หน้าแรก
ข่าว
บทความ
เจาะประเด็น
ชุดข้อมูล
สัมภาษณ์
ประวัติศาสตร์&คนล้านนา
กาดหมั้ว
วิดีโอ
ติดต่อเรา
Search
Lanner
พื้นที่สื่อสาร สังคมประชาธิปไตย ชีวิตใหม่ที่ดีกว่า
Lanner
พื้นที่สื่อสาร สังคมประชาธิปไตย ชีวิตใหม่ที่ดีกว่า
Lanner
พื้นที่สื่อสาร สังคมประชาธิปไตย ชีวิตใหม่ที่ดีกว่า
หน้าแรก
ข่าว
บทความ
เจาะประเด็น
ชุดข้อมูล
สัมภาษณ์
ประวัติศาสตร์&คนล้านนา
กาดหมั้ว
วิดีโอ
ติดต่อเรา
Search
Lanner
พื้นที่สื่อสาร สังคมประชาธิปไตย ชีวิตใหม่ที่ดีกว่า
หน้าแรก
ข่าว
บทความ
เจาะประเด็น
ชุดข้อมูล
สัมภาษณ์
ประวัติศาสตร์&คนล้านนา
กาดหมั้ว
วิดีโอ
ติดต่อเรา
Search
คำสำคัญ:
ก๊อนเก๊าเล่าล้านนา
ศิลปะ-ศิลปิน
ก๊อนเก๊าเล่าล้านนา: ชักแม่น้ำทั้งสายให้ไหลลงสู่น้ำแม่โขง : ว่าด้วยเรื่องทิศทางการไหลของน้ำในลุ่มน้ำแม่กก
เรื่อง: นวลคำ ขะยอมแดง สุภาพชนคนเมือง ความนำ “น้ำไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ” ข้อความนี้สะท้อนกฎธรรมชาติว่าด้วยการไหลของน้ำที่เป็นไปตามแรงโน้มถ่วงของโลก ขณะเดียวกัน การไหลของน้ำตามแหล่งธรรมชาติอย่างลำธาร คลองหรือแม่น้ำก็เป็นอีกรูปแบบ ทิศทางและลักษณะของการไหลไปยังพื้นที่ต่าง ๆ อย่างมีความแตกต่างกัน เงื่อนไขที่มีส่วนในการกำหนดการไหลของน้ำจึงขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านภูมิประเทศของพื้นที่หรือถิ่นที่ต่าง ๆ อย่างเช่น สันปันน้ำ ความลาดเอียงของพื้นที่ ลักษณะหรือชนิดของดินในพื้นที่หรืออาณาบริเวณซึ่งได้รับอิทธิพลจากลักษณะการไหลของสายน้ำในแต่ละแห่งเรียกว่า “ลุ่มน้ำ” โดยชื่อของลุ่มน้ำต่าง...
highlight
ก๊อนเก๊าเล่าล้านนา: เศรษฐกิจในสังคมล้านนาจากสนธิสัญญาเชียงใหม่ถึงการเดินทางมาของรถไฟและก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2
ล้านนาเป็นดินแดนที่ถูกผนวกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสยาม แต่เดิมมีสถานะเป็นหัวเมืองประเทศราชมาตั้งแต่ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์และถูกรวบอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางในสมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อทำการปฏิรูปด้านการเมืองการปกครองโดยเรียกอาณาบริเวณดินแดนล้านนาว่าเป็น “มณฑลพายัพ” ซึ่งมีฐานะเป็นส่วนหนึ่งของพระราชอาณาเขตที่ตั้งอยู่ทางด้านเหนือสุดของของราชอาณาจักรสยามโดยมีอาณาเขตติดต่อกับรัฐเพื่อนบ้านของสยามซึ่งมีสถานะเป็นรัฐอาณานิคมในกำกับของมหาอำนาจชาติตะวันตกในขณะนั้นได้แก่ พม่าในฐานะส่วนหนึ่งของอาณานิคมอินเดียที่อยู่ภายใต้การปกครองของประเทศอังกฤษ มลายูที่เป็นดินแดนอาณานิคมซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของประเทศอังกฤษและลาวพืชเป็นดินแดนอาณานิคมซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของประเทศฝรั่งเศส ทั้งนี้ ลักษณะภูมิประเทศของดินแดนล้านนาส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สูงประกอบด้วยเทือกเขาและพื้นที่ว่างระหว่างหุบเขาซึ่งมีแม่น้ำไหลผ่านหลายสาย โดยเทือกเขาที่มีขนาดใหญ่ซึ่งอยู่ตอนกลางของภูมิภาคได้วางแนวสันปันน้ำแบ่งทิศทางการไหลของแม่น้ำในพื้นที่ออกเป็น 3 ระบบด้วยกัน ได้แก่ ระบบที่ 1 แม่น้ำที่ไหลลงแม่น้ำเจ้าพระยา...
คนล้านนา
ก๊อนเก๊าเล่าล้านนา : ว่าด้วยเรื่องราวจาก “เจ้าพระยา” สู่ “พิงคนที” จากนิทานคำกลอนเรื่องพระอภัยมณีของ “สุนทรภู่” สู่คร่าวซอเรื่องพระอภัยมณีของ “พระยาพรหมโวหาร”
เรื่อง: นวลคำ ขะยอมแดง สุภาพชนคนเมือง วันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี นอกจากจะเป็นวันต่อต้านยาเสพติดแล้ววันดังกล่าวนี้ยังตรงกับ “วันสุนทรภู่” อันเป็นวันที่มักจะอยู่ในความทรงจำของใครหลาย ๆ คนหากเมื่อย้อนกลับไปหวนถึงชีวิตช่วงวัยเรียน ตัวผู้เขียนเองหรือใครก็ตามที่เคยเป็นเด็กนักเรียนสายกิจกรรมเจ้าประจำของกลุ่มสาระวิชาภาษาไทยของโรงเรียน ก็มักจะไม่พลาดหลายสิ่งอย่างที่สร้างโอกาสให้แสดงความสามารถพิเศษด้านทักษะการใช้ภาษาไทย อย่างเช่น การแต่งกลอนวันสุนทรภู่ การประกวดเขียนเรียงความ การโต้วาที...
คนล้านนา
ก๊อนเก๊าเล่าล้านนา: เจ้าและไพร่ในล้านนา ณ ช่วงเวลาการปฏิรูปมณฑลพายัพถึงก่อน พ.ศ.2475
สังคมล้านนาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีโครงสร้างทางสังคมเป็นลำดับชั้นบนลงล่างเฉกเช่นเดียวกันกับสังคมศักดินาทั่วไปที่มีเจ้าผู้ครองนคร เจ้านาย ขุนนาง ไพร่ ทาสและพระสงฆ์เป็นองค์ประกอบสำคัญ ซึ่งผู้คนในลำดับชั้นต่าง ๆ ที่ว่ามานี้ล้วนต่างมีความสัมพันธ์ตามบทบาทและหน้าที่ตามแต่ละส่วนของสังคมที่พวกเขาอยู่อาศัย เจ้าผู้ครองนครและเจ้านายจึงถือได้ว่าเป็นกลุ่มคนซึ่งมีสถานะทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมในลำดับชั้นสูงสุด โดยเป็นชนชั้นผู้ปกครองซี่งมีอำนาจในการจัดการและบริหารบ้านเมือง การพิจารณาตัดสินคดีความต่าง ๆ ตลอดจนเป็นเจ้าแผ่นดินที่มีกรรมสิทธิ์ในทรัพยากรป่าไม้ การจัดเก็บภาษีอากร ตลอดจนที่กะเกณฑ์...
คนล้านนา
โหมโรงล้านนา ว่าด้วยเรื่อง “ล้านนา (Lan Na)” บนพื้นที่ สื่อสารออนไลน์เพื่อการก้าวต่อไป ของเว็บไซต์ Lanner
“ล้านนา” (Lan Na) เป็นชื่อเรียกหน่วยทางการเมืองในยุครัฐจารีตที่อาจมองได้ว่าเป็นหน่วยทางการเมืองวัฒนธรรมซึ่งถูกสืบส่งต่อมาจนถึงยุคปัจจุบันด้วยก็ได้ ตลอดจนเป็นดินแดนของกลุ่มก้อนความสัมพันธ์ที่ผู้คนอาศัยและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันและกันในอาณาบริเวณแถบลุ่มแม่น้ำโขงทางตะวันออกมาจนถึงแถบลุ่มแม่น้ำคง (สาละวิน) ทางตะวันตก ตลอดจนแถบตอนใต้ของประเทศจีนหรือสิบสองปันนาทางด้านเหนือเรื่อยลงมา ทางด้านทิศใต้แถบหัวเมืองสุโขทัยที่เป็นอาณาบริเวณของภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบนของประเทศไทยในปัจจุบัน ล้านนาในความหมายของดินแดนจึงมีฐานะเป็นพื้นที่หรืออาณาบริเวณอันบ่งชี้ถึงลักษณะขอบเขตด้านภูมิศาสตร์กายภาพและขอบเขตด้านสังคมวัฒนธรรมซึ่งมีพื้นที่บางส่วนเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทยและมีพื้นที่บางส่วนอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน (ทั้งในประเทศเมียนมา สปป.ลาวและจีนตอนใต้) ทั้งนี้ ข้อถกเถียงในการนิยามต่อ “ความเป็นล้านนาในเชิงพื้นที่” ปรากฏอย่างมากมาย ทว่าการสร้างความรับรู้และความเข้าใจที่มีต่อคำและความคิดที่เกี่ยวกับล้านนา/ความเป็นล้านนา รวมถึงลักษณะของงานวิชาการต่างๆ...