คำสำคัญ: ชาวนา

ปากคำชาวนาชาวไร่ในความทรงจำ การต่อสู้ทางวัฒนธรรม ถึงราษฎรร่วมสมัย

เรียบเรียง : ณัฏฐวรรธน์ คล้ายสมมุติ แม้การเกิดขึ้นของสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ในภาคเหนือจะมีปัจจัยทางด้านการต่อสู้เรื่องที่ดิน และการเปิดพื้นที่ประชาธิปไตยหลัง 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 แต่เสียงจากชาวบ้านร่วมสมัยแสดงอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เห็นมุมมองของชาวบ้านต่อการเกิดขึ้นของสหพันธ์ชาวนาชาวไร่คือ  “ชาวไร่ชาวนาขโมยทั้งวัวควาย และที่หนักไปกว่าเก่าคือลักขโมยข้าวแช่ มันทุกข์ยากขนาดไหน ถ้าครอบครัวไหนข้าวไม่พอกิน ก็ต้องไปยืมข้าวเจ้าของนา ปัจจัยพวกนี้ผมคิดว่าเป็นปัจจัยหนึ่งของการเกิดสหพันธ์ชาวนาชาวไร่” สมศักดิ์ โยอินชัย...

กนกรัตน์ เลิศชูสกุล : และแล้ว..การเมืองภาคประชาชนก็ลงหลักปักฐาน ความสัมพันธ์ใหม่ ชนชั้นนำ-ชนชั้นกลาง-สามัญชน

เรียบเรียง : ณัฏฐวรรธน์ คล้ายสมมุติ กนกรัตน์ เลิศชูสกุล ชวนร่วมทบทวนภาพของพัฒนาการและพลวัตของระบบนิเวศทางการเมืองในภาพรวมที่เชื่อมผู้คนหลากหลายชนชั้นเข้าด้วยกัน  โดยได้เสนอ 4 ส่วน เป็นแกนหลักคือส่วนที่ 1 เป็นการนำเสนอภาพความน่าผิดหวังของขบวนการภาคประชาชนในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ผ่านการประเมินความสำเร็จในระยะสั้น ส่วนที่ 2 จะเป็นการทดลองนำเสนอการวิเคราะห์ผลกระทบ ผลสะเทือน และมรดกในระยะยาว...

ภาคประชาชนจัดงาน ‘50 ปี รำลึกสหพันธ์ชาวนาฯ’ ย้อนรอยอดีตการต่อสู้สามัญชน ทบทวนปัจจุบัน ถักสานสัมพันธ์ใหม่สู่อนาคตที่เท่าเทียม

ภาพ: อนุชา ตาดี 23 - 24 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา ภาคประชาชนร่วมจัดงาน ‘เส้นทางชาวนาไทย: รำลึก 50 ปี สหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย’ ณ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่...

วันที่หายไปในปฏิทิน 19 พฤศจิกายน 2517 ครบรอบ 50 ปี สหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย

เรื่อง: กองบรรณาธิการ 19 พฤศจิกายน 2517 ครบรอบ 50 ปีที่กลุ่มชาวนาได้ก่อตั้ง “สหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย (สชท.)” ขึ้น พร้อมคำขวัญ “ที่ดินต้องเป็นของผู้ถือคันไถ” เพื่อต่อสู้เพื่อสิทธิของชาวนาไทย รวมถึงการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและความเป็นธรรม ร่วมกับนิสิตนักศึกษา ปัญญาชน และกรรมกร...

“แม่ไม่เคยเสียใจที่เข้าป่า” เรื่องไม่ปิดลับของผู้หญิงในขบวนการชาวนาชาวไร่ภาคเหนือ

เรื่อง: ณัฏฐวรรธน์ คล้ายสมมุติ ภาพ: Pol-Sci Photo Club CMU “หากพูดถึงขบวนการชาวนาชาวไร่มักเป็นเรื่องของผู้ชาย ผู้หญิงกลับไม่ค่อยมีบทบาทในเรื่องเล่าของขบวนการเคลื่อนไหวเท่าที่ควร ทั้งที่ผู้หญิงก็มีบทบาทมาก  พลังของผู้หญิงเองก็เป็นพลังในการเคลื่อนไหว หากไม่มีพลังเหล่านี้ขบวนการเคลื่อนไหวคงไม่มีทางเป็นไปได้” ประโยคเกริ่นนำของ รศ.ดร.ขวัญชีวัน บัวแดง ที่ร้อยเรียงมาจากการวงพูดคุยของ ‘กลุ่มผู้หญิง’ ที่กลั่นมาจากประสบการณ์ตรงภายใต้การเคลื่อนไหวของขบวนการชาวนาชาวไร่เมื่อปี 2517-2519...

