คนล้านนา

แด่ “จรัลล้านนา” ว่าด้วยการประกอบสร้างและผลิตซ้ำอัตลักษณ์ความเป็นล้านนาของศิลปินอย่าง จรัล มโนเพ็ชร

บทความนี้ไม่ได้จัดวางบทบาทและสถานะของ “จรัล มโนเพ็ชร” ว่าเป็นผู้สร้างอัตลักษณ์ความเป็นล้านนาที่ดำรงอยู่อย่างแน่นิ่งตายตัวแต่อย่างใด การนำเสนอของบทความนี้ต้องการที่จะสร้างและสานต่อบทสนทนากับบทความที่ถูกเขียนขึ้นก่อนหน้า ซึ่งได้มีความพยายามในการวิเคราะห์และตรวจตราการสร้างอัตลักษณ์ผ่านบทเพลงของจรัล ผ่าน “มโนทัศน์ล้านนาไทยที่อีหลักอีเหลื่อ” โดยที่ผู้เขียนเองก็ไม่ได้วางอยู่บนการมีเจตจำนงที่จะนำเสนอข้อโต้แย้งต่องานเขียนก่อนหน้า หากแต่ปรารถนานำพาผู้อ่านบทความให้ขยับขยายแง่มุมเพื่อมองให้เห็นฉากหลัง  ...

การขยายอำนาจรัฐสยามในอาณาบริเวณล้านนา: กรณีศึกษาการบังคับใช้กฎหมาย การปกครองคณะสงฆ์

ช่วงทศวรรษที่ 2440 นับว่าเป็นช่วงเวลาสำคัญในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรัฐสยามกับอาณาบริเวณล้านนา เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวเป็นหมุดหมายของการทำความเข้าใจการผนวกรวมหรือยึดเอาล้านนาเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของรัฐสยามที่เพิ่งก่อตัวขึ้นมา นัยของการศึกษาความสัมพันธ์ดังกล่าวอาจปรากฏในลักษณะของการศึกษาความสัมพันธ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ เครือข่ายความสัมพันธ์ของชนชั้นนำ การศึกษา และการเข้ามาของวิทยาการสมัยใหม่  อย่างไรก็ดี พื้นที่หนึ่งของความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับล้านนาที่มีความน่าสนใจในการศึกษา...

ประเด็นปัญหาของการเสนอชื่อครูบาศรีวิชัยให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก

เนื่องในวาระครบรอบ 150 ปี ชาตกาลครูบาศรีวิชัยซึ่งจะครบในปี พ.ศ. 2571 ทางมูลนิธิสถาบันครูบาเจ้าศรีวิชัย ได้ริเริ่มกระบวนการเสนอชื่อครูบาศรีวิชัยให้องค์กรยูเนสโกรับรองให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ซึ่งต้องเริ่มจากการจัดทำเอกสารที่แสดงถึงความโดดเด่นของครูบาศรีวิชัย ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ ซึ่งหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าครูบาฯ...

เวียงแก้ว : พระราชวังล้านนา คุกข่มดวงเมือง และมรดกโลกที่ยังมาไม่ถึง

*บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เรื่อง การศึกษาเครือข่ายการประกอบสร้างความรู้ทางโบราณคดีภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  หลายคนอาจเคยสัญจรผ่านพื้นที่รกร้างขนาดใหญ่กลางเมืองเชียงใหม่ใกล้กับอนุสาวรีย์สามกษัตริย์  ด้านข้างของอำเภอเก่าแล้วนึกสงสัยว่าพื้นที่แห่งนี้คืออะไร เหตุใดยังไม่ถูกจับจองก่อสร้างเพื่อใช้ประโยชน์ สภาพปัจจุบันนั้นรกร้าง ถูกตีปิดด้วยสังกะสีทุกด้าน มองเห็นเพียงอาคารเก่า ๆ...

ไกลศูนย์กลาง: ความอีหลักอีเหลื่อของมโนทัศน์ล้านนาไทยในบทเพลงของ ‘จรัล มโนเพ็ชร’

“เราวิพากษ์คนอื่นโดยหาคู่คัดแย้ง มันง่ายที่จะพูดถึง แต่เราวิพากษ์ตัวเองน้อยเกินไป...” ข้อความข้างบนนี้มาจากปาฐกถาในหัวข้อ “ล้านนาทะลุกรอบอาณานิคม” โดย รองศาสตราจารย์ ดร. วราภรณ์ เรืองศรี ภาควิชาประวัติศาสตร์...