คำสำคัญ: ล้านนา

ละลานล้านนา: โคโลเนียลสไตล์ มรดกทางสถาปัตยกรรมของไม้สักล้านนา ฝรั่งค้าไม้ และมิชชันนารี

เรื่อง: ปวีณา หมู่อุบล หากพูดถึงงานสถาปัตยกรรมในล้านนา  หลายคนคงจะนึกถึงเรือนกาแล ไม่ก็หอคำหลวงที่ตั้งตระหง่านอยู่ใจกลางอุทยานหลวงราชพฤกษ์ จ.เชียงใหม่ บางคนอาจจะนึกถึงหลองข้าว ไม่ก็ต๊อมอาบน้ำ จากคำเล่าขานของป้ออุ๊ยแม่อุ๊ย เป็นต้น แต่นอกจากสิ่งก่อสร้างเหล่านั้นแล้ว ในล้านนายังมีสิ่งก่อสร้างอีกจำนวนหนึ่งที่น่าสนใจ นั่นคือ สิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมในแบบ ‘โคโลเนียลสไตล์’ สถาปัตยกรรมโคโลเนียลสไตล์ (Colonial Style)...

อำลาด้วยอาลัย “เกริก อัครชิโนเรศ” : ชีวิตและการเดินทางจากร้านขายยาจีนย่านกาดหลวง สู่สำนักเรือนเดิมแห่ง มช.และห้องเรียนตั๋วเมือง ณ วัดพระสิงห์ เชียงใหม่

เรื่อง: นวลคำ ขะยอมแดง สุภาพชนคนเมือง ผู้เขียนทราบข่าวคราวและติดตามอาการความเจ็บป่วยของ “เกริก อัครชิโนเรศ” มาระยะหนึ่งแล้วในฐานะคนที่พอรู้จักมักคุ้นท่านอยู่บ้างก็คงพอที่จะส่งมอบกำลังใจให้ด้วยความปรารถนาดีผ่านช่องทางกล่องข้อความ (Chat box) ของเฟซบุ๊คเพียงเท่านั้นและเมื่อไม่กี่วันมานี้ ผู้เขียนก็ได้ทราบข่าวการเดินทางไกลจากไปอย่างไม่มีวันกลับของอดีตชายร่างใหญ่ พูดจาขึงขัง เสียงดังฟังชัดและสอดแทรกมุกตลกแสบสันให้ผู้เขียนได้เคยทั้งหัวเราะและเก็บเอาสิ่งที่ชายผู้นี้พูดในวงวิชาการและการสนทนาอย่างไม่เป็นทางการในหลายกรรมหลายวาระกลับไปครุ่นคิดอยู่ตลอดเวลา ชื่อของ “เกริก อัครชิโนเรศ” หรือนามลำลองที่แตกต่างกันไปสำหรับใครหลายต่อหลายคน ทั้งอาจารย์เกริก,...

ละลานล้านนา: ว่าด้วยเครื่องเทศรสเผ็ดชาของคนล้านนา ย้อนจากหมาล่า สู่ “มะแขว่น มะข่วง”

เรื่อง: ปวีณา หมู่อุบล ไม่นานมานี้ผู้เขียนได้อ่านบทความ 2 - 3 ชิ้นที่เป็นการถกเถียงกันในเรื่องเกี่ยวกับอาหารล้านนา ทำนองว่าอาหารล้านนา “แมส” หรือไม่ และพบว่ามีประเด็นหนึ่งที่สนใจคือ มีผู้กล่าวว่าหากคิดกันเล่นๆ ก็สามารถรวมเอาหมาล่าเข้าเป็นอาหารล้านนาได้ เพราะก่อนที่หมาล่าจะได้รับความนิยมแพร่หลายอย่างทุกวันนี้ ก็คนเหนือเรานี่แหละที่เป็นผู้ริเริ่มการบริโภคหมาล่า โดยเฉพาะในเชียงใหม่และเชียงรายที่เริ่มกินหมาล่ามาตั้งแต่เมื่อราวปี พ.ศ....

บันทึกการเดินทางของกรมฯ ดำรง ที่ลำน้ำปิง

เรื่อง: สมหมาย ควายธนู สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีโอกาสเดินทางมามณฑลพายัพ ใน พ.ศ. 2464 ได้อธิบายเรื่องราวการเดินทางในช่วงขากลับกรุงเทพฯ ว่าล่องเรือตามลำน้ำปิงจากเชียงใหม่ ผ่านลำพูน ตาก กำแพงเพชร ไปจนถึงปากน้ำโพ ตีพิมพ์เป็นหนังสือ อธิบายระยะทางล่องลำน้ำพิง ตั้งแต่เมืองเชียงใหม่ถึงปากน้ำโพธิ์...