“เรื่องอะไรอีกที่ประวัติศาสตร์เดือนตุลาในภาคเหนือยังไม่ถูกเขียน?” ประวัติศาสตร์ขบวนการชาวนาชาวไร่ภาคเหนือของไทยและช่องว่างของประวัติศาสตร์นิพนธ์คนสามัญ 

เรียบเรียง: ณัฏฐวรรธน์ คล้ายสมมุติ เนื้อหาจากการบรรยายพิเศษระดับปริญญาตรี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เรื่องสะท้อนย้อนคิด “ประเด็นปัญหา” ในการศึกษาประวัติศาสตร์ล้านนา ในหัวข้อ “ประวัติศาสตร์สามัญชนขบวนการชาวนาชาวไร่ในภาคเหนือ” บรรยายโดย ศาสตราจารย์ ดร.ไทเรลล์ ฮาเบอร์คอร์น (Tyrell Haberkorn) ภาควิชาภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย...

ก๊อนเก๊าเล่าล้านนา: นโยบายด้านภาษีที่ไม่ลงรอยกับวิถีชีวิตชาวนาสู่การต่อต้านของชาวนาและกบฏพญาผาบ

เรื่อง: นวลคำ ขะยอมแดง สุภาพชนคนเมือง การปฏิรูประบบราชการแผ่นดินจากดินแดนประเทศราชล้านนามาสู่การปกครองในรูปแบบมณฑลพายัพของรัฐบาลสยาม ดำเนินการผ่านการรวมศูนย์อำนาจและลดทอนอำนาจจากเหล่าบรรดาเจ้านายท้องถิ่นในล้านนาตามขนบของรัฐจารีตแบบดั้งเดิมเพื่อดำเนินการจัดการปกครองตามขนบของรัฐสมัยใหม่เข้ามาแทนที่ โดยมีการปรับเปลี่ยนนโยบายด้านภาษีในรูปแบบใหม่ซึ่งได้มีการปรับปรุงหลายวาระในเรื่องกฎเกณฑ์ ข้อบังคับและพระราชบัญญัติที่ประกาศออกมานับแต่ปี พ.ศ.2427  สิ่งเหล่านี้ได้ก่อให้เกิดผลกระทบโดยตรงต่อผู้คนทั่วไปในสังคมล้านนาโดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ชาวนา” ที่ต้องมีการปรับตัวเพื่อแบกรับภาระในด้านภาษีที่มีมากเกินกว่ากำลัง สำหรับชนชั้นนำในสังคมล้านนานั้นก็ถือได้ว่ามีสถานะเป็นผู้กอบโกยผลประโยชน์จากแรงงานและและผลผลิตส่วนเกินในรูปของภาษีอากร นั่นจึงเป็นเงื่อนไขสำคัญด้านเศรษฐกิจที่มากำหนดทิศทางของประวัติศาสตร์ในมุมมองแบบซ้าย ๆ ให้ชนชั้นผู้ทำการผลิตอย่างเช่น พวกชาวนาและชนชั้นผู้ปกครองอย่างพวกเจ้านาย กลายมาเป็นเป็นปฏิปักษ์ต่อกันหลายพื้นที่โดยชาวนาได้มีปฏิกิริยาต่อต้านผ่านรูปแบบวิธีการต่าง ๆ...

เกษตรกรเหนือ 200 ชีวิต ร่วมจับตาประชุมแก้ไขปัญหาที่ดิน กระทรวงทรัพยฯ ภาคเหนือ

เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2567 สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และลำพูน จำนวนกว่า 200 คน ร่วมติดตามสถานการณ์การประชุมเชิงปฏิบัติการแก้ไขปัญหาที่ดินทั้งระบบที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ณ ส่วนจัดการต้นน้ำ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 (เชียงใหม่) ซึ่งระหว่างการดำเนินการประชุมภายในห้องประชุม...