“เราดูแลป่า เราถึงได้กินได้ใช้ ถ้าเราไม่ดูแลป่า เราก็ไม่มีกินมีใช้” เสียงจากราวป่า… ในวันมั่นคงทางอาหาร แต่ไม่มั่นคงด้านที่ดิน​

27/05/2022

บนเนื้อที่กว่า 10 ล้านไร่ของจังหวัดตาก ประมาณ 72 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่นั้นคือพื้นที่ป่า จัดเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ป่ามากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศ รองจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน​

ข้อมูลจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจังหวัดตากชี้ว่า มีประชากรที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์อยู่ในจังหวัดตากถึง 6 กลุ่มด้วยกัน นี่อาจเป็นหนึ่งภาพสะท้อนว่าหากที่ใดมีกลุ่มชาติพันธุ์ ทรัพยากรธรรมชาติจะยังอุดมสมบูรณ์ ​

อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี 2537 กรมป่าไม้ (ในขณะนั้น) ได้มีแผนประกาศพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่เงา โดยประกาศทับพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่ยวมฝั่งซ้าย จังหวัดแม่ฮ่องสอน รวมทั้งป่าสงวนแห่งชาติ ป่าท่าสองยาง จังหวัดตาก และป่าสงวนแห่งชาติ ป่าอมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ประมาณ 257,650 ไร่ บางส่วนนั้นทับซ้อนกับพื้นที่ชุมชนบ้านปางทอง และ บ้านแม่ปอคี อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก อันเป็นพื้นที่ชุมชนดั้งเดิมของกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ​



Lanner ชวนฟังเสียงของ 2 เยาวชนปกาเกอะญอจากอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ในวันที่ต้องลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อสิทธิในที่ดินทำกินและการจัดการทรัพยากรบนผืนดินผืนป่าของบรรพบุรุษ พวกเขากำลังต้องเผชิญกับการเตรียมการประกาศอุทยานแห่งชาติแม่เงาและความกดดันจากนโยบายรัฐส่วนกลางที่จำกัดการทำกินในรูปแบบไร่หมุนเวียน ชวนสังคมตั้งคำถามถึงระบบการจัดการป่าไม้ไทย​

เรื่องและภาพ: พชร คำชำนาญ​

#ไร่หมุนเวียน​
#ชาติพันธุ์ก็คือคน​
#Lanner

ข่าวที่เกี่ยวข้อง