บางส่วนที่ถูกกลืนหายของระบบการจัดการน้ำในสังคมล้านนา

เรื่อง: ธนากร อัฏฐ์ประดิษฐ์ จารีตของการจัดการน้ำในสังคมล้านนา ก่อนยุคที่รัฐส่วนกลางหรือกรุงเทพฯ จะรวบอำนาจการจัดการน้ำในสังคมล้านนาไป ระบบการจัดการน้ำในสังคมล้านนาแบบเดิมเป็นการจัดการน้ำในรูปแบบ “ลำเหมือง” และ “ฝาย” หรือระบบเหมืองฝาย ที่มีกลไกจัดการที่ยืดหยุ่นตามลักษณะนิเวศชุมชนท้องถิ่น ซึ่งปรากฏหลักฐานชิ้นสำคัญของล้านนา อย่าง กฎหมายมังรายณ์ศาสตร์ “แก่เหมือง” “แก่ฝาย” เป็นกลไกที่สำคัญ รองลงมาคือ...

ก๊อนเก๊าเล่าล้านนา: สัปป๊ะความเชื่อว่าด้วย ‘เรื่องผี’ กับบทบาทความเป็นชายและ ความเป็นหญิงในสังคมล้านนา

เรื่อง: นวลคำ ขะยอมแดง สุภาพชนคนเมือง “อันว่าผี มีอยู่ทุกเครือเขาและเส้นหญ้า จะหาแผ่นดินว่างผี สักฝ่ามือก็หามีไม่” คำกล่าวโบราณข้างต้นของบรรพชนชาวล้านนาที่ยกมาอ้างนี้ สะท้อนถึงความอุดมสมบูรณ์ของ “ผี” ที่มีอยู่ในผืนแผ่นดินถิ่นล้านนาแถบนี้อย่างมากมาย ผีในสังคมล้านนาหรือว่าสังคมทั่วไปจึงมีฐานะเป็นทั้งความเชื่อ วิถีศรัทธา ความน่ากลัว ตลอดสิ่งที่ควรค่าแก่การบูชาที่แทรกซึมอยู่ในทุกวิถีการดำรงชีวิตของคนล้านนาที่มี  ความเกี่ยวพันกับสิ่งที่เรียกว่า “ผี” ตั้งแต่เกิดไปจนตาย...

ยามบ้านเมืองเกิดปัญหา “ตนบุญ” จึงบังเกิด : ขบวนการทางศาสนาในสังคมล้านนา

เรียบเรียง: ณัฏฐวรรธน์ คล้ายสมมุติ ภาพจาก https://forums.chiangraifocus.com/?topic=1161.20#gsc.tab=0.  เนื้อหาจากการบรรยายพิเศษระดับปริญญาตรี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เรื่องสะท้อนย้อนคิด “ประเด็นปัญหา” ในการศึกษาประวัติศาสตร์ล้านนา ในหัวข้อ “ขบวนการทางศาสนาในล้านนา” บรรยายโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พิสิษฏ์ นาสี คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่...

ความทรงจำมุมกลับของ ‘เงี้ยวเมืองแพร่’ จาก ‘กบฏ’ สู่คณะก่อการปลดแอก อำนาจนำสยาม

เรียบเรียง: ปุณญาพร รักเจริญ ถอดความจาก เล่าขวัญ Podcast by LANNER l EP6 กบฏเงี้ยวเมืองแพร่ โดย ชัยพงษ์ สำเนียง อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ชัยพงษ์เกริ่นนำว่าก่อนการผลิกผันของวิธีคิดต่อประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่เกิดขึ้นและผู้คนให้การยอมรับในปัจจุบัน ในอดีตประวัติศาสตร์ที่เป็นกระแสหลักคือประวัติศาสตร์แบบชาตินิยมหรือเรียกภายหลังว่า...

ก๊อนเก๊าเล่าล้านนา: นโยบายด้านภาษีที่ไม่ลงรอยกับวิถีชีวิตชาวนาสู่การต่อต้านของชาวนาและกบฏพญาผาบ

เรื่อง: นวลคำ ขะยอมแดง สุภาพชนคนเมือง การปฏิรูประบบราชการแผ่นดินจากดินแดนประเทศราชล้านนามาสู่การปกครองในรูปแบบมณฑลพายัพของรัฐบาลสยาม ดำเนินการผ่านการรวมศูนย์อำนาจและลดทอนอำนาจจากเหล่าบรรดาเจ้านายท้องถิ่นในล้านนาตามขนบของรัฐจารีตแบบดั้งเดิมเพื่อดำเนินการจัดการปกครองตามขนบของรัฐสมัยใหม่เข้ามาแทนที่ โดยมีการปรับเปลี่ยนนโยบายด้านภาษีในรูปแบบใหม่ซึ่งได้มีการปรับปรุงหลายวาระในเรื่องกฎเกณฑ์ ข้อบังคับและพระราชบัญญัติที่ประกาศออกมานับแต่ปี พ.ศ.2427  สิ่งเหล่านี้ได้ก่อให้เกิดผลกระทบโดยตรงต่อผู้คนทั่วไปในสังคมล้านนาโดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ชาวนา” ที่ต้องมีการปรับตัวเพื่อแบกรับภาระในด้านภาษีที่มีมากเกินกว่ากำลัง สำหรับชนชั้นนำในสังคมล้านนานั้นก็ถือได้ว่ามีสถานะเป็นผู้กอบโกยผลประโยชน์จากแรงงานและและผลผลิตส่วนเกินในรูปของภาษีอากร นั่นจึงเป็นเงื่อนไขสำคัญด้านเศรษฐกิจที่มากำหนดทิศทางของประวัติศาสตร์ในมุมมองแบบซ้าย ๆ ให้ชนชั้นผู้ทำการผลิตอย่างเช่น พวกชาวนาและชนชั้นผู้ปกครองอย่างพวกเจ้านาย กลายมาเป็นเป็นปฏิปักษ์ต่อกันหลายพื้นที่โดยชาวนาได้มีปฏิกิริยาต่อต้านผ่านรูปแบบวิธีการต่าง ๆ...

