คนล้านนา

ก๊อนเก๊าเล่าล้านนา : ประเพณีเลี้ยงผีครูเดือนเก้า(เหนือ) และเรื่องเล่าผีครูช่างซอล้านนา

ศิลปินพื้นบ้านล้วนผ่านการอบรมสั่งสอนให้คอยสั่งสมประสบการณ์ให้แฝงฝังไว้ในตน ตลอดจนควรมีความมุ่งมั่นฝึกฝนจนเกิดความชำนิชำนาญด้านสติปัญญาและความสามารถทั้งการขับร้องท่องลำนำแนวเพลงปฏิพาทย์ ทั้งเพลงหมอลำในภาคอีสาน เพลงอีแซวในภาคกลางหรือเพลงบอกในภาคใต้ ในขณะที่คนภาคเหนือหรือคนเมืองล้านนาก็มี “เพลงซอ” ที่ถูกขับขานผ่านเสียงของ “ช่างซอ” ซึ่งมีความหมายในทำนองของการเป็นผู้ชำนาญการถ่ายทอดเนื้อหาสาระผ่านโครงสร้างท่วงทำนองดนตรีที่ตายตัวแต่ต่างกันไปในแต่ละรูปแบบของทำนองพื้นบ้าน ดังนั้น  “ซอ”...

ก๊อนเก๊าเล่าล้านนา: เจ้าและไพร่ในล้านนา ณ ช่วงเวลาการปฏิรูปมณฑลพายัพถึงก่อน พ.ศ.2475

สังคมล้านนาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีโครงสร้างทางสังคมเป็นลำดับชั้นบนลงล่างเฉกเช่นเดียวกันกับสังคมศักดินาทั่วไปที่มีเจ้าผู้ครองนคร เจ้านาย ขุนนาง ไพร่ ทาสและพระสงฆ์เป็นองค์ประกอบสำคัญ ซึ่งผู้คนในลำดับชั้นต่าง ๆ ที่ว่ามานี้ล้วนต่างมีความสัมพันธ์ตามบทบาทและหน้าที่ตามแต่ละส่วนของสังคมที่พวกเขาอยู่อาศัย เจ้าผู้ครองนครและเจ้านายจึงถือได้ว่าเป็นกลุ่มคนซึ่งมีสถานะทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมในลำดับชั้นสูงสุด...

อินทขีล: ผี พระอินทร์ และนพเคราะห์ กับ พระอุ่มเมืองที่เพิ่งสร้าง 

พิธีเข้าอินทขีลปีนี้สำหรับผู้เขียนนับว่าแปลกกว่าที่ผ่านมา เมื่อทางวัดออกนามให้กับพระพุทธรูปปางรำพึงในบุษบกเหนือเสาอินทขีลว่าพระเจ้าอุ่มเมือง (แป๊ขึด) ซึ่งไม่แน่ใจว่ามาจากนิมิตญาณหรือนำคติความเชื่อ หลักฐาน มาจากเอกสารใด เพราะไม่มีประวัติข้อมูลให้ทราบ ผู้เขียนกังวลใจว่าการตั้งชื่อขึ้นใหม่โดยมิได้มีการนำเสนอข้อมูลเช่นนี้ อาจจะทำให้ผู้สักการบูชาที่เข้าร่วมงานอินทขีลปีนี้และในอนาคต ไขว้เขวกับประวัติของพระพุทธรูป และเกิดความเข้าใจไปว่ามีพระพุทธรูปประดิษฐานเหนือเสาอินทขีลมาแต่เดิมเริ่มสร้าง หากวิเคราะห์ด้วยกรอบคิดทางคติชนวิทยาและประติมานวิทยา...

โหมโรงล้านนา ว่าด้วยเรื่อง “ล้านนา (Lan Na)” บนพื้นที่ สื่อสารออนไลน์เพื่อการก้าวต่อไป ของเว็บไซต์ Lanner

“ล้านนา” (Lan Na) เป็นชื่อเรียกหน่วยทางการเมืองในยุครัฐจารีตที่อาจมองได้ว่าเป็นหน่วยทางการเมืองวัฒนธรรมซึ่งถูกสืบส่งต่อมาจนถึงยุคปัจจุบันด้วยก็ได้ ตลอดจนเป็นดินแดนของกลุ่มก้อนความสัมพันธ์ที่ผู้คนอาศัยและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันและกันในอาณาบริเวณแถบลุ่มแม่น้ำโขงทางตะวันออกมาจนถึงแถบลุ่มแม่น้ำคง (สาละวิน) ทางตะวันตก ตลอดจนแถบตอนใต้ของประเทศจีนหรือสิบสองปันนาทางด้านเหนือเรื่อยลงมา ทางด้านทิศใต้แถบหัวเมืองสุโขทัยที่เป็นอาณาบริเวณของภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบนของประเทศไทยในปัจจุบัน ล้านนาในความหมายของดินแดนจึงมีฐานะเป็นพื้นที่หรืออาณาบริเวณอันบ่งชี้ถึงลักษณะขอบเขตด้านภูมิศาสตร์กายภาพและขอบเขตด้านสังคมวัฒนธรรมซึ่งมีพื้นที่บางส่วนเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทยและมีพื้นที่บางส่วนอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน (ทั้งในประเทศเมียนมา...

อรรถจักร สัตยานุรักษ์: ความปรารถนาอย่างแรงกล้าเพื่อทำให้เกิดความหลากหลายที่เท่าเทียม

กล่าวสรุปงานเวทีวิชาการ Lanna Symposium: Lanna Decolonized “ล้านนาทะลุกรอบอาณานิคม” โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.อรรถจักร สัตยานุรักษ์ ภาควิชาประวัติศาสตร์...