เปิดตัวโครงการสวนผักในเมือง โดยคนเมือง เพื่อคนเมือง​

05/06/2022

4 มิถุนายน 2565 กลุ่ม กรีนเรนเจอร์ ได้จัดกิจกรรม “เปิดตัวโครงการสวนผักในเมือง โดยคนเมือง เพื่อคนเมือง” ณ สวนผักคนเมือง ต.ช้างคลาน อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ​
​ ​
โดยกิจกรรมเริ่มตั้งแต่ 16.15 น. workshop ทำเพาะงอก การทำปุ๋ยหมัก ให้ผู้เข้าร่วมฝึกทำการเพาะแบบเพาะงอกและการทำปุ๋ยหมัก โดยมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความเข้าใจในการทำเกษตรที่ง่ายและประหยัดพื้นที่​

วิเชียร ทาหล้า กล่าวว่า กรีนเรนเจอร์เป็นกลุ่มอาสาสมัครที่รวมกลุ่มกันเพื่อสิ่งแวดล้อม แต่ด้วยสถานการณ์โควิด 19 ทำให้ความมั่นคงทางอาหารสั่นคลอน จึงอยากสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กลับมาอีกครั้งด้วยวิธีการง่ายๆ โดยจุดเริ่มต้นในการใช้พื้นที่นี้ก็คือทางทีมงานกรีนเรนเจอร์เห็นว่าพื้นที่สวนผักคนเมืองนั้นเป็นพื้นที่ว่างเปล่า จึงนำทีมอาสาสมัครเข้ามาเริ่มต้นในการทำสวนผักคนเมือง​

ในเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในประเด็นเรื่อง “ความมั่นคงทางอาหารกับการทำงานในภาคสังคม และมิติชุมชนที่ต้องรับมือ” โดย ภาวัต เป็งวันผูก เป็นผู้ดำเนินรายการ​

ผศ.ดร.ปิยะมาศ ใจไฝ่ จากภาควิชา ปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาลัยเชียงใหม่ อธิบายว่า ความมั่นคงทางอาหารในภาพใหญ่มองว่า ปฏิเสธไม่ได้ว่าความมั่นคงทางอาหารมีหลายปัจจัยใหญ่ๆที่ส่งกระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร ไม่ว่าจะเป็น สงคราม การเมือง สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และอีกเรื่องก็คืออธิปไตยในอาการ คือสิทธิในการเข้าถึงอาหารนั้น ต้องมองทั้งผู้ผลิตอาหารแบบปลีกและผู้ผลิตอาหารที่ต้นทางนั้นมีความเชื่อมโยงกันอย่างแยกขาดกันไม่ได้ซึ่งทั้งสองกลุ่มนั้นมีผลกระทบไม่เหมือนกัน​

ด้าน ทักษิณ บำรุงไทย ตัวแทนจากเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน (ขสย.) กล่าวว่า วิธีการในการทำงานกับเด็กและเยาวชนซึ่งก็เปรียบได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน นั้นต้องมีการปรับปรุงพัฒนาในเรื่องของวิธีการออกแบบกิจกรรมเพื่อแข่งขันกับกลุ่มอื่นๆ ในการดึงดูดเด็กและเยาวชนให้มาเข้าร่วมกิจกรรม ส่วนเรื่องของการทำงานกับเด็กและเยาวชนในเรื่องของการทำงานกับชุมชน จะให้เด็กๆลงพื้นที่ในพื้นที่ที่จะโดนไล่รื้อหรือพื้นที่ที่ค่อนข้างทรุดโทรมขาดการพัฒนาจากภาครัฐ เพื่อให้เด็กและเยาวชนที่ลงพื้นที่นั้นได้สัมผัสและเข้าใจปัญหาจริงๆ ว่าเป็นมาและควรจะทำยังไงกับมันต่อ​