ก๊อนเก๊าเล่าล้านนา: เศรษฐกิจในสังคมล้านนาจากสนธิสัญญาเชียงใหม่ถึงการเดินทางมาของรถไฟและก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2

ล้านนาเป็นดินแดนที่ถูกผนวกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสยาม แต่เดิมมีสถานะเป็นหัวเมืองประเทศราชมาตั้งแต่ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์และถูกรวบอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางในสมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อทำการปฏิรูปด้านการเมืองการปกครองโดยเรียกอาณาบริเวณดินแดนล้านนาว่าเป็น “มณฑลพายัพ” ซึ่งมีฐานะเป็นส่วนหนึ่งของพระราชอาณาเขตที่ตั้งอยู่ทางด้านเหนือสุดของของราชอาณาจักรสยามโดยมีอาณาเขตติดต่อกับรัฐเพื่อนบ้านของสยามซึ่งมีสถานะเป็นรัฐอาณานิคมในกำกับของมหาอำนาจชาติตะวันตกในขณะนั้นได้แก่ พม่าในฐานะส่วนหนึ่งของอาณานิคมอินเดียที่อยู่ภายใต้การปกครองของประเทศอังกฤษ มลายูที่เป็นดินแดนอาณานิคมซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของประเทศอังกฤษและลาวพืชเป็นดินแดนอาณานิคมซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของประเทศฝรั่งเศส ทั้งนี้ ลักษณะภูมิประเทศของดินแดนล้านนาส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สูงประกอบด้วยเทือกเขาและพื้นที่ว่างระหว่างหุบเขาซึ่งมีแม่น้ำไหลผ่านหลายสาย โดยเทือกเขาที่มีขนาดใหญ่ซึ่งอยู่ตอนกลางของภูมิภาคได้วางแนวสันปันน้ำแบ่งทิศทางการไหลของแม่น้ำในพื้นที่ออกเป็น 3 ระบบด้วยกัน ได้แก่ ระบบที่ 1 แม่น้ำที่ไหลลงแม่น้ำเจ้าพระยา...

ก๊อนเก๊าเล่าล้านนา : ว่าด้วยเรื่องราวจาก “เจ้าพระยา” สู่ “พิงคนที” จากนิทานคำกลอนเรื่องพระอภัยมณีของ “สุนทรภู่” สู่คร่าวซอเรื่องพระอภัยมณีของ “พระยาพรหมโวหาร”

เรื่อง: นวลคำ ขะยอมแดง สุภาพชนคนเมือง วันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี นอกจากจะเป็นวันต่อต้านยาเสพติดแล้ววันดังกล่าวนี้ยังตรงกับ “วันสุนทรภู่” อันเป็นวันที่มักจะอยู่ในความทรงจำของใครหลาย ๆ คนหากเมื่อย้อนกลับไปหวนถึงชีวิตช่วงวัยเรียน ตัวผู้เขียนเองหรือใครก็ตามที่เคยเป็นเด็กนักเรียนสายกิจกรรมเจ้าประจำของกลุ่มสาระวิชาภาษาไทยของโรงเรียน ก็มักจะไม่พลาดหลายสิ่งอย่างที่สร้างโอกาสให้แสดงความสามารถพิเศษด้านทักษะการใช้ภาษาไทย อย่างเช่น การแต่งกลอนวันสุนทรภู่ การประกวดเขียนเรียงความ การโต้วาที...

การเกิดทุน การขยับชนชั้น และประชาธิปไตยในความเข้าใจ ของชาวบ้าน อ่านเพิ่มเติม

เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ.2567 ที่ผ่านมา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้จัดกิจกรรมในโครงการอ่านเปิดโลก (ครั้งที่ 6) เกี่ยวกับการเปิดตัวหนังสือเรื่อง กลุ่มทุนการเมืองล้านนา: การเปลี่ยนทุนเศรษฐกิจและวัฒนธรรมให้เป็นทุนการเมือง โดย ผศ.ดร.ชัยพงษ์ สำเนียง ภาควิชาประวัติศาสตร์...

