คำสำคัญ: ระบบขนส่ง

ทิ้งไว้กลางทาง ระบบขนส่งเชียงใหม่ ทำไม่ถึง 

เชียงใหม่เป็นจังหวัดที่มีนักท่องเที่ยวเยอะเป็นอันดับต้น ๆ ของภาคเหนือ รวมถึงยังเป็นจังหวัดที่มีชื่อเสียงในด้านขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมอันสวยงาม การแสดงศิลปะ และงานเทศกาลดนตรี ล้วนเป็นแลนมาร์คที่ขึ้นชื่อให้แก่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ให้หลั่งไหลเข้าสู่เชียงใหม่ ถึงแม้จะมีนักท่องเที่ยวมากมายสัญจรอยู่ทั่วมุมเมือง แต่ระบบขนส่งมวลชนในจังหวัดเชียงใหม่ ก็ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ ผลักให้ประชาชนต้องมีรถส่วนตัวเพื่อใช้ในการเดินทาง และการใช้รถส่วนตัวนี้เอง ที่กลายเป็นสาเหตุที่เอื้อต่อปัญหาอื่น ๆ ที่ทะยอยตามกันมา แม้จะมีความพยายามของประชาชนในการส่งเสียงให้เกิดระบบขนส่งสาธารณะมาแล้วหลายครั้ง...

‘สันกำแพง’ กับความหวังต่อการขนส่งสาธารณะที่มีคุณภาพ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

“คงไม่ใช่ทุกคนจะมีกำลังมากพอในการซื้อยานพาหนะส่วนตัว เพื่อให้เกิดความสะดวกสบายเวลาการเดินทาง” ความคิดที่วนเวียนอยู่ในหัวซ้ำไปซ้ำมาของผู้เขียนขณะมองเห็นผู้คนนั่งรอรถโดยสารขณะที่อากาศร้อนอบอ้าวในช่วงของวันในอำเภอสันกำแพง ทั้งอดคิดไม่ได้ว่าถ้าเชียงใหม่เข้าสู่ ‘ฤดูฝุ่น’ แล้วจะเป็นยังไง? “ชีวิตประจำวันของผู้คนปฏิเสธไม่ได้เลยว่า มีความจำเป็นต้องใช้ยานพาหะนะเพื่อการเดินทางออกไปใช้ชีวิตตามจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกันออกไป ไปทำงาน ศึกษาเล่าเรียน หรือธุระอื่น ๆ” สำหรับคนที่ไม่มีกำลังมากพอคงจะไม่มีทางเลือกมากนัก และปฏิเสธไม่ได้ที่จะต้องเลือกใช้บริการขนส่งสาธารณะ แต่ด้วยความไม่เอื้ออำนวยที่มากพอของการจัดบริการขนส่งสาธารณะ จึงทำให้ต่างคนต่างซื้อรถส่วนตัวมาใช้มากขึ้น จนกลายเป็นความปกติที่ใครต่อใครก็มีรถส่วนตัวกันทั้งนั้น นี่อาจจะเป็นวิธีคิดที่เหมารวมรวบรัดไปหน่อย ที่อาจจะทำให้ความไม่ปกติคือการใช้บริการขนส่งสาธารณะ ปัจจุบันหมอกควันที่มีค่าฝุ่นละอองในอากาศหนาแน่น...

ขนส่งสาธารณะเชียงใหม่กับความหวังของเด็ก มช.

ระบบขนส่งสาธารณะที่ไม่เพียงพอในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประเด็นปัญหาที่ถูกพูดถึงอยู่ทุกวาระ ในสถานการณ์ปัจจุบันยิ่งต้องให้ความสนใจอย่างมาก เนื่องจากจำนวนของประชากร นักท่องเที่ยวและนักศึกษาที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งตามมาด้วยผลกระทบด้านการจราจรติดขัด มลภาวะทางอากาศ รวมไปถึงอุบัติเหตุ ล้วนส่งผลต่อคุณภาพชีวิตพื้นฐานที่มนุษย์พึงได้รับ ดังนั้นการพัฒนาระบบรถสาธารณะเป็นสิ่งที่สำคัญที่มองข้ามไม่ได้ วิชญ์รัตน์ สร้อยฉวี นักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวว่า เชียงใหม่เป็นเมืองใหญ่อันดับ 2 ของประเทศไทย...

เรื่องเล่าจากนักเรียน “คิวรถขาวรอบสุดท้าย”

เรื่อง: วิชชากร นวลฝั้น เมื่อเข้าสู่การเปิดภาคเรียนการศึกษาของชั้นมัธยมศึกษา เด็กนักเรียนส่วนใหญ่ค่อยๆ ปรับตัวเรื่องการเรียน จากระดับชั้นประถมศึกษาไปสู่ชั้นมัธยมต้น หรือบางคนก็จากมัธยมต้นไปสู่มัธยมปลาย  แต่ยังมีเด็กนักเรียนอีกจำนวนหนึ่งที่ยังต้องปรับตัวกับการเดินทางไปโรงเรียน ซึ่งมีระยะทางห่างไกลจากบ้านและจำเป็นต้องเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะ โดยจะขอเน้นเฉพาะรถสองแถวคันสีขาว แม่แตง - เชียงใหม่ หรือที่คนเชียงใหม่เรียกว่า “รถขาว” และ “รถแม่แต๋ง” จากความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่เด็กนักเรียนโรงเรียนในตัวเมืองมักจะเข้าถึงโอกาสในการเรียน...

รถไฟล่องหน เมื่อไร้รถไฟฟ้า ประชาชนเลยขอเดิน

27 กรกฎาคม 2566 มีการแสดงสาธิตรถไฟฟ้าเชียงใหม่สายสีแดงผ่านการเดินด้วยการ Performance Art “รถไฟล่องหน” โดย จักรพันธ์ ศรีวิชัย ตั้งแต่เวลา 07.00-12.00 น.  Performance Art ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือการตั้งคำถามต่อระบบขนส่งสาธารณะที่เคยจะเกิดขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่อย่าง รถไฟฟ้า ที่มีการออกแบบจากระบบราชการส่วนกลางที่มองไม่เห็นคนในพื้นที่...

ระบบขนส่งอันแสนห่วย ทิ้งคนต่างจังหวัดไว้ข้างหลัง

เรื่อง: รัตนาภรณ์ น้อยวงศ์/ The Isaan Record หากใครมีประสบการณ์ต้องยืนเบียดเสียดบนรถสาธารณะเป็นเวลานานขณะเดินทางข้ามจังหวัด จะเข้าใจหัวอก อัยรินทร์ มะลิวรรณ์ นิสิตปี 1 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่ต้องเสียเวลาเดินทางจาก จ.มหาสารคามเพื่อกลับบ้านเกิด จ.สระแก้ว กว่า 12 ชั่วโมง ทั้งที่มีระยะทางเพียง...