อยู่รอดปอดพัง: เสียงจากแคมป์คนไทใหญ่ในเชียงใหม่ต่อปัญหาฝุ่น PM 2.5

เรื่อง: ณัฏฐชัย ศรีเจริญ, นันทัชพร ศรีจันทร์ ภาพ: นันทัชพร ศรีจันทร์ ปัญหาฝุ่น PM2.5 เป็นปัญหาที่มีความรุนแรงขั้นวิกฤติที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของประชาชนในประเทศไทยโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ ทั้งยังส่งผลให้เกิดปัญหาภาคเศรษฐกิจตามมาอีกหลายระลอก สาเหตุหลักส่วนหนึ่งเกิดจากการทำ ‘เกษตรพันธะสัญญา’ (Contract framing) ที่ภาครัฐได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทั้งในประเทศ และประเทศเพื่อนบ้าน ในปี 2549 ได้มีมติสนับสนุนการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศเพื่อนบ้านตามแนวชายแดนพม่า ลาว กัมพูชา ภายใต้กรอบความร่วมมือเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง The Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy หรือ ACMECS ส่งผลให้พื้นที่นับล้านไร่เช่นในรัฐฉานของพม่า และในภาคเหนือของประเทศไทยกลายเป็นภูเขาข้าวโพด “เบื้องหลังไร่ข้าวโพด เบื้องลึกเขาหัวโล้นและไฟป่า” บทความของฐิติพันธ์ พัฒนมงคล ระบุว่า ช่วงหลังปี 2557 รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในช่วงหน้าแล้งหลังฤดูทำนา โดยเดินหน้าเพิ่มพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภายใต้ชื่อโครงการสานพลังประชารัฐ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2561 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ระบุว่ามีเกษตรกรสนใจร่วมโครงการถึง 114,775 ราย บนพื้นที่ ประมาณ 1,000,000 ไร่ อำนวยความสะดวกให้เจ้าหน้าที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) มาทำ … Continue reading อยู่รอดปอดพัง: เสียงจากแคมป์คนไทใหญ่ในเชียงใหม่ต่อปัญหาฝุ่น PM 2.5