ก๊อนเก๊าเล่าล้านนา : ประเพณีเลี้ยงผีครูเดือนเก้า(เหนือ) และเรื่องเล่าผีครูช่างซอล้านนา

ศิลปินพื้นบ้านล้วนผ่านการอบรมสั่งสอนให้คอยสั่งสมประสบการณ์ให้แฝงฝังไว้ในตน ตลอดจนควรมีความมุ่งมั่นฝึกฝนจนเกิดความชำนิชำนาญด้านสติปัญญาและความสามารถทั้งการขับร้องท่องลำนำแนวเพลงปฏิพาทย์ ทั้งเพลงหมอลำในภาคอีสาน เพลงอีแซวในภาคกลางหรือเพลงบอกในภาคใต้ ในขณะที่คนภาคเหนือหรือคนเมืองล้านนาก็มี “เพลงซอ” ที่ถูกขับขานผ่านเสียงของ “ช่างซอ” ซึ่งมีความหมายในทำนองของการเป็นผู้ชำนาญการถ่ายทอดเนื้อหาสาระผ่านโครงสร้างท่วงทำนองดนตรีที่ตายตัวแต่ต่างกันไปในแต่ละรูปแบบของทำนองพื้นบ้าน ดังนั้น  “ซอ” นั้น ก็มิใช่เครื่องดนตรีประเภท “สี” ที่มีอยู่ในความรับรู้ของผู้คนทั่วไปในภูมิภาคอื่นๆหรือในภาษิตที่รู้จักกันดีอย่าง “สีซอให้ควายฟัง”แบบคนภาคกลาง มากไปกว่านั้น...

ก๊อนเก๊าเล่าล้านนา: เจ้าและไพร่ในล้านนา ณ ช่วงเวลาการปฏิรูปมณฑลพายัพถึงก่อน พ.ศ.2475

สังคมล้านนาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีโครงสร้างทางสังคมเป็นลำดับชั้นบนลงล่างเฉกเช่นเดียวกันกับสังคมศักดินาทั่วไปที่มีเจ้าผู้ครองนคร เจ้านาย ขุนนาง ไพร่ ทาสและพระสงฆ์เป็นองค์ประกอบสำคัญ ซึ่งผู้คนในลำดับชั้นต่าง ๆ ที่ว่ามานี้ล้วนต่างมีความสัมพันธ์ตามบทบาทและหน้าที่ตามแต่ละส่วนของสังคมที่พวกเขาอยู่อาศัย เจ้าผู้ครองนครและเจ้านายจึงถือได้ว่าเป็นกลุ่มคนซึ่งมีสถานะทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมในลำดับชั้นสูงสุด โดยเป็นชนชั้นผู้ปกครองซี่งมีอำนาจในการจัดการและบริหารบ้านเมือง การพิจารณาตัดสินคดีความต่าง ๆ ตลอดจนเป็นเจ้าแผ่นดินที่มีกรรมสิทธิ์ในทรัพยากรป่าไม้ การจัดเก็บภาษีอากร ตลอดจนที่กะเกณฑ์...

อินทขีล: ผี พระอินทร์ และนพเคราะห์ กับ พระอุ่มเมืองที่เพิ่งสร้าง 

พิธีเข้าอินทขีลปีนี้สำหรับผู้เขียนนับว่าแปลกกว่าที่ผ่านมา เมื่อทางวัดออกนามให้กับพระพุทธรูปปางรำพึงในบุษบกเหนือเสาอินทขีลว่าพระเจ้าอุ่มเมือง (แป๊ขึด) ซึ่งไม่แน่ใจว่ามาจากนิมิตญาณหรือนำคติความเชื่อ หลักฐาน มาจากเอกสารใด เพราะไม่มีประวัติข้อมูลให้ทราบ ผู้เขียนกังวลใจว่าการตั้งชื่อขึ้นใหม่โดยมิได้มีการนำเสนอข้อมูลเช่นนี้ อาจจะทำให้ผู้สักการบูชาที่เข้าร่วมงานอินทขีลปีนี้และในอนาคต ไขว้เขวกับประวัติของพระพุทธรูป และเกิดความเข้าใจไปว่ามีพระพุทธรูปประดิษฐานเหนือเสาอินทขีลมาแต่เดิมเริ่มสร้าง หากวิเคราะห์ด้วยกรอบคิดทางคติชนวิทยาและประติมานวิทยา ผนวกกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ การประดิษฐานพระพุทธรูปเหนืออินทขีลนี้มิได้ขัดแย้งกับคติอินทขีลแต่เดิมอย่างใด หากแต่เป็นการออกนามแก่พระพุทธรูปว่า พระอุ่มเมือง หรือ พระแป๊ขึด...

โหมโรงล้านนา ว่าด้วยเรื่อง “ล้านนา (Lan Na)” บนพื้นที่ สื่อสารออนไลน์เพื่อการก้าวต่อไป ของเว็บไซต์ Lanner