พีรพัฒน์ อัจฉริยะศิริกุล ตัวแทนจากโครงการกรีนเรนเจอร์จูเนีย มองว่าการเกิดขึ้นของพื้นที่ในอำเภอเมืองเชียงใหม่นั้น ส่วนใหญ่สร้างขึ้นเพื่อตอบโจทย์การท่องเที่ยวมากกว่าพื้นที่สาธารณะ และปัญหาที่จะพบในชุมชน ก็คือ 1.ความต่อเนื่องในการลงชุมชน หากขาดความต่อเนื่องในการทำงานกับชุมชน ตัวงานก็จะขาดความมั่นคง 2.บริบทของชุมชน ต้องดูบริบทของชุมชน หากนำความต้องการของกลุ่มไปยัดใส่ชุมชน ชุมชนก็อาจจะไม่ตอบรับกับการทำงาน 3.การปรับตัวในการทำกิจกรรม เนื่องจากสถานการโควิดทำให้เกืดความไม่แน่นอนในเรื่องความปลอดภัย จึงต้องสามารถปรับเปลี่ยนกิจกรรมในการทำงานอยู่ตลอดเวลา​

รัตนา ชูเกษ ตัวแทนจากชุมชนควรค่าม้าสามัคคี อธิบายถึงการจัดการเรื่องอาหารในชุมชนในสถานการณ์โควิด 19 ในช่วงแรกก็มีน้องๆ ที่เคยร่วมงานด้วยกัน สามารถหาแหล่งทุนในการซื้ออาหารสดได้ จึงเกิดการทำงานร่วมกันกับชาวบ้านกับเด็กๆที่เคยร่วมงานกัน โดยใช้พื้นที่ของวัดในการทำอาหาร แต่หลังจากผ่านไปซักระยะหนึ่งแล้วเงินทุนที่เคยได้รับหมดลง ทางชุมชนจึงไปติดต่อกับทางภาครัฐเพื่อขอความช่วยเหลือเช่น เทศบาล ค่ายทหาร อีกทั้งยังมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชุมชนโดยการปลูกผักเพื่อแจกจ่ายให้คนในชุมชนเพื่อลดค่าใช้จ่ายการซื้ออาหารในสถานการณ์โควิด​

และเวลา 18.15 น. ปิดกิจกรรมด้วยการรับประทานอาหารร่วมกัน พร้อมรับฟังดนตรีสด โดยมีนักร้อง นักดนตรีจากกลุ่มกรีนเรนเจอร์ ​

โดย วิเชียร ทาหล้า พูดกับทางทีมงาน Lanner ไว้ว่า ทิศทางในอนาคตของกรีนเรนเจอร์กับสวนผักคนเมืองนั้นมีสองประเด็นคือ 1.เป็นพื้นที่ในการสร้างการเรียนรู้ของกลุ่มกรีนเรนเจอร์ 2.เป็นพื้นที่สร้างอุปกรณ์และวัตถุดิบในการปลูกผักหรือการสร้างพื้นที่สีเขียวลงไปในชุมชน ​ และยังเสริมอีกว่าทางกรีนเรนเจอร์มองว่าพื้นที่สวนผักคนเมืองนั้นไม่ได้ปักหมุดไว้ว่าจะเป็นพื้นที่สีเขียวหรือพื้นที่สำหรับความมั่นคงทางอาหารอย่างเดียวแต่ยังมองว่าเป็นพื้นที่สาธารณะที่ใครๆ ก็สามารถมาทำกิจกรรมได้​



เรื่อง: ปรัชญา ไชยแก้ว​
ภาพ: จินตนา ประลองผล​

#Lanner

ทีมข่าวที่ประกอบไปด้วยผู้คนหลากหลาย บ้างก็มาจากทะเล บ้างก็มาจากภูเขา แต่สุดท้ายก็ลงเอยที่ภาคเหนืออยู่ที่ Lanner นี่แหละ...

ข่าวที่เกี่ยวข้อง