ความคิดเห็น

น้ำแม่ข่า คลองสวย น้ำใส ไหลดี ชุมชนมีสุข สุขของใคร? หรือสุขที่ฝันไว้ไม่เคยตรงปก? 

“คลองแม่ข่า” หรือ “น้ำแม่ข่า” คลองที่มีความสำคัญและมีประวัติศาสตร์ของเชียงใหม่มาอย่างยาวนาน ไล่ไปตั้งแต่เป็นหนึ่งในชัยภูมิ 7 ประการในการสร้างเมืองเชียงใหม่ ไปจนถึงการก้าวกระโดดเติบโตของเมืองเชียงใหม่ในช่วง 50 ปีให้หลังที่สร้างให้เมืองเชียงใหม่กลายเป็นเมืองท่องเที่ยวชื่อดัง แต่ภายใต้การพัฒนาเมืองที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วแต่กลับไม่ได้พัฒนาระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานรองรับกับการขยายตัวของเมืองส่งผลให้คลองแม่ข่าที่เป็นดังระบบระบายน้ำของเมืองเชียงใหม่...

สงกรานต์เมียนมาในวันที่ดอกประดู่ไม่บาน

ในช่วงสงกรานต์นั้นเป็นช่วงที่ผู้คนแห่กันจองรถทัวร์และรถไฟกันเต็มเพื่อกลับไปยังบ้านเกิด ภูมิลำเนา สถานที่ที่ตัวเองจากมา หลายคนมักจะจำภาพของเทศกาลสงกรานต์เป็นประเพณีการละเล่นสาดน้ำประแป้ง ประเพณีทางวัฒนธรรมอย่างการสรงน้ำพระ ขนทรายเข้าวัด หรือดำหัวผู้ใหญ่ และในขณะเดียวกันก็เป็นเทศกาลที่หลายคนต่างเฝ้ารอเพราะนั่นเป็นเวลาของ “การกลับบ้าน” ของคนที่ต้องจากบ้านไปไม่ว่าจะด้วยการศึกษาหรือการทำงาน ทว่ากลับบางคนนั้นไม่สามารถกลับไปยัง“บ้าน”...

กะเหรี่ยง แม่น้ำเมย ข้อพิพาทเขตแดนไม่ไกลจากเมืองเมียวดี

สถานการณ์ชายแดนเมียนมาที่เมืองเมียวดี ตรงข้ามกับอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ดูจะน่าวิตกภายหลังกองทัพกะเหรี่ยง (KNU/PDF) ได้เข้ายึดค่ายของกองทัพเผด็จการทหารเมียนมาเป็นเวลากว่าหลายวัน ชาวบ้าน พี่น้องชาติพันธุ์บริเวณชายแดนที่ได้รับความเดือดร้อน เริ่มอพยพเคลื่อนย้ายเข้าฝั่งไทย ชวนสังเกตก่อนมีพรมแดนรัฐชาติ ผู้คนบริเวณแถบแม่น้ำเมยเป็นอย่างไร...

มองศักยภาพซอฟต์พาวเวอร์พะเยา (ตอน 2) ท่องเที่ยวพะเยา… ไม่ใช่แค่กว๊านพะเยา

ชุดบทความนี้อยู่ภายใต้โครงการจัดการทุนทางวัฒนธรรมด้วยพันธกิจที่ 4 ของมหาวิทยาลัยพะเยา เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนและสำนึกท้องถิ่นของชุมชนวัฒนธรรมระเบียงกว๊านพะเยา อ่าน เมดอินพะเยา: มองศักยภาพซอฟต์พาวเวอร์พะเยา (ตอน 1) สำรวจตรวจตราเบื้องต้น ความเป็นไปได้ “ซอฟต์พาวเวอร์พะเยา”...

แด่ “จรัลล้านนา” ว่าด้วยการประกอบสร้างและผลิตซ้ำอัตลักษณ์ความเป็นล้านนาของศิลปินอย่าง จรัล มโนเพ็ชร

บทความนี้ไม่ได้จัดวางบทบาทและสถานะของ “จรัล มโนเพ็ชร” ว่าเป็นผู้สร้างอัตลักษณ์ความเป็นล้านนาที่ดำรงอยู่อย่างแน่นิ่งตายตัวแต่อย่างใด การนำเสนอของบทความนี้ต้องการที่จะสร้างและสานต่อบทสนทนากับบทความที่ถูกเขียนขึ้นก่อนหน้า ซึ่งได้มีความพยายามในการวิเคราะห์และตรวจตราการสร้างอัตลักษณ์ผ่านบทเพลงของจรัล ผ่าน “มโนทัศน์ล้านนาไทยที่อีหลักอีเหลื่อ” โดยที่ผู้เขียนเองก็ไม่ได้วางอยู่บนการมีเจตจำนงที่จะนำเสนอข้อโต้แย้งต่องานเขียนก่อนหน้า หากแต่ปรารถนานำพาผู้อ่านบทความให้ขยับขยายแง่มุมเพื่อมองให้เห็นฉากหลัง  ...