“ล้านนา” (Lan Na) เป็นชื่อเรียกหน่วยทางการเมืองในยุครัฐจารีตที่อาจมองได้ว่าเป็นหน่วยทางการเมืองวัฒนธรรมซึ่งถูกสืบส่งต่อมาจนถึงยุคปัจจุบันด้วยก็ได้ ตลอดจนเป็นดินแดนของกลุ่มก้อนความสัมพันธ์ที่ผู้คนอาศัยและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันและกันในอาณาบริเวณแถบลุ่มแม่น้ำโขงทางตะวันออกมาจนถึงแถบลุ่มแม่น้ำคง (สาละวิน) ทางตะวันตก ตลอดจนแถบตอนใต้ของประเทศจีนหรือสิบสองปันนาทางด้านเหนือเรื่อยลงมา ทางด้านทิศใต้แถบหัวเมืองสุโขทัยที่เป็นอาณาบริเวณของภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบนของประเทศไทยในปัจจุบัน ล้านนาในความหมายของดินแดนจึงมีฐานะเป็นพื้นที่หรืออาณาบริเวณอันบ่งชี้ถึงลักษณะขอบเขตด้านภูมิศาสตร์กายภาพและขอบเขตด้านสังคมวัฒนธรรมซึ่งมีพื้นที่บางส่วนเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทยและมีพื้นที่บางส่วนอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน (ทั้งในประเทศเมียนมา สปป.ลาวและจีนตอนใต้) ทั้งนี้ ข้อถกเถียงในการนิยามต่อ “ความเป็นล้านนาในเชิงพื้นที่” ปรากฏอย่างมากมาย ทว่าการสร้างความรับรู้และความเข้าใจที่มีต่อคำและความคิดที่เกี่ยวกับล้านนา/ความเป็นล้านนา รวมถึงลักษณะของงานวิชาการต่างๆ...

ความสัมพันธ์ล้านนา-สยาม : ไข้ทรพิษสู่การเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในเชียงใหม่ พ.ศ.2410 -2450 

ไข้ทรพิษ โรคฝีดาษ หรือไข้ทรพิศ (Small pox หรือ Variola) โดยคำว่า Variola มาจากภาษาละติน แปลว่า จุด หรือตุ่ม โรคนี้เกิดจากการติดเชื้อไวรัส มีอาการหลักของผู้ป่วย คือ มีผื่นที่เป็นตุ่มหนองขึ้นตามผิวหนังและผื่นก็สามารถแพร่เชื้อได้ด้วย...

ภูมินามพื้นบ้าน: ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นกับวรรณกรรมพื้นบ้านล้านนา “The Indigenous Place name in Local History and Folk Literature in Lanna Dialects”

“ภูมินามพื้นบ้าน” เป็นระบบความคิดทางวัฒนธรรมของชาวบ้านทั่วไปที่สัมพันธ์และมีความหมายอย่างแนบแน่นกับการตั้งถิ่นฐานที่อยู่อาศัยอันมีความเกี่ยวข้องอยู่กับความคิดด้านภูมิศาสตร์กายภาพ ประวัติศาสตร์และวรรณกรรมท้องถิ่น ตลอดจนสะท้อนถึงระบบอำนาจ อัตลักษณ์ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของชุมชนในท้องถิ่นอย่างสมบูรณ์ ประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นจึงเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการต่อสู้เพื่อช่วงชิงความหมายและพื้นที่ทางสังคมของผู้คนในท้องถิ่นกับอิทธิพลที่ถูกครอบงำจากอำนาจรัฐส่วนกลางซึ่งดำเนินการผ่านผ่านกลไกด้านการปกครอง ศาสนา สื่อและการศึกษาแบบสมัยใหม่ สิ่งเหล่านี้ได้ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือสำหรับลดทอนศักดิ์ศรี คุณค่า และความหมายทางสังคมของผู้คนในท้องถิ่นให้อ่อนด้อยลงไป จนกระทั่งชื่อหรือภูมินามของหมู่บ้านหลายแห่ง เกิดความผิดเพี้ยนจากความหมายดั้งเดิมไปอย่างมาก จนในที่สุดอาจทำให้ท้องถิ่นไม่มีที่ยืนทางประวัติศาสตร์ และไม่สามารถอธิบายความเป็นมาของตนเองให้คนรุ่นหลังรับทราบในเรื่องที่ถูกต้องและเป็นจริงได้ ชุมชนในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบนตั้งชื่อหมู่บ้านตามบริบทต่าง ๆ...

ยก ‘ครูบาเจ้าศรีวิชัย’ เป็นบุคคลสำคัญล้านนา ดันวันเกิดหรือวันมรณภาพเป็น “วันศรีวิชัย”

วันที่ 29 เมษายน 2567 วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร ร่วมกับ มูลนิธิครูบาศรีวิชัย จัดกิจกรรมงานวันครูบาเจ้าศรีวิชัย เปิดถนนขึ้นสู่วัดพระธาตุดอยสุเทพ ครบ ๘๙ ปี และมหกรรมชุมนุมรถโบราณล้านนา ณ มณฑลพิธีมูลนิธิสถาบันครูบาเจ้าศรีวิชัย, อนุสาวรีย์ครูบาเจ้าศรีวิชัย และวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร...

ล้านนาบ่แม่นก้าคนเมือง : สังคมพหุวัฒนธรรมในล้านนา

เมื่อวันจันทร์ ที่ 4 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา สำนักข่าว Lanner ร่วมกับภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดเวทีประชุมสัมมนาทางวิชาการ           ...

