คำสำคัญ: ช่างซอ

จากช่างซอพลัดถิ่นศิลปินล้านนาสู่ดาราสมทบหน้าจอเงินและจอแก้ว เล่าหลังฉาก “ตัวละครผียายช่วย” ผ่านชีวิตและผลงานของ “แม่ครูจำปา แสนพรม”

เรื่อง: นวลคำ ขะยอมแดง สุภาพชนคนเมือง  ความนำ ภาพยนตร์ไทยแนวสยองขวัญเหนือธรรมชาติที่สร้างความหลอนจนเป็นกระแสมาอย่างต่อเนื่องในช่วงระหว่างปี 2566 ถึงปี 2567 แฟนภาพยนตร์ไทยต่างให้การตอบรับคงหนีไม่พ้นเรื่อง “ธี่หยด” ภาพยนตร์ชวนขนหัวลุกที่สร้างจากเรื่องเล่าเมื่อ 50 กว่าปีก่อนในปี 2515 ที่เล่าถึงเรื่องราวเด็กสาวในหมู่บ้านห่างไกลในอำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี เสียชีวิตอย่างเป็นปริศนาการดำเนินเรื่องอย่างสยองขวัญที่ว่ามานี้ได้ส่งผลให้คนในครอบครัวของเธอนั้นจำต้องเผชิญกับสิ่งที่มีความลี้ลับและน่าหวาดหวั่นจนยากที่จะอธิบายได้ ภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกเล่าผ่านตัวละครที่นำโดย ‘แย้ม’...

ก๊อนเก๊าเล่าล้านนา : ศิลปินแห่งชาติ/ศิลปินแห่ง(ล่อง)น่าน: จาก “ไชยลังกา เครือเสน” สู่ “คำผาย นุปิง” เล่าเรื่องซอเมืองน่านและอัตลักษณ์ความเป็นน่าน

เรื่อง: นวลคำ ขะยอมแดง สุภาพชนคนเมือง น่าจะหลายกรรมหลายวาระแล้ว ที่ผู้เขียนมักนำเสนอเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับเพลงพื้นบ้านล้านนาและศิลปินเพลงล้านนาผ่านช่องพื้นที่เว็ปไซต์ Lanner แห่งนี้ แต่อย่าเพิ่งเบื่อหรือ “อิ่มหน่ายก้ายจัง” กันเลยนะท่านทั้งหลาย    กับข้อเขียนมีภาษาวก ๆ วน ๆ ทั้งยังปะปนด้วยคำขยายซ้อนขยายตามสไตล์ของผู้เขียนที่ก็พยายามแล้วพยายามอีกที่จะลดระดับลีลาเรื่องภาษาเพื่อสร้างบทสนทนาไปสู่ผู้อ่านแบบ “ชกตรงเป้า...

ก๊อนเก๊าเล่าล้านนา: สามัญชนคนเมืองล้านนาอย่าง “ย่าบุญ” ตะแหลวเมืองล้านนาบนหน้าปัดวิทยุในความทรงจำ

“…..ปุ๋นดีงืดล้ำ อึ่งขบงูต๋าย บ้านเมืองวุ่นวาย ป้อจายนุ่งซิ่น ปู๊เมียผีต๋าย ซ้ำมาเยี๊ยะปลิ้น แป๋งปามาน ใส่ต๊อง ปล๋าแห้งในไฟ    จักไปอยู่ต๊อม ตั้งเหยี่ยนส้อม บนดอย นกแอ่นฟ้า    ต๋ายเปื้อคมหอย งัวแม่มอย ไล่ขบเสือแผ้ว…..” ถ้อยคำที่มีลักษณะเป็นคำประพันธ์ประเภท “คร่าว” หรือบทร้อยกรองของล้านนาที่ผู้เขียนยกขึ้นมาตอนต้นของบทความนี้...

ก๊อนเก๊าเล่าล้านนา : ประเพณีเลี้ยงผีครูเดือนเก้า(เหนือ) และเรื่องเล่าผีครูช่างซอล้านนา

ศิลปินพื้นบ้านล้วนผ่านการอบรมสั่งสอนให้คอยสั่งสมประสบการณ์ให้แฝงฝังไว้ในตน ตลอดจนควรมีความมุ่งมั่นฝึกฝนจนเกิดความชำนิชำนาญด้านสติปัญญาและความสามารถทั้งการขับร้องท่องลำนำแนวเพลงปฏิพาทย์ ทั้งเพลงหมอลำในภาคอีสาน เพลงอีแซวในภาคกลางหรือเพลงบอกในภาคใต้ ในขณะที่คนภาคเหนือหรือคนเมืองล้านนาก็มี “เพลงซอ” ที่ถูกขับขานผ่านเสียงของ “ช่างซอ” ซึ่งมีความหมายในทำนองของการเป็นผู้ชำนาญการถ่ายทอดเนื้อหาสาระผ่านโครงสร้างท่วงทำนองดนตรีที่ตายตัวแต่ต่างกันไปในแต่ละรูปแบบของทำนองพื้นบ้าน ดังนั้น  “ซอ” นั้น ก็มิใช่เครื่องดนตรีประเภท “สี” ที่มีอยู่ในความรับรู้ของผู้คนทั่วไปในภูมิภาคอื่นๆหรือในภาษิตที่รู้จักกันดีอย่าง “สีซอให้ควายฟัง”แบบคนภาคกลาง มากไปกว่านั้น...

ซอพื้นบ้านล้านนาในฐานะทุนความรู้ทางวัฒนธรรม: เครื่องมือสื่อสารเพื่อการทำงานเชิงพื้นที่

เรื่อง: นวลคำ ขะยอมแดง สุภาพชนคนเมือง ศิลปินพื้นบ้านเป็นทรัพยากรบุคคลผู้สั่งสมทุนทางวัฒนธรรมประจำถิ่นให้แฝงฝังไว้ในตนเอง ทุนวัฒนธรรมดังกล่าวนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับความสามารถทางด้านสติปัญญาและความชำนิชำนาญที่ผ่านการฝึกฝนมาเป็นอย่างดีแล้วในระดับหนึ่ง ขณะเดียวกันศิลปินพื้นบ้านด้านการขับร้องท่องลำนำเพลงปฏิพาทย์ ที่มีลักษณะคล้ายหมอลำในภาคอีสานเพลงอีแซวในภาคกลางหรือเพลงบอกในภาคใต้ คนภาคเหนือหรือคนล้านนา (ที่ไม่เพียงแค่เขตจังหวัดภาคเหนือตอนบน หากแต่เป็นทุกๆ อาณาบริเวณทางวัฒนธรรมที่ “อู้กำเมือง กิ๋นลาบและฟังซอ” ที่เลยเข้าไปในบางพื้นที่ของภาคกลางตอนบน และข้ามพรมแดนไปยังบางพื้นที่ของประเทศเพื่อนบ้าน) ต่างได้เรียกขานพวกเขาเหล่านี้ว่าเป็น “ช่างซอ”...