คำสำคัญ: คนเหนือเดือนตุลา

“ถนนสายเดิมอาจจะเป็นลูกรัง แต่ถนนสายใหม่มันต้องดีกว่าเดิม” ประวัติศาสตร์ความทรงจำที่ทอดยาวของ ‘สหายกิ่ง’ ภาณุมาศ ภูมิถาวร

เรื่อง: สุมาพร สารพินิจ ภาพ: กิตติพศ บำรุงพงษ์ ครบรอบ 48 ปี ล้อมปราบประชาชน 6 ตุลา 2519 หนึ่งในเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ไม่ถูกบันทึกลงปฏิทิน และเป็นเสียงที่ไม่ถูกได้ยินในห้องเรียนการเมืองไทย การใช้ความรุนแรงเป็นข้อยุติความเห็นต่าง ไม่เพียงแต่สร้างความรุนแรงให้เกิดการล้อมปราบที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่ยังเป็นเหตุผลให้ใครหลาย ๆ...

กัลยา ใหญ่ประสาน จากสหายหญิงเดือนตุลาฯ ถึง สว. ประชาชน “การเปลี่ยนแปลงต้องมาจากฐานราก”

เรื่องและภาพ: กองบรรณาธิการ อ้อย-กัลยา ใหญ่ประสาน ปัจจุบันเป็นสมาชิกวุฒิสภา (สว.) กลุ่มอาชีพทำนา และปลูกพืชล้มลุก โดยมีความหวังว่าถ้าเข้าสู่กลไกในระบอบรัฐสภาแล้ว เราอาจจะเข้าใกล้ความเปลี่ยนแปลงได้เร็วขึ้น ภูมิหลังของกัลยา ย้อนกลับไปเมื่อ 50 ปีที่แล้ว กัลยามีบทบาทสำคัญในฐานะนักเรียนที่สนใจการเคลื่อนไหวเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศให้ดีขึ้น ปราศจากการครอบงำของเผด็จการทหาร โดยมุ่งหวังว่าประชาธิปไตยจะเป็นฝันอันสูงสุด ก่อนที่ความมืดจะเข้าครอบงำและตอบแทนด้วยความรุนแรงทั้งก่อนและหลังการนองเลือด 6...

“ถ้าไม่ไป ก็เสียชาติเกิด” Side Story 50 ปีนักเรียนภาคเหนือกับประชาธิปไตยในเดือนตุลา

เรื่อง: วัชรพล นาคเกษม ภาพ: ปรัชญา ไชยแก้ว เรานัด ‘สุทธิศักดิ์ ปวราธิสันต์’ ที่สวนอัญญา เฮือนครูองุ่น มาลิก หอประวัติศาสตร์ประชาชนภาคเหนือ สถานที่ที่เต็มไปด้วยความทรงจำของผู้คนหลายช่วงวัยมาร่วม 50 ปี จนถึงวันนี้สวนอัญญายังคงทำหน้าที่เป็นทั้งสถานที่จัดกิจกรรมทางสังคม รวมไปถึงการเป็นที่นัดพบปะมิตรสหาย โดยเฉพาะกับเหล่านักศึกษา...

การเคลื่อนไหวในภาคเหนือในห้วงเวลา 14 ตุลา 2516

เรียบเรียง: กองบรรณาธิการ ความตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนในช่วง 14 ตุลาคม 2516 ไม่ได้จำกัดอยู่แค่กรุงเทพมหานครแต่เพียงเท่านั้น เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของการเมืองไทย ที่ประชาชนก้าวออกมาต่อต้านอำนาจของเผด็จการที่ปกครองประเทศเป็นเวลาร่วม 15 ปี นับตั้งแต่ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำการรัฐประหารในปี 2501 จนมาถึงการรัฐประหารตนเองของจอมพลถนอม กิตติขจร...

คนเหนือเดือนตุลา: ‘ใบไม้ไหว’ เพลงของ “จรัล มโนเพ็ชร” บาดแผลในความทรงจำในเช้าวันที่ 14 ตุลาคม 2516

เราอาจจะรู้จัก “จรัล มโนเพ็ชร” ในฐานะของศิลปินชาวเชียงใหม่ ผู้ยกระดับให้เพลงภาษาคำเมือง จนพัฒนาแนวเพลงที่เราเรียกกันจนติดปากว่า “โฟล์คซองคำเมือง” ที่ส่งผ่านความทรงจำผ่านเสียงเพลงมาร่วม 4 ทศวรรษ แม้บทเพลงส่วนใหญ่ของจรัลจะมุ่งสื่อสารไปที่สภาพแวดล้อม วิถีและบริบทในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นของคนในพื้นที่ล้านนา แต่ก็มีอยู่ 1 บทเพลงที่จรัลส่งผ่านสำนึกและความรู้สึกที่ท่วมท้นต่อเหตุการณ์ที่รัฐบาลทหารเข้าใช้กำลังในการปราบปรามผู้ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยถนนราชดำเนิน ในเวลาก่อนเที่ยงวันของวันที่ 14 ตุลาคม...

คนเหนือเดือนตุลา: จุฬา-จารีตก่อน 14 ตุลา และความรู้สึกอยากกลับบ้านหลัง 6 ตุลาของธเนศวร์ เจริญเมือง

เรื่อง: วัชรพล นาคเกษม ศ.ดร.ธเนศวร์ เจริญเมือง คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เล่าถึงประสบการณ์ส่วนตัวเพื่อทำความเข้าใจที่มาก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เพื่อทำความเข้าใจบริบทในช่วงเวลานั้น “ตนซึมซับความคิดเกี่ยวกับประชาธิปไตยมาตั้งแต่สมัยเรียนระดับประถม ตั้งแต่อยู่ที่เชียงใหม่ ครอบครัวก็มีความคิดเกี่ยวกับประชาธิปไตยมาอยู่แล้ว แต่หลังจากลงมาเรียนในกรุงเทพฯ ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผมพบเจออำนาจนิยมในรั้วมหาวิทยาลัยที่เข้มข้นมากๆ...

คนเหนือเดือนตุลา: ปาหนัน-จีรวรรณ โสดาวัฒน์ ‘มังกรน้อย’ เบ้าหลอมเยาวชน

เรียบเรียง: วัชรพล นาคเกษม ภาพ: ปรัชญา ไชยแก้ว “ช่วงก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ คุณพ่อเป็นชาวนาธรรมดา ในอำเภอดอยสะเก็ด ชีวิตของชาวนาทั่วไปในภาคเหนือถูกเอาเปรียบจากเจ้าที่ดิน ถ้ามีเงินไม่พอจ่ายค่าเช่า ไม่พอเลี้ยงครอบครัว ชาวนาก็ต้มเหล้าขายเอาเงินมาเลี้ยงลูกเมีย ก็ถูกเจ้าหน้าที่สรรพสามิตไล่จับ เข้าไปเก็บฝืนในป่าเพื่อนำมาเผาถ่านขายก็ถูกเจ้าหน้าที่ป่าไม้ไล่จับอีก เรื่องเหล่านี้เองชาวนาภาคเหนือจึงเป็นผู้คนที่ถูกกดดันจากเจ้าหน้าที่รัฐกับนายทุนอย่างไม่เป็นธรรม” ปาหนัน-จีรวรรณ โสดาวัฒน์...

คนเหนือเดือนตุลา: “ฤาตอนนั้นเราไร้เดียงสาเกินไป” ย้อนรอยความรุนแรงในภาคเหนือของไทยก่อน 6 ตุลา 19

เรื่อง: วัชรพล นาคเกษมภาพ: ปรัชญา ไชยแก้ว ครบรอบ 47 ปี 6 ตุลา 19 ภาพจำที่ฝังลึกแต่ก็ถูกทำให้หลงลืมในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย เพื่อปกปิดอำพรางความโหดร้ายที่รัฐพันลึกเปิดทางให้ประชาชนได้เข่นฆ่าประชาชนด้วยกันอย่างบ้าคลั่ง โดยการใส่ร้ายป้ายสีกล่าวหาความเป็นปีศาจกับเหล่านักศึกษาและประชาชนผู้รักความยุติธรรม จาก 14 ตุลาคม 2516...

คนเหนือเดือนตุลา: 6 ตุลา 19 ในเชียงใหม่

ภาพจำของโศกนาฏกรรมความรุนแรงที่เกิดขึ้นในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ที่เจ้าหน้าที่รัฐร่วมมือกับกลุ่มฝ่ายชาตินิยมขวาจัดร่วมมือกันสังหารเพื่อนมนุษย์ด้วยกันอย่างโหดเหี้ยมกลางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นภาพจำที่ฝั่งลึกแต่ก็ถูกหลงลืมในหน้าประวัติศาสตร์กระแสหลักของการเมืองไทย แต่เหตุการณ์ 6 ตุลา 19 นั้นไม่ได้ปักหลักความโหดร้ายไว้เพียงที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แต่เพียงแห่งเดียว ซึ่งสั่นสะเทือนไปทั่วประเทศไทย จังหวัดเชียงใหม่ก็มีการประท้วงเกิดขึ้นเช่นเดียวกัน ตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม จนถึงช่วงสายของวันที่ 6...

‘ไพบูลย์ เลาหจิรพันธ์’ คนเชียงรายที่เสียชีวิตในวันฟ้าสาง 6 ตุลาคม 2519 

ความรุนแรงในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 เจ้าหน้าที่รัฐบาลและกลุ่มฝ่ายชาตินิยมขวาจัดหลายกลุ่มร่วมมือกันปราบปรามสังหารหมู่นักศึกษาและประชาชนอย่างเลือดเย็นใจกลางกรุง ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์และท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีมูลเหตุการณ์คือการที่ประชาชนออกมาประท้วงการเดินกลับมาบวชเป็นภิกษุที่วัดบวรนิเวศวิหาร ของจอมพล ถนอม กิตติขจร อดีตนายกรัฐมนตรี  มีการบิดเบือนข่าวสาร ใส่ร้ายป้ายสีนักศึกษาและประชาชนที่ออกมาประท้วง ถูกกล่าวหาว่าเป็น คอมมิวนิสต์ รวมไปถึงการกล่าวหาว่ามีการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จึงสร้างความไม่พอใจให้แกกลุ่มฝ่ายชาตินิยมขวาจัดเช่น...

บางความทรงจำถูกตัดตอนและแทนที่ด้วยความว่าง.. เกินจะรับรู้

เราจดจำเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 กันแบบไหน?ไม่ว่าเราจะจดจำแบบไหนหรือสังคมไทยอยากให้จดจำแบบใด แต่อย่าลืมว่านี้ประวัติศาสตร์ในช่วงเวลาแสนสั้นแต่เจ็บลึกไม่มีวันหาย​นี่คือเรื่องเล่านอกกรุงเทพฯและความเจ็บปวดไม่ได้มีอยู่ที่ธรรมศาสตร์เพียงที่เดียว​“คนเหนือเดือนตุลา” หลากเรื่องราวจากปากคำของเหล่าผู้คนภาคเหนือของไทย ที่แม้บางคนอาจจะไม่ได้เกิดในอาณาบริเวณนี้ แต่ต่างมีความทรงจำ ทั้งก่อนการเกิดขึ้นของเหตุการณ์ 14 ตุลา 16...