การขยายอำนาจรัฐสยามในอาณาบริเวณล้านนา: กรณีศึกษาการบังคับใช้กฎหมาย การปกครองคณะสงฆ์

ช่วงทศวรรษที่ 2440 นับว่าเป็นช่วงเวลาสำคัญในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรัฐสยามกับอาณาบริเวณล้านนา เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวเป็นหมุดหมายของการทำความเข้าใจการผนวกรวมหรือยึดเอาล้านนาเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของรัฐสยามที่เพิ่งก่อตัวขึ้นมา นัยของการศึกษาความสัมพันธ์ดังกล่าวอาจปรากฏในลักษณะของการศึกษาความสัมพันธ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ เครือข่ายความสัมพันธ์ของชนชั้นนำ การศึกษา และการเข้ามาของวิทยาการสมัยใหม่  อย่างไรก็ดี พื้นที่หนึ่งของความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับล้านนาที่มีความน่าสนใจในการศึกษา แต่กลับมีการศึกษาถึงน้อยคือ การศึกษาความสัมพันธ์ในแง่ของกฎหมาย เนื่องจากการผูกขาดอำนาจในการใช้ความรุนแรง (physical violence) เป็นคุณสมบัติสำคัญของชุมชนการเมืองที่เรียกว่ารัฐ (แม็กซ์...

เวียงแก้ว : พระราชวังล้านนา คุกข่มดวงเมือง และมรดกโลกที่ยังมาไม่ถึง

*บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เรื่อง การศึกษาเครือข่ายการประกอบสร้างความรู้ทางโบราณคดีภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  หลายคนอาจเคยสัญจรผ่านพื้นที่รกร้างขนาดใหญ่กลางเมืองเชียงใหม่ใกล้กับอนุสาวรีย์สามกษัตริย์  ด้านข้างของอำเภอเก่าแล้วนึกสงสัยว่าพื้นที่แห่งนี้คืออะไร เหตุใดยังไม่ถูกจับจองก่อสร้างเพื่อใช้ประโยชน์ สภาพปัจจุบันนั้นรกร้าง ถูกตีปิดด้วยสังกะสีทุกด้าน มองเห็นเพียงอาคารเก่า ๆ ที่มีหน้าต่างเป็นซี่ลูกกรง ประตูไม้หนา หนัก และหอสังเกตการณ์ที่ยังพอทำให้ทราบได้ว่าที่นี่เคยเป็นคุกมาก่อน ประวัติของพื้นที่นี้แต่เดิมเคยเป็นที่ตั้งของทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่ ตั้งอยู่ในบริเวณที่เชื่อว่าเป็นที่ตั้งของคุ้มหลวงเวียงแก้ว...

แม่แจ่มที่เพิ่งสร้าง: การเผยตัวของชุมชนแม่แจ่มในฐานะชุมชนทางวัฒนธรรม

บทนำ มรดกทางการเมืองหลังสงครามเย็น นอกจากแม่แจ่มจะเป็นพื้นที่สีชมพูในการจัดการของรัฐไทยต่อขบวนการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยแล้ว ยังเป็นพื้นที่ที่รัฐไทยเข้ามามีอำนาจในการจัดการทรัพยากรในแม่แจ่มด้วย ไม่ว่าจะเป็นโครงการพัฒนาลุ่มน้ำแม่แจ่ม การส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจโดยโครงการของรัฐ การขยายระบบสาธารณูปโภคและเปิดโอกาสให้ระบอบทุนเข้ามามีบทบาทในการจัดการทรัพยากรด้วย ในห้วงเวลาใกล้เคียงกันคือราวปลายทศวรรษ 2530 ภายใต้บริบทวาระครบรอบเชียงใหม่ 700 ปี ภาคประชาสังคมในเชียงใหม่จึงหยิบยืมชุดความคิดเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นมาผสานกับกระแสโลกาภิวัตน์หลังวิกฤตเศรษฐกิจ 2540 หรือเป็นที่รู้จักกันในเครือข่ายสืบสานล้านนา จนกระทั่งก่อตั้งโฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนาขึ้น ภายใต้กิจกรรมภูมิปัญญาล้านนาของเครือข่ายโฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา กลุ่มนักพัฒนาเอกชนที่สนใจด้านภูมิปัญญาจัดกิจกรรม...

ปัญหาของการไปไม่ทะลุกรอบอาณานิคม

ปาฐกถาในหัวข้อ “ล้านนาทะลุกรอบอาณานิคม” โดย รองศาสตราจารย์ ดร. วราภรณ์ เรืองศรี ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานเวทีวิชาการ Lanna Symposium: Lanna Decolonized “ล้านนาทะลุกรอบอาณานิคม” ในวันที่...

เชียงแสน Secret: ย้อนรอยประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมล้านนาจากอดีตสู่ปัจจุบัน

เรียบเรียง: สุรยุทธ รุ่งเรือง เมื่อวันที่ 4 มกราคมที่ผ่านมา ได้มีการจัดเวทีเสวนาพิเศษ Thailand Biennale Chiangrai 2023 : ความลับของเชียงแสน ณ พิพิทธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน จ.เชียงราย โดยมี...

