู่ที่องค์กรอิสระ ตรวจสอบการทุจริต” ประชาชนอำเภอแม่เมาะรายหนึ่งที่ไม่ประสงค์ออกนามกล่าว

ช่วงที่ผ่านมาประชาชนอำเภอแม่เมาะได้ร่วมกันเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินงานเรื่องการออกเอกสารสิทธิ์สำหรับผู้ที่อพยพมาจากพื้นที่ดั้งเดิม ปัจจุบันหลายกรณีอยู่ระหว่างการดำเนินงานของหน่วยงานราชการระดับกรม ภายหลังจากการลงพื้นที่ของหลายหน่วยงาน อาทิ คณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร, คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน เป็นต้น บางกรณีมีมติคณะรัฐมนตรียืนยันหลักการต้องได้รับเอกสารสิทธิมาตั้งแต่ปี 2544

หรือในกรณีของกองทุนพัฒนาโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ช่วงที่ณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง มีการให้สัมภาษณ์ต่อความผิดปกติของงบประมาณของกองทุนว่า “กฎหมายระบุว่าการให้เงินชดเชยจะถูกกฎหมาย เมื่อให้แก่ผู้ที่อยู่รอบโรงไฟฟ้าในรัศมีไม่เกิน 5 กิโลเมตร แต่การร้องเรียนครั้งนี้ระบุว่ามีการให้แก่ผู้ที่อยู่เกิน 5 กิโลเมตร จึงสงสัยว่าจ่ายในรัศมีเกินได้อย่าไร” หรือการเบิกจ่ายงบประมาณของกองทุน ณรงค์ศักดิ์เคยให้ข้อมูลไว้ว่า “ถ้ามันผิดกฎหมายแล้วเราอนุมัติย้อนหลัง คนอนุมัติย้อนหลังก็ผิดกฎหมาย ถามว่าผิดกฎหมายคืออะไร ติดคุก” สำหรับกองทุนพัฒนาโรงไฟฟ้าแม่เมาะ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำงบประมาณสนับสนุนการสร้างประโยชน์แก่ประชาชนและชุมชนรอบโรงไฟฟ้า โดยงบประมาณของกองทุนมาจากเงินค่าไฟฟ้าที่ผู้รับใบอนุญาตผลิตไฟฟ้านำส่งเข้ากองทุนฯ

นอกจากการสัมมนา ภายในงานมีการแลกเปลี่ยนความมคิดเห็นจากประชาชน ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ อีกหลากหลายประเด็น มีข้อเสนอจากหลายภาคส่วน อาทิ ความพร้อมของอำเภอแม่เมาะที่มีสาธารณูปโภคพื้นฐานที่สามารถต่อยอดได้ทั้งในเรื่องของวิสาหกิจชุมชน หรือการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ตลอดจนการเป็นจุดศูนย์กลางของการพัฒนาการคมนาคมรองรับผลิตภัณฑ์ชีวมวลจากพื้นที่ต่าง ๆ มาใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าต่อเนื่อง

หากพิจารณาจากวาระของการเปลี่ยนผ่านพลังงาน มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ประชาชน, ผู้นำระดับท้องถิ่น, หน่วยงานราชการ ตลอดจนภาคส่วนต่าง ๆ จำเป็นต้องบูรณาการทำงานร่วมกันอย่างจริงจัง ต่อการแสวงหาทางออกให้แก่อำเภอแม่เมาะ จุดแข็งที่สุดในเวลานี้ คือ ความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถเดินหน้าสร้างการเปลี่ยนแปลง ขาดเพียงแค่การเชื่อมร้อยทุกองคาพยพให้มาขับเคลื่อนร่วมกัน ปัจจุบันไม่เพียงแค่อำเภอแม่เมาะ แม้แต่จังหวัดลำปาง มีทุกอย่างครบครัน การคมนาคมไม่ว่าจะเป็นท้องถนน เส้นทางรถไฟ หรือท่าอากาศยาน หากมีการริเริ่มทำงานจากทุกภาคส่วนคงช่วยให้อำเภอแม่เมาะและจังหวัดลำปางไปต่อได้

สิ่งที่เราทุกคน ทุกหน่วยงาน ต้องดำเนินการเตรียมรับมือ คือ การรับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วน เพื่อกำหนดแผนการรองรับที่จะเป็นประโยชน์ต่อการรองรับสถานการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้น พลิกวิกฤติให้กลายเป็นโอกาส นำร่องการนำโครงการพลังงานหมุนเวียนมาริเริ่มในพื้นที่” คุณชลธานี เชื้อน้อย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ลำปาง เขต 3 พรรคประชาชน กล่าวทิ้งท้าย

อ้างอิง