ความสัมพันธ์ 125 ปี สยาม-ล้านนา (2442-2567): 125 ปี ก่อน สยาม-ล้านนา (พ.ศ. 2317-2442)

ตอบบางคำถามที่น่าสนใจ ก่อนที่เราจะเดินหน้า  มีคำถามบางข้อจากคนสงสัย เช่น หนึ่ง  เหตุใดผู้นำการรื้อฟื้นเวียงเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2339 (ครบรอบวาระ 500 ปีสร้างเมืองเชียงใหม่พญามังรายในปี พ.ศ. 1839) และการนำขบวนกอบกู้ล้านนาโดยเฉพาะเชียงใหม่จากพม่า การระดมสะสมกำลังเตรียมการรื้อฟื้นเมืองเชียงใหม่ซึ่งใช้เวลาราว 20 ปี (พ.ศ....

125 ปี สยาม – ล้านนา (2442-2567): สยาม-ล้านนา ก่อนจะถึงปี 2442

ปีนี้ 2567 ความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับล้านนามาถึงวาระครบรอบ 125 ปีที่น่าสนใจยิ่งนัก ล้านนาตกเป็นประเทศราชของสยามตั้งแต่ปี พ.ศ. 2317 ในยุคของพระเจ้าตากสิน และต่อมาถึงยุครัตนโกสินทร์ ผู้ปกครองของล้านนาคือราชวงศ์กาวิละ ได้รับการสถาปนาโดยสยาม ที่ผ่านมา เราไม่ได้เห็นเอกสารที่ศึกษาความพยายามของผู้นำล้านนาที่ใส่ใจในปัญหาสถานะประเทศราชของตน ไม่มีใครคิดถึงประเด็นนั้น หรือเพราะว่าไม่มีหลักฐานใด ๆ...

สรุปแล้วล้านนาแมสบ่แมส? อนาคตของวัฒนธรรมล้านนาในโลกทุนนิยม

เรียบเรียง: ธันยชนก อินทะรังษี ความงดงามของประเพณีวัฒนธรรมล้านนา ถูกฝังรากลึกและถ่ายทอดเรื่องราว ที่สร้างภาพจำให้กับสังคมในรูปแบบของความ ‘ต๊ะต่อนยอน’ ทว่าในสังคมโลกาภิวัตน์ สังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วตามยุคสมัย ถึงแม้วัฒนธรรมล้านนาจะมีจุดเด่นและเอกลักษณ์เฉพาะตัว เมื่อสังคมเปลี่ยน สิ่งที่เก่าแก่ต้องเปลี่ยนตาม แต่จะเปลี่ยนอย่างไร ให้อยู่ได้ภายใต้โลกทุนนิยม จึงไปคำถามที่ย้อนกลับไปว่า ล้านนาแมสหรือไม่แมส? ในขณะที่วัฒนธรรมป็อปในภูมิภาคอื่น ๆ...

หอมกลิ่นความรัก:  ซีรีส์วายพีเรียดฉบับล้านนา เมื่อกลิ่นหอมหวานพร้อมจะร่วงโรยตามกาล

เรื่อง: ธันยชนก อินทะรังษี ภาพ: Dee Hup House เมื่อกล่าวถึง “ซีรีส์วายพีเรียดล้านนา” หลายคนคงนึกสงสัยในใจไปแล้วว่า จะเป็นเรื่องราวในรูปแบบไหนกัน ยิ่งนึกไปถึงบริบททางสังคมในอดีตของความรักเพศเดียวกัน คงคาดเดาได้ไม่ยาก ถึงฉากระทมขมรัก ไม่มีทางที่จะพบความสมหวัง ซีรีส์วายเรื่อง ‘กลิ่นหอมความรัก’ ได้นักแสดงมากฝีมืออย่าง นนกุล-...

เจ้าดารารัศมี: ดวงดอกไม้ ยุทธนา ปิตาธิปไตย

เรื่องและภาพ: ธันยชนก อินทะรังษี “ข้าพเจ้า” โปรยกลีบดอกกุหลาบตามเส้นทางทุกหนทุกแห่ง ข้าพเจ้าได้อ่าน สดับรับฟัง และสื่อความหมายของภาษา หากแต่ข้าพเจ้ากลับไม่รู้ความหมายการมีอยู่ของชีวิตเพียงสักนิด “ประวัติศาสตร์” เรื่องราวอันแสนน่าเบื่อ ที่เพลานี้ มวลมนุษยชาติบนโลกจะนั่งเครื่องย้อนเวลาไปนะหรือ? ไม่ต้องคาดเดาให้มากความ เพราะบทสุดท้ายคือการลงเอยด้วยคำว่า “ผู้ชนะคือผู้เขียนประวัติศาสตร์” หลากหลายตำรา พงศาวดาร ศิลาจารึก จดหมายเหตุ...

9 พฤศจิกายน 2477 ครบ 89 ปี ครูบาเจ้าศรีวิชัย ‘นั่งหนัก’ บุกเบิกสร้างถนนขึ้นดอยสุเทพ

9 พฤศจิกายน 2477 หรือเมื่อ 89 ปี ที่แล้ว ถือเป็นฤกษ์งามยามดีที่ครูบาเจ้าศรีวิชัย ได้ริเริ่มบุกเบิกสร้างถนนขึ้นดอยสุเทพ โดยทำหน้าที่ ‘นั่งหนัก’ เป็นประธานระดมทุนทรัพย์และพลังของผู้มีจิตศรัทธามาช่วยสร้างถนนขึ้นดอยสุเทพ ทั้งนี้สิ่งที่น่าสนใจของการสร้างถนนขึ้นพระธาตุดอยสุเทพนั้น ไม่มีการใช้งบประมาณจากภาครัฐเลย แต่อุดมไปด้วยแรงศรัทธาของประชาชนแทบทั้งสิ้น ความคิดที่จะสร้างถนนขึ้นดอยสุเทพนั้นมีมาก่อนหน้านั้น เมื่อประมาณปีพ.ศ. 2460...

จิตร ภูมิศักดิ์กับคนเมือง เมื่อ ‘คนล้านนา’ ถูกเหยียดหยาม การนิยามใหม่จึงบังเกิด

25 กันยายน 2473 เป็นวันเกิดของ จิตร ภูมิศักดิ์ ปัญญาชนนักปฏิวัติ นักประวัติศาสตร์และนิรุกติศาสตร์ คนสำคัญของไทย ผู้มีอิทธิพลทางความต่อนักเคลื่อนไหวทางสังคมตั้งแต่อดีตมาจนปัจจุบัน รวมไปถึงเป็นผู้วางรากฐานทางความคิดที่ส่งต่อมาจนถึงปัจจุบัน แม้ในช่วงชีวิตของจิตร จะใช้เวลาในการผลิตผลงานวิชาการที่มีเนื้อหาเกี่ยวพันกับการตั้งคำถามและท้าทายอำนาจของศักดินาไทย รวมไปถึงเนื้อหาที่ครอบคลุมในอาณาบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และประเทศเพื่อนบ้านในบริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ไม่ว่าจะเป็น กัมพูชา (เขมร)...

จาก ศรีเชียงใหม่ ถึง คนเมือง: สื่อหนังสือพิมพ์กับความคิดท้องถิ่นนิยมล้านนายุคแรกเริ่ม

เรื่อง: พริษฐ์ ชิวารักษ์ หากปัจจุบันนี้ สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) มีทรงอิทธิพลต่อความคิดความอ่านของสังคมอย่างไร สื่อสิ่งพิมพ์โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ก็เคยทรงอิทธิพลต่อความคิดความอ่านของสังคมอย่างนั้นในโลกอดีตก่อนการผงาดขึ้นของอินเตอร์เน็ตและการเผยแพร่ภาพและเสียง ในโลกยุคนั้น หนังสือพิมพ์มิได้เป็นเพียงสื่อกลางในการรายงานข่าวสารที่เกิดขึ้นรายวันเท่านั้น แต่ยังเป็นช่องทางนำเสนอแนวคิดหรือข้อคิดเห็นต่อประเด็นต่าง ๆ ในสังคม อีกทั้งการเลือกประเด็นข่าวมานำเสนอของนักหนังสือพิมพ์ก็ยังมีส่วนชี้นำความสนใจของคนหมู่มากไปทางใดทางหนึ่งได้ด้วย จึงปรากฏในประวัติศาสตร์โลกหลายครั้งว่าในการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากการเคลื่อนไหวหรือการปฏิวัติของมวลชนนั้นมักมีนักเขียนและนักหนังสือพิมพ์เข้ามามีส่วนร่วมด้วยอยู่เสมอในฐานะผู้สื่อสารความคิดแก่มวลชน นอกจากนี้ ในขบวนการเคลื่อนไหวเรียกร้องเชิงท้องถิ่นนิยมที่เรียกร้องการรักษาอัตลักษณ์รวมถึงสิทธิประโยชน์ต่าง...

121 ปี ปลดพันธนาการกบฏเงี้ยวเมืองแพร่

24 กรกฎาคม 2566 เวลา 09.00 น. เครือข่ายผู้รักประชาธิปไตยแพร่ได้ทำพิธีตานขันข้าว อุทิศส่วนกุศลให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเหตุการณ์กบฏเงี้ยว เมืองแพร่ เนื่องในโอกาสครบ 121 ปี ณ วัดจองกลาง วัดพม่าประจำจังหวัดแพร่  จากการต่อสู้ของชาวเงี้ยว หรือไทใหญ่หรือไทเขิน กลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่อาศัยอยู่ในดินแดนล้านนามาหลายร้อยปี...

ล้านนาผู้ถูกกลืนเข้าสู่การปกครองด้วยภาษา

เรื่องและภาพ: ธันยชนก อินทะรังษี การหลอมรวมรัฐในพื้นที่ดินแดนล้านนากำลังก่อตัวขึ้น เป้าหมายสำคัญที่สุดของรัฐสยาม คือ การสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หรือที่เรียกกันว่าเป็นการสร้าง “ความเป็นไทย” หากแต่ตอนนั้นสยามยังมีมุมมองต่อล้านนาในลักษณะเป็นอื่น เหตุเพราะไม่มีความใกล้ชิดผูกพัน อีกทั้งสื่อสารกันด้วยภาษาที่ไม่เข้าใจ และลึก ๆ นั้น ยังมองล้านนาเป็นคนที่แตกต่าง ไม่เหมือนกับสยาม ดังนั้นการที่จะเข้ามาปกครองพื้นที่